ThaiPBS Logo

ระบบสุขภาวะทางจิต

ปัญหาสุขภาพจิตของคนไทยนับวันจะมีมากขึ้นในทุกช่วงอายุ นโยบายเพื่อแก้ปัญหามาจากกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก โดยรัฐบาลชุดปัจจุบัน ได้บรรจุนโยบายด้านสุขภาพจิตไว้เป็น 1 ในนโยบาย "ยกระดับ 30 บาทพลัส" แต่จะสามารถคลี่คลายปัญหาได้หรือไม่ ในเมื่อสุขภาพจิตเกี่ยวข้องกับสภาพแวดล้อมทางสังคมเศรษฐกิจในวงกว้าง

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ดำเนินงาน

ขั้นตอนดำเนินงานตามนโยบายที่ประกาศไว้

ตรวจสอบ

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

Mental Health Check-in กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข เผยสถานการณ์สุขภาพจิตในคนไทย จากผู้ตอบแบบสอบถาม 5 ล้านคน ช่วง ต.ค. 2563 – ต.ค. 2566 พบว่า เครียดสูง 8.88% มีภาวะหมดไฟ 4.68% เสี่ยงซึมเศร้า 10.66% และเสี่ยงฆ่าตัวตาย 6.04% ซึ่งเป็นปัญหาที่จำเป็นต้องได้รับการป้องกันและแก้ไข

นโยบายด้านสุขภาพจิต คือ 1 ใน 12 เรื่อง ของนโยบายยกระดับ 30 บาทพลัส  ได้วางกรอบนโยบายการพัฒนางานสุขภาพจิต ประจำปีงบประมาณ 2567 ไว้ 8 ด้าน ดังนี้

1. ส่งเสริม สนับสนุนการดำเนินงานสุขภาพจิต ตามโครงการพระราชดำริ/เฉลิมพระเกียรติที่เกี่ยวเนื่องกับ พระบรมวงศานุวงศ์ เช่น

  • โครงการ TO BE NUMBER ONE
  • โครงการราชทัณฑ์ปันสุข ทำความดี เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์
  • โครงการส่งเสริมและพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
  • โครงการส่งเสริมพัฒนาการและ สุขภาพจิตเด็กและเยาวชนในชุมชนในพื้นที่โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช

2. ส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิตเด็กและเยาวชน

  • พัฒนาทักษะชีวิตและความฉลาด 7 Qs ได้แก่ Intelligence – Emotional – Creativity – Moral – Play – Adversity – Social Quotient เพื่อให้เด็กและเยาวชนเติบโตอย่างมี คุณภาพ มีความรอบรู้เท่าทันปัญหาและภัยคุกคามทางสุขภาพจิต
  • ส่งเสริมการกระตุ้นพัฒนาการเด็กปฐมวัยเชิงรับและเชิงรุกเพื่อการเข้าถึงอย่างครอบคลุม
  • ป้องกันปัญหาการล้อเลียนรังแกกันในโรงเรียน (Bullying)
  • เน้นดูแลเด็กที่มีความเสี่ยงด้านสุขภาพจิตให้ได้รับการค้นหาและได้รับการช่วยเหลืออย่างทันท่วงที เด็กที่มีปัญหาสุขภาพจิตและจิตเวชได้รับการ ดูแลคุ้มครองอย่างถูกต้อง เท่าเทียม และทั่วถึงต่อเนื่อง จนหายทุเลา สามารถอยู่ในครอบครัว ชุมชน และสังคมได้อย่างปกติสุข

3. เน้นการดูแลสุขภาพจิตเชิงจิตสังคมสู่ระดับชุมชน (Social Psychology)

  • คัดกรองปัญหาสุขภาพจิต
  • ให้การดูแลทางสังคมจิตใจ พฤติกรรม อารมณ์และสร้างความเข้มแข็งทางใจแก่ประชาชน ทั้งกลุ่มเสี่ยงที่มีโรคเรื้อรังและกลุ่มที่มีปัญหาสุขภาพจิต ตลอดจนครอบครัวและผู้ดูแล ให้ได้รับการดูแลช่วยเหลือด้านสุขภาพจิตจนดีขึ้น
  • บูรณาการ ความร่วมมือกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายในชุมชน ในการ Community Integrated Care
  • ส่งเสริมให้เกิดระบบสานสัมพันธ์ เด็ก-ผู้ใหญ่ คน 2 วัยใส่ใจดูแลกัน (Intergeneration System) เพื่อลดทุกข์ เพิ่มสุขและสร้างคุณค่าในคนต่างวัยที่อยู่ในครอบครัวเดียวกัน

