บทความ

ติดตั้งโซลาร์รูปท็อป ลดหย่อนภาษี 2 แสน มีผลถึง 31 ธ.ค.70
อนุมัติแล้วมาตรการส่งเสริมประหยัดพลังงาน เปลี่ยนเรื่องจักรและอปุกรณ์ประหยัดพลังงาน หักค่าใช้จ่ายได้ 1.5 เท่า มีผลถึง 31 ธ.ค. 71 พร้อมสนับสนุนโซลาร์รูปท็อปตามบ้านเรือน ลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 200.000 บาท มีผลถึง 31 ธ.ค. 70 คาด 2 มาตรการ รัฐสูญรายได้ 2.7 หมื่นล้านบาท แต่ช่วยลดการนำเข้าก๊าซกว่าแสนล้านบาท

โลกแปรปรวนหนักใน 5 ปีจากนี้ไป ฝนถล่มซีกโลกภาคเหนือ-น้ำแข็งละลาย
องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก รายงานข้อมูลการพยากรณ์สภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศอีก 5 ปี ตั้งแต่ปีค.ศ. 2025-2029 แนวโน้มชัดเจนว่าทั่วโลกจะเจอกับสภาพอากาศที่แปรปรวนกว่าปกติ จากอุณหภูมิใช้พื้นผิวโลกสูงกว่า 1.5 °C อย่างถาวร ส่งผลให้ฝน-แล้ง-น้ำแข็งทั่วโลกละลาย เพิ่มมากขึ้น

เปิดร่าง พ.ร.บ.ใหม่ ติดดาบกรมอุตุฯ วางมาตรฐานพยากรณ์อากาศ
เปิดฟังความเห็นร่างกฎหมาย พ.ร.บ.อุตุนิยมวิทยา กำหนดให้เป็น “หน่วยงานหลัก“ พยากรณ์อากาศ มีอำนาจดูแลเครื่องมือให้มีความแม่นยำ ควบคุมข้อมูลภาครัฐและเอกชน ป้องกันบิดเบือนสร้างความเสียหายประชาชน พร้อมกำหนดบทลงโทษทางอาญากับผู้ฝ่าฝืนกฎหมาย

เทียบเคียงสภาพอากาศปี 68 กับมหาอุทกภัยปี 54 โอกาสท่วมแค่ไหน?
ปีนี้น้ำจะท่วมใหญ่ เหมือนปี 54 หรือไม่ เป็นคำถามทุกครั้งเมื่อฝนตกหนัก สำรวจสภาพอากาศปี 54 กับปีนี้ พบว่ามีแบบแผนคล้ายกัน เริ่มจากเปลี่ยนผ่านจาก "เอลนีโญ" สู่ "ลานีญา" และเข้าสู่ "เอ็นโซ" จนเกิดฝนตกหนักหลายพื้นที่ จับตา "ลานีญา" จะกลับมาอีกหรือไม่เหมือนปี 54 ดังนั้น ไม่อาจประมาทได้ว่าจะ"เอาอยู่"

โลกร้อนเขย่าเมืองใหญ่ทั่วไทย เผชิญ"ร้อน-แล้ง-น้ำท่วม"
เปิด "แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ” ประเมินผลกระทบต่อการตั้งถิ่นฐานของคนไทยในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า หลายเมืองทั่วประเทศจะเผชิญกับ "ความร้อน-แล้ง-น้ำท่วม" อย่างเลี่ยงไม่ได้ ในระดับต่าง ๆ กัน โดยเฉพาะหัวเมืองหลักตามลุ่มน้ำ เตือนต้องเร่งหามาตรการรับมือ

"ร้อน-แล้ง-กัดเซาะชายฝั่ง" ผลกระทบโลกร้อนกำลังมาเยือน
แผนรับมือโลกร้อนออกรายงานคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศล่าสุด บริเวณประเทสไทยจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1°C ในปี พ.ศ. 2573 และจะขยับสูงขึ้นถึงสิ้นศตวรรษจะสูงขึ้น 2°C ขณะที่ปริฝนมีแนวโน้มลดลง ภาคอีสานและใต้ เจอหนักสุด พร้อมกับระดับน้ำทะเลสูงขึ้น กัดเซาะชายฝั่งระดับรุนแรง

ต้นทุนพลังงานหมุนเวียนถูก ทางออกลดปล่อยคาร์บอน
เปิดรายงานวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของไทย ระบุต้นทุนจากแสงอาทิตย์ของไทยต่ำกว่าโรงไฟฟ้าก๊าซใหม่ แนะแผน PDP2024 เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น พร้อมเสนอไม่ควรสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซใหม่ ขณะที่ การใช้ระบบดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ไม่ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และ ยังมีราคาแพงกว่าพลังงานหมุนเวียน

