บทความ

”บัตรทอง” ไปต่อ ต้องรื้อระบบบริหารงบฯ
เวทีระดมความคิดเห็น “ผู้ให้-ผู้รับบริการ” ในระบบบัตรทอง เสนอให้จัดระบบบริหารจัดการงบประมาณใหม่ ปรับระบบเสนอให้แยกเงินเดือนบุคลากรออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว, ปรับเพิ่มเพดานการจ่ายชดเชยตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม เป็น 12,000 บาท และเพิ่มงบประมาณสนับสนุนกองทุนสุขภาพท้องถิ่น และกองทุนดูแลระยะยาว

วังวน 23 ปีบัตรทอง: ต้องก้าวให้พ้นวัฏจักร "รพ.ขาดทุน-งบไม่พอ"
สองทศวรรษ “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ที่ยังเผชิญปัญหางบประมาณ แม้จะเพิ่มงบประมาณมาโดยตลอด แต่ยังมีสัดส่วนโรงพยาบาลขาดทุน 24 % ของโรงพยาบาลทั้งหมด ขณะที่เสียงเรียกร้องอยากให้มีแก้ปัญหากลไกการเบิกจ่าย โดยเฉพาะปัญหา อัตราการจ่ายต่อแต้ม (AdjRW)ไม่สอดคล้องกับต้นทุนค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริง

ยอดถ่ายโอนรพ.สต ปี'69 ลดฮวบ พักเบรกเพื่อเน้นคุณภาพจริงหรือ?
การถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิ ตั้งแต่ปี 2566-2568 เกิดขึ้นจำนวนหลายพันแห่ง แต่ในปี 2569 ตัวเลขถ่ายโอนลดลงเหลือเพียง 22 แห่ง หวั่นความยั่งยืน หันมาเน้นคุณภาพ ทำให้การถ่ายโอนลดลง

ต้องรื้อใหญ่ระบบงบประมาณ ทางออกอย่างยั่งยืนบัตรทอง
โรงพยาบาลขาดทุน บัตรทอง ล่มหรือไม่ เป็นคำถามใหญ่ที่ต้องเร่งหาทางออก ชี้ต้องปรับระบบงบประมาณ เหตุเงินบำรุงสุทธิทั้งระบบเหลือเพียง 46,000 ล้านบาท สัญญาณเตือนปี 2570 อาจเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างหนัก

คลินิกชุมชนอบอุ่นในกทม. กำลังจะล้มละลาย?
คลินิกชุมชนอบอุ่น 276 แห่งในกทม. ในฐานะหน่วยบริการผู้ป่วยปฐมภูมิในระบบหลักประกันสุขภาพ หรือบัตรทอง กำลังวิกฤต แจ้งขอลาออกแล้ว 17 แห่ง คาดว่าจะยื่นลาออกอีก 40 แห่งภายในสิ้น 68 นี้ เหตุรูปแบบการจ่ายเงิน ทำให้ต้องแบบภาระค่าส่งตัวสูง แนะทางรอด ให้แยกงบประมาณส่งตัวออกจากงบค่าใช้จ่ายรายหัว

“บัตรทอง”ไม่ล้ม แต่ วิกฤต ต้องรื้อระบบงบประมาณ
เวที Policy Forum จัดเสวนา "บัตรทอง "บนทางแยกไปต่อหรือปรับเปลี่ยนตัวแทนโรงพยาบาล, คลินิกอบอุ่น เตือน ระบบสุขภาพกำลังจะวิกฤติ ชี้ เงินบำรุงและเงินสำรองสุทธิทั้งระบบเหลือแค่ 4.6 หมื่นล้านและมีแนวโน้มลดลงหวั่นปี 2570 เผชิญวิกฤติอีกรอบ แนะรื้อระบบงบประมาณ

ใบส่งตัวบัตรทองในกทม.เอาอย่างไร? ใช้สูตรไหนแก้ปัญหาดี?
”ใบส่งตัวบัตรทอง“ ในพื้นที่กทม.ยังเป็นปัญหาใหญ่ ทั้งผู้มีสิทธิรับบริการและสปสช. หลังจากครินนิกชุมชนอบอุ่นประสบปัญหาขาดทุน แต่ปัญหามากกว่านั้นคือการบริหารจัดการ ที่มีความทับซ้อนกันทำให้เกิดรายจ่ายและสร้างภาระด้านงบประมาณต่อระบบโดยรวม แม้จะเป็นระบบบริการที่ดี แต่มีเรื่องต้องปรับปรุงอีกมาก