4. เร่งเสริมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต (Mental Health Literacy) เพิ่มความเข้าใจ ลดความขัดแย้ง ในสังคมให้แก่ประชาชนทั้งในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ

  • ใช้ทีมสื่อสารสุขภาพจิตดิจิทัล (Mental Influence Team: MIT) พัฒนาประเด็นความรอบรู้สุขภาพจิตที่สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ และตรงกับความต้องการของประชาชนทุกกลุ่มวัยอย่างแท้จริง
  • สื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความตระหนักรู้ด้านสุขภาพจิตผ่านช่องทางต่างๆที่หลากหลาย รวมทั้ง พัฒนาให้เกิดทีมสื่อสารสุขภาพจิตดิจิทัลให้ครอบคลุมทุกเขตสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนทุกกลุ่มวัย ทั้งกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยงต่อ ปัญหาสุขภาพจิต และกลุ่มผู้ป่วยจิตเวช มีความรู้ ความเข้าใจด้านสุขภาพจิตและยาเสพติด สามารถดูแลตนเองและคนรอบ ข้างให้มีสุขภาพจิตดี มีพฤติกรรมสุขภาพจิตที่พึงประสงค์
  • มีความรู้เท่าทันต่อประทุษวาจา ถนอมใจ ไม่ใช้ Hate Speech เพื่อ ลดความขัดแย้งในสังคม รวมทั้งเข้าถึงข้อมูลสุขภาพจิตลดความตื่นตระหนกและส่งต่อขอความช่วยเหลือได้

5. พัฒนาระบบบริการสุขภาพจิตและยาเสพติดใกล้บ้านใกล้ใจ (Mental Health Anywhere เพื่อนแท้มีทุกที่)

  • คัดกรอง ช่วยเหลือ ส่งต่อผ่านนวัตกรรมสุขภาพจิตดิจิทัล 1323 Plus Voice Detection, DMIND, Step-by-Step Care (Self Assessment / Self Treatment / E-Helper)
  • จัดระบบบริการสุขภาพจิต และยาเสพติดใกล้บ้านใกล้ใจ ให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ ทั้งบริการแบบ Onsite ได้แก่ การจัดบริการหอผู้ป่วยจิตเวชใน รพศ. รพท. ที่มีคุณภาพพร้อมให้บริการ มีกลุ่มงานจิตเวชในรพช.ทุกแห่ง บริการ Home Ward ทั้งที่บ้าน ในชุมชน เรือนจำ ตลอดจนสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง เชื่อมต่อระบบบริการสุขภาพจิตกับระบบบริการสุขภาพกายในรูปแบบ Neuropsychiatric Care Center
  • จัดบริการดูแลสุขภาพจิต Online ด้วย Telepsychiatry รวมทั้ง Virtual Hospital และบริการสุขภาพจิต เชิงรุกด้วย Mobile Psychiatry เพื่อให้ประชาชนและผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการได้อย่างรวดเร็ว ทุกที่ ทุกเวลา ได้รับการ ติดตามดูแลต่อเนื่องจนหายทุเลา                                                        

6. มุ่งเน้นการดูแลผู้ป่วยจิตเวชที่มีความเสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรงทั้งต่อตนเองและผู้อื่นในสังคม (Serious Mental Illness with High Risk to Violence: SMI – V) รวมไปถึงการป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย (Suicide Prevention)

  • ใช้ระบบ V Scan – V care – V Recovery
  • การดูแลช่วยเหลือส่งต่อเข้าสู่การรักษาแบบทันท่วงทีด้วยทีม HOPE Task Force ระดับอำเภอ เพื่อให้ผู้ป่วยจิตเวชเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ ได้รับการดูแลต่อเนื่อง และสามารถกลับไปใช้ชีวิตในชุมชน สังคมมีความปลอดภัย ไร้ความรุนแรง                                            

7. มุ่งมั่นผลักดันกลไกหลักในการขับเคลื่อนการดำเนินงานสุขภาพจิต

  • เพื่อให้ประชาชนและผู้มีปัญหา สุขภาพจิตได้รับการคุ้มครองสิทธิ ส่งเสริมสุขภาพจิต
  • ป้องกันปัญหาสุขภาพจิต บำบัดรักษา และฟื้นฟูสมรรถภาพ อย่างครบวงจรและเท่าเทียม โดยแบ่งเป็น
    • กลไกกฎหมายสุขภาพจิต โดยขับเคลื่อนงานสุขภาพจิตผ่านคณะอนุกรรมการประสานงาน เพื่อการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิตระดับจังหวัด ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิตสำคัญในพื้นที่ ได้แก่ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย การป้องกันอันตรายจากผู้ป่วยจิตเวชเนื่องจากสารเสพติด การดูแลป่วยจิตเวชที่มีความ เสี่ยงสูงต่อการก่อความรุนแรง (SMI-V) และการติดตามดูแลวัยเรียนวัยรุ่นกลุ่มเสี่ยงให้ได้รับการดูแลช่วยเหลือ รวมทั้ง บูรณาการการดำเนินงานสุขภาพจิตผ่านพระราชบัญญัติสุขภาพจิต และพระราชบัญญัติยาเสพติด
    • กลไกการเงินการคลัง ที่มุ่งผลักดัน 3 กองทุนสุขภาพในการกําหนดชุดสิทธิประโยชน์ที่หลากหลาย ด้านสุขภาพจิตและจิตเวช และครอบคลุมทุกกลุ่มประชากร ตลอดจนสร้างความมั่นคงและความเข้มแข็งทางการเงิน ให้กับหน่วยบริการจิตเวช และศูนย์สุขภาพจิต
    • กลไกเครือข่ายงานสุขภาพจิตที่เน้นการทำงานร่วมกันระหว่างงานสุขภาพจิตกับเครือข่ายในเขตสุขภาพ และ กทม. และสร้างความร่วมมือกับเครือข่ายต่างประเทศ เครือข่ายนอกกระทรวง และเครือข่ายระบบปฐมภูมิ ในการขับเคลื่อนงานสุขภาพจิตให้ครอบคลุมทุกมิติ โดยมีชุมชนเป็นฐาน ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ร่วมสร้างสังคมสุขภาพจิตดี

8. เร่งพัฒนาระบบและโครงสร้างพื้นฐานด้านสุขภาพจิตดิจิทัลให้ครอบคลุมทุกมิติ (Digital Transformation)

  • แนวทาง A-B-C-D-E-F ได้แก่
    • การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ (AI)
    • การพัฒนาระบบคลังข้อมูล ขนาดใหญ่ (Big Data)
    • การประมวลผลและจัดเก็บข้อมูลแบบ Cloud Computing
    • การพัฒนาแพลตฟอร์มระบบ สุขภาพจิตดิจิทัล (Digital Platform)
    • การพัฒนาระบบเวชระเบียนอิเล็กทรอนิกส์ (EMR)
    • การพัฒนาศูนย์กลางข้อมูล ด้านการเงิน (Financial Data Set)

ตลอดจนพัฒนาความรู้และทักษะบุคลากรให้พร้อมเปลี่ยนผ่านสู่ระบบสุขภาพจิตดิจิทัลอย่างยั่งยืน 

แหล่งอ้างอิง

 

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • ภาคีเครือข่ายด้านสุขภาพจิต จัดงาน ‘Hack ใจ - เพราะสุขภาพใจเป็นเรื่องของทุกคน’ รวบรวมไอเดียการส่งเสริมป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ผ่านกระบวนการ Hackathon ครั้งแรกในไทย และเตรียมขับเคลื่อนไปสู่นโยบายต่อไป  ดูเพิ่มเติม ›

