ThaiPBS Logo

พ.ร.บ.อากาศสะอาด

รัฐบาลผลักดันร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ.....เพื่อบริหารจัดการและควบคุมกิจกรรมที่ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศในทุกมิติ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่น PM 2.5 ไฟป่า ที่กระทบต่อสุขภาพคนไทย โดยมีการเสนอถึง 7 ร่างให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณา

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ร่างกฎหมาย รับฟังความคิดเห็น เตรียมเข้าที่ประชุมสภา

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ดำเนินงาน

เสนอร่างกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร

ตรวจสอบ

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

ความเคลื่อนไหวล่าสุด 26 ม.ค. 2567

พ.ร.บ.อากาศสะอาด เตรียมคลอดในรัฐบาลเศรษฐา

ประเทศไทยเผชิญปัญหามลพิษทางอากาศมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะฝุ่น ควัน ฝุ่นพิษ PM 2.5 ที่เกิดการทั้งธรรมชาติและกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ ซึ่งได้มีความพยายามจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการผลักดันให้มี พ.ร.บ.อากาศสะอาดมาตั้งแต่ยุครัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์​ จันทร์โอชา อดีตนายกรัฐมนตรี

ขณะที่พรรคเพื่อไทย ก็เคยประกาศนโยบายตั้งแต่ช่วงหาเสียงเลือกตั้งเอาไว้ว่าจะแก้ปัญหา PM 2.5 ที่ทุกต้นตอโดยจะผลักดัน พ.ร.บ.อากาศสะอาดเพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน แก้ไขปัญหาด้วยการแจ้งเตือนค่าฝุ่นล่วงหน้า อพยพกลุ่มเสี่ยงไปยังพื้นที่ปลอดภัย แก้ปัญหาที่ทุกต้นตอ

โดยภายหลัง ‘เศรษฐา ทวีสิน’ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้เริ่มขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหา พร้อมมอบหมาย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้เสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดต่อ ครม. ล่าสุด ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. …. ผ่านมติเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี และรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลาและกรอบสาระสำคัญของกฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด รวม 22 ฉบับ

สาระสำคัญ ของ ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาด กระทรวงทรัพย์ฯ

  1. กำหนดให้มีคณะกรรมการเพื่อทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนเชิงนโยบายและเชิงวิชาการ และการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ ดังนี้
    • คณะกรรมการนโยบายอากาศสะอาด ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ โดยมีหน้าที่และอำนาจในการขับเคลื่อนเชิงนโยบาย
    • คณะกรรมการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ซึ่งมี รมว.ทส. เป็นประธานกรรมการ โดยมีหน้าที่และอำนาจในการขับเคลื่อนเชิงวิชาการ
    • คณะกรรมการอากาศสะอาดจังหวัด ซึ่งมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานกรรมการ และ คณะกรรมการอากาศสะอาดพื้นที่เฉพาะ ซึ่งจะแต่งตั้งเมื่อพบว่ามีสถานการณ์และระดับมลพิษทางอากาศในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นการเฉพาะ โดยมีหน้าที่และอำนาจในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่
  2. ระบบการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดของประเทศ กำหนดให้คณะกรรมการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดดำเนินการพัฒนาระบบการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดของประเทศ ซึ่งอย่างน้อยต้องประกอบด้วยมาตรฐานคุณภาพอากาศสะอาด ระบบเฝ้าระวังเพื่อคุณภาพอากาศสะอาด ระบบฐานข้อมูลคุณภาพอากาศแห่งชาติ กรอบแนวทางการพัฒนาระบบบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด และแผนปฏิบัติการการพัฒนาคุณภาพอากาศ
  3. มาตรการการลดและควบคุมมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด จำแนกได้ 4 ประเภท
    • แหล่งกำเนิดประเภทสถานที่ถาวร
    • แหล่งกำเนิดประเภทเผาในที่โล่ง
    • แหล่งกำเนิดประเภทยานพาหนะ
    • แหล่งกำเนิดประเภทมลพิษข้ามแดน
  4. เขตเฝ้าระวังและเขตประสบมลพิษทางอากาศ โดยกำหนดการประกาศเขตพื้นที่ในกรณีที่มีสถานการณ์พิเศษเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศ
  5. เครื่องมือและมาตรการทางเศรษฐศาสตร์เพื่ออากาศสะอาด ดังนี้
    • ภาษีอากรสำหรับอากาศสะอาด
    • ค่าธรรมเนียมการจัดการมลพิษทางอากาศ
    • การกำหนดและโอนสิทธิในการระบายมลพิษทางอากาศ
    • การประกันความเสี่ยง และมาตรการอุดหนุน สนับสนุน หรือส่งเสริมบุคคลหรือกิจกรรมสำหรับอากาศสะอาด
  6. ความรับผิดทางแพ่งและบทกำหนดโทษ

คณะทำงานยกร่างกฎหมาย เผย พิจารณาหลายร่างประกอบกัน

ดร.บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์  ผอ.สถาบันธรรมรัฐเพื่อการพัฒนาและสิ่งแวดล้อม ในฐานะประธานคณะทำงานยกร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. …. ว่า จุดเด่นของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ คือ เป็นร่างที่ออกจากรัฐบาลอย่างแท้จริง โดยคณะทำงานได้ศึกษาทุกร่างที่มีอยู่ และดึงจุดที่น่าสนใจในแต่ละร่างมาใช้ประโยชน์ในร่างของรัฐบาล โดยจุดเด่นของร่าง พ.ร.บ. ฉบับนี้ คือ การมีเครื่องมือแก้ปัญหา ได้แก่

  • เครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์
  • เครื่องมือทางด้านระบบงบประมาณที่เป็นงบบูรณาการ 
  • เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ นวัตกรรม  เทคโนโลยีเพื่อนำมาใช้แก้ปัญหาเรื่องมลพิษทางอากาศบ้านเรา
  • เครื่องมือทางสังคม
  • เครื่องมือด้านการสื่อสารสาธารณะ

ร่างกฎหมายอากาศสะอาด 7 ฉบับ

วันที่ 17 ม.ค. 2567 ที่ประชุมสภาผุ้แทนราษฎรมีมติรับหลักการร่างกฎหมายอากาศสะอาดทั้ง 7 ฉบับ ประกอบด้วยร่าง ได้แก่

  1. ร่าง พ.ร.บ.กำกับดูแลการจัดการอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพแบบบูรณาการ พ.ศ. …. เสนอโดย คนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม (ประชาชน 22,251 รายชื่อ)
  2. ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดเพื่อสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน พ.ศ. …. เสนอโดย จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ กับคณะ (พรรคเพื่อไทย)
  3. ร่าง พ.ร.บ.อากาศสะอาดเพื่อประชาชน พ.ศ. …. เสนอโดย อนุทิน ชาญวีรกูล กับคณะ (พรรคภูมิใจไทย)
  4. ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. …. เสนอโดย สำนักงานขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง (สำนักงาน ป.ย.ป.) โดย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) (รัฐบาล)
  5. ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. …. เสนอโดย ตรีนุช เทียนทอง และคณะ (พรรคพลังประชารัฐ)
  6. ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาอากาศสะอาดเพื่อสุขภาพ พ.ศ. …. เสนอโดย วทันยา บุนนาค และคณะ (พรรคประชาธิปัตย์)
  7. ร่าง พ.ร.บ.ฝุ่นพิษและการก่อมลพิษข้ามพรมแดน พ.ศ. .… เสนอโดย ภัทรพงษ์ ลีลาภัทร์ และคณะ (พรรคก้าวไกล)

โดยได้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อากาศสะอาด วาระที่ 1 ทั้งหมด 39 คน เพื่อแปรญัตติ และลงรายละเอียดของเนื้อหาต่อไป

นอกจากนี้ ร่าง พ.ร.บ.การรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ  พ.ศ. …. หรือร่างกฎหมาย PRTR โดยมูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม มูลนิธิบูรณะนิเวศ และกรีนพีซ ประเทศไทย ที่รวบรวมรายชื่อ 12,165 รายชื่อ และยื่นเข้าสภาไปเมื่อวันที่ 14 ก.พ. 2567

แหล่งอ้างอิง

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • คลิปนักเรียนโรงเรียน จ.ลพบุรี หลายร้อยคนวิ่งหนีอลหม่าน หลังควันไฟจากการเผาอ้อยปกคลุมทั่วบริเวณ กลายเป็นไวรัลถูกพูดถึงเชื่อมโยงถึงมาตรการแก้ปัญหาและเร่งเดินหน้า พ.ร.บ  ดูเพิ่มเติม ›

    20 ก.พ. 2567

  • มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม มูลนิธิบูรณะนิเวศ กรีนพีซ ประเทศไทย และภาคีเครือข่ายภาคประชาชน ยื่นร่างกฎหมาย PRTR ที่ประชาชนร่วมลงชื่อ 12,165 รายชื่อ ที่รัฐสภา

    14 ก.พ. 2567

  • ประชุม กมธ.อากาศสะอาด ครั้งแรก มีการแต่งตั้งประธาน รองประธาน เลขานุการ โฆษก และตำแหน่งอื่น ๆ  ดูเพิ่มเติม ›

    25 ม.ค. 2567

  • ที่ประชุมสภาฯ มีมติเป็นเอกฉันท์ 443 เสียง รับหลักการร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ที่ ครม. เป็นผู้เสนอ และฉบับอื่นรวม 7 ฉบับ พร้อมตั้งกมธ. พิจารณารายละเอียด  ดูเพิ่มเติม ›

    17 ม.ค. 2567

  • พล.ต.อ. พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในนามคณะรัฐมนตรี เสนอร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... เข้าสู่ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร  ดูเพิ่มเติม ›

    11 ม.ค. 2567

  • ครม. เห็นชอบพระราชบัญญัติอากาศสะอาดเพื่อประชาชน ซึ่งผ่านการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา  ดูเพิ่มเติม ›

    9 ม.ค. 2567

  • ครม. เคาะร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด ฉบับรัฐบาล ที่เสนอโดย ก.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เตรียมร่าง กม.ลูก 22 ฉบับ

    28 พ.ย. 2566

  • ครม. มีมติเห็นชอบที่ นายกฯ เสนอว่ารัฐบาลตระหนักและให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะ PM 2.5

    31 ต.ค. 2566

  • ป.ย.ป. โดย บัณฑูร เศรษฐศิโรตม์ และผู้แทนจากภาครัฐ จัดประชุมพิจารณา มาตรการป้องกันและรับมือ PM 2.5 และ ร่างกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาด (ฉบับคณะทำงาน)

    30 ต.ค. 2566

  • ส.ส. พรรคก้าวไกล และพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมยื่นร่างพ.ร.บ.อากาศสะอาด เข้าสู่กระบวนการทางรัฐสภา

    26 ต.ค. 2566

  • ส.ส. พรรคเพื่อไทย ยื่นร่างกฎหมายอากาศสะอาด ข้าสู่กระบวนการทางรัฐสภา

    27 ก.ย. 2566

  • มูลนิธินิติธรรมสิ่งแวดล้อม มูลนิธิบูรณะนิเวศ กรีนพีซ ประเทศไทย และภาคีเครือข่ายภาคประชาชน เสนอร่าง พ.ร.บ. PRTR ต่อประธานสภาฯ เพื่อล่า 10,000 รายชื่อ

    4 ก.ค. 2566

  • มูลนิธิสิ่งแวดล้อม มูลนิธิบูรณนิเวศ กรีนพีชประเทศไทย และเครือข่ายภาคประชาชน เสนอร่างกฎหมาย PRTP

    28 ม.ค. 2565

  • เครือข่ายอากาศสะอาด หรือ Thailand CAN ยื่นร่าง พ.ร.บ. อากาศสะอาด ที่ประชาชมร่วมลงชื่อ 22,251 รายชื่อ ต่อรัฐสภา

    21 ม.ค. 2565

  • พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา ปัดตก ร่าง พ.ร.บ. การรายงานปล่อย และเคลื่อนย้ายสารพิษสู่สิ่งแวดล้อม หรือ PRTR

    7 ก.ค. 2564

  • กลุ่มหอการค้าจังหวัดภาคเหนือ สภาหอการค้าไทย สภาลมหายใจ เสนอกฎหมายอากาศสะอาด ด้วยรายชื่อผู้สนับสนุนกว่า 12,000 ราย ต่อรัฐสภา

    13 ก.ย. 2563

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

กฎหมายแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ
อยู่ระหว่างการผลักดันกฎหมาย เพื่อบังคับใช้

เชิงกระบวนการ

เสนอผ่านรัฐสภา
มีผู้เสนอร่างกฎหมายหลายฉบับ ทั้งจากรัฐบาลฝ่ายค้านและภาคประชาชน

เชิงการเมือง

กลไกแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ
คาดว่าจะเกิดกลไกและกฎหมายบังคับใช้ ซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์มาหลายรัฐบาล

บทความ/บทวิเคราะห์

ดูทั้งหมด
โอกาสสร้างอากาศสะอาด หยุดเผา "ตอซังข้าวโพด"

โอกาสสร้างอากาศสะอาด หยุดเผา "ตอซังข้าวโพด"

ระหว่างชีวิตเรา กับฝุ่น PM 2.5 อะไรจะหายไปจากโลกนี้ก่อนกันแน่ ? คำถามใหญ่ท่ามกลางวิกฤตฝุ่นพิษที่ไทยกำลังเผชิญซ้ำ ๆ ทุกปี และต่างรู้ดีว่าสาเหตุมาจากไหน แต่การแก้ปัญหายังเหมือนพายเรือวนในอ่าง "กฎหมายอากาศสะอาด" เป็นหนึ่งความหวังสำคัญที่จะทำให้ปัญหานี้หมดไปได้ ผ่านกลไกระบบตรวจสอบย้อนกลับ
ไทยนำเข้าข้าวโพดเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น แม้เป็นตัวการเกิดฝุ่น PM 2.5

ไทยนำเข้าข้าวโพดเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้น แม้เป็นตัวการเกิดฝุ่น PM 2.5

คนไทยเสี่ยงอายุสั้นจาก PM2.5 พ.ร.บ.อากาศสะอาดคือความหวัง

คนไทยเสี่ยงอายุสั้นจาก PM2.5 พ.ร.บ.อากาศสะอาดคือความหวัง

อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยกำลังลดลง จากฝุ่นพิษ PM 2.5 เกินระดับมาตรฐาน เช่นเดียวกับหลายประเทศที่เผชิญปัญหานี้ แต่พ.ร.บ.อากาศสะอาด อาจเป็นความหวังในการแก้ปัญหาสภาพอากาศ หากดูตัวอย่างจากสหรัฐฯและสหราชอาณาจักร ที่มีการผลักดันกฎหมายสะอาดขึ้น จนปริมาณควันพิษลดลงถึง 65%