กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกรายงาน “แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ” ฉบับล่าสุดในปีนี้ ซึ่งคาดการณ์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ประเทศไทยจะเผชิญในระยะต่อไป ทั้งระยะสั้น-ปานกลางและระยะยาว
ผลกระทบที่เกิดขึ้นมีหลายด้าน แต่ผลกระทบที่สำคัญ คือ ผลกระทบต่อการตั้งถิ่นฐาน โดยประเมินว่าถิ่นที่อยู่ในปัจจุบันของคนไทยจะเผชิญกับผลกระทบด้านใดบ้าง โดยใช้แบบจำลองที่มีการใช้ในปัจจุบัน ซึ่งพบว่าในแต่ละพื้นที่ของประเทศมีความเสี่ยงกับภัยพิบัติต่าง ๆ กัน แต่ทุกพื้นที่จะเจอกับ ความร้อน (Heat Stress) ภัยแล้ง (Drought) และอุทกภัย (Floods)
แผนดังกล่าวระบุว่า “การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อการตั้งถิ่นฐานท่ีรุนแรงขึ้นในอนาคต จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศในการกำหนดนโยบายและแผนการพัฒนาที่เก่ียวข้องกับการตั้งถิ่นฐาน” โดยผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตามหัวเมืองสำคัญของประเทศ
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ถือว่าเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาประเทศ มีความหนาแน่นของประชากรสูงที่สุด และเป็นแหล่งรวมเศรษฐกิจที่สาคัญที่สุด นอกเหนือจากกิจกรรมทางการเกษตร โดยการตั้งถิ่นฐานและการพัฒนาของกรุงเทพมหานครและปริมณฑลได้แผ่ขยายออกไปเชื่อมต่อกับพื้นที่บริเวณภาคตะวันออกของประเทศ โดยมีการพัฒนาบนฐานของภาคอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวเป็นสำคัญ
เมืองใหญ่ลำดับรองลงมา ที่มีประชากรในจังหวัดในระดับประมาณ 1 ล้านคนขึ้นไปนั้นกระจายตัวไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ส่วนใหญ่ต้ังอยู่บริเวณลำน้ำสายสำคัญของประเทศ กล่าวคือ พื้นท่ีที่มีการพัฒนาและมีความสำคัญในด้านต่าง ๆ ของประเทศไทย ส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในบริเวณพื้นที่ราบใกล้แม่น้ำสายสำคัญและในพื้นที่ชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะ บริเวณกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเชื่อมต่อกับพื้นท่ีชายฝั่งทางภาคตะวันออก รวมถึงพื้นท่ีเมืองใหญ่ในภูมิภาคอื่น ๆ
หากพิจารณาจากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าพื้นที่เหล่านี้ล้วนเป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการประสบภัยพิบัติ อันเนื่องจากการเปลี่ยนนแปลงสภาพภูมิอากาศค่อนข้างสูง ซึ่งรวมถึงอุทกภัยที่เป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและความเข้มข้นของปริมาณน้ําฝน การเพิ่มขึ้นของระดับของน้ําทะเล ความแห้งแล้ง และดัชนีความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น
สํานักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและส่ิงแวดล้อม ศึกษาผลกระทบเพื่อประเมินความเสี่ยงจากปัจจัยทางภูมิอากาศต่อการตั้งถิ่นฐานของประเทศไทย โดยจําแนกตามการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้ภาพสถานการณ์จําลอง RCP 4.5 และ RCP 8.5
RCP4.5 และ RCP 8.5 คืออะไร
ก่อนจะไปทำความเข้าใจกับ RCP4.5 และ RCP 8.5 ต้องรู้ว่าเส้นทางความเข้มข้นแบบเป็นตัวแทน (RPCs) หมายถึงอะไร