"ปะการังฟอกขาว" รุนแรงทุบสถิติ ลาม 84% ทั่วโลก
หายนะทางทะเลเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อปรากฏการณ์ "ปะการังฟอกขาว" รุนแรงต่อเนื่อง ล่าสุด ปะการังฟอกขาวรุนแรงทั่วโลกครั้งที่ 4 รุนแรงทุบสถิติ กว่า 84% ทั่วโลก ใน 82 ประเทศ กำลังเผชิญกับวิกฤต

“แรงงานกลางแจ้ง” ไร้กฎหมายคุ้มครอง จากวิกฤตโลกร้อน
คนทำงานกลางแจ้ง ไรเดอร์ คนงานก่อสร้าง กำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น ขณะที่ไทยยังไม่มีนโยบายและกฎหมายครอบคลุมถึงสวัสดิการคุ้มครองแรงงานเหล่านี้ ขณะที่หลายประเทศเช่น “อินเดีย - การ์ตา -ปารากวัย" ตื่นตัวออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานกลางแจ้งที่ต้องทำงานกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

คุ้มครองปะการัง 17 จังหวัด คุมเข้ม“ท่องเที่ยวดำน้ำ”
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศมาตรการคุมกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ เพื่อคุ้มครองปะการังที่เสื่อมโทรมจากการท่องเที่ยวและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยห้ามถ่ายภาพใต้น้ำ-ดำน้ำต้องมี “ผู้ควบคุมที่ได้รับอนุญาต”ไปกับเรือทุกครั้ง ห้ามดำน้ำในแนวปะการัง ห้ามแตะปะการัง สัตว์น้ำและสิ่งมีชีวิตในทะเล

ฝนถล่ม พายุรุนแรง สิ่งที่ไทย-ทั่วโลกต้องเจอ
โลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เป็นสิ่งที่เราได้ยินมาอยู่เรื่อยๆ และความรุนแรงของภัยธรรมชาตินั้นมีมากขึ้นทุกปี คงเป็นไปได้ยากที่เราจะหยุดวงจรเหล่านี้ แต่สิ่งที่เราทำได้คือการตั้งรับต่อผลกระทบและพยายามลดการปล่อยมลพิษให้ได้มากที่สุด

ยกระดับ “ข้อมูล” รับมือภัยพิบัติ
น้ำท่วม ไฟป่า ฝุ่นควัน... ปัญหาเดิม ๆ ที่วนเวียนมาไม่จบไม่สิ้นในทุกปี! สะท้อนถึงปัญหาการจัดการภัยพิบัติในรูปแบบเดิมไม่สามารถรับมือได้อีกต่อไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะใช้ "ข้อมูล" ที่มีอยู่มาออกแบบนวัตกรรมการรับมือภัยพิบัติ ฟื้นคืนชีวิต จิตใจ และเศรษฐกิจของคนไทย

ปล่อยก๊าซ CO2 ทั่วโลกพุ่ง ท้าทายเป้าหมาย Net Zero
ในปี 67 มั่วโลกยังปล่อยก๊าซ CO2 สู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น แม้จะเผชิญกับสถานการณ์อุณหภูมิโลกสูงขึ้น และมีความพยายามจากหลายประเทศในการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่การปล่อย CO2 ทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้น ยังเป็นเรื่องท้าทาย Net Zero

โลกเริ่มต้นปี 68 ด้วยอุณหภูมิเดือนม.ค. "ร้อนทุบสถิติ"
เดือนมกราคม 2568 นับเป็นเดือนมกราคมที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ โดยยังคงเป็นช่วงที่มีอุณหภูมิสูงสุดอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าสภาพอากาศได้เปลี่ยนเข้าสู่ภาวะลานีญา (La Nina) ที่มักทำให้อากาศเย็นลง ขณะที่ผืนน้ำแข็งในทะเลอาร์กติกลดลง

คำศัพท์น่ารู้ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
"การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" กำลังส่งผลต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ดังนั้น การทำความเข้าใจคำศัพท์ที่ได้ยินได้ฟังในชีวิตประจำวันเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด ซึ่งหากเรามีความเข้าใจ ก็จะทำให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องและนำไปสู่การรับมือที่ถูกต้อง

ไฮโดรเจน: จุดเปลี่ยนเกมในยุคพลังงานหมุนเวียน
ท่ามกลางกระแสการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาดในปัจจุบัน แหล่งพลังงานหมุนเวียน และเทคโนโลยีหลายชนิดถูกนำมาใช้เป็นเครื่องมือเสริมประสิทธิภาพในระบบไฟฟ้าเพื่อให้มีความเพียงพอต่อความต้องการใช้งานพร้อมทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

