ThaiPBS Logo

ระบบหลักประกันสุขภาพ

รัฐบาลประกาศนโยบาย 30 บาทพลัส เป็นนโยบายที่ยกระดับมาจากบัตรทอง 30 บาท ซึ่งเป็นการพัฒนาต่อเนื่องของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ที่ดำเนินการมาครบรอบ 20 ปีเมื่อปี 2566

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ดำเนินงาน

สธ.รายงานครม.ถึงความคืบหน้ายกระดับโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ระยะ 100 วัน

ตรวจสอบ

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

อัฟเดตล่าสุด 12 มี.ค.

  • การดำเนินนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ฯ ในระยะที่ 1 (4 จังหวัดแรก) และระยะที่ 2 (8 จังหวัด) ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 5 มี.ค. 2567) มีหน่วยบริการเข้าร่วมให้บริการภายใต้นโยบายแล้ว 1,070 แห่ง มีจำนวนผู้มารับบริการ 286,467 คน โดยคิดเป็นจำนวนบริการทั้งหมด 481,224 ครั้ง และใช้งบประมาณไปแล้ว 130 ล้านบาท
  • นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข ระบุนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ระยะที่ 1 ประสบความสำเร็จด้วยดีใน 4 จังหวัดนำร่องใน4 จังหวัด คือ แพร่ เพชรบุรี ร้อยเอ็ด และนราธิวาส
  • เตรียมเดินหน้าต่อในระยะที่ 2 อีก 8 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สิงห์บุรี สระแก้ว หนองบัวลำภู นครราชสีมา อำนาจเจริญ และพังงา คาดจะเริ่มได้ในเดือนมี.ค.นี้ 

 

สาระสำคัญของนโยบายยกระดับ 30 บาทพลัส คือการมุ่งส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษา ฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ โดยขับเคลื่อนใน 5 ประเด็นหลักในช่วงแรก ได้แก่ 

  • บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่
  • มะเร็งครบวงจร
  • การก่อตั้งสถานชีวาภิบาล
  • การบริการเขตเมืองกรุงเทพมหานคร
  • บริการสุขภาพจิตและยาเสพติด

หากนโยบายนี้ถูกประกาศใช้ทั่วประเทศ ประชาชนที่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า กว่า 40 ล้านคนจะสามารถแสดงบัตรประจำตัวประชาชนในการเข้ารับบริการกับสถานพยาบาลได้ทุกแห่ง ไม่จำกัดว่าจะต้องอยู่ในพื้นที่เขตรักษาตามบัตรประชาชน โดยข้อมูลผู้ป่วยจะเชื่อมโยงกับทุกสถานพยาบาลผ่านระบบออนไลน์ โดยที่ไม่ต้องทำใบส่งตัวเหมือนในอดีต

บัตรประชาชนใบเดียวทั่วประเทศ ภายในปี 2567

ในระยะเริ่มต้นได้วางแผนดำเนินการใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ไว้ 3 ระยะ คือ

  • เฟส 1 นำร่อง 4 จังหวัด คือ แพร่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี และนราธิวาส
  • เฟส 2 ช่วงเดือน ม.ค. 2567 ขยายพื้นที่ 8 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สิงห์บุรี พังงา หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ นครราชสีมา และสระแก้ว โดยจะเชื่อมระบบทั้งหมด สามารถรักษาได้ทุกเครือข่ายทั้งรัฐ เอกชน
  • เฟส 3 ช่วงเดือน เม.ย.2567 ขยายไปสู่ 4 เขตสุขภาพ คือ เขตสุขภาพที่ 1 เขตสุขภาพที่ 4 เขตสุขภาพที่ 9 และเขตสุขภาพที่ 12 ซึ่งเป็นการรักษาเฉพาะในเครือข่ายของกระทรวงสาธารณสุข รวม 27 จังหวัด ดังนี้
    • เขตสุขภาพที่ 1 ครอบคลุม 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย แพร่ น่าน พะเยา ลำปางลำพูน และแม่ฮ่องสอน
    • เขตสุขภาพที่ 4 ครอบคลุม 8 จังหวัด ได้แก่ สระบุรี นนทบุรี ลพบุรี อ่างทอง นครนายก สิงห์บุรีพระนครศรีอยุธยา และปทุมธานี 
    • เขตสุขภาพที่ 9 ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา  ชุยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์ 
    • เขตสุขภาพที่ 12 ครอบคลุม 7 จังหวัด ได้แก่ พัทลุง ตรัง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส

30 บาทพลัส ยกระดับใน 13 เรื่อง

  1. โครงการพระราชดำริทางด้านสาธารณสุข
  2. เพิ่มการเข้าถึงบริการในเขตเมือง รพ. กทม. 50 เขต 50 รพ. และปริมณฑล ทั้งการบริหารเตียง ใช้ทรัพยากรร่วมกันทุกภาคส่วน ใช้รูปแบบรัฐร่วมเอกชน จัดตั้ง รพ.แห่งใหม่เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการในเขตเมือง เป็นต้น
  3. สุขภาพจิต/ยาเสพติด มีแผนกจิตเวช มีหอผู้ป่วยจิตเวชที่พร้อมให้บริการ มีศูนย์ธัญญารักษ์ทุกจังหวัด ให้บริการปรึกษาจิตแพทย์และนักจิตวิทยาผ่านทางระบบเทเลเมดิซีน
  4. มะเร็งครบวงจร คัดกรองรักษาอย่างรวดเร็ว ดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย โดยคัดกรองมะเร็งปากมดลูกและมะเร็งเต้านมในเพศหญิง และมะเร็งท่อน้ำดี ตับ ปอดในเพศชาย ลดภาระค่าใช้จ่ายด้วยการจัดตั้งกองทุนมะเร็ง และจัดตั้งทีมเชิงรุก CA Warrior เพื่อลดป่วยลดตาย สร้างคุณภาพชีวิตที่ดี
  5. สร้างขวัญกำลังใจบุคลากร ถือเป็นภารกิจสำคัญต่อการสร้างความมั่นคงของระบบสุขภาพ โดยสนับสนุนบุคลากรทุกคนทุกระดับ ให้มีความก้าวหน้า มั่นคง อยู่ในสังคมอย่างมีเกียรติมีศักดิ์ศรี ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการประชาชนด้วยความสุข ที่สำคัญคือ การสื่อสารรูปแบบใหม่กับผู้ป่วย ญาติ คนใกล้ชิด เพื่อความเข้าใจของผู้รับบริการ
  6. การแพทย์ปฐมภูมิ เพิ่มความครอบคลุมการดูแลที่บ้านและชุมชน พัฒนาระบบนัดหมายพบแพทย์ ตรวจเลือด รับยาในหน่วยบริการใกล้บ้าน เสริมสร้างอนามัยโรงเรียนให้เข้มแข็ง และพัฒนาระบบการแพทย์ทางไกล
  7. สาธารณสุขชายแดน พื้นที่เฉพาะ และกลุ่มเปราะบาง จะเพิ่มการเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน ทั้ง 3 จังหวัดชายแดนใต้ พื้นที่ชายแดนชายขอบ พื้นที่เฉพาะ รวมถึงกลุ่มชาติพันธุ์ มอร์แกน กลุ่มไร้รัฐ และกลุ่มเปราะบาง ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง เพราะเป็นคนไทยเหมือนกัน
  8. สถานชีวาภิบาล พัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยติดเตียงและผู้ป่วยระยะสุดท้าย ดูแลผู้ป่วยที่บ้าน (Home Ward) จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต รองรับสังคมผู้สูงอายุและลดภาระบุตรหลาน
  9. พัฒนา รพ.ชุมชนแม่ข่าย มีระบบส่งต่อแบบไร้รอยต่อ เพิ่มศักยภาพการตรวจวินิจฉัยและรักษาทั้ง CT Scan/ICU จัดให้มี Mobile Stroke Unit เพื่อลดการส่งต่อ
  10. ดิจิทัลสุขภาพ ใช้บัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ และพัฒนาเป็น รพ.อัจฉริยะ One ID Card Smart Hospital ให้บริการสุขภาพยุคใหม่ ตรงความต้องการของประชาชน เข้าถึงได้ง่าย
  11. ส่งเสริมการมีบุตร โดยผลักดันเป็นวาระแห่งชาติ เพิ่มอัตราการเกิดของเด็กที่มีคุณภาพ สร้างความเข้าใจการมีบุตรเมื่อพร้อม สอดคล้องเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม “มีลูก มีแต่ได้”
  12. เศรษฐกิจสุขภาพ สร้างต้นแบบพื้นที่อายุยืน (Blue Zone) “หนึ่งเขตสุขภาพ หนึ่งพื้นที่อายุยืน” ในทุกจังหวัด พัฒนาสู่ศูนย์กลางการแพทย์มูลค่าสูง ดูแลสุขภาพครบวงจร ต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์สุขภาพขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
  13. นักท่องเที่ยวปลอดภัย ยกระดับความปลอดภัยด้านอาหาร สถานที่ ผู้ให้บริการ ระบบเฝ้าระวังและควบคุมโรคให้ทันสมัย ทันเวลา และง่ายต่อการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินกรณีเกิดโรคระบาด เพิ่มบริการการแพทย์ฉุกเฉินสำหรับดูแลผู้ป่วยวิกฤตอย่างครอบคลุม เป็นหลักประกันความปลอดภัย ให้ประชาชนคนไทยและนักท่องเที่ยว

