ThaiPBS Logo

การคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์

ร่าง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ฯ มีเจตนารมณ์ให้เป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญ 2560 มุ่งให้ความคุ้มครองสิทธิของชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีอยู่กว่า 60 กลุ่ม ประมาณ 6.1 ล้านคน ทั่วประเทศ

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

รัฐสภาอยู่ระหว่างการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

ภาพรวม

อ่านเพิ่มเติม

ความเคลื่อนไหวล่าสุด

30 มิ.ย. 68 ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติ และการสั่งให้คนที่เกิดในราชอาณาจักรไทย และไม่ได้รับสัญชาติไทย โดยมีบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป

ประกาศดังกล่าว เป็นไปตามคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อ 29 ต.ค. 67 อนุมัติหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ ให้บุตรของคนต่างด้าวที่เกิดในราชอาณาจักรไทยและไม่ได้รับสัญชาติไทย โดยมีบิดาและมารดาเป็นคนต่างด้าว ซึ่งบิดาหรือมารดาเป็นบุคคลที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติไว้ในอดีตถึงปี พ.ศ. 2542 และที่สำรวจเพิ่มเติมภายใต้ยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล ระหว่างปี พ.ศ. 2548 ถึงปี พ.ศ. 2554 และมีลักษณะตามเงื่อนไขที่กำหนดตามประกาศนี้ ได้สัญชาติไทยเป็นการทั่วไป

ทั้งนี้ สามารถยื่นขอสัญชาติได้ตั้งแต่ 30 มิ.ย. 68

5 พ.ค. 68 คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบกลาง 123,538,530 บาท รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568  ให้กรมการปกครองเร่งแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตร ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อ 29 ต.ค.67

18 ก.พ. 68 การประชุมวุฒิสภา มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ.… ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ด้วยมติเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย 160 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง พร้อมตั้งกมธ.วิสามัญ 27 คน โดยประชุมนัดแรก 19 ก.พ.นี้

นโยบายเพื่อการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์ ด้วยความพยายามผลักดันร่างกฎหมายชาติพันธุ์หลายฉบับ ตามบทบัญญัติไว้ในมาตรา 70 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

“รัฐพึงส่งเสริมและให้ความคุ้มครองชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ ให้มีสิทธิดํารงชีวิตในสังคมตามวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตดั้งเดิมตามความสมัครใจได้อย่างสงบสุข ไม่ถูกรบกวน”

ร่าง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ จึงจัดทำขึ้น โดยมีเจตนารมณ์ให้เป็นไปตามหลักการของรัฐธรรมนูญ มุ่งให้ความคุ้มครองสิทธิของชาวไทยกลุ่มชาติพันธุ์ให้มีสิทธิเสมอภาคอย่างไม่เลือกปฏิบัติ เป็นพื้นฐานตามหลักสิทธิมนุษยชน โดยวางหลักการและแนวทางในการสร้างการมีส่วนร่วมและส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความต้องการของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งมีอยู่กว่า 60 กลุ่ม ประชากรเกือบ 7,000,000 คน

ปัจจุบันมีการเสนอร่าง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ ทั้งหมด 5 ฉบับ

  • 1. ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ กระทรวงวัฒนธรรม โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)
  • 2. ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ โดยคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ สภาผู้แทนราษฎร
  • 3. ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง โดยขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม หรือพีมูฟ และเครือข่ายชาติพันธุ์
  • 4. ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นำโดยพรรคก้าวไกล
  • 5. ร่าง พ.ร.บ. สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย โดยสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

ทั้ง 5 ฉบับ มีความแตกต่างกันในเชิงรายละเอียด เนื้อหา และกลไก โดยร่างของสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เน้นเรื่องกลไก โครงสร้าง กำหนดให้มีการจัดตั้งสภาชนเผ่าฯ ประสานงานเครือข่ายชาติพันธุ์ องค์กรต่าง ๆ จัดทำรายงานข้อเสนอที่เกี่ยวกับชนเผ่าพื้นเมือง ต่อรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

ส่วนอีก 4 ฉบับ เน้นเรื่องการคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์ ยึดหลักการสำคัญในทิศทางเดียวกัน 3 ประการ

  1. หลักการ “คุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม” มุ่งให้ความคุ้มครอง กลุ่มชาติพันธุ์ในการเลือกดำรงชีวิตตามวิถีวัฒนธรรมของตน โดยไม่ถูกคุกคามหรือถูกเลือกปฏิบัติจากความไม่เข้าใจวิถีวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ ทำให้กลุ่มชาติพันธุ์ถูกละเมิดสิทธิในด้านต่าง ๆ
  2. หลักการ “ส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์” โดยปรับกระบวนทัศน์ในการมองกลุ่มชาติพันธุ์จากเดิมที่พิจารณากลุ่มชาติพันธุ์ในฐานะผู้ด้อยโอกาส มาเป็นการมองกลุ่มชาติพันธุ์ด้วยทัศนะที่มองเห็นและเข้าใจถึงศักยภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ และปรับแนวทางในการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ เป็นแนวทาง “เสริมศักยภาพ” ให้กลุ่มชาติพันธุ์เข้ามามีส่วนร่วม ในการวางแผน และกำหนดแนวทางในการคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์
  3. หลักการ “สร้างความเสมอภาคบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม” มุ่งลดความเหลื่อมล้ำในสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการลดปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดจากอคติทางวัฒนธรรมที่มีต่อกลุ่มชาติพันธุ์

สำหรับสถานะของร่างกฎหมาย 5 ฉบับนั้น ร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ที่เสนอโดยสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เสนอและบรรจุไว้ในวาระการพิจารณาของสภาแล้ว

อีก 3 ฉบับ ที่เสนอโดยขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือพีมูฟ, กรรมาธิการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลาหลายทางเพศ และฉบับของพรรคก้าวไกล ถูกตีเป็นกฎหมายทางการเงิน ต้องใช้อำนาจนายกรัฐมนตรีพิจารณาเซ็นรับรอง ขณะที่ล่าสุดพรรคก้าวไกลได้มีการยกร่างกฏหมายใหม่ เพื่อยื่นเสนอไปเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 2566

ส่วนอีก 1 ฉบับ ซึ่งถือเป็นร่างรัฐบาล ผ่านกระทรวงวัฒนธรรม โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินทร (องค์การมหาชน) ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นครบถ้วนแล้ว และเสนอไว้รอการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี

ลำดับเหตุการณ์

  • เปิดยื่นขอสัญชาติไทยสำหรับผู้ที่เกิดในราชอาณาจักรเป็นวันแรก มีผู้ยื่นขอจำนวนมากในหลายจังหวัด แต่ยังมีปัญหาหลายด้าน

    30 มิ.ย. 2568

  • ราชกิจจานุเบกษา ลงประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติ และการสั่งให้คนที่เกิดในราชอาณาจักรไทย และไม่ได้รับสัญชาติไทย โดยมีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ได้สัญชาติไทยเป็นการทั  ดูเพิ่มเติม ›

    30 มิ.ย. 2568

  • คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติงบกลาง 123,538,530 บาท รายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ให้กรมการปกครองเร่งแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามานานและกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร

    4 มิ.ย. 2568

  • การประชุมวุฒิสภา มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ.… ที่ผ่านสภาผู้แทนราษฎร ด้วยมติเสียงส่วนใหญ่เห็นด้วย 160 เสียง ไม่เห็นด้วย 1 เสียง งดออกเสียง 3 เสียง พร้อมตั้งก  ดูเพิ่มเติม ›

    17 ก.พ. 2568

  • สภาฯ ผ่าน วาระ 3 กฎหมายชาติพันธุ์ ด้วยคะแนน 312 ต่อ 84 เสียง  ดูเพิ่มเติม ›

    5 ก.พ. 2568

  • กมธ.กม.ชาติพันธุ์ สัดส่วนภาคประชาชน แถลงประณาม เรียกร้องสภาฯคว่ำร่างกม.ชาติพันธุ์ก่อนพิจารณาวาระ 3 หลังตัดหัวใจสำคัญคุ้มครองชาติพันธุ์ ไม่เป็นไปตาม รธน. มาตรา 70  ดูเพิ่มเติม ›

    5 ก.พ. 2568

  • สภาฯ โหวตคว่ำมาตรา 27 พื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ยืนตามกมธ.เสียงข้างน้อย ต้องไม่กระทบกม.อื่นที่เกี่ยวข้อง อ่านเพิ่ม  ดูเพิ่มเติม ›

    5 ก.พ. 2568

  • จบไม่ลง! สภาฯ เลื่อนพิจารณร่างกฎหมายชาติพันธุ์ ไป 5 ก.พ.68   ดูเพิ่มเติม ›

    15 ม.ค. 2568

  • ครม.เห็นชอบในหลักการหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคง(สมช.)เสนอ  ดูเพิ่มเติม ›

    29 ต.ค. 2567

  • สภาผู้แทนราษฎร มีการประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ… ที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาเสร็จแล้ว แต่สภาฯมีมติให้ถอนร่างออกไปก่อน  ดูเพิ่มเติม ›

    25 ก.ย. 2567

  • ปักหมุดพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ แห่งที่ 23 ชุมชนชาวเล เกาะหลีเป๊ะ -เกาะอาดัง ผู้แทนรัฐบาล ชี้ เดินหน้าแก้ไขเชิงนโยบาย ตั้งคณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ  ดูเพิ่มเติม ›

    31 พ.ค. 2567

  • ประกาศให้‘บ้านแม่ปอคี’ จ.ตาก เขตพื้นที่คุ้มครองวิถีชาติพันธุ์ ‘รองนายกฯ สมศักดิ์’ ย้ำสร้างหลักประกัน “คุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม” ชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม

    26 เม.ย. 2567

  • ศูนย์มานุษยวิทยาสิริธรฯ ร่วมกับเอ็นไอเอ และภาคีเครือข่าย เตรียมพัฒนาหลักสูตร ผู้ประกอบการชาติพันธ์สู่ซอฟท์พาวเวอร์ารชาติพันธุ์ : ถอดความสำเร็จ 2 แบรนด์ไทย ต่อยอดผู้ประกอบการชาติพันธุ์  ดูเพิ่มเติม ›

    7 เม.ย. 2567

  • เสียงชาติพันธุ์ลือลั่นทั่วสยามสแควร์ในงานภายในงาน “เสียงชาติพันธุ์ลือลั่นทั่วสยาม” ขณะที่นายกฯย้ำยกระดับวัฒนธรรมชาติพันธุ์เป็นทุนสำคัญของชาติ  ดูเพิ่มเติม ›

    16 มี.ค. 2567

  • ตัวแทนชาติพันธุ์ เข้าประชุมในฐานะกรรมาธิการยกร่างกฎหมายฯชาติพันธุ์ ครั้งแรก  ดูเพิ่มเติม ›

    14 มี.ค. 2567

  • รมว.วัฒนธรรม ร่วมปักหมุด ประกาศพื้นที่คุ้มครองวิถีชีวิตชาติพันธุ์ชาวเล บ้านทับปลา-ลำปี ตามมติ ครม. 3 ส.ค.53 พร้อมย้ำเร่งดันกม.ชาติพันธุ์ให้มีผลบังคับใช้  ดูเพิ่มเติม ›

    8 มี.ค. 2567

  • สภาผู้แทนราษฎร มีมติเห็นชอบรับหลักการ "ร่างกฎหมายชาติพันธุ์" ทั้ง 5 ฉบับ เดินหน้าตั้งกรรมาธิการพิจารณา  ดูเพิ่มเติม ›

    28 ก.พ. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ลงนามรับรอง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง ที่เสนอโดย ขปส. และเครือข่ายชาติพันธุ์ เข้าชื่อกว่า 15,000 รายชื่อ ซึ่งถูกตีเป็นกม.ทางการเงิน

    19 ก.พ. 2567

  • ครม. อนุมัติหลักการ ร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ตามที่กระทรวงวัฒนธรรม โดย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธรฯ เสนอ   ดูเพิ่มเติม ›

    6 ก.พ. 2567

  • เสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมว.วัฒนธรรม คาดดันร่าง พ.ร.บ.ชาติพันธุ์ (ฉบับรัฐบาล) เข้าครม. ภายใน 2 สัปดาห์ ยืนยันดันทุกร่างฯ เข้าสภาฯ พร้อมกัน

    9 ม.ค. 2567

  • สภาผู้แทนราษฏร พิจารณาร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองฯ แต่ครม. ขอนำกลับไปศึกษาภายใน 60 วัน โดยมีเงื่อนไขให้นำกลับมาพิจารณาในสภาฯ พร้อมกับกฎหมายที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกันรวม 4 ฉบับ

    20 ธ.ค. 2566

  • สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย แถลงขอบคุณสภาฯ อภิปรายสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองฯ เรียกร้องเร่งรับหลักการ ตั้งกมธ. พิจารณากฎหมาย

    19 ธ.ค. 2566

  • สภาผู้แทนราษฎร ให้ตัวแทนภาคประชาชนที่เสนอร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองฯ ชี้แจงหลักการและสาระสำคัญของร่างกฎหมาย โดยมีการอภิปรายสนับสนุนกฎหมายจากตัวแทนสส. อย่างกว้างขวาง

    14 ธ.ค. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ลงนามแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนการฟื้นฟูวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลและชาวกะเหรี่ยง ในการกำหนดนโยบายส่งเสริมฟื้นฟูวิถีชีวิตทุกมิติ

    24 พ.ย. 2566

  • พีมูฟ ชุมนุมปักหลักประตู 5 ทำเนียบรัฐบาล เรียกร้องนโยบาย 10 ด้าน หนึ่งในนั้นคือนโยบายและการผลักดันร่างกฎหมายคุ้มครองชาติพันธุ์ฯ

    2 ต.ค. 2566

  • กลุ่มบางกลอยคืนถิ่น ร่วมกับภาคีเซฟบางกลอย จัดเวที 3 ปีบางกลอยคืนถิ่น ยืนยันกลับสู่ที่ดินบรรพบุรุษ พร้อมเรียกร้องผลักดันร่างกฎหมายชาติพันธุ์

    22 ส.ค. 2566

  • พรรคก้าวไกล ยื่นร่างกฎหมาย 16 ฉบับ หนึ่งในนั้นคือ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์

    9 ส.ค. 2566

  • สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ประกาศเจตจำนงเนื่องในวันชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ผลักดันร่างกฎหมายชาติพันธุ์ทุกฉบับให้ได้รับการพิจารณาจากรัฐสภา

    9 ส.ค. 2566

  • การลงนาม MOU จัดตั้งรัฐบาล 7 พรรคการเมืองนำโดยพรรคก้าวไกล มีเรื่องการแก้ปัญหาแนวเขตป่าไม้และที่ดินรัฐทับซ้อนที่ดินประชาชน ซึ่งรวมถึงพื้นที่ชุมชนชาติพันธุ์ เป็นหนึ่งในวาระร่วม

    22 พ.ค. 2566

  • ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) เสนอ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ต่อคณะรัฐมนตรี รัฐบาล พล.อ. ประยุทธ์ ครั้งแรก

    23 พ.ย. 2565

  • ขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) กลุ่มชาติพันธุ์ หอบ 16,599 รายชื่อยื่นสภาเสนอร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์และชนเผ่าพื้นเมือง

    8 ธ.ค. 2564

  • มุกดา พงษ์สมบัติ ประธาน กมธ.กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ และคณะ ยื่นร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์

    16 มิ.ย. 2564

  • ส.ส.พรรคก้าวไกล ยื่นร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและคุ้มครองกลุ่มชาติพันธุ์ ถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร

    9 มิ.ย. 2564

  • สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ตั้งโต๊ะรวบรวมรายชื่อผู้สนับสนุน เสนอร่าง พ.ร.บ.สภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย

    15 ก.พ. 2564

  • คณะทำงานร่างกฎหมายฯ กระทรวงวัฒนธรรม โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เปิดร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ ครั้งแรก

    29 พ.ย. 2563

  • พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงนโยบายต่อสภาฯ ด้วยการกำหนดให้มีกฎหมาย “การส่งเสริมและอนุรักษ์วิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์“ ตามแผนปฏิรูปประเทศ

    25 ก.ค. 2562

  • แผนปฏิรูปประเทศ ด้านสังคม กำหนดให้มีการผลักดันกฎหมายชาติพันธุ์

    6 เม.ย. 2561

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ประกาศเป็นกฎหมาย
สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบกฎหมายคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์

เชิงกระบวนการ

กลุ่มชาติพันธุ์ ได้รับการคุ้มครองสิทธิ และส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์
คุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม
ส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์
สร้างความเสมอภาคบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม

เชิงการเมือง

ภาคประชาชนผลักดันกฎหมายได้สำเร็จ
ร่างกฎหมายที่เสนอโดยสภาชนเผ่าพื้นเมืองแห่งประเทศไทย ที่เสนอโดยขบวนการประชาชนเพื่อสังคมที่เป็นธรรม (ขปส.) หรือพีมูฟ, กรรมาธิการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ ถูกผลักดันจนผ่านเป็นกฎหมายบังคับใช้

อินโฟกราฟิก

Image 0

บทความ

ดูทั้งหมด
เปิดยื่นขอสัญชาติ "ผู้เกิดในไทย" ตั้งแต่ 30 มิ.ย.68

เปิดยื่นขอสัญชาติ "ผู้เกิดในไทย" ตั้งแต่ 30 มิ.ย.68

มหาดไทยเปิดให้ผู้ที่เกิดในไทย ยื่นขอสัญชาติได้ เริ่มตั้งแต่ 30 มิ.ย.68 ในพื้นที่กทม.ยื่นได้ที่กรมการปกครอง ส่วนในจังหวัดอื่นยื่นได้ที่ว่าการอำเภอตามทะเบียนประวัติ

เปิดขอสถานะเข้าเมืองถูกกฎหมาย "ชนกลุ่มน้อย-ชาติพันธุ์" เริ่ม 24 มิ.ย.68

เปิดขอสถานะเข้าเมืองถูกกฎหมาย "ชนกลุ่มน้อย-ชาติพันธุ์" เริ่ม 24 มิ.ย.68

ราชกิจจาประกาศบุคคลต่างด้าวอพยพ 4 ประเภทที่อยู่ในไทยมานาน ได้รับสถานะเข้าเมืองถูกกฎหมาย พร้อมกำหนดขั้นตอนการยื่นคำขอภายใน 30 วันนับตั้งแต่ได้รับแจ้งจากทางการ มีผลบังคับใช้ 24 มิ.ย.68

นโยบายสาธารณะผ่านขาขึ้น แต่ไปไม่ถึงขาเคลื่อน

นโยบายสาธารณะผ่านขาขึ้น แต่ไปไม่ถึงขาเคลื่อน

ในยุคที่การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ เป็นความหวังในการแก้โจทย์สังคมได้อย่างตรงจุด แต่ข้อเสนอเชิงนโยบายจากเสียงของประชาชนกลับ “ติดดอย - ติดหล่ม” การใช้นวัตกรรมเชิงนโยบาย วิเคราะห์ข้อมูลและติดตามการทำงานของผู้กำหนดนโยบาย ไปพร้อมกับการหาหน้าต่างนโยบายให้เจอ จะช่วยผลักดันข้อเสนอนโยบายลงจากดอย

เกณฑ์ใหม่ให้สัญชาติไทย ชนกลุ่มน้อย 4.83 แสนราย

เกณฑ์ใหม่ให้สัญชาติไทย ชนกลุ่มน้อย 4.83 แสนราย

ครม.เห็นชอบตามมติสภาความมั่นคง ปรับหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร 4.83 แสนคน หลังค้างมานานกว่า 30 ปี ยันไม่เอื้อ "กลุ่มสีเทา"

นโยบายที่ดี ต้องมีมิติจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์

นโยบายที่ดี ต้องมีมิติจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์

โดยปกติ การออกแบบนโยบายแต่ละที มักถูกคิดคำนึงถึงความเจริญก้าวหน้าของประเทศเป็นหลัก หลายนโยบายกลายเป็นแนวคิดที่แข็งกระด้าง เน้นการพัฒนาและตัวเลขเติบโตทางสถิติ แต่กลับมองข้ามความต้องการที่แท้จริงของประชาชนที่มีหัวจิตหัวใจในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง

14 ปี จากมติ ครม. สู่กฎหมายชาติพันธุ์

14 ปี จากมติ ครม. สู่กฎหมายชาติพันธุ์

ใกล้ความจริงมากขึ้น เมื่อ กมธ.วิสามัญ “ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. …” พิจารณากฎหมายครบทั้ง 35 มาตรา เร่งเดินหน้าหาฉันทามติ 3 ประเด็นละเอียดอ่อนให้จบภายใน ส.ค.นี้ เป็นของขวัญรับ “วันชนเผ่าพื้นเมืองโลก” ก่อนส่งสภาฯ เข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2