เก็บภาษีคาร์บอนน้ำมัน หนุน Net Zero-มาตรการ CBAM
ครม.เห็นชอบร่างกฎกระทรวงการคลัง เก็บภาษีคาร์บอนน้ำมันและก๊าซหุงต้ม หนุนลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เตรียมพร้อมรับมาตรการ CBAM ส่งสินค้าไปต่างประเทศ กรมสรรพสามิตยันไม่กระทบราคาน้ำมัน

20 ปีสึนามิ : ออกแบบนโยบาย รับภัยพิบัติยุคโลกเดือด
เหตุการณ์สึนามิ ปี 2547 เป็นจุดเริ่มต้นของระบบจัดการภัยพิบัติและเครือข่ายอาสาสมัครในไทย รวมถึงการจัดทำ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ผ่านเส้นทางยาวนานมาถึงวันนี้ ประเทศไทยยังคงตกอยู่ในวังวนและเผชิญความสูญเสียจากภัยพิบัติหลากรูปแบบที่รุนแรง ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ

“เปิบข้าว” บทเพลงชีวิตชาวนากับความเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ : นโยบายรัฐบาล คือ เงื่อนไขแห่งความอยู่รอด

8 เหตุการณ์ที่คนทั่วโลกโหวต คาดว่าจะเกิดในปี 68
ในปีที่ผ่านมา มีหลายสิ่งหลายอย่างบนโลกเกิดขึ้น และเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว อีกทั้งมีหลายอย่างเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด และสิ่งที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมา ทำให้คนทั่วโลกคาดการณ์สิ่งที่จะตามมาในปีนี้ โดยผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นสิ่งที่คนกังวลมากที่สุด

คนไทยอันดับ 2 ของโลก มองโลกร้อนเป็นเรื่องไกลตัว
เผยผลการสำรวจคนทั่วโลก 23% มองว่าผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเป็นเรื่อง "ไกลตัว" ในขณะที่คนไทยติดอันดับ 2 ของโลก ประมาณ 40% ที่เห็นว่าโลกร้อนไกลตัว ส่วนที่ 1 คือ อินเดีย

เหลื่อมล้ำทางภัยพิบัติเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องรอ “อนาฅต”
ความหลื่อมล้ำในสังคมไทยเกิดขึ้นในหลายมิติ แม้กระทั่งการเผชิญหน้าหรือการจัดการภัยพิบัติ ที่หลายครั้งเกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เท่าเทียมกันในแต่ละพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่เศรษฐกิจที่ถูกปกป้องคุ้มครองมากกว่าพื้นที่การเกษตร รวมไปถึงในแง่งบประมาณ และองค์ความรู้ในการจัดการภัยพิบัติที่ยังมีความแตกต่าง

โลกรวน เพิ่มความรุนแรงภัยพิบัติ : 4 เรื่องเร่งด่วนเตรียมพร้อมรับความเปลี่ยนแปลง
ประเทศไทยกำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งใหญ่จากภัยธรรมชาติที่มีความรุนแรงและความถี่มากขึ้น โดยเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งหลายภัยพิบัติที่เกิดขึ้นทั่วประเทศได้สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินมหาศาล ทั้งยังเป็นคำเตือนให้ประเทศไทยเตรียมรับมือกับภัยธรรมชาติที่ไม่อาจปฏิเสธได้ในอนาคต

ย้ำสัญญา ลดคาร์บอนไทย กับทิศทางต่อไปในปี 2025
ประเทศไทยประกาศเป้าหมายชัดเจนในการประชุมระดับสูงของ COP ครั้งที่ 29 ณ เมืองบากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน โดยมุ่งตามเป้า NDC สู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2050 ท่ามกลางการจับตาว่าจะเป็นไปตามเป้าหมายได้มากน้อยแค่ไหน และแตกต่างจากประเทศอื่น ๆ อย่างไรบ้าง

ไทยตามหลังหรือไม่? เปรียบเทียบระบบป้องกันภัยพิบัติที่รอบด้านจากรอบโลก
ระบบป้องกันภัยพิบัติที่ใช้กันทั่วโลกมีความแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละประเทศ ซึ่งมีจุดแข็ง จุดอ่อนแตกต่างกันไป การเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถเปรียบเทียบและนำมาปรับใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม

ไทยต้องลด 30-40% ตามมาตรการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
เปิดแผนลดการปล่อยก๊าซเรือนกระแจกของไทย ตั้งเป้าลดปล่อยก๊าซ 30-40% ภายในปี 2573 พุ่งเป้า 5 สาขาหลัก ที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง คือ สาขาพลังงาน สาขาคมนาคมขนส่ง สาขาการจัดการของเสียชุมชนและน้ำเสียอุตสาหกรรม กระบวนการทางอุตสาหกรรมและการใช้ผลิตภัณฑ์ และ สาขาเกษตร

3 เหตุผลไทยต้องเร่งปรับตัว รับโลกร้อน "ให้ทันการณ์"
3 เหตุผลว่าทำไมไทยต้องเร่งปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ธุรกิจไทยปรับยาก ไทยเปราะบางติด 1 ใน 10 และเอสเอ็มอีเป็นรากฐานสำคัญเศรษฐกิจไม่พร้อมปรับเปลี่ยน แนะทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันปรับตัว ไม่อาจพึ่งพาส่วนใดส่วนหนึ่งได้ เป็นเรื่องใหญ่เกินกำลังที่จะทำเพียงลำพัง

ชาวเชียงรายวาดภาพอนาคต จัดการภัยพิบัติยั่งยืน
คนเชียงรายปรับบทบาทจาก “ผู้ประสบภัย” เป็น “ผู้มีส่วนร่วมตัดสินใจเชิงนโยบาย” ระดมความเห็นทุกภาคส่วนจากทั้งผู้ประสบภัยพิบัติ ภาคประชาสังคม ภาควิชาการ สื่อ เอกชน และหน่วยงานรัฐ ผลักดันข้อเสนอเชิงนโยบายให้จังหวัดเชียงรายเป็นต้นแบบรับมือภัยพิบัติอย่างยั่งยืน พร้อมเสนอรัฐบาลให้การสนับสนุน

เกษตรเสียหาย 3.54 ล้านไร่ จากอุทกภัยปี 67
ช่วงสุดท้ายสภานการณ์น้ำท่วมปี 67 เสียหายแล้วกว่า 3 ล้านไร่ มูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท จังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเชียงราย สศช.แนะรัฐบาลเร่งเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในเรื่องบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานและระบบการเตือนภัย

วิกฤตธรรมชาติเสี่ยงกระทบธุรกิจรุนแรงในระยะยาว
วิกฤตทางธรรมชาติและระบบนิเวศเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้นในโลกยุคโลกเดือด จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลักอย่างรุนแรงในระยะยาวได้ หากไม่ช่วยกันรักษาความหลากหลายทางชีวภาพอย่างจริงจัง

3 โจทย์ใหญ่จัดการภัยพิบัติเชียงราย
สถานการณ์น้ำท่วม และสึนามิโคลนที่เกิดขึ้นในเชียงราย สะท้อนถึงระบบการรับมือที่ยังไม่ดีพอ และการตกอยู่ในวังวนของภัยพิบัติใหญ่มานานนับสิบปี ทำให้การพัฒนาเติบโตของ “เชียงราย” ถูกบั่นทอน “รศ.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์” เสนอ 3 แนวทาง ทำให้เมืองปลอดภัย และเดินหน้าพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวได้มากขึ้น

COP29 ผลักดันพลังงานสะอาด สร้างตลาด "ไฮโดรเจน"
การประชุม COP29 ยังเผชิญกับความท้าทายว่าจะประสบความสำเร็จแค่ไหน จากการเปลี่ยนแปลงการเมืองในประเทศพัฒนาแล้ว แต่ก็ก็คาดว่าจะมีความคืบหน้าในการกำหนดเป้าหมายทางการเงิน เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา และคาดว่าจะผลักดันด้านพลังงานไฮโดรเจน

2567: จุดเปลี่ยนโลก เมื่ออุณหภูมิร้อนทุบสถิติใหม่
ชัยชนะของโดนัลด์ ทรัมป์ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทำให้เกิดความกังวลว่านโยบายของสหรัฐจะไปขัดขวางความพยามของหลายประเทศทั่วโลกในการ่วมกันแก้ปัญหาโลกร้อน แต่ไม่ว่าทรัมป์จะดำเนินนโยบายอย่างไร อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี 67 อาจข้ามจุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่ออุณภูมิเฉลี่ยสูงกว่าก่อนยุคอุตสาหกรรม 1.5 °C

