ThaiPBS Logo

นโยบายสวัสดิการเด็กเล็ก

ปัจจุบันรัฐมีนโยบายให้เงินอุดหนุนเด็กเล็ก 0-6 ปี คนละ 600 บาทต่อเดือน แต่จำกัดผู้ที่มีรายได้น้อยครอบครัวละไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี โดยมีระบบคัดกรองความจนและมีผู้รับรอง 2 คน จึงไปไม่ถึงเป้าหมายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ข้อเสนอนโยบายปรากฏสู่สาธารณะ

วางแผน

ภาคการเมืองรับเรื่อง

ตัดสินใจ

ภาครัฐรับเรื่อง

ดำเนินงาน

ภาครัฐนำไปพิจารณาบรรจุในแผนเพื่อขอรับจัดสรรงบประมาณ

ประเมินผล

ดำเนินการ

อ่านเพิ่มเติม

ปัจจุบันรัฐมีนโยบายให้เงินอุดหนุนเด็กเล็ก 0-6 ปี คนละ 600 บาทต่อเดือน แต่จำกัดผู้ที่มีรายได้น้อยครอบครัวละไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี โดยมีระบบคัดกรองความจนและมีผู้รับรอง 2 คน จึงไปไม่ถึงเป้าหมายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้าตามมติคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเด็กและเยาวชนแห่งชาติ (กดยช.) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 ให้รัฐจัดเงินอุดหนุนเด็กเล็ก 0-6 ปีแบบถ้วนหน้าตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 

คณะทำงานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า 400 องค์กรทั่วประเทศ ได้จัดระดมความเห็นจากภาคส่วนต่าง ๆ ทั้งด้านเด็ก ผู้หญิง แรงงานในระบบ นอกระบบ คนพิการ ผู้สูงอายุ ภาคเกษตรฯลฯ ในขอบเขตทั่วประเทศ ในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม 2565 จึงได้พัฒนาข้อเสนอนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้าให้ชัดเจนและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้ง 

ทั้งนี้ มีข้อเสนอในหลักการเงินอุดหนุนที่เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายที่เป็นจริง โดยให้เด็กเล็กทุกคนถ้วนหน้า เริ่มตั้งแต่มีครรภ์ถึง 6 ปีและเพิ่มเป็นคนละ 3,000 บาทต่อเดือน อีกทั้งมีข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล พรรคการเมือง เพื่อกำหนดนโยบายให้หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีแผนงานปรับปรุงศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียน อนุบาล และสถานรับเลี้ยงเด็กให้สามารถพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเล็ก ตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 6 ปีทั่วถึงและสอดคล้องกับเวลาการทำงานของพ่อแม่ผู้ปกครอง โดยดูแลเด็กทุกคนที่เกิดบนแผ่นดินไทย

ในภาพรวมระดับประเทศ รัฐบาลยังไม่ปรากฎนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้าอย่างชัดเจน ขณะที่เงินอุดหนุนเด็กเล็กถ้วนหน้ามีความเชื่อมโยงกับนโยบายรัฐบาลและมติคณะรัฐมนตรี และการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กเล็กเกี่ยวข้องทั้งกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงแรงงาน และองค์กรปกครองท้องถิ่นทั่วประเทศ รวมทั้งบทบาทของชุมชนและภาคประชาสังคม

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • จัด Policy Forum นโยบายสวัสดิการเด็กเล็ก

    16 พ.ย. 2566

  • คณะทำงานฯ จัดเวทีระดับภูมิภาค (จ.สงขลา)

    2 พ.ย. 2566

  • คณะทำงานฯ จัดเวทีระดับภูมิภาค (จ.กาญจนบุรี)

    28 ต.ค. 2566

  • คณะทำงานฯ จัดเวทีระดับภูมิภาค (จ.เชียงใหม่)

    22 ต.ค. 2566

  • คณะทำงานฯ จัดเวทีระดับภูมิภาค (จ.ขอนแก่น)

    25 ก.ย. 2566

  • คณะทำงานฯ ยื่นหนังสือถึงนายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ช่วยผลักดันนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า

    7 ก.ย. 2566

  • คณะทํางานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน นำเสนอนโยบายฯ ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งทั่วไป 2566

    พฤษภาคม 2566

  • คณะทํางานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน นำเสนอนโยบายฯ ในช่วงการหาเสียงเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

    พฤษภาคม 2565

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

คณะทํางานขับเคลื่อนนโยบายสวัสดิการเด็กเล็กถ้วนหน้า เพื่อคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน
เครือข่ายรัฐสวัสดิการเพื่อความเท่าเทียมและเป็นธรรม (We Fair)
เครือข่ายชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย
สถาบันวิจัยบทบาทหญิงชายและการพัฒนา
สภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทย
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต
พิพิธภัณฑ์แรงงานไทย
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

บทความ

เปิดกลไกให้นโยบายดี ๆ ได้ไปต่อ แม้การเมืองเปลี่ยน

เปิดกลไกให้นโยบายดี ๆ ได้ไปต่อ แม้การเมืองเปลี่ยน

ช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล หลายนโยบายที่มีความหวังกลับ ถูกแปรรูป เปลี่ยนร่าง หรือหายไป สะท้อนถึงปัญหาบริบทสังคมไทย “การเมืองผูกกับนโยบาย” นำมาสู่ข้อเรียกร้องให้เกิด “นโยบายนำการเมือง” ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย โดยรัฐต้องมีพันธะรับผิดชอบ ร่วมมือพัฒนาระบบติดตามนโยบายให้มีประสิทธิภาพ

พัฒนาทุนมนุษย์ไม่ใช่ภาระ! ข้อเสนอถึงรัฐแก้ความเหลื่อมล้ำ

พัฒนาทุนมนุษย์ไม่ใช่ภาระ! ข้อเสนอถึงรัฐแก้ความเหลื่อมล้ำ

พัฒนา “ทุนมนุษย์” ไม่ใช่ภาระ แต่เป็นความจำเป็นเร่งด่วน ! ข้อเสนอเชิงนโยบายถึงรัฐบาล แก้กับดักความเหลื่อมล้ำ ปูทางสู่การสร้างสวัสดิการที่ทำให้ทุกคนในสังคมเท่ากัน

92 ปี เส้นทางระบบสวัสดิการไทย

92 ปี เส้นทางระบบสวัสดิการไทย

ย้อนพัฒนาการระบบสวัสดิการกับ “ธร ปีติดล” ฟังมุมมองวิเคราะห์กว่า 92 ปี ประเทศไทยอยู่ตรงไหนใน “รัฐสวัสดิการ” ของโลก