    2 มี.ค. 2567

  • สช. ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 พ.ศ. 2566 ภายใต้ประเด็นหลัก “ความเป็นธรรมด้านสุขภาพ โอกาสและความหวังอนาคตประเทศไทย"  ดูเพิ่มเติม ›

    21 ธ.ค. 2566

  • นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ประชุมขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ประเด็นสุขภาพจิตและยาเสพติด

    16 ธ.ค. 2566

  • นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสมัชชาสุขภาพจิตนิสิตนักศึกษาสายวิทยาศาสตร์สุขภาพและเยาวชน ประจำปีการศึกษา 2566 (White coat’s Mental Health Assembly)  ดูเพิ่มเติม ›

    12 พ.ย. 2566

  • นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต มอบนโยบายการพัฒนางานสุขภาพจิต ประจำปี 2567 รวม 8 ประเด็น

    11 ต.ค. 2566

  • นพ.พงศ์เกษม ไข่มุกด์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ประชุมคณะอนุกรรมการบูรณาการโครงการรณรงค์ป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด

    9 ต.ค. 2566

  • นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สธ. เดินหน้าแผน Quick Win 100 วัน ลดปัญหาสุขภาพจิต-ยาเสพติด ชูตั้งศูนย์มินิธัญญารักษ์ดูแลผู้ป่วยจิตเวชครบวงจรทุกจังหวัด

    9 ต.ค. 2566

  • นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สธ. มอบนโยบายกระทรวงสาธารณสุข ตั้งเป้าระบบสุขภาพไทยติด 1 ใน 5 ของโลก

    22 ก.ย. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

เพิ่มหอผู้ป่วยจิตเวช (มินิธัญญารักษ์)
มีครบทุกจังหวัด
เพิ่มกลุ่มงานจิตเวชและยาเสพติด
มีครบทุกอำเภอ
เพิ่มการบริการ Telemedicine
มีโรงพยาบาลให้บริการครอบคลุมทุกจังหวัด

เชิงกระบวนการ

บุคลากรทางการแพทย์เพิ่มและกระจายตัวทั่วถึง
เวลารอคิวเข้ารับการบำบัดลดลง

เชิงการเมือง

ภาพรวมสุขภาพจิตของคนไทย
ร้อยละผู้ที่มีความเสี่ยงมีแนวโน้มลดลงในทุกช่วงวัย

บทความ/บทวิเคราะห์

ดูทั้งหมด
เร่งผลิต จิตแพทย์ รับมือสถานการณ์โรคจิตเวช

เร่งผลิต จิตแพทย์ รับมือสถานการณ์โรคจิตเวช

ประเทศไทยมีจำนวนผู้ป่วยจิตเวชเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด ในขณะที่จิตแพทย์และบุคลากรที่ทำงานด้านสุขภาพจิตในระบบบริการของรัฐยังมีจำนวนไม่มากนัก นำมาสู่ความพยายามเร่งผลิตจิตแพทย์ในหลายรูปแบบเพื่อรับมือสถานการณ์ผู้ป่วยจิตเวชที่เพิ่มมากขึ้น
8 นวัตกรรม ดูแลใจก่อนป่วย  สู่นโยบายสุขภาพจิต

8 นวัตกรรม ดูแลใจก่อนป่วย สู่นโยบายสุขภาพจิต

คณะทำงานด้านสุขภาพจิตเห็นตรงกันว่า รัฐต้องสนับสนุนการพัฒนาและใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสุขภาพจิตที่กระจายอย่างทั่วถึง และทำงานร่วมกับทุกภาคส่วนให้เกิดเป็นรูปธรรมในการจัดการแก้ปัญหาสุขภาพจิต
ความสุขคนไทยลด ปัญหาสุขภาพจิตสูงขึ้น

ความสุขคนไทยลด ปัญหาสุขภาพจิตสูงขึ้น

คนไทยกำลังมีปัญหาด้านสุขภาพจิตมากขึ้น จากวิถีชีวิตอันเร่งรีบ การแข่งขัน ตลอดจนปัญหาทางสังคม ความเหลื่อมล้ำ ความรุนแรง และยาเสพติด แต่บุคลากรทางการแพทย์ด้านสุขภาพจิตยังคงมีไม่เพียงพอสำหรับผู้ป่วย