“ร้านยากับตู้ห่วงใย” นวัตกรรมบัตรทอง คุ้มค่า หรือ สิ้นเปลืองงบ?
“ตู้ห่วงใย” และบริการใหม่ ๆ เช่น ร้านยาฟรี-ส่งยาถึงบ้าน สำหรับบริหารบัตรทองหรือ30บาทรักษาทุกที่ อาจช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการ ลดความแออัดสถานบริการ แต่หากไม่มีการประเมินต้นทุน และคุณภาพบริการ ทำให้มีคำถามตามมาว่าเป็นภาระมากกว่าประโยชน์ โดยเฉพาะต่องบประมาณที่ยังมีปัญหา

ปิดโควตาแพทย์ชนบท ใช้ทุนภาคใต้ พุ่งเป้า"อีสาน"ขาดหมอ
ภาคใต้ไร้โควตาจับสลากแพทย์ใช้ทุนในปี 2568 ขณะที่ภาคอีสานยังมีโควตา สะท้อนความสำเร็จของโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชนบท หรือ CPIRD แต่ก็เปิดประเด็นใหม่เกี่ยวกับโครงสร้างการจัดสรรแพทย์ในอนาคต เมื่อใคร ๆ ก็อยากทำงานใกล้บ้าน

เปิด”โมเดลขนมชั้น“ ลดเหลื่อมล้ำ 3 กองทุนสุขภาพ
สำรวจปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพไทย วิเคราะห์ข้อจำกัดและศักยภาพ 3 กองทุนสุขภาพ "ข้าราชการ-ประกันสังคม-บัตรทอง" สู่มาตรฐานที่เท่าเทียม เสนอ "โมเดลขนมชั้น" หาทางออกลดความเหลื่อมล้ำระบบสุขภาพของประเทศ

ยกระดับอสม.กว่าล้านคนทั่วประเทศ รอลุ้นก.ม.ผ่านสภาฯ
กระทรวงสาธารณสุข เตรียมยกระดับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)จากระเบียบกระทรวงเป็นพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ หวังปรับสถานภาพ และสิทธิประโยชน์ให้มั่นคง พร้อมระบบสวัสดิการ เพื่อเป็นกำลังสำคัญบริการสาธารณสุข เป็นด่านหน้าดูแลสุขภาพในระดับชุมชนทั่วประเทศ

"ลดคาร์บ ลดโรค" แก้โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) ได้จริงหรือ?
“ลดคาร์บ ลดโรค” นโยบายของสาธารณสุขล่าสุด ยุค "สมศักดิ์ เทพสุทิน" หวัง "ป้องกันดีกว่ารักษา" แต่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของคนไทยได้จริงหรือ? สุดท้ายแล้วอาจเป็นเพียงนโยบายเพื่อหวังประหยัดงบประมาณ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้จริง

หมอลาออก: แก้อย่างไร "ผลิตเพิ่ม หรือ จูงใจให้อยู่ต่อ"
หมอลาออกนับพันคนต่อปี สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบสาธารณสุขไทย "ภาระงานล้นมือ - ขาดแรงจูงใจ -กระจายแพทย์ไม่ทั่วถึง" ขณะที่แนวทางแก้ไขของรัฐยังเน้นแต่การผลิตแพทย์เพิ่ม โดยไม่ตอบโจทย์การรักษาแพทย์ให้อยู่ในระบบ

30 บาทรักษาทุกที่ “รับ-ส่ง” ฟรีผู้สูงอายุ ผู้พิการ
ค่าใช้จ่ายเดินทางไปโรงพยาบาล เป็นอีกหนึ่งในปัญหาใหญ่ของคนที่อาศัยในเมือง สปสช. เปิดโครงการนำร่อง ให้บริการ“รับส่งผู้สูงอายุ- คนพิการ ไปหาหมอ” โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในพื้นที่ กทม. ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงสิ้นปี 68

คนใช้สิทธิบัตรทองควรรู้ หากเจ็บป่วยในต่างถิ่น
ผู้มีสิทธิบัตรทอง 30 บาท หากเกิดอาการเจ็บป่วยเมื่ออยู่นอกพื้นที่สังกัดสถานพยาบาลของตนเอง สามารถเข้ารับการรักษาได้กับสถานพยาบาลในเครือของ สปสช. ทุกพื้นที่ และคนไทยทุกคนหากเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติถึงแก่ชีวิต สามารถใช้สิทธิ UCEP รักษาฟรี 3 วัน ไม่ว่าจะเป็นโรงพบาบาลรัฐหรือเอกชน

สหรัฐ ตัดงบฯ HIV ไทยเสี่ยงระบาดรอบใหม่
เอชไอวี ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในประเทศไทย แม้ว่าจะมีความก้าวหน้าในการรักษาและป้องกัน แต่จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่ยังคงสูงสะท้อนว่าการป้องกันยังไม่สามารถครอบคลุมได้เพียงพอ

อยากสุขภาพดี แต่ไม่มี “ที่” ทำอย่างไรเมื่อเมืองไม่เอื้อ?
ใจพร้อม กายพร้อม แต่ “เมือง” ไม่พร้อม ! ปัญหาการขาดพื้นที่ให้เคลื่อนไหวกำลังบั่นทอนความเป็นอยู่ของเรา ทั้งจากโรค NCDs หรือภาวะซึมเศร้า ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การออกแบบ “ที่” ให้สามารถทำกิจกรรมได้หลายอย่าง คือคำตอบที่จะสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าถึงการมีสุขภาพดีอย่างเท่าเทียม

วิธีใช้สิทธิ UCEP เจ็บป่วยฉุกเฉินขั้นวิกฤต รักษาได้ทุกโรงพยาบาล
ขั้นตอนการขอใช้สิทธิ UCEP หากประสบภาวะเจ็บป่วยฉุกเฉินถึงขั้นวิกฤต ตาม 6 ลักษณะอาการ คนไทยทุกคนสามารถเข้ารักษาที่โรงพยาบาลทุกแห่งที่ใกล้ที่สุดได้ทันที โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย คุ้มครองนานสุด 72 ชั่วโมง

ปรับลดงบ "30บาทรักษาทุกที่" เหลือ 4,175.99 บาท/คน
ปรับลดงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ งบปี 69 เหลือ 265,295.58 ล้านบาท จากบอร์ดสปสช.เสนอของบ 272,583.32 ล้านบาท ขณะที่เหมาจ่ายรายหัว 30 บาทรักษาทุกที่ เหลือ จ่ายรายหัว 4,175.99 บาท จากที่ขอไป 4,298.24 บาท

Social Participation กลไกนำทุกคนเข้าถึงระบบสุขภาพที่ดี
ย้อนไปเมื่อช่วงเดือน มิ.ย. 67 ไทยมีการนำเสนอมติสำคัญ ที่เรียกว่า “Social Participation” หรือ “การมีส่วนร่วมของสังคม” ต่อที่ประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 77 ณ สมาพันธรัฐสวิส และได้รับการรับรองมติจากผู้แทน 194 ประเทศสมาชิกทั่วโลก วันนี้มติดังกล่าว ถูกนำมาพูดถึงอีกครั้งพร้อมเสียงสะท้อนจากนานาชาติ

30 บาทรักษาทุกที่ มีสิทธิประโยชน์อะไรใหม่?
เช็กสิทธิประโยชน์ "30 บาทรักษาทุกที่" ขณะที่บอร์ดสปสช.เห็นชอบ “งบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปี 2569” วงเงินกว่า 2.72 แสนล้านบาท งบเหมาจ่ายรายหัว 4,298.24 บาท ดูแลคนไทยผู้มีสิทธิ 47.50 ล้านคน พร้อมเพิ่มสิทธิประโยขน์ใหม่ 10 รายการ

"30 บาท รักษาทุกที่" ครอบคลุมทั่วไทย เริ่ม 1 ม.ค. 68
คิกออฟ "30 บาทรักษาทุกที่" ทุกจังหวัดทั่วประเทศ เริ่ม 1 ม.ค. 68 พร้อมเตรียมผลักดัน 6 บริการใหม่ มุ่งดูแลปัญหายุคใหม่ในสังคมสูงอายุ และ สุขภาพจิต พร้อมพัฒนาช่องทางอำนวยความสะดวกในบริการให้รวดเร็วและทั่วถึง

บทเรียนโรคไตเรื้อรัง: ถึงเวลาทำงบประมาณแบบฐานศูนย์
วิธีการงบประมาณแบบฐานศูนย์ (Zero-Based Budgeting) ที่มีการเสนอวิธีการจัดงบประมาณใหม่ของประเทศที่ไม่อิงจากงบในอดีต แต่ก็ยังคงเป็นแนวคิด แต่จากบทเรียนงบประมาณที่ใช้รักษา “โรคไตเริ้อรัง“อาจจำเป็นต้องหันมาหาทางเลือกการจัดสรรงบใหม่

บัตรทองเฟส 4 เริ่มสิ้นปี เลิกใบส่งตัว ใช้แอปหมอพร้อมปีหน้า
นโยบาย “30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว” เดินทางสู่เฟสที่ 4 รัฐบาลตั้งเป้าขยายการดำเนินงานครอบคลุมทั่วประเทศภายในสิ้นปี 2567

ศึกสองวิชาชีพ “ร้านยาคุณภาพ” เดินหน้าหรือสะดุดกฎหมาย
ร้านยาคุณภาพภายใต้การดำเนินงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) หนึ่งในความพยายาม แก้ปัญหาความแออัดในโรงพยาบาล กำลังกลายเป็นศึกระหว่างสองวิชาชีพที่ต้องจับตาว่าจะจบลงอย่างไร

ถอดรหัสปัญหา '30 บาทรักษาทุกที่' กทม.
ระบบบัตรทองในพื้นที่กรุงเทพมหานคร กำลังอยู่ท่ามกลางความท้าทายรอบด้าน ทั้งจากความแตกต่างและซับซ้อนมากกว่าจังหวัดอื่น รวมไปถึงต้นทุนการให้บริการที่สูงกว่า และปัญหาจากคลินิกชุมชนอบอุ่นถอนตัว ขณะที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ต้องแบกต้นทุนการรักษาเพราะได้รับการเบิกจ่ายจาก สปสช. เพียงบางส่วน

นโยบายที่ดี ต้องมีมิติจิตวิญญาณความเป็นมนุษย์
โดยปกติ การออกแบบนโยบายแต่ละที มักถูกคิดคำนึงถึงความเจริญก้าวหน้าของประเทศเป็นหลัก หลายนโยบายกลายเป็นแนวคิดที่แข็งกระด้าง เน้นการพัฒนาและตัวเลขเติบโตทางสถิติ แต่กลับมองข้ามความต้องการที่แท้จริงของประชาชนที่มีหัวจิตหัวใจในฐานะมนุษย์คนหนึ่ง

บัตรประชาชนใบเดียว รักษาทุกที่ใน 7 หน่วยบริการกทม.
เช็กสิทธิ "30 บาทรักษาทุกที่" ในพื้นที่กรุงเทพมหนคร ใช้ "บัตรประชาชนใบเดียว" ผ่าน 7 หน่วยบริการนวัตกรรมของกทม. ไม่ต้องรอคิว ใบส่งตัวและไม่ต้องเสียเวลาไปโรงพยาบาลใหม่

ทุ่มงบ 3.8 แสนล้าน ใน 10 ปี เพิ่มบุคลากรสาธารณสุขกว่า 2 แสน
เปิดแผนสาธารณสุข 10 ปี ทุ่มงบ 3.8 แสนล้านบาท เพิ่มกำลังคมกว่า 2 แสน รองรับบริการทางการแพทย์ หลังประเทศมีระบบหลักประกันสุขภาพที่สุดแห่งหนึ่งของโลก จากนโยบายบัตรทอง 30 บาทฯ แต่ยังคงประสบกับปัญหาบุคคลากรไม่เพียงพอ งานล้นมือ และนับวันจำนวนผู้ป่วยก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้นไทย

พัฒนาทุนมนุษย์ไม่ใช่ภาระ! ข้อเสนอถึงรัฐแก้ความเหลื่อมล้ำ
พัฒนา “ทุนมนุษย์” ไม่ใช่ภาระ แต่เป็นความจำเป็นเร่งด่วน ! ข้อเสนอเชิงนโยบายถึงรัฐบาล แก้กับดักความเหลื่อมล้ำ ปูทางสู่การสร้างสวัสดิการที่ทำให้ทุกคนในสังคมเท่ากัน

สธ. ออกจากระบบ ก.พ. แก้ปัญหาแพทย์-พยาบาล ขาดแคลน
ปัญหาบุคลากรทางการแพทย์ขาดแคลน นับเป็นปัญหาสำคัญที่ภาครัฐพยายายามหาทางแก้ไขมาอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในสาเหตุสำคัญคือกลไกการบรรจุเป็นข้าราชการที่ตำแหน่งมีจำนวนจำกัดและไม่ยืดหยุ่น แนวคิดการปลดล็อกออกจากระบบ ก.พ. จึงเป็นแนวทางแก้ปัญหาที่สังคมกำลังจับตาว่าสุดท้ายจะแก้ปัญหาที่คาราคาซังมาได้นานได้หรือไม่

Physical Activity เบื้องหลังมติสำคัญระดับโลกที่ทำให้คนไทยมีสุขภาพดี
ภายในไม่กี่ปีมานี้ เราได้เห็นเทรนด์การไปงานวิ่งที่บูมมากในประเทศไทย เห็นชุมชนแม่บ้านที่เต้นแอโรบิกหน้าห้างสรรพสินค้า เห็นการรณรงค์ให้เดินขึ้นบันไดแทนลิฟต์ในสำนักงาน หรือหากเคยไปงานอบรมสัมมนาอยู่บ้าง คงต้องรู้จักกับ “Chicken Dance” กิจกรรมสุดป๊อปที่ให้ทุกคนต้องลุกขึ้นมาขยับร่างกาย

Social Participation รากฐานประชาธิปไตยบนเวทีโลก
Social Participation หรือ การมีส่วนร่วมทางสังคม กลายเป็นมติสำคัญจากการนำเสนอและได้รับรองอย่างเป็นทางการ จากเวทีการประชุมสมัชชาอนามัยโลก สมัยที่ 77 ณ นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส ถือเป็นอีกก้าวสำคัญในการขับเคลื่อนรากฐานประชาธิปไตยของประชาชนบนเวทีโลก

30บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรใบเดียว เพิ่มเป็น 42 จังหวัด
30 บาทรักษาทุกที่ ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว เพิ่มพื้นที่บริการเป็น 42 จังหวัด จากที่เริ่มต้นเพียง 4 จังหวัดเมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยรอบนี้ สามารถใช้บริการในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้แล้ว

บัตรทองยุคหลังโควิด บริการได้วันละล้านทรานแซกชัน
โลกยุคหลังโควิดเปลี่ยนไปหลายด้าน แต่ผลด้านบวกเกิดขึ้นจากการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาแก้ปัญหา สปสช.พัฒนาบริการสุขภาพวิถีใหม่ โดยใช้ระบบไอทีและเทคโนโลยีดิจิทัลบนคลาวด์กลางภาครัฐ “GDCC” ยกระดับบริการบัตรทองยุค "นิวนอร์มอล" รองรับบริการวันละ 1 ล้านทรานแซกชันต่อวันจากโรงพยาบาลและหน่วยบริการต่าง ๆ ทั่วประเทศ

เช็ก 6 อาการป่วยฉุกเฉินวิกฤต ใช้สิทธิ UCEP เข้ารพ.ได้ทุกแห่ง
ผู้มีสิทธิบัตรทอง 30 บาท และคนไทยทุกคน หากเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤตตาม 6 ลักษณะอาการ สามารถใช้สิทธิ UCEP เข้ารักการรักษาได้ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพียงยื่นบัตรประชาชนใบเดียว

บัตรทองก็มีสิทธิรับเงินช่วยเหลือ เมื่อเสียหายจากรักษาพยาบาล
ผู้มีสิทธิบัตรทอง หรือบัตร 30 บาทพลัส หากใช้สิทธิบัตรทอง แล้วได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล ซึ่งไม่ใช่เกิดจากโรคหรือเหตุแทรกซ้อนของโรค ก็มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545

งบหลักประกันสุขภาพปี'68 รวม 2.35 แสนล้าน เพิ่ม 8.37%
ครม.อนุมัติงบหลักประกันสุขภาพปี 2568 กว่า 2.3 แสนล้านบาท เพิ่ม 8.37% โดยเพิ่มเหมาจ่ายค่ารักษาพยาบาล 30 บาทเป็น 3,844.55 บาทต่อคน หลังปริมาณการใช้บริการและอัตราค่าใช้จ่ายของผู้ป่วยในกองทุนฯมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

เช็กความพร้อม 8 จังหวัดนำร่องรักษาทุกที่เฟส 2
นโยบายบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ได้รับเสียงตอบรับค่อนข้างดีจากประชาชนเนื่องจากช่วยเพิ่มความสะดวกในการเข้ารับบริการใกล้บ้าน โดยเตรียมนำร่องเฟส 2 เดือน มี.ค. นี้ ชวนเช็คความพร้อมและจับตาโจทย์สำคัญที่ต้องจับตาทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ และ รูปแบบการเบิกจ่ายของ สปสช.

เช็ก "ขั้นