ในคำแถลงของรัฐบาลปัจจุบันระบุว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับการเข้าสู่สังคมสูงวัยแบบสมบูรณ์ (Aged Society) โดยมีคนสูงวัยมากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนประชากร ซึ่งจะส่งผลต่อศักยภาพทางเศรษฐกิจจากการลดลงของสัดส่วนประชากรช่วงวัยทำงาน และมีแนวโน้มที่รัฐจะต้องให้การดูแลช่วยเหลือเพิ่มขึ้น
รัฐบาลระบุว่าสัดส่วนของผู้สูงวัยที่มากขึ้นเป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อฐานะทางการคลังของรัฐบาลทั้งในเรื่องของสวัสดิการและงบประมาณด้านสาธารณสุข ขณะที่การสร้างทรัพยากรมนุษย์เพื่อมาทดแทน กลายเป็นความท้าทายจากการที่จำนวนเด็กเกิดใหม่ในแต่ละปีมีจำนวนลดลงอย่างต่อเนื่อง
แต่อย่างไรก็ตาม รัฐบาลไม่มีนโยบายอย่างชัดเจนเพื่อรองรับสังคมสูงวัย แต่หน่วยงานด้านการวางแผนของรัฐบาล ซึ่งคือ สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้ออกรายงาน “การประเมินผลกระทบและความยั่งยืนของการบริโภคของผู้สูงอายุภายใต้ระบบบำนาญของไทย” ในปี 2566
จะเกิดอะไรขึ้นในอีก 10 ปีข้างหน้า
ปัจจุบัน ประเทศไทยกำลังประสบกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรอย่างรวดเร็ว โดยรายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุในไทยคาดการณ์ว่า ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ภายในปี 2566 นี้ และเข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super-Aged Society) ในอีก 10 ปีข้างหน้า (ปี 2576) โดยประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จะมีสัดส่วนอยู่ที่ร้อยละ 28 หรือประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศในหลายมิติ ทั้งด้านเศรษฐกิจจากการลดลงของประชากรวัยแรงงานกว่า 3 ล้านคนในทุก 10 ปี ขณะที่ความต้องการแรงงานจะยังคงเพิ่มขึ้น จาก 37.55 ล้านคน ในปี 2560 เป็น 44.71 ล้านคน ในปี 2580
ด้านการคลังภาครัฐ ทั้งรายรับจากภาษีที่มีแนวโน้มลดลงจากประชากรวัยแรงงานที่ลดลง และรายจ่ายโดยเฉพาะด้านสวัสดิการสังคมที่มีแนวโน้มสูงขึ้นตามจำนวนประชากรสูงอายุ
ด้านการศึกษาที่ประชากรวัยเรียนลดลงเหลือเพียงไม่ถึง 1 ใน 10 ของประชากรรวมปี 2583 และด้านสิ่งแวดล้อมจากแนวโน้มการขยายตัวของเขตเมืองก่อให้เกิดปัญหาชุมชนแออัด มลพิษ ขยะมูลฝอย
รัฐบาลต้องเตรียมตัวอ่างไร
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยอย่างรวดเร็วจึงมีความจำเป็นจะต้องเตรียมความพร้อมสำหรับการขาดดุลรายได้ (รายจ่ายเพื่อการบริโภคสูงกว่ารายได้จากแรงงาน)ที่จะเพิ่มสูงขึ้นจากการเพิ่มขึ้นของประชากรสูงอายุ
ระดับของการบริโภค ระดับของรายได้และรูปแบบการปิดช่องว่างระหว่างรายได้และการบริโภคของประชากรในแต่ละช่วงอายุให้เห็นเป็นตัวเลขที่ชัดเจนเพื่อให้เห็นถึงสถานการณ์การขาดดุล/เกินดุลรายได้ในปัจจุบัน พร้อมทั้งประมาณการผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรต่อความยั่งยืนของการบริโภคในอนาคต โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งจะเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ที่สุดและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะต่อไป ทำให้การมีหลักประกันรายได้ในช่วงการเกษียณอายุเป็นประเด็นเชิงนโยบายที่สำคัญ โดยความท้าทายในการสร้างหลักประกันรายได้สำหรับผู้สูงอายุคือการสร้างเสถียรภาพทางการเงินการคลังของประเทศ
ในการจัดสวัสดิการเพื่อดูแลผู้สูงอายุ ภายใต้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่อาจชะลอตัวลงจากขนาดกำลังแรงงานที่ลดลง โดยต้องประเมินความยั่งยืนของการบริโภคของผู้สูงอายุภายใต้ระบบบำนาญของประเทศไทยด้วย เพื่อสะท้อนภาพรวมระบบรายได้ยามชราภาพของประเทศไทย รวมถึงช่องว่างความยั่งยืนของการบริโภคของผู้สูงอายุ เพื่อให้สามารถจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายในการวางแผนพัฒนาระบบบำนาญของประเทศไทยสำหรับเป็นหลักประกันด้านรายได้ให้ตอบโจทย์สังคมสูงวัยอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน
ผลการสำรวจสถานการณ์ล่าสุดปี 2564
1 ใน 3 ของผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปีขึ้นไป) ยังคงทำงาน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพอิสระ โดไม่มีลูกจ้าง ร้อยละ 64.8 และช่วยธุรกิจครัวเรือน โดไม่ได้รับค่า ร้อยละ 18.8 ส่วนใหญ่ทำงานในภาคเกษตรกรรม รองลงมาคือ ภาคบริการและการค้า
นอกจากนี้ ยังพบว่าผู้สูงอายุยังมีความเปราะบางในเรื่องระบบการดูแล โดผู้สูงอายุร้อยละ 25.8 อาศัยอยู่ในครัวเรือนข้ามรุ่น และร้อยละ 23.2 อาศัยอยู่ตามลำพัง
ยังมีผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนคิดเป็นสัดส่วนถึงร้อยละ 34 หรือ 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุทั้งหมด และมากกว่าร้อยละ 78.3 มีรายได้ต่ำกว่า 100,000 บาท/ปี
เมื่อพิจารณา ด้านการออม พบว่าผู้สูงอายุประมาณร้อย 41.4 มีเงินออมต่ำกว่า 50,000 บาท