ThaiPBS Logo

รัฐธรรมนูญ กฎหมาย รัฐธรรมนูญ กฎหมาย

การแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 เป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล ด้วยการฟื้นฟูหลักนิติธรรม และจะบริหารประเทศในรูปแบบของการกระจายอำนาจ โดยฟื้นอำนาจของผู้ว่าซีอีโอ ที่เคยดำเนินการมาแล้วในอดีต นอกจากนี้ รัฐบาลจะร่วมกันพัฒนากองทัพในหลายด้าน

อ่านเพิ่มเติม

จากคำแถลงนโยบายของรัฐบาลต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2566 ระบุว่า “นโยบายเร่งด่วนสุดท้าย คือการแก้ปัญหาความเห็นที่แตกต่างในเรื่องรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เพื่อให้คนไทยได้มีรัฐธรรมนูญที่เป็นประชาธิปไตยมากขึ้นโดยยึดรูปแบบการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขและไม่แก้ไขในหมวดพระมหากษัตริย์ โดยรัฐบาลจะหารือแนวทางในการทำประชามติที่ให้ความสำคัญกับการทำให้ประชาชนทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมออกแบบกฎกติกาที่เป็นประชาธิปไตยทันสมัยและเป็นที่ยอมรับร่วมกัน รวมถึงการหารือแนวทางการจัดทำรัฐธรรมนูญในรัฐสภาเพื่อให้ประเทศสามารถเดินต่อไปข้างหน้าได้อย่างมั่นคง

รัฐบาลจะสร้างความชอบธรรมในการบริหารราชการแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขด้วยการฟื้นฟูหลักนิติธรรม (Rule of Law) ที่เข้มแข็งมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นที่ยอมรับจากนานาประเทศ เพราะการมีหลักนิติธรรมที่น่าเชื่อถือเป็นการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานทางความคิดและสังคมที่ส าคัญของประเทศ เป็นการลงทุนท าให้ประเทศไทยมีหลักนิติธรรมที่น่าเชื่อถือที่ใช้งบประมาณของรัฐน้อยที่สุด แต่ได้ประสิทธิภาพมากที่สุดในการพัฒนาประเทศ

รัฐบาลจะใช้การบริหารในรูปแบบของการกระจายอ านาจ (ผู้ว่า CEO) เพื่อสร้างประสิทธิภาพในการบริหารงานในแต่ละจังหวัดและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ให้ตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนที่แตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ กล่าวคือ จะมีการเปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการก าหนดเป้าหมายและตัวชี้วัดเพื่อสร้างโอกาสและสร้างประโยชน์ให้ประชาชนเป็นสำคัญ สนับสนุนการจัดการปัญหาทุจริตและประพฤติมิชอบอย่างเด็ดขาด โดยรัฐบาลจะใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยในการให้บริการมาเพิ่มประสิทธิภาพ สร้างความโปร่งใส ขจัดช่องโหว่ในการทุจริต ลดค่าใช้จ่าย และปรับปรุงการท างานของภาครัฐให้เป็นรัฐบาลดิจิทัล ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้รัฐบาลจะสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดสรรทรัพยากรทั้งด้านงบประมาณและการเลือกตัวแทนของผู้บริหารที่จะเป็นตัวแทนการพัฒนาท้องถิ่นบ้านเกิดเมืองนอน ซึ่งจะช่วยให้เกิดการกระจายทรัพยากรและกระจายอำนาจการบริหารจัดการไปสู่ชุมชน

นอกจากนี้ รัฐบาลจะร่วมกันพัฒนากองทัพให้เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของประเทศพร้อมกับประชาชน โดย

  1. จะเปลี่ยนรูปแบบการเกณฑ์ทหารเป็นแบบสมัครใจ
  2. ปรับปรุงการฝึกนักศึกษาวิชาทหารหน่วยบัญชาการรักษาดินแดนให้เป็นแบบสร้างสรรค์
  3. ลดกำลังพลนายทหารชั้นสัญญาบัตรระดับสูง และกำหนดอัตรากำลังในกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ให้สอดคล้องกับบทบาทและภารกิจในปัจจุบันและอนาคตของประเทศ
  4. ปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงกลาโหมให้มีความทันสมัย โปร่งใส ตรวจสอบได้ และสอดคล้องกับรูปแบบและความเสี่ยงของภัยคุกคามทั้งในปัจจุบันและอนาคต และ
  5. นำพื้นที่ของหน่วยทหารที่เกินความจำเป็นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โดยเฉพาะการใช้เพื่อการเกษตร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภคการเพิ่มพูนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการสร้างรายได้การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและการสร้างความเข้มแข็งด้านสังคมของประเทศ

สิ่งที่รัฐบาลเริ่มดำเนินการแล้ว

นโยบายภาคการเมือง

เลือกสมาชิกวุฒิสภา (สว.)