เสนอปรับเพดานนโยบาย หนุนชุมชนเข้มแข็งจัดการภัยพิบัติ
ภาคใต้กำลังเข้าสู่ฤดูฝนในเดือน พ.ย.นี้ สามเดือนนับจากนี้เป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม การเตรียมความพร้อมรับมือจึงต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ ชุมชนจะต้องตอบ 3 คำถามให้ได้ หนีเมื่อไร? หนีอย่างไร? หนีไปไหน? และภาคีเครือข่ายต้องช่วยสร้างกลไกสนับสนุนให้พวกเขาเข้มแข็ง

โลกเดือด-มาตรการการค้าเข้ม ภาคเกษตรเจอผลกระทบหนัก
โลกเดือด หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมาเร็วขึ้น คาดว่าในปี 2570 อุณหภูมิโลกจะแตะระดับ 1.5 องศาเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ทำให้ส่งผลกระทบรุนแรงและบ่อยขึ้น แต่ในแง่การค้าขาย จะได้รับผลกระทบมากขึ้นจากมาตรการต่าง ๆ ที่จะออกมาแก้ปัญหาโลกร้อน

ทีดีอาร์ไอระดมสมองรับโลกเดือด ในยุคที่คนไทยยังเมิน
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบชัดเจนและรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีการตั้งชื่อให้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเรากำลังก้าวสู่ "ยุคโลกเดือด" ซึ่งจากน้ำท่วมรุนแรงในภาคเหนือในปีนี้ ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบรุนแรงและไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่หน่วยงานของรัฐยังขาดแผนรับมืออย่างแท้จริง นอกจากแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

อาเซียนตั้งศูนย์ความร่วมมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
กลุ่มประเทศอาเซียนได้ยกระดับเพื่อรับมือกับปัญหาโลกร้อน โดยการตั้งศูนย์อาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อสนับสนุนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้ประเทศสมาชิกอาเซียน

เทียบเคียงมหาอุทกภัยปี 54 มีโอกาสซ้ำรอยแค่ไหน?
จากภาวะฝนตกหนักในจังหวัดภาคเหนือและเกิดอุทกภัยในหลายจังหวัด ทำให้เกิดความกังวลว่าสถานการณ์จะซ้ำรอยมหาอุทกภัยในปี 2554 แต่ความเห็นและการคาดการณ์ของหน่วยงานต่าง ๆ ยังมีความแตกต่างกัน โดยเฉพาะปรากฏการณ์ลานีญา และยิ่งปรากฏการณ์โลกร้อน ทำให้การคาดการณ์อย่างแม่นยำมีความเป็นไปได้ยากขึ้น

ลดก๊าซเรือนกระจก "ต้องทำจริง" ก่อนตกขบวนการค้าโลก
ลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2065 แม้จะยังช้ากว่าประชาคมโลกอยู่หลายปี แต่รัฐบาลจะต้องดำเนินการอย่างจริงจัง ก่อนถูกกีดกันทางการค้าโลก เนื่องจากประเทศที่มีเป้า Net zero มีแนวโน้มเลือกทำการค้ากับประเทศที่มีเป้า Net zero ใกล้เคียงกัน

ดัชนีลดก๊าซเรือนกระจกธุรกิจใหญ่แย่ ปตท.คะแนนต่ำเรื่องเป็นธรรม
งานวิจัยพบว่า 462 บริษัททรงอิทธิพลทั่วโลก มีประสิทธิภาพลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เพียง 24% จากคะแนนวัดผลของ WBA (World Benchmarking Alliance) และการเปลี่ยนผ่านที่เป็นธรรมของบริษัทเหล่านี้ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำ ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังเป็นปัญหาทั่วโลก

เตือน (อีกครั้ง) น้ำจะท่วมกรุง จากผลกระทบโลกเดือด
เปลี่ยนรัฐบาลมาหลายชุด แต่ยังไม่มีรัฐบาลไหนให้ความสนใจผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการคาดการณ์ว่ากรุงเทพมหานครจะได้รับผลกระทบติด 1 ใน 10 ของเมืองที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากน้ำท่วม เมื่อกรุงเทพฯเสี่ยงจมน้ำ และ “โลกเดือด” ไม่ใช่แค่วลีสนุกปาก

ฟ้องนายกฯ แผน PDP2024 ฟังความเห็นไม่รอบด้าน
ภาคประชาชนและนักวิชาการ ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรี ระบุการประชาพิจารณ์แผนผลิตไฟฟ้าฉบับใหม่ PDP2024 รับฟังความเห็นไม่รอบด้าน จำกัดการมีส่วนร่วมประชาชน และเสี่ยงค่าไฟแพงขึ้น เพราะคาดการณ์ความต้องการไฟฟ้าสูงเกินจริง