Quick Win 100 วัน เร่งรัดทำใน 5 เรื่อง

  1. โครงการพระราชดำริ คัดกรองมะเร็งในผู้ต้องขัง พัฒนาโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช และโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ เป็นโรงพยาบาลอัจฉริยะต้นแบบ และสุขศาลาพระราชทานผ่านการรับรองคุณภาพทุกแห่ง รวมทั้งขับเคลื่อนโครงการเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ไตรมาส 2 ทั้งแว่นตาผู้สุงอายุ 72,000 อัน ผ่าตัดต้อกระจก 7,200 ดวง ฟันเทียม 72,000 คน ออกหน่วยพื้นที่ห่างไกล 720 อำเภอ ดูแลสุขภาพพระภิกษุสงฆ์ 72,000 รูป และอาคารผู้ป่วยนอกเขตเมืองเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษา 72 แห่ง
  2. ดิจิทัลสุขภาพ บัตรประชาชนใบเดียวรักษาได้ทุกที่ นำร่อง 4 เขตสุขภาพ
  3. สร้างขวัญและกำลังใจบุคลากร โดยมี Care D+ Team ในหน่วยบริการทุกระดับ
  4. เพิ่มจำนวนโรงพยาบาล 50 เขต 50 โรงพยาบาลและปริมณฑล โดยจัดตั้งโรงพยาบาล 120 เตียงในเขตดอนเมือง
  5. ก่อตั้งสถานชีวาภิบาล จังหวัดละ 1 แห่ง Hospital at Home จังหวัดละ 1 แห่ง และคลินิกผู้สูงอายุทุก โรงพยาบาล

30 บาทพลัส กับเป้าหมายสำคัญ 4 เรื่อง

  • ลดความเหลื่อมล้ำ ที่เน้นให้มีหน่วยบริการมากขึ้นเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางของประชาชน รวมทั้งจัดบริการให้อยู่ใกล้บ้านมากขึ้น เช่น รับยาได้ที่ร้านยาใกล้บ้าน รถทันตกรรมเคลื่อนที่ไปถึงโรงเรียน
  • ลดความแออัดในโรงพยาบาล
  • การเข้าถึงบริการสะดวกมากขึ้น
  • เพิ่มคุณภาพบริการให้มากขึ้น

 

แหล่งอ้างอิง

 

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • ปรับครม.ใหม่ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง สมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรมว.สาธารณสุขแทน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว  ดูเพิ่มเติม ›

    28 เม.ย. 2567

  • ครม.อนุมัติงบหลักประกันสุขภาพ ประจำปี 68 วงเงิน 2.35 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.37% จากปีก่อนหน้า โดยเพิ่มค่ารักษาพยาบาลของผู้ป่วยบัตรทอง แบบเหมาจ่ายรายหัวเป็น 3,844.55 บาท/คน  ดูเพิ่มเติม ›

    9 เม.ย. 2567

  • สปสช.เผย 30 บาทรักษาทุกที่ฯ ในระยะที่ 1 (4 จังหวัดแรก) และระยะที่ 2 (8 จังหวัด) ณ วันที่ 5 มี.ค. 2567 มีหน่วยบริการเข้าร่วม 1,070 แห่ง มีผู้มารับบริการ 286,467 คน ใช้งบ 130 ล้านบาท  ดูเพิ่มเติม ›

    12 มี.ค. 2567

  • นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข ระบุจะเดินหน้า 30 บาทพลัส ระยะที่ 2 ในเดือน มี.ค. 2567 อีก 8 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สิงห์บุรี สระแก้ว หนองบัวลำภู นครราชสีมา อำนาจเจริญ และพังงา

    18 ก.พ. 2567

  • นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข แถลงเดินหน้าขยายบริการ 30 บาทพลัส ระยะที่ 2

    10 ม.ค. 2567

  • สธ. เปิดโครงการ "30 บาท รักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว" ที่ รพ. ใน จ.ร้อยเอ็ด 1 ใน 4 จังหวัดนำร่อง

    7 ม.ค. 2567

  • สธ. รายงานครม. ถึงความคืบหน้ายกระดับ 30 บาทรักษาทุกโรค ระยะครบ 100 วัน สามารถใช้บัตรประชาชนใบเดียวใน 4 จังหวัด

    2 ม.ค. 2567

  • รมว.สาธารณสุข ประกาศผลสำเร็จ Quick Win 100 วัน ยกระดับ 30 บาท ได้ตามเป้าครบทั้ง 10 ประเด็น

    27 ธ.ค. 2566

  • สธ. จัดหลักสูตร “ดูแลพระอาพาธระยะท้าย” หนุน Quick Win "กุฏิชีวาภิบาล" สร้างมาตรฐานการดูแลพระสงฆ์ระยะประคับประคองตามหลักพระวินัย

    11 ธ.ค. 2566

  • ที่ประชุมคกก.สุขภาพแห่งชาติ เห็นชอบแนวทางสร้างเสริมสุขภาวะระยะสุดท้ายฯ หนุนนโยบาย ‘สถานชีวาภิบาล-กุฏิชีวาภิบาล’

    16 พ.ย. 2566

  • ที่ประชุมคกก.พัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ เร่งให้เดินหน้านโยบาย “ใช้บัตรประชาชนใบเดียว” พร้อมใช้งาน 8 ม.ค.2567

    14 พ.ย. 2566

  • รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่ากทม. เข้าพบปลัดสาธารณสุข เพื่อหารือการขับเคลื่อนนโยบาย 13 Quick Win ในพื้นที่ กทม.

    2 พ.ย. 2566

  • นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ประชุมคกก.พัฒนาระบบสุขภาพแห่งชาติ เดินหน้านโยบาย "30 บาทรักษาทุกโรคพลัส"

    24 ต.ค. 2566

  • รมว.สาธารณสุข ตั้งคณะทำงานยกระดับบัตรทอง ให้สามารถเข้ารับบริการที่ใดก็ได้ ไม่ต้องมีโรงพยาบาลประจำ

    12 ต.ค. 2566

  • ครม. อนุมัติงบประมาณสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ภายในวงเงิน 217,628,959,600 บาท

    7 ต.ค. 2566

  • สปสช. เห็นชอบงบฯบัตรทองปี 67 กว่า 2.21 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 1.7 หมื่นล้าน พร้อมหนุนนโยบายยกระดับ 30 บาทพลัส

    2 ต.ค. 2566

  • รมว.สาธารณสุข มอบนโยบายผู้บริหารยกระดับการดูแลสุขภาวะทุกมิติ ภายใต้ "นโยบาย 30 บาทพลัส"

    22 ก.ย. 2566

  • พรรคเพื่อไทย เปิดตัวนโยบายยกระดับ บัตร 30 บาทรักษาทุกโรค ในการหาเสียงเลือกตั้ง

    22 ก.พ. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

บัตรประชาชนใบเดียวใช้ได้ทุกโรงพยาบาลรัฐ
สามารถใช้ได้ในโรงพยาบาลทั่วประเทศ 13 เขตสุขภาพ ภายในเวลา 1 ปี
โรงพยาบาลในกทม.
จัดตั้งโรงพยาบาล 50 แห่งใน 50 เขต กทม.
Hospital at Home
Hospital at Home จังหวัดละ 1 แห่ง
คลินิกผู้สูงอายุ
คลินิกผู้สูงอายุทุกโรงพยาบาล
คลินิกรักษาภาวะผู้มีบุตรยาก
คลินิกรักษาภาวะผู้มีบุตรยาก จังหวัดละ 1 แห่ง
มินิธัญญารักษ์
จัดตั้งโรงพยาบาลสุขภาพจิต มินิธัญญารักษ์ ใน 76 จังหวัด 92 แห่ง
มะเร็งครบวงจร
ฉีดวัคซีน HPV ครบ 1 ล้านโดสใน 100 วัน

อินโฟกราฟิก

ct-ambulance-240411

บทความ/บทวิเคราะห์

ดูทั้งหมด
บัตรทองยุคหลังโควิด บริการได้วันละล้านทรานแซกชัน

บัตรทองยุคหลังโควิด บริการได้วันละล้านทรานแซกชัน

โลกยุคหลังโควิดเปลี่ยนไปหลายด้าน แต่ผลด้านบวกเกิดขึ้นจากการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาแก้ปัญหา สปสช.พัฒนาบริการสุขภาพวิถีใหม่ โดยใช้ระบบไอทีและเทคโนโลยีดิจิทัลบนคลาวด์กลางภาครัฐ “GDCC” ยกระดับบริการบัตรทองยุค "นิวนอร์มอล" รองรับบริการวันละ 1 ล้านทรานแซกชันต่อวันจากโรงพยาบาลและหน่วยบริการต่าง ๆ ทั่วประเทศ
เช็ก 6 อาการป่วยฉุกเฉินวิกฤต ใช้สิทธิ UCEP เข้ารพ.ได้ทุกแห่ง

เช็ก 6 อาการป่วยฉุกเฉินวิกฤต ใช้สิทธิ UCEP เข้ารพ.ได้ทุกแห่ง

ผู้มีสิทธิบัตรทอง 30 บาท และคนไทยทุกคน หากเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตตาม 6 ลักษณะอาการ สามารถใช้สิทธิ UCEP เข้ารักการรักษาได้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพียงยื่นบัตรประชาชนใบเดียว
บัตรทองก็มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือ เมื่อเสียหายจากรักษาพยาบาล

บัตรทองก็มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือ เมื่อเสียหายจากรักษาพยาบาล

ผู้มีสิทธิบัตรทอง หรือบัตร 30 บาทพลัส หากใช้สิทธิบัตรทอง แล้วได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล ซึ่งไม่ใช่เกิดจากโรคหรือเหตุแทรกซ้อนของโรค ก็มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545