RCP เป็นแบบจำลองที่ออกแบบมาเพื่อคาดการณ์อนาคตของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อาจเกิดขึ้นและการลดลงของความเข้มข้นในชั้นบรรยากาศที่เป็นไปได้ตลอดศตวรรษนี้
RCP กำหนดขึ้นโดยอิงตามการคาดการณ์สำหรับศตวรรษนี้ โดยสร้างสถานการณ์ต่างๆ ตั้งแต่ในแง่ดีไปจนถึงแง่ร้ายจากผลกระทบของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ต่อโลก โดยมีการคาดการณ์ไว้หลากหลาย แต่ที่มีการกล่าวถึงมาก คือ RCP 4.5 และ RCP 8.5
RCP 4.5: แสดงถึงการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกระหว่าง 3.5 ถึง 5°C
สถานการณ์นี้ คาดว่าปริมาณการปล่อยก๊าซจะถึงจุดสูงสุดในช่วงกลางศตวรรษ จากนั้นจะลดลงอย่างรวดเร็วภายใน 30 ปีข้างหน้า และในที่สุดก็จะคงที่ที่ระดับครึ่งหนึ่งของระดับในปี 2543 คาดว่าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจะยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปอีกสักระยะหนึ่ง แต่ในอัตราที่คงที่ ซึ่งถือเป็นการเพิ่มขึ้นของปริมาณการปล่อยก๊าซที่ช้ากว่าที่คาดไว้ก่อนหน้านี้
ในบริบทของการพัฒนาเมืองและเศรษฐกิจ คาดว่าการเติบโตจะอยู่ที่ระดับปานกลางเมื่อเทียบกับสถานการณ์ที่มองในแง่ดีมากขึ้น คาดว่าการบริโภคพลังงานจะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งมากกว่าการคาดการณ์ไว้ก่อนหน้านั้น แต่คาดว่าการใช้น้ำมันจะคงที่จนถึงปี 2100 ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดในสถานการณ์นี้คือ การใช้พลังงานนิวเคลียร์และแหล่งพลังงานหมุนเวียนมีมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในความต้องการด้านพลังงานของสังคม
ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญประการหนึ่งของ RCP 4.5 คือการเน้นที่การใช้ที่ดิน โดยคาดการณ์ว่าพื้นที่เกษตรกรรมที่ใช้ปลูกพืชผลและพื้นที่ทุ่งหญ้าอื่นๆ จะลดลง เนื่องจากความพยายามในการปลูกป่าทดแทนได้เริ่มมีพืชพรรณธรรมชาติชนิดใหม่เข้ามาแทนที่ การเปลี่ยนแปลงนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญในการฟื้นฟูระบบนิเวศธรรมชาติ และเพิ่มความหลากหลายทางชีวภาพซึ่งแตกต่างจากการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรมที่คาดไว้ก่อนหน้านั้น
สรุปแล้ว RCP 4.5 มุ่งหวังถึงโลกที่ปัญหาสิ่งแวดล้อมได้รับการแก้ไขด้วยแนวทางที่สมดุล โดยผสมผสานการเติบโตทางเศรษฐกิจและในเมืองกับแนวทางการใช้พลังงานที่ยั่งยืน และความมุ่งมั่นในการฟื้นฟูระบบนิเวศ
RCP 8.5: แสดงถึงอุณหภูมิโลกเพิ่มขึ้น 5°C
RCP 8.5 มองว่าเป็น “สถานการณ์เลวร้ายที่สุด” สำหรับการปล่อยก๊าซในอนาคต เส้นทางนี้คาดการณ์ว่าการปล่อยก๊าซจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและต่อเนื่องตลอดทั้งศตวรรษ โดยเฉพาะในช่วงเริ่มต้นและช่วงกลางของศตวรรษ คาดว่าในปี 2100 ปริมาณการปล่อยจะคงที่ แต่จะมีปริมาณคาร์บอนสูงถึง 30 กิกะตัน ซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจาก 8 กิกะตันที่บันทึกไว้ในปี 2000
ในสถานการณ์นี้ ความเข้มข้นของการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในบรรยากาศคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ซึ่งเป็นอัตราที่น่าตกใจไปจนถึงศตวรรษหน้า
คาดว่าประชากรโลกจะแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยใกล้ถึง 12,000 ล้านคนภายในสิ้นศตวรรษนี้ รูปแบบการเติบโตทางเศรษฐกิจคาดว่ารายได้ของแต่ละบุคคลอาจต่ำ ซึ่งได้รับผลกระทบจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นและความท้าทายเฉพาะตัวที่ประเทศกำลังพัฒนาต้องเผชิญ
RCP 8.5 วาดภาพอนาคตด้านสิ่งแวดล้อมที่น่ากลัว จากการบริโภคพลังงานและอัตราการบริโภคโดยรวมแบบ “ไม่ยั่งยืน” และเพิ่มขึ้นอย่างมากตลอดศตวรรษนี้ คาดว่าการใช้น้ำมันจะเพิ่มขึ้นจนถึงปี 2070 หลังจากนั้น จะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยหันไปใช้ถ่านหินเป็นแหล่งพลังงานหลัก การเปลี่ยนแปลงนี้ บ่งชี้ถึงการหลีกหนีจากทางเลือกด้านพลังงานที่สะอาดกว่า
เมื่อพิจารณาถึงการใช้ที่ดิน สถานการณ์ดังกล่าวบ่งชี้ว่าแนวโน้มในปัจจุบันจะยังคงดำเนินต่อไป พื้นที่เกษตรกรรมสำหรับปลูกพืชผลและพื้นที่ทุ่งหญ้าคาดว่าจะขยายตัว ส่งผลให้มีการตัดไม้ทำลายป่าเพิ่มขึ้นและส่งผลให้พื้นที่ป่าโดยรวมลดลง
RCP 8.5 ได้สรุปสถานการณ์ที่ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อมได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง ส่งผลให้มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูง ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลมากขึ้น และเผชิญกับความท้าทายทางนิเวศวิทยาที่สำคัญ
RCP 8.5 ยังทำหน้าที่เป็นเครื่อง “เตือนใจ” โดยเน้นถึงผลที่ตามมาที่อาจเกิดขึ้นจากการดำเนินการที่ไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
อ่านเพิ่มเติม: เส้นทางความเข้มข้นแบบตัวแทน (RCP): คืออะไร?
คาดไทยเลี่ยงยาก “น้ำท่วม-ร้อน-แล้ง”
ตามรายงาน “แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ” คาดการณ์ว่าพื้นที่ของประเทศไทย จะเผชิญภายใต้ภาพสถานการณ์จําลอง RCP 4.5 และ 8.5 พบว่าพื้นที่เสี่ยงต่อความร้อน (Heat Stress) ภัยแล้ง (Drought) และอุทกภัย (Floods) ดังนี้
อุทกภัยหรือสถานการณ์น้ำท่วม: จากการคาดการณ์ภายใต้ 2 สถานการณ์จำลอง พบว่าพื้นท่ีท่ีเผชิญภาวะน้ำท่วมสูงส่วนใหญ่อยู่ในภาคกลางและที่ราบลุ่มบริเวณภาคเหนือตอนล่าง โดยเฉพาะตามแนวแม่น้ำยม แม่น้ำน่านและแม่น้ำเจ้าพระยา
ส่วนพื้นที่เผชิญน้ำท่วมในระดับปานกลางนั้น กระจายตัวอยู่ทั่วไปในบริเวณลำน้ำสายสำคัญ โดยเฉพาะภาคตะวันออก และบางส่วนของภาคเหนือ รวมท้ังบริเวณชายฝั่งทะเล โดยเฉพาะทางฝั่งอ่าวไทย ทั้งในบริเวณภาคใต้และภาคตะวันออก
สาเหตุหลัก เกิดจากการเปลี่ยนแปลงปริมาณและความเข้มข้นของน้ำฝน รวมทั้งการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ส่งผลให้พื้นท่ีเหล่านี้มีโอกาสเผชิญกับภาวะน้ำท่วมในแผ่นดิน น้ำท่วมขังในพื้นท่ีลุ่มต่ำจากฝนตกหนักต่อเนื่อง รวมท้ังสูญเสียแผ่นดินที่เกิดจากการกัดเซาะ บริเวณชายฝั่ง
นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าพื้นท่ีเหล่านี้มีโอกาสในการเผชิญภาวะน้ำท่วมสูงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในขณะที่ระดับการเผชิญต่อภาวะน้ำท่วมของพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล และพื้นท่ีบริเวณริมชายฝั่งในภาคตะวันออก และภาคใต้จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อผนวกกับระดับน้าทะเลที่เพิ่มสูงข้ึน
สถานการณ์อากาศร้อน: คาดการณ์ว่าภาพรวมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ มีแนวโน้มจะเผชิญภาวะอากาศร้อนขึ้นปานกลาง ในขณะที่พื้นที่แถบภูเขาสูงจะมีความเสี่ยงต่ำกว่า และเมื่อพิจารณาถึงผลจากการคาดการณ์ในรายละเอียดระดับจังหวัด พบว่าพื้นที่ในบริเวณที่ราบภาคกลางและภาคเหนือ ซึ่งเดิมเป็นพื้นที่ที่มีค่าดัชนีความร้อนสูงอยู่แล้วมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงมากย่ิงขึ้น
ผลการวิเคราะห์ยังแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มท่ีมีการขยายวงกว้างของพื้นที่ที่มีค่าดัชนีความร้อนสูงครอบคลุมเกือบทุกพื้นท่ีภาคกลางและภาคใต้เกือบทั้งหมด รวมทั้งพื้นที่ส่วนใหญ่ในภาคเหนือและบางส่วนในภาคตะวันออก
นอกจากน้ี ยังพบว่าพื้นที่ในเขตภาคเหนือ มีค่าดัชนีความร้อนที่แตกต่างจากปัจจุบัน กล่าวคือ เพิ่มข้ึนในระดับที่ค่อนข้างสูงมาก ซึ่งอาจบ่งชี้ถึงผลกระทบในพื้นที่ที่มีค่อนข้างสูงด้วย
จังหวัดที่มีคำความเสี่ยงสูงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ 10 อันดับแรก ต่อการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์ในช่วงปี พ.ศ. 2559 – 2578 (ค.ศ. 2016–2035)
ต้องทำอะไรรับสถานการณ์ที่กำลังมา
จากการคาดการณ์ข้างต้น จะเห็นว่าผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มีมากมายมหาศาล และแต่ละพื้นที่ได้รับผลกระทบต่างกันตามทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ แต่การบริหารจัดการสามารถแยกได้ ดังนี้
แนวทางที่ 1 การจัดการมหานครและเมืองขนาดใหญ่
- พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นพร้อมทางเลือกในการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือเหตุฉุกเฉินที่เกิดจากภัยธรรมชาติ และพัฒนาแผนเผชิญเหตุในสภาวะฉุกเฉิน โดยอาศัยแนวทางการมีส่วนร่วมในพื้นท่ีเสี่ยง พร้อมทั้งเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับทราบและสามารถนำไปปฏิบัติได้
- สนับสนุนให้มีข้อกาหนดของผังเมืองหรือกฎหมาย ควบคุมอาคารในพื้นที่ท่ีอาจได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยอาคารท่ีตั้งอยู่ในพื้นที่เสี่ยงจะต้องมีโครงสร้างที่มีความมั่นคงแข็งแรง และมีรูปแบบที่เหมาะสม และสามารถรับมือกับสภาพภูมิอากาศได้ โดยมหานครและทุกเมืองใหญ่มีข้อกำหนดของผังเมืองเฉพาะหรือกฎหมายควบคุมอาคาร ที่มีการบูรณาการเกณฑ์ภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Resilience Criteria)
- สนับสนุนการพัฒนาโดยใช้ประโยชน์ที่ดินแบบผสมผสาน (Mixed Use) เพื่อให้มีความเป็นอิสระ ไม่ต้องพึ่งพาการขนส่งหรือเดินทางระยะไกล
- พัฒนาพื้นท่ีสีเขียวอเนกประสงค์ที่เช่ือมต่อกัน ทั้งภายในเมืองและบริเวณใกล้เคียง เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อย่างเพียงพอต่อประชากรของเมือง
- ประสานและจัดทําแผนสํารองระบบที่มีความจําเป็นในการดํารงชีวิต เพื่อรองรับกรณีเกิดภัยพิบัติ ท่ีสืบเนื่องจากสภาพภูมิอากาศหรือภาวะวิกฤต
- เสริมสร้างขีดความสามารถของภาคธุรกิจและภาค อุตสาหกรรมในการเตรียมความพร้อมและบริหารจัดการ ความเสี่ยงจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยการมีส่วนร่วมในการประเมินประสิทธิผลของทางเลือกในการปรับตัวรูปแบบต่าง ๆ ท่ีเหมาะสมกับบริบทกับประเภทธุรกิจและอุตสาหกรรมนั้น ๆ ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วม
- กำหนดแนวทางเพื่อรับมือผลกระทบจากภาวะอุณหภูมิสูงขึ้นหรือปรากฏิการณ์เกาะความร้อน ในเมืองขนาดใหญ่
แนวทางที่ 2 การจัดการเมืองขนาดเล็กและชุมชน
- ส่งเสริมให้ท้องถิ่นบูรณาการประเด็นด้านการปรับตัว และเข้ากับแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง ชุมชน และท้องถิ่น โดยให้มีแนวทางการพัฒนาท่ีสอดคล้องและคํานึงถึงปัจจัยทางภูมิอากาศ และมีมาตรการปรับตัว ท่ีผสมผสานระหว่างภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนและวิทยาการสมัยใหม่ที่เหมาะสมกับวิถีชีวิตและเป็นที่ ยอมรับของชุมชนซึ่งมีความหลากหลายและแตกต่างกันในแต่ละพื้นท่ี
- พัฒนาการจัดทาผังเมืองเฉพาะ ที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศ รวมทั้งข้อกาหนดของผังเมืองเฉพาะ และ/หรือกฎหมายควบคุมอาคารในพื้นที่ที่อาจได้รับ ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ประโยชน์ท่ีดินที่สอดคล้อง กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกาหนดทิศทาง การพัฒนาเมืองและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานไปยังทิศทางทางที่เหมาะสมได้ เช่น การพัฒนาเมืองแบบ 2 ศูนย์กลาง ในกรณีท่ีพื้นท่ีพัฒนาเดิมเป็นพื้นท่ีเสี่ยงภัยจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- พัฒนาแผนผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน สงวนรักษาพื้นที่ที่มีคุณค่าทางธรรมชาติ พื้นที่เกษตรกรรม แหล่งน้ำ พื้นท่ีการอนุรักษ์พื้นท่ีสีเขียว เพื่อรักษาระบบนิเวศ และแก้ไขปัญหาอุทกภัยและภัยแล้ง
- จัดทำแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับ ท้องถิ่นท่ีมีความเช่ือมโยงกับแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในระดับชาติ รวมท้ังการประสาการดำเนินการของหน่วยงานภาครัฐในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และเสริมสร้างขีดความสามารถใน การปรับตัว เช่น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานระดับท้องถิ่นที่เผชิญภัยคล้ายคลึงกัน เป็นต้น
- เสริมสร้างขีดความสามารถในการป้องกันและเฝ้าระวังการเพิ่มข้ึนของระดับน้ำทะเล ในพื้นท่ีเมืองและชุมชนชายฝั่งทะเล ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมจาก ภาคส่วนท่ีเก่ียวข้อง โดยการกำหนดและจำแนกเขตพื้นท่ีท่ีได้รับผลกระทบจากการเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเล ตามระดับความรุนแรงและความเร่งด่วนของปัญหาหรือมีแนวโน้มที่จะเกิดปัญหาขึ้นในอนาคต เพื่อใช้เป็นแนวทางในการกำหนดมาตรการการป้องกันและแก้ไข หรือฟื้นฟูพื้นท่ีแต่ละประเภท
- สร้างเครือข่ายเช่ือมโยงข่าวสารข้อมูลให้ทันต่อเหตุการณ์ กำหนดบทบาทและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการเตือนภัยและสื่อสารข้อมูลที่เก่ียวข้องภายในชุมชน ให้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ เข้าถึงกลุ่มคนได้ทุกระดับ โดยเฉพาะประชาชนกลุ่มเสี่ยง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีรายได้น้อย ชุมชนในพื้นท่ีห่างไกล เป็นต้น
- พัฒนาระบบสารองที่จาเป็นภายในครัวเรือนหรือ ชุมชนในพื้นท่ีเสี่ยงภัยหรือเมื่อถึงฤดูกาลที่เสี่ยงภัย เช่น การมีแหล่งพลังงาน แหล่งน้ำ แหล่งอาหารสำรองภายในครัวเรือนหรือชุมชน เป็นต้น
แนวทางที่ 3 กลไกสับสนุนด้านการตั้งถิ่นฐานและความมั่นคงของมนุษย์
- พัฒนาเกณฑ์และตัวชี้วัดความสามารถในการปรับตัว และรับมือต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพ ภูมิอากาศของเมือง
- พัฒนากลไกการเตือนภัยพิบัติ และรายงานสถานการณ์เตือนภัยพิบัติที่ครอบคลุมสาหรับเมืองในทุกระดับ ท่ีมีความแม่นยำ เข้าถึงง่าย ทันต่อเหตุการณ์ และสามารถเชื่อมโยงกับระบบเตือนภัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างสมบูรณ์ และสนับสนุนให้ประชาชนทุกกลุ่มสามารถ เข้าถึงข้อมูลได้
- เร่งรัดให้มีการผนวกรวมประเด็นเรื่องสิ่งปลูกสร้างท่ีสอดคล้องกับสภาพอากาศ (Climate Resilience Building) เป็นมาตรฐานและหลักเกณฑ์ในการออกแบบ ก่อสร้างอาคาร ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 โดยให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศ และรูปแบบความรุนแรงของภัยพิบัติ ท่ีสืบเนื่องจากสภาพภูมิอากาศท่ีเปลี่ยนแปลงไปในแต่ละพื้นที่
- ส่งเสริมการพัฒนาส่ิงปลูกสร้างท่ีใช้แนวคิดเรื่อง สถาปัตยกรรมที่สอดคล้องกับสภาพอากาศ (Climate Resilience Architecture) โดยอาศัยหลักการออกแบบท่ีปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ (Adaptive Design) เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันต่อสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต และให้ชุมชนสามารถรับมือต่อภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างเหมาะสมตามบริบทของพื้นที่
- ผลักดันให้โครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐต้องจัดทำการวิเคราะห์และประเมินความเสี่ยงจากการ เปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (CCBA) เพื่อออกแบบโครงการให้สอดคล้องกับสภาพภูมิอากาศในปัจจุบัน และในอนาคต
- ส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทในการดำเนินมาตรการรับมือและจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศผ่านกลไกทางการเงิน เช่น สนับสนุนธุรกิจการประกันภัยด้านภูมิอากาศ เพื่อเป็นทางเลือกในการรับมือกับความเสี่ยง โดยมุ่งเน้นความเป็นธรรม และการเอื้อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์จากการประกันภัยจากความเสี่ยง ทางภูมิอากาศได้การกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ หรือการยกเว้นภาษีสาหรับโครงการที่เกี่ยวข้องด้านการปรับตัวจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
- เสริมสร้างขีดความสามารถของภาคประชาชน โดยการให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในการรับมือและจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลง สภาพภูมิอากาศในการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- สนับสนุนให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและผู้มีรายได้น้อย ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ และได้รับความเป็นธรรม เช่น กองทุนเพื่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระบบการประกันภัยด้าน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:
“ร้อน-แล้ง-กัดเซาะชายฝั่ง” ผลกระทบโลกร้อนกำลังมาเยือน