เอลนีโญฉุดผลผลิตเกษตร สัญญาณเตือนจากโลกร้อน
สัญญาณเตือนกระทบจากเอลนีโญ ผลผลิตภาคเกษตรที่เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศลดลงถ้วนหน้า ทั้งสาขาพืชและประมง ส่งผลให้จีดีพีไตรมาส 2 ปี 2567 ติดลบ แต่คาดว่าครึ่งปีหลังดีขึ้นจากเอลนีโญสิ้นสุดลง

จริงหรือ? ทส.รายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมดีขึ้น
การรับรู้ของคนทั่วไปเกี่ยวกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมเลวร้ายลงทุกปี แต่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของไทยในปีที่ผ่านมา กลับระบุว่าดีขึ้นและทรงตัว ไม่มีด้านใดที่เลวร้ายลง

PDP ฉบับใหม่เริ่มใช้ พลังงานไฮโดรเจนในปี 2030
คาดแผน PDP ฉบับใหม่ (2024) และแผนการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จะเริ่มมีการใช้ไฮโดรเจนเป็นพลังงานผลิตไฟฟ้าในปี 2030 และช่วยหนุนให้มูลค่าไฮโดรเจนคาร์บอนต่ำปรับตัวเพิ่มขึ้นราว 8 หมื่นล้านบาทในปี 2050

โรงไฟฟ้าพลังน้ำกับความหมกเม็ดของ “พลังงานสะอาด” ในร่างแผน PDP2024
หลังจากที่รอคอยกันมานานถึง 6 ปี ในที่สุด ในเดือนมิถุนายน 2567 “แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ” ฉบับใหม่หรือ PDP2024 ที่เป็นหนึ่งในห้าแผนของแผนพลังงานชาติหรือ National Energy Plan: NEP (ซึ่งประกอบด้วยห้าแผนคือ Gas Plan, Oil Plan, AEDP, EEP, and PDP) ก็กำลังจะคลอดออกมาบังคับใช้จริงภายในปี พ.ศ. 2567

PDP2024 เร่งลงทุนไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน
ร่างแผน PDP 2024 คาดว่าจะมีเม็ดเงินลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไฟฟ้ารวมกว่า 1 ล้านล้านบาท เน้นเทคโนโลยีช่วยค่าไฟให้เหมาะสม พร้อมสร้างสมดุลทั้งด้านความมั่นคง ราคา สิ่งแวดล้อม ให้ตอบโจทย์การลดการปล่อยคาร์บอน เพื่อบรรลุเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจาก

กลไกคาร์บอนเครดิตร่วม ระหว่างรัฐบาลไทย-ญี่ปุ่น
ครม.ไฟเขียวร่างบันทึกว่าด้วย "กลไกเครดิตร่วม" ระหว่างรัฐบาลไทย-ญี่ปุ่น หลังดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2558 โดยไทยได้รับการสนับสนุนทางการเงิน ในขณะที่ต้องโอนคาร์บอนเครดิตให้กับญี่ปุ่น 50%

ไทยต้องลดใช้ก๊าซ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน
ประเทศไทยเดินหน้ามุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยลดจัดหาเชื้อเพลิงฟอสซิลในแผน PDP 2024 หันมากเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญชี้ก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจะต้องลดลงเหลือน้อยกว่า 20% ในค.ศ. 2050 หรือ พ.ศ 2593

รู้จัก SET Carbon ส่องบจ.ปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ท่ามกลางอุณหภูมิโลกที่เริ่มเดือดมากขึ้นจากฝีมือมนุษย์ ตลาดหลักทรัพย์ฯ พัฒนา SET Carbon ระบบเปิดเผยข้อมูลการจัดการก๊าซเรือนกระจกของบริษัทจดทะเบียน เพื่ออำนวยความสะดวกนักลงทุน และหน่วยงานต่าง ๆ

Fast Fashion เรื่องใกล้ตัว มหันตภัยต่อสิ่งแวดล้อม
การผลิตเสื้อก็มีส่วนทำลายธรรมชาติ พบปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในสัดส่วน 6-8% ของทั้งโลก จากกระบวนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ และคาดว่าการเจริญเติบโตของฟาสแฟชั่น จะมีเสื้อผ้าถูกทิ้ง 134 ล้านตันต่อปีภายในสิ้นทศวรรษนี้

รู้จัก "คาร์บอนเครดิต" จูงใจเอกชนร่วมลดโลกเดือด
ทำความรู้จัก คาร์บอนเครดิต กลไกที่จะดึงภาคเอกชนร่วมให้ปรับเปลี่ยนการดำเนินธุกิจที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อบรรเทาสภาวะโลกร้อนให้ดีขึ้นในอนาคต