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

การเลือกสว.
เป็นการเลือกตั้งครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญ 2560 แต่เป็นการเลือกกันเองระหว่างผู้สมัคร
การเลือกสว.ระดับอำเภอ
การเลือกรอบที่ 1 เลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกัน ผู้ได้คะแนนสูงสุด 1-5 จะเข้าไปเลือกรอบที่ 2 โดยเลือกในกลุ่มอื่นที่อยู่ในสายเดียวกัน โดยผู้ได้รับ 3 อันดับแรกจะเป็นผู้ได้รับเลือกระดับอำเภอ
การเลือกสว.ระดับจังหวัด
การเลือกรอบที่ 1 โดยเลือกบุคคลในกลุ่มเดียวกัน โดยได้ผู้มีคะแนนสูงสุด 1-5 อันดับแรกเหมือนระดับอำเภอ แต่เลือกรอบที่ 2 ผู้ได้รับเลือกสูงสุด 2 อันดับแรก
การเลือกสว.ระดับประเทศ
การเลือกรอบที่ 1 เลือกบุคคลในกลุ่ม 1-40 อันดับแรก และในรอบที่ 2 เลือกผู้สมัครในกลุ่มอื่นสายเดียวกัน 1-10 เป็นสว.

การคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

ประกาศเป็นกฎหมาย
สภาผู้แทนราษฎรมีมติเห็นชอบกฎหมายคุ้มครองสิทธิและส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์
กลุ่มชาติพันธุ์ ได้รับการคุ้มครองสิทธิ และส่งเสริมวิถีชีวิตชาติพันธุ์
คุ้มครองสิทธิทางวัฒนธรรม
ส่งเสริมศักยภาพกลุ่มชาติพันธุ์

สมรสเท่าเทียม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

ประกาศเป็นกฎหมาย
มีการแก้เพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ได้รับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วน
กฎหมายที่ประกาศมีผลบังคับใช้ โดยผ่านการมีส่วนร่วมของทั้งฝ่ายการเมือง และภาคประชาชน ให้ความเห็นชอบและไม่มีข้อโต้แย้ง
ตอบโจทย์พื้นฐานโครงสร้างสังคม
กฎหมายที่ประกาศใช้ สามารถส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนทุกคนที่มีความหลากหลาย ให้ได้รับความเสมอภาคในการสร้างครอบครัวโดยมีกฎหมายรองรับ

แก้ไขรัฐธรรมนูญ

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
รัฐธรรมนูญใหม่ประกาศใช้ตามกำหนดเวลาใน 4 ปี ตามวาระของรัฐบาล
เปิดรับฟังความคิดเห็น
คณะกรรมการฯเดินสายรับฟังความคิดเห็นของคนกลุ่มต่าง ๆ คาดว่าจะสามารถรวบรวมความคิดเห็นได้ภายในปีนี้
ลดความขัดแย้งทางการเมือง
การแก้ไขรัฐธรรมนูญตามกฎหมาย คาดว่าจะทำให้เกิดความชอบธรรมในการแก้ไขและลดปัญหาความขัดแย้งอันเนื่องจากรัฐธรรมนูญได้

อินโฟกราฟิก

constitution-1constitution-2constitution-3

บทความ/บทวิเคราะห์

ดูทั้งหมด
เปิดบันทึก “มีชัย ฤชุพันธ์” ต้นคิดที่มาสว.

เปิดบันทึก “มีชัย ฤชุพันธ์” ต้นคิดที่มาสว.

การเลือกตั้งสว.ที่กำลังจะมาถึงอีกไม่กี่วันข้างหน้า พร้อมด้วยกติกาใหม่ที่หลายคนงง และออกมาวิพากษ์วิจารณ์คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) อย่างรุนแรง แต่จะรู้หรือไม่ว่ากติกาที่ว่ามาจากไหน และใครเป็นผู้เสนอ ถ้าไม่ใช่ มีชัย ฤชุพันธ์ุ อดีตประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)
จับตาสว.ชุดใหม่ มีอำนาจโหวตแก้รธน.-ตั้งองค์กรอิสระ

จับตาสว.ชุดใหม่ มีอำนาจโหวตแก้รธน.-ตั้งองค์กรอิสระ

การเลือกตั้ง สว.ชุดใหม่ของไทย เป็นเรื่องที่ควรจับตา หลัง ชุดเดิมยุคแต่งตั้งจาก คสช.ใกล้หมดวาระดำรงตำแหน่ง 5 ปี ซึ่ง สว.มีอำนาจสูงสุด คือ โหวตแก้รัฐญธรรมนูญ และแต่งตั้งบุคคลในองค์กรตรวจสอบอิสระต่าง ๆ
ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แก้กฎหมาย ทำประชามติ 3 ครั้ง

ร่างรัฐธรรมนูญใหม่ แก้กฎหมาย ทำประชามติ 3 ครั้ง

รัฐบาลเดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญใหม่ตามผลการศึกษาของคณะกรรมการฯ โดยมีการทำประชามติ 3 ครั้ง และให้มีการแก้ไขกฎหมายประชามติบางมาตรา