กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ออกรายงาน “แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ” โดยประเมินถาวะการณ์ของประเทศไทยต่อผลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ระบุว่าจากรายงานดัชนีความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศโลก ปี พ.ศ. 2564 (Global Climate Risk Index: CRI) จัดประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 9 ประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมากที่สุด ท้ังในมิติของผลกระทบที่เกิดข้ึนต่อชีวิต และการสูญเสียทางเศรษฐกิจ
ตลอด 20 ปีท่ีผ่านมาประเทศไทยได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติถึง 137 ครั้ง โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2554 เกิดมหาอุทกภัยที่ร้ายแรงท่ีสุด คิดเป็น 87% ของความเสียหายทั้งหมดที่ผ่านมา
มหาอุทกภัยครั้งนั้น ธนาคารโลก (World Bank) ได้ประเมินมูลค่าความสูญเสียและความเสียหายท่ีเกิดข้ึนสูงถึง 1.44 ล้านล้านบาท หรือ ประมาณ 46.5 พันล้านดอลลาร์
อุณหภูมิเฉลี่ยรํายปี (Dry-bulb) ของประเทศไทย (0C) ในำช่วงปี คำ.ศ. 1951 – 2021 (พ.ศ. 2494 – 2564)
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา
ประเทศไทยรับทราบรายงานการสังเคราะห์ และประเมินความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 6(AR6) ของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (IPCC) ซึ่งมีการพัฒนาภาพสถานการณ์จําลอง (Scenarios) ให้ทันสมัยมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติฉบับนี้ ยังใช้ข้อมูลและข้อมูลการคาดการณ์ที่อ้างอิงจากรายงานการสังเคราะห์ และประเมินความรู้ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ คร้ังที่ 5 (AR5) และใช้แบบจำลองภูมิอากาศโลกภายใต้โครงการ การเปรียบเทียบระหว่างแบบจำลองร่วม ระยะท่ี 5 (Coupled Model Intercomparison Project Phase 5: CMIP5) ในการวิเคราะห์ ความเสี่ยงและห่วงโซ่ผลกระทบ อีกทั้งภาพจําลองในระดับประเทศส่วนใหญ่จะอ้างอิงตามสถานการณ์และแนวโน้มของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระดับความเข้มข้นต่าง ๆ (Representative Concentration Pathway: RCPs) จากรายงาน AR5
ดังนั้น “แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลี่งสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ” ฉบับนี้ จึงยังคงใช้ข้อมูลอ้างอิงจากรายงาน AR5 แทน AR6
อุณหภูมิ
ในช่วงปี ค.ศ. 1981 – 1990 (พ.ศ. 2524 – 2533) อุณหภูมิ เฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น 0.33 องศาเซลเซียส (°C) ในขณะที่ช่วงปี ค.ศ. 1991 – 2000 (พ.ศ. 2534 – 2543) และ ค.ศ. 2001 – 2010 (พ.ศ. 2544-2553) อุณหภูมิเฉลี่ยเพิ่มสูงขึ้น 0.16°C และ 0.14°C ต่อทศวรรษ ตามลําดับ
อุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทยปี ค.ศ. 2011 – 2021 (พ.ศ. 2554 – 2564) เพิ่มข้ึนเฉลี่ย 0.09°C ต่อปี
นอกจากน้ี จากข้อมูลความผันผวนของอุณหภูมิ พบว่าประเทศไทยช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ตั้งแต่ ค.ศ. 2012 – 2021 (พ.ศ. 2555 – 2564) มีอุณหภูมิสูงที่สุดและมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยรายปีในช่วง ค.ศ. 2020 – 2021 (พ.ศ. 2563 – 2564) อยู่ที่ 33.7°C และ 33.0°C ตามลําดับ โดยในเดือนเมษายน 2559 (ค.ศ. 2016) ประเทศไทย มีอุณหภูมิสูงสุด นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1951 (พ.ศ. 2494) ที่ 44.6°C ท่ีจังหวัดแม่ฮ่องสอน
อุณหภูมิต่าสุดเฉลี่ยรายปีเพิ่มสูงขึ้นจาก 22.5°C ในปี ค.ศ 1951 (พ.ศ. 2494) เป็น 23.5°C และ 23.2°C ในปี ค.ศ 2020 – 2021 (พ.ศ. 2563 – 2564) ตามลําดับ
คาดการณ์ในอนาคต
การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสุดขั้วของ ประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 กรณี ได้แก่ การวิเคราะห์ ความผิดปกติภายใต้การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ยสูงขึ้น 1°C 1.5°C และ 2°C ตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบกับปีฐาน ค.ศ. 1970 – 2005 (พ.ศ. 2513 – 2548) ซึ่งอุณหภูมิเฉลี่ยท่ีสูงขึ้นท้ังสามค่าคํานวณจากค่าเฉลี่ยเคลื่อนท่ี (Moving average) 10 ปี ของข้อมูลการคาดการณ์อุณหภูมิรายวันในอนาคต
- การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ย 1°C ภายใต้ภาพสถานการณ์จําลอง RCP 4.5 พบว่าการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ยของประเทศไทย ท่ี 1°C จะเกิดขึ้นประมาณช่วงปี พ.ศ. 2573 – 2583 (ค.ศ. 2030 – 2040)
- การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ย 1.5°C ภายใต้ ภาพสถานการณ์จําลอง RCP 4.5 ผลของการย่อส่วน แบบจำลองภูมิอากาศโลก คาดว่าการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของประเทศไทยที่ 1.5°C จะเกิดขึ้นเร็วสุดประมาณ พ.ศ. 2593 (ค.ศ. 2050)
- การเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ 2°C ภายใต้ภาพสถานการณ์ จําลอง RCP 4.5 คาดว่าประเทศไทยจะประสบกับการเพิ่มข้ึนของอุณหภูมิเฉลี่ยท่ี 2°C ภายใน ส้ินศตวรรษที่ 21 หรือปี พ.ศ. 2643 (ค.ศ. 2100) โดยคาดว่าจะเกิดขึ้นประมาณช่วงปี พ.ศ. 2613 (ค.ศ. 2070)
ปริมาณน้ำฝน
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ําฝั่นและจํานวนวันที่ฝนตก ผันผวนไปตามเวลา โดยในช่วง 7 ปีท่ีผ่านมา ค.ศ. 2015 – 2021 (พ.ศ. 2558 – 2564) มีปริมาณน้ําฝั่นผันผวนมากที่สุด ซึ่งในปี ค.ศ. 2019 (พ.ศ. 2562) มีปริมาณน้ําฝน 1,343.4 มิลลิเมตร (มม.) ซึ่งต่ำสุดในรอบ 40 ปี (เทียบกับ ปี ค.ศ. 1979 (พ.ศ. 2522)) มีปริมาณน้ําฝน 1,332.3 มม.
ในปี ค.ศ. 2017 (พ.ศ. 2560) มีปริมาณน้ําฝนสูงสุด 2,017 มม. และปริมาณน้ําฝนรายปี ในปี ค.ศ. 2020 และ 2021 (พ.ศ. 2563 และ 2564) มีปริมาณน้ําฝน 1,528.8 มม. และ 1,759.3 มม. ตามลําดับ
คาดการณ์ในอนาคต
ภายใต้ภาพสถานการณ์จําลอง คาดการณ์ปริมาณน้ําฝนสูงสุดในอนาคต จะเห็นว่าปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรายปีมีแนวโน้มลดลง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงสัญญาณภัยแล้งภายใต้การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในอนาคต โดยภายใต้สถานการณด์ ดังกล่าวภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้มีแนวโน้มที่จะได้รับผลกระทบจากภัยแล้งสูงกว่าภูมิภาคอื่น ๆ
ระดับนำ้ทะเล
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ําทะเล สังเกตได้จากการรวบรวมข้อมูลของ (1) สถานีวัดระดับน้ำ ซึ่งจะให้ข้อมูลเป็นแบบรายจุดบริเวณชายฝั่ง และ (2) ดาวเทียมประเภทอัลติมิเตอร์ ซึ่งให้ข้อมูลครอบคลุมทั่วทั้งโลก การเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลเฉลี่ยของโลกมีค่าเพิ่มขึ้นประมาณ 2.8 มม. (สถานีตรวจวัด) ถึง 3.2 มม. (ดาวเทียม) ต่อปี
สำหรับประเทศไทย ข้อมูลส่วนใหญ่มาจากสถานีวัดระดับน้ำและการเปลี่ยนแปลงที่คำนวณได้ ส่วนใหญ่จะเป็นอัตราการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ําทะเลสัมพัทธ์ (Relative Sea Level) ในบางพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณอ่าวไทยตอนบน ค่าการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำทะเลสัมพัทธ์จะมีค่าสูงกว่าบริเวณอื่น ๆ เนื่องมาจากบริเวณ อ่าวไทยตอนบนมีการสูบน้ำบาดาลเพื่ออุปโภคและบริโภค จึงทำให้พื้นดินมีการจมตัว
นอกจากนี้ ภายหลังเหตุการณ์สึนามิ พ.ศ. 2547 พบว่าแผ่นดินในประเทศไทย และบริเวณใกล้เคียงมีการเคลื่อนตัวในแนวดิ่ง สาหรับ ประเทศไทยพบว่า การยกตัวของแผ่นดิน ซึ่งส่งผลทำให้การเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำสัมพัทธ์มีการเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย
คาดการณ์ในอนาคต
ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผล ต่อระดับน้าทะเล โดยเฉพาะบริเวณใกล้เส้นศูนย์สูตร ตัวอย่างเช่น การละลายของน้าแข็งและการขยายตัวของมวลน้าในมหาสมุทรจากอุณหภูมิของน้ำทะเลท่ีสูงข้ึน ซึ่งแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวสอดคล้องกับผลการศึกษาการเพิ่มขึ้นของระดับน้ําทะเลจากสถานีตรวจวัด ระดับน้ํา 13 สถานีตามแนวอ่าวไทย (พ.ศ. 2528 – 2552) พบว่าระดับน้ำทะเลปานกลางในท้องถินรายปีใน 11 สถานี ตรวจวัดระดับน้ำมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยระดับน้ำทะเลปานกลางของประเทศไทย
ในขณะเดียวกัน คาดการณ์ว่าระดับน้ำทะเลปานกลางจะเพิ่มข้ึนในอัตราเฉลี่ย 5 มม. ต่อปี (ในรอบ 25 ปี)
นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่าการทรุดตัวของพื้นดินบริเวณปากอ่าวซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีตรวจวัดระดับน้ำมีส่วนสำคัญในการตรวจวัดน้ำทะเลปานกลางในท้องถิ่นในแต่ละปีด้วย
ผลการวิจัย ยังชี้ให้เห็นว่าประเทศไทยอาจประสบกับภาวะกัดเซาะของแนวชายฝั่งอย่างรุนแรงในอนาคตอันใกล้ หากไม่มีการดําเนินการมาตรการใด ๆ ที่จะหยุดการทรุดตัวของพื้นดินใกล้ชายฝั่ง
ที่มา: แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลี่งสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ, กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:
ฝนถล่ม พายุรุนแรง สิ่งที่ไทย-ทั่วโลกต้องเจอ
โลกเดือด-มาตรการการค้าเข้ม ภาคเกษตรเจอผลกระทบหนัก
ทีดีอาร์ไอระดมสมองรับโลกเดือด ในยุคที่คนไทยยังเมิน