ทำโครงการคาร์บอนเครดิตไทย ต้องลงทุนอะไรบ้าง
คาร์บอนเครดิตสามารถนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ อาจสร้างรายได้และกำไรให้กับธุรกิจ แต่การสะสมคาร์บอนเครดิตจะต้องมาจากโครงการคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองจาก T-VER โดยจะมีต้นทุนในการดำเนินการ ประเมิน และรับรองคาร์บอนเครดิต

ไทยเสี่ยงเผชิญ "ภัยแล้งสลับน้ำท่วม"รุนแรง ฉุดเศรษฐกิจประเทศ
ไทยเสี่ยงเจอภัยแล้งสลับกับน้ำท่วมฉับพลันที่รุนแรงมากขึ้นในแต่ละปี เนื่องจากวิกฤตสภาพอากาศสุดขั้ว นักวิจัยวิจัยเศรษฐกิจป๋วยฯ ชี้จะกระทบเศรษฐกิจไทยในทุกภาคส่วนตั้งแต่รากหญ้าไปจนถึงระดับบน เตือนทุกฝ่ายร่วมกันลดปล่อยก๊าศเรือนกระจก และปรับตัวเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ธุรกิจไทยต้องเร่งปรับตัว เดินหน้าสู่เป้าหมาย Net Zero
ธปท.ชี้ไทยต้องเริ่มปรับตัวภาคธุรกิจให้ลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ ป้องกันตกขบวนการค้าโลก พร้อมให้สถาบันการเงินพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อสีเขียวให้ครอบคลุมธุรกิจ SMEs ที่ถือเป็นกระดูกสันหลังของเศรษฐกิจ

สภาพอากาศแปรปรวนจาก"เอนโซ่" ผลผลิตข้าวลดลง

จาก"เอลนีโญ" สู่ "ลานีญา" จับตาสภาพอากาศช่วงเปลี่ยนผ่าน
สภาพอากาศของประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเอลนีโญ ไปสู่ลานีญา หรือเรียกว่า "เอนโซ่" คาดว่าสภาพอากาศยังร้อนกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อครั้งเจอปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรง และอาจจะเผชิญกับน้ำท่วม จากปริมาณฝนมากกว่าปกติ

เป็นไปได้แค่ไหน? ก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2065
ร่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่รัฐบาลไทยกำลังจะผลักดันออกมา อย่างน้อยคาดว่าจะเสนอครม.กลางปีนี้ คาดจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ภาคอุตสาหกรรมและการดำรงชีวิตของคนเราในชีวิตประจำวัน เพราะเราต่างมีราคาที่ต้องจ่าย หากต้องบรรเป้าหมายแก้ปัญหาโลกร้อน

ไทยต้องเตรียมรับมือ สภาพอากาศสุดขั้ว
จากสภาพอากาศร้อนอบอ้าวในปีนี้ เป็นผลจากคลื่นความร้อนกระหน่ำเอเชียในหลายประเทศ จึงเป็นสัญญาณเตือนว่า "สภาพอากาศสุดขั้ว" ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทั้งภัยแล้ง ไฟป่า น้ำท่วมและพายุ อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่คำถามก็คือ ไทยมีแผนรองรับเรื่องเหล่านี้แค่ไหน

สิ่งที่รัฐบาลควรทำ คือ เร่งรับมือผลกระทบโลกร้อน
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รวดเร็วเป็นปัจจัยหลักให้โลกอุณภูมิร้อนขึ้น และส่งผลกระทบทั่วโลกในหลายด้าน โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีพื้นที่ติดชายทะเลและเสี่ยงต่อน้ำท่วม ธนาคารโลกคาดหากไทยไม่เตรียมรับมืออาจทำให้เศรษฐกิจถดถอย 20-30% ภายในปี 2593

ดันแบงก์พาณิชย์พลิกโฉมธุรกิจ สู่เป้าหมายลดโลกร้อน
ธปท.จับมือแบงก์พาณิชย์ ตั้งเป้าหมายผลักดันธนาคารออกผลิตภัณฑ์การเงินสำหรับกลุ่มลูกค้าที่พร้อมปรับตัวไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน คาดออกในช่วงต้นไตรมาส 3 ของปี 2567 และหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่สร้างแรงจูงใจให้ภาคธุรกิจในวงกว้างเกิดการปรับตัว เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย

เปลี่ยนผ่านสู่ความยั่งยืน ความท้าทายธุรกิจโรงแรมไทย
โรงแรมไทยกำลังปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชีย ท่ามกลางกระแสแก้ปัญหาโลกร้อนในหลายประเทศ แม้ไม่ได้มีกฎกติกาบังคับให้โรงแรมต้องเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินงาน แต่ก็มีแรงการกระตุ้นในทางอ้อมที่มาจากความต้องการของกลุ่มลูกค้า ซึ่งถือเป็นความท้าทายของธุรกิจ

โลกร้อนทุบสถิติ เกิน 1.5 องศาก่อนยุคอุตฯนาน 12 เดือน
โลกร้อนทุบสถิติ อุณหภูมิพื้นผิวโลกในเดือนม.ค. 2567 เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดตั้งแต่มีการบันทึก สูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 1.5°C เป็นเวลา 12 เดือน กรีนพีซเรียกร้องลดปล่อยแก๊สเรือนกระจากทันที โดยเฉพาะบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก

สัญญาณเตือนยุคโลกเดือด "ไข้เลือดออก-มาลาเรีย"ระบาดหนัก
โลกร้อน หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำลังส่งผลกระทบมากกว่าเรื่องอากาศร้อนจัดและการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล แต่กำลังคุกคามถึงสุขภาพของคนไทย เมื่อพบว่าในปีที่ผ่านมา ไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย ระบาดหนักในเอเชีย รวมถึงไทย

Mechanism Design : วิธีการสร้าง "การยอมรับ-เชื่อมั่น" ในนโยบาย
มารู้จักกับแนวคิด “การออกแบบกลไก (Mechanism Design)” เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ออกแบบกลไกหรือวิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่สังคมตกลงกันหรือผู้กำหนดต้องดำเนินการ ยึดเป้าหมายมากกว่าวิธีการ โดยผู้มีส่วนได้เสียยอมรับและเชื่อมั่น

ชวนรู้จักสารพัดสารพิษภาคอุตสาหกรรมที่คร่าชีวิตผู้คน
มลพิษทางอากาศที่ปล่อยจากภาคอุตสาหกรรม คือ สารที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิง ประกอบไปด้วยก๊าซ ฝุ่นละออง ควันดำ โลหะหนัก สารอินทรีย์ระเหยง่าย และสารไดออกซิน เป็นต้นมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้รวบรวมข้อมูลอันตรายจากสารพิษเหล่านี้ ในความ เรื่อง “PM 2.5 กับอุตสาหกรรม ตอนที่ 3: สารมลพิษทางอากาศกับผลกระทบแสนอันตราย”

ย้อนรอยบทเรียนมลพิษโรงไฟฟ้า-นิคมอุตสาหกรรม
ก่อนที่ประเทศไทยจะตื่นตัวกับปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างทุกวันนี้ ในอดีตเคยมีปัญหามลพิษที่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมมาก่อน มูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้นำเสนอ 3 กรณีมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรม ผ่านบทความ PM 2.5 กับอุตสาหกรรม ตอนที่ 2: กรณีมลพิษอากาศอุตสาหกรรมในตำนาน

เล็งใช้พลังงานสะอาดดึงนักลงทุน ตั้งเป้าลดค่าไฟหน่วยละ 4.1 บาท
นายกฯ ปาฐกถาพิเศษงาน Sustainability Forum 2024 เรื่อง COP28 เผย ไทยมีพลังงานสะอาดเป็นจุดแข็งดึงดูดนักลงทุนมาลงทุนในไทย เล็งประกาศเพิ่มพลังงานทดแทนเป็น 50% พร้อมตั้งเป้าลดค่าไฟอยู่ที่ 4.1 บาทต่อหน่วย

ย้อนรอย COP26-COP27 ข้อตกลงแก้โลกร้อน "ไม่คืบ"
Policy Watch ชวนดูข้อสรุปที่เกิดขึ้นในเวที COP26 และ 27 รวมถึงจุดยืนของประเทศไทยในการแสดงความร่วมมือเพื่อนำไปสู่เป้าหมายการลดอุณหภูมิโลก ซึ่งล้วนมีผลสืบเนื่องต่อมายังเวที COP28 โดยเฉพาะเป้าหมายในการลดอุณหภูมิโลกและการจัดตั้งกองทุน Loss and Damage Fund

พร้อมแค่ไหน รับมือยุคโลกเดือด?
นโยบายสิ่งแวดล้อมแทบทุกรัฐบาล มักมีความสำคัญในลำดับรองหรือไม่ก็เป็นส่วนหนึ่งของเป้าหมายการฟื้นฟูเศรษฐกิจ แต่ในภาวะที่ทั่วโลกกำลังเข้าสู่ยุค “โลกเดือด” และเกิด “ความแปรปรวน” ยากที่จะคาดการณ์ ดังนั้นจึงถึงเวลาที่ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง