ThaiPBS Logo

สิ่งแวดล้อม สิ่งแวดล้อม

นโยบายสิ่งแวดล้อม

อ่านเพิ่มเติม

คุณภาพชีวิต อันดับที่สอง คือ ชีวิตที่มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดส าหรับทุกคนรัฐบาลจะดูแลรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศซึ่งเป็นปัจจัยที่ส าคัญในการพัฒนาประเทศและส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน ส่งเสริมและเร่งฟื้นฟูความสมบูรณ์ของดินและน้ าคืนสู่ธรรมชาติ รักษาความสมดุลของระบบนิเวศและอนุรักษ์ความหลากหลายพันธุ์สัตว์ป่าแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมและมลภาวะเพื่อคืนสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่คนไทย พร้อมทั้งวางแผนรับมือและป้องกันวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมที่ก าลังจะเกิดขึ้นในอนาคต รัฐบาลจะแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นวาระแห่งชาติโดยเฉพาะเรื่องฝุ่นควัน PM2.5 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปีและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทุกคนด้วยการสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจทั้งทางบวกและทางลบในภาคเกษตรกรรม ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อประเมินผลและติดตามการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

รัฐบาลจะไม่ละเลยเรื่องเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติรัฐบาลจะมุ่งลดความเหลื่อมล้ าในสังคมไทย การส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีส าหรับทุกคนอาทิ ความปลอดภัยทางถนน การลดอัตราการเจ็บป่วยและการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรการสร้างการแข่งขันที่เป็นธรรม ควบคู่กับการสร้างสันติภาพและการปกป้องสิทธิมนุษยชนนอกจากนี้ รัฐบาลจะสานต่อนโยบาย Carbon Neutrality เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้น าของอาเซียนในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ การพัฒนาที่ยั่งยืนจะเปิดประตูบานใหญ่สู่การค้าโลก ซึ่งเป็นโอกาสส าคัญของประเทศไทยและสร้างข้อได้เปรียบให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการในประเทศ ท าให้รัฐบาลสามารถเจรจาการค้าระหว่างประเทศภายใต้กฎกติกาใหม่ที่ให้ความส าคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และรัฐบาลจะใช้การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพลังส าคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งในภาคการผลิต ภาคบริการและภาคการเงิน

รัฐบาลจะธ ารงดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ พัฒนาประเทศให้ทันสมัยและสร้างทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพทัดเทียมประเทศอื่น เพื่อให้ลูกหลานของเราสามารถแข่งขันกับประเทศต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ใหม่ เทคโนโลยีใหม่ เศรษฐกิจใหม่ สังคมใหม่ และการเมืองใหม่ที่เหมาะสมกับยุคสมัยที่ลูกหลานรุ่นถัดไปจะใช้ชีวิตในอนาคต

นโยบายภาคการเมือง

ภัยพิบัติ

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

ลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ
1) การมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย 2) เพิ่มประสิทธิภาพและระบบบริหารจัดการและประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านสาธารณภัย 3) ส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย 4) การจัดการภาวะฉุกเฉินแบบบูรณาการ 5) การเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน
"4 ลด" ตามกรอบเซนได
1) ลดอัตราการเสียชีวิต 2) ลดจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ 3) ลดความสูญเสียด้านเศรษฐกิจ และ 4) ลดความเสียหายต่อสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการพื้นฐาน
"3 เพิ่ม" ตามกรอบเซนได
1) เพิ่มแผนยุทธศาสตร์ ลดความเสี่ยงระดับชาติ และระดับท้องถิ่น 2) เพิ่มการให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ และ 3) เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าและข้อมูลความเสี่ยง
เพิ่มประสิทธิภาพและระบบบริหารจัดการและประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านสาธารณภัย
1) การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านสาธารณภัย 2) พัฒนาการจัดการองค์ความรู้ด้านการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย 3) พัฒนาการสื่อสารความเสี่ยง จากสาธารณภัยที่มีประสิทธิภาพ 4) ส่งเสริมการลงทุนด้านการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยแบบมีส่วนร่วมจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในทุกระดับ 5) เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการความเสี่ยง จากสาธารณภัย

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

ภาคพลังงาน
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง รวมถึงการเตรียมการยกเลิกผลิตพลังงานโดยใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน ภายในปี ค.ศ. 2050 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในด้านพลังงานได้ร้อยละ 15
ภาคการเกษตร
นำร่องปรับเปลี่ยนวิธีการทำนาแบบปัจจุบันไปสู่การทำนาที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ยั่งยืน มีประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิต มุ่งเน้นการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ BCG เพื่อพัฒนาสังคมแบบองค์รวม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พร้อมทั้งเพิ่มคุณค่าให้กับความหลากหลายทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจที่เน้นนวัตกรรม ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรหมุนเวียนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน
ภาคป่าไม้
เพิ่มแหล่งกักเก็บคาร์บอน โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภทให้ครอบคลุมร้อยละ 55 ของพื้นที่ทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2037 ซึ่งจะช่วยเพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 120 ล้านตันต่อปี
ภาคการเงินสีเขียว (Green Finance)
ส่งเสริมกลไกการเงินสีเขียวอย่างแข็งขัน ผ่านการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond)

ทรัพยากรน้ำ

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

การจัดการอุปโภคบริโภค
จัดหาน้ำสำรอง/น้ำต้นทุน 174.13 ล้าน ลบ.ม. เพิ่มกำลังผลิตประปาเมือง 2.88 ล้าน ลบ.ม./วัน
ความมั่นคงของน้ำภาคการผลิต
การจัดหาน้ำในพื้นที่เกษตรน้ำฝน 3,239 ล้าน ลบ.ม. พัฒนาแหล่งเก็บกักน้ำและผันน้ำ 4,505 ล้าน ลบ.ม.
จัดการน้ำท่วมและอุทกภัย
ปรับปรุงลำน้ำสายหลัก 1,978.14 กม. ป้องกันน้ำท่วมชุมชนเมือง 380 แห่ง

มลพิษทางอากาศ

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

กฎหมายแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ
อยู่ระหว่างการผลักดันกฎหมาย เพื่อบังคับใช้
เสนอผ่านรัฐสภา
มีผู้เสนอร่างกฎหมายหลายฉบับ ทั้งจากรัฐบาลฝ่ายค้านและภาคประชาชน
กลไกแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ
คาดว่าจะเกิดกลไกและกฎหมายบังคับใช้ ซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาหลายรัฐบาล

แก้ไขฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5)

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

พื้นที่เป้าหมาย
แก้ปัญหา เน้นพื้นที่มีการเผาและไฟป่าเกิดขึ้นซ้ำซาก 50%
ลดการเผา
ลดการเผาไหม้ในพื้นที่เกษตรลงให้ได้ร้อยละ 50 หรือ 3.25 ล้านไร่จากปี 2566 ที่มีพื้นที่เผาไหม้ 66% หรือ 6.5 ล้านไร่ ทั้งใน 10 ป่าอนุรักษ์ และ 10 ป่าสงวนแห่งชาติ ด้วยการทำแนวกันไฟ และแนวกันคน
ลดจำนวนวันที่ฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐาน
ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ ฝุ่น PM 2.5 ลดลง 10% (จาก 40% เป็น 30%) กทม.-ปริมณฑล และ ภาคกลาง ฝุ่น PM 2.5 ลดลง จาก 20% เป็น 5% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝุ่น PM 2.5 ลดลง จาก 10% เป็น 5%
ตั้งกรรมการระดับชาติเพื่อสั่งการ
สร้างกลไกการทำงานให้ภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนการแก้ไขปัญหาเพื่อลดข้อจำกัดเรื่องงบประมาณ และจัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติ เพื่อสั่งการลงสู่การปฏิบัติ

บทความ

ดูทั้งหมด
“ปะการังฟอกขาว” รุนแรงทุบสถิติ ลาม 84% ทั่วโลก

“ปะการังฟอกขาว” รุนแรงทุบสถิติ ลาม 84% ทั่วโลก

หายนะทางทะเลเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อปรากฏการณ์ "ปะการังฟอกขาว" รุนแรงต่อเนื่อง ล่าสุด ปะการังฟอกขาวรุนแรงทั่วโลกครั้งที่ 4 รุนแรงทุบสถิติ กว่า 84% ทั่วโลก ใน 82 ประเทศ กำลังเผชิญกับวิกฤต

“แรงงานกลางแจ้ง” ไร้กฎหมายคุ้มครอง จากวิกฤตโลกร้อน

“แรงงานกลางแจ้ง” ไร้กฎหมายคุ้มครอง จากวิกฤตโลกร้อน

คนทำงานกลางแจ้ง ไรเดอร์ คนงานก่อสร้าง กำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น ขณะที่ไทยยังไม่มีนโยบายและกฎหมายครอบคลุมถึงสวัสดิการคุ้มครองแรงงานเหล่านี้ ขณะที่หลายประเทศเช่น “อินเดีย - การ์ตา -ปารากวัย" ตื่นตัวออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานกลางแจ้งที่ต้องทำงานกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป

คุ้มครองปะการัง 17 จังหวัด คุมเข้ม“ท่องเที่ยวดำน้ำ”

คุ้มครองปะการัง 17 จังหวัด คุมเข้ม“ท่องเที่ยวดำน้ำ”

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศมาตรการคุมกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ เพื่อคุ้มครองปะการังที่เสื่อมโทรมจากการท่องเที่ยวและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยห้ามถ่ายภาพใต้น้ำ-ดำน้ำต้องมี “ผู้ควบคุมที่ได้รับอนุญาต”ไปกับเรือทุกครั้ง ห้ามดำน้ำในแนวปะการัง ห้ามแตะปะการัง สัตว์น้ำและสิ่งมีชีวิตในทะเล