ThaiPBS Logo

สังคม คุณภาพชีวิต สังคม คุณภาพชีวิต

นอกจากนโยบายเร่งด่วนด้านเศรษฐกิจ นโยบายด้านสวัสดิการทางสังคมต่าง ๆ ก็เป็นนโยบายที่ทุกรัฐบาลให้ความสนใจเป็นพิเศษ ในยุคที่คนให้ความสำคัญต่อคุณภาพชีวิต

อ่านเพิ่มเติม

ด้านความปลอดภัย รัฐบาลจะทางานร่วมกับประชาชนทุกภาคส่วนเพื่อดำเนินการปราบปรามผู้มีอิทธิพลและยาเสพติดให้หมดไปจากสังคมไทย โดยยึดหลักการ “เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย” สนับสนุนให้ผู้เสพเข้ารับการรักษาบำบัดอย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึงเพื่อเพิ่มจำนวนทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพให้กลับเข้าสู่สังคมและพัฒนาความสามารถให้เข้าสู่ภาคแรงงาน ส่วนผู้ผลิตและผู้ค้า คือผู้ที่ต้องได้รับโทษตามกระบวนการยุติธรรม โดยใช้มาตรการปราบปรามทางกฎหมายอย่างจริงจัง ซึ่งรวมถึงการ “ยึดทรัพย์” เพื่อตัดวงจรการค้ายาเสพติดพร้อมดำเนินการเจรจาทางการทูตกับประเทศตามแนวชายแดน เพื่อควบคุมการลักลอบนำยาเสพติดเข้ามาในประเทศไทย และดึงประชาชนออกจากวงจรการค้ายาเสพติดอย่างถาวร

นอกจากนี้รัฐบาลจะดำเนินแนวทางนโยบายการใช้ประโยชน์จากกัญชาทางการแพทย์และสุขภาพเพื่อสร้างมูลค่าในเชิงเศรษฐกิจคุณภาพชีวิต

อันดับที่สอง คือ ชีวิตที่มีสิ่งแวดล้อมที่สะอาดสำหรับทุกคนรัฐบาลจะดูแลรักษาทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมของประเทศซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาประเทศและส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน ส่งเสริมและเร่งฟื้นฟูความสมบูรณ์ของดินและน้ำคืนสู่ธรรมชาติ รักษาความสมดุลของระบบนิเวศและอนุรักษ์ความหลากหลายพันธุ์สัตว์ป่าแก้ไขปัญหาความเสื่อมโทรมและมลภาวะเพื่อคืนสิ่งแวดล้อมที่ดีให้แก่คนไทย

พร้อมทั้งวางแผนรับมือและป้องกันวิกฤตด้านสิ่งแวดล้อมที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต รัฐบาลจะแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นวาระแห่งชาติโดยเฉพาะเรื่องฝุ่นควัน PM2.5 ที่ทวีความรุนแรงขึ้นทุกปีและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทุกคนด้วยการสร้างแรงจูงใจทางเศรษฐกิจทั้งทางบวกและทางลบในภาคเกษตรกรรม ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมเพื่อประเมินผลและติดตามการบังคับใช้กฎหมาย รวมถึงการสร้างความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้านในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

คุณภาพชีวิต อันดับที่สาม คือ การสร้างและพัฒนาระบบสาธารณสุขให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินและโรคอุบัติใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต รวมทั้งสร้างความมั่นคงทางวัคซีนของประเทศในระยะยาวเราจะยกระดับ “นโยบาย ๓๐ บาทรักษาทุกโรค” ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นครอบคลุมมากขึ้น มีคุณภาพมากขึ้น ประชาชนจะได้รับความสะดวกมากขึ้นด้วยบริการพื้นฐานใกล้บ้านอาทิ การนัดพบแพทย์ การตรวจเลือด และการรับยา ประชาชนไม่ต้องลำบากเดินทางไกลเข้าไปโรงพยาบาลในเมือง ลดความแออัด และลดภาระของบุคลากรทางการแพทย์ส่งเสริมกลไกสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค

โดยเฉพาะการให้วัคซีนเพื่อป้องกันโรค อาทิ วัคซีนปากมดลูกในเด็กและสตรีมีสถานส่งเสริมสุขภาพ สถานชีวาภิบาลประจำท้องถิ่นเพื่อดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายและที่สำคัญที่สุด การบริการสาธารณสุขจะสามารถเข้าถึงได้ผ่าน “บัตรประชาชนใบเดียว” ข้อมูลทั้งหมดจะถูกเชื่อมต่อบนฐานข้อมูลที่มีความปลอดภัย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้ารับบริการได้ทุกที่ทั่วประเทศไทย

รัฐบาลจะมุ่งเน้นการสร้างระบบสาธารณูปโภคให้เกิดสุขภาวะอนามัยที่ดีผ่านการพัฒนาระบบน้ำประปาเพื่อให้ประชาชนมีน้ำสะอาดสำหรับการอุปโภคและบริโภคอย่างทั่วถึงและคุณภาพชีวิตประการสุดท้ายรัฐบาลให้ความสำคัญกับความเท่าเทียมของคนทุกกลุ่มไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเปราะบาง คนพิการ ผู้สูงอายุ และกลุ่มชาติพันธุ์ โดยจะดูแลให้มีเกียรติ มีศักดิ์ศรี มีงาน มีรายได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิมด้วย “สวัสดิการโดยรัฐ”

รัฐบาลจะผลักดันให้มีกฎหมายสนับสนุนสิทธิและความเท่าเทียมของกลุ่มความหลากหลายทางเพศ รวมถึงจะใช้กลไกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีเพื่อเปิดโอกาสให้สตรีในชุมชนเข้าถึงแหล่งเงินทุนสำหรับสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และมีชีวิตที่มั่นคงและจะสนับสนุนให้มีความร่วมมือระหว่างรัฐกับประชาชน ประชาชนกับประชาชนที่มีความแตกต่างทางความคิด ศาสนา และอุดมการณ์ให้สามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขภายใต้หลักนิติธรรมที่เข้มแข็ง เพื่อให้สันติภาพเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศต่อไป

ความคืบหน้าล่าสุด

นโยบายภาคการเมือง

ตายดี (สถานชีวาภิบาล)

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

สถานชีวาภิบาล
ดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยระยะสุดท้าย ครอบครัวไร้กังวล ลูกหลานวัยทำงานไม่เสียรายได้
เป้าหมายตามนโยบาย
จัดตั้งสถานชีวาภิบาลในชุมชน, สร้างระบบชีวาภิบาลในทุกโรงพยาบาล ทั้งบ้านและชุมชน ผ่าน telemedicine, มีสถานชีวาภิบาลในทุกเขตสุขภาพ, สถานชีวาภิบาลในกทม. 7 เขตสุขภาพ และ มี Home ward ทุกจังหวัด
ดำเนินนโยบาย
กระทรวงสาธารณสุขบรรจุสถานชีวาภิบาล ในนโยบายกระทรวงสาธารณสุข 2567
บูรณาการหน่วยงาน
บูรณาการงานชีวาภิบาลระหว่างหน่วยงาน ทั้งสาธารณสุข มหาดไทย พัฒนาสังคม กทม. และสปสช.

นโยบายยาเสพติดแนวใหม่

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

สัดส่วนของผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดต่อประชากร
ผูู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ไม่เกิน 8 คน ต่อประชากร 1,000 คน
ร้อยละของคดีอาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับยาเสพติดลดลง
คดีอาชญากรรม ที่มีผู้กระทำความผิด เกี่ยวเนื่องกับยาเสพติดลดลงอย่างต่อเนื่อง
ความพึ่งพอใจของประชาชน
ประชาชนมีความพึงพอใจและความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงาน ป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด อย่างน้อยร้อยละ 80

ระบบประกันสังคม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

กำหนดตัวชี้วัด (KPI)
กำหนดตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติงานในการสร้างความพึงพอใจด้านบริการของสำนักงานประกันสังคม
ตามทำแผนปฏิบัติงาน
ตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและนโยบายรัฐบาล

ระบบสุขภาวะทางจิต

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

เพิ่มหอผู้ป่วยจิตเวช (มินิธัญญารักษ์)
มีครบทุกจังหวัด
เพิ่มกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด
มีครบทุกอำเภอ
เพิ่มการบริการ Telemedicine
มีโรงพยาบาลให้บริการครอบคลุมทุกจังหวัด
บุคลากรทางการแพทย์เพิ่มและกระจายตัวทั่วถึง

ส่งเสริมการมีบุตร

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

คลินิกอนามัยเจริญพันธุ์
ตั้งคลินิกอนามัยเจริญพันธุ์จังหวัดละ 1 แห่ง
วันที่: 31 ธ.ค. 2566

สังคมสูงวัย

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

เตรียมการก่อนยามสูงอายุ
ส่งเสริมให้ประชากรอายุ 25-59 ปี 65% มีการเตรียมความพร้อมในช่วง 5 ปี (2566-2570)
ด้านสุขภาพ
ยกระดับอายุคาดเฉลี่ย(Healthy Life Expectancy) ไม่น้อยกว่า 70 ปี, ผู้สูงอายุที่มีปัญหาภาวะสมองเสื่อม ไม่เกิน 10% และผู้สูงอายุที่มีฟันแท้ใช้งานอย่างน้อย 20 ซี่ 65%
การเข้าถึงเทคโนโลยีสื่อสาร
ส่งเสริมการจัดการสื่อสารสนเทศเพื่อผู้สูงอายุ ให้ผู้สูงอายุ 60% เข้าถึงได้

ระบบหลักประกันสุขภาพ

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

บัตรประชาชนใบเดียวใช้ได้ทุกโรงพยาบาลรัฐ
สามารถใช้ได้ในโรงพยาบาลทั่วประเทศ 13 เขตสุขภาพ ภายในเวลา 1 ปี
โรงพยาบาลในกทม.
จัดตั้งโรงพยาบาล 50 แห่งใน 50 เขต กทม.
Hospital at Home
Hospital at Home จังหวัดละ 1 แห่ง
คลินิกผู้สูงอายุ
คลินิกผู้สูงอายุทุกโรงพยาบาล

บทความ

ดูทั้งหมด
บทเรียนโรคไตเรื้อรัง: ถึงเวลาทำงบประมาณแบบฐานศูนย์

บทเรียนโรคไตเรื้อรัง: ถึงเวลาทำงบประมาณแบบฐานศูนย์

วิธีการงบประมาณแบบฐานศูนย์ (Zero-Based Budgeting) ที่มีการเสนอวิธีการจัดงบประมาณใหม่ของประเทศที่ไม่อิงจากงบในอดีต แต่ก็ยังคงเป็นแนวคิด แต่จากบทเรียนงบประมาณที่ใช้รักษา “โรคไตเริ้อรัง“อาจจำเป็นต้องหันมาหาทางเลือกการจัดสรรงบใหม่

เงื่อนไขซื้อ”หวยเกษียณ” ออมเงินใช้ตอนอายุ 60 ปี

เงื่อนไขซื้อ”หวยเกษียณ” ออมเงินใช้ตอนอายุ 60 ปี

ครม.เห็นชอบหลักการร่างแก้ไข พ.ร.บ.กองทุนการออมแห่งชาติ เพื่อดำเนินโครงการหวยเกษียณ หวังส่งเสริมคนไทยออกเงินใช้ตอนเกษียณ รองรับสังคมสูงวัย

ประกันสังคมจ่อปรับ “เงินนำส่ง-สิทธิประโยชน์” รอบ 31 ปี

ประกันสังคมจ่อปรับ “เงินนำส่ง-สิทธิประโยชน์” รอบ 31 ปี

สำนักงานประกันสังคม เปิดรับฟังความเห็นร่างกฎกระทรวงกำหนดเพดานค่าจ้าง เพื่อใช้คำนวณเงินนำส่งสำหรับผู้ประกันตน ม.33 คาดเริ่มปี 69 เริ่มจากเพดานเงินเดือน 17,500 บาท และทยอยปรับจนถึง 23,000 บาทตั้งแต่ปี 75 โดยผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินเพิ่มขึ้น แต่ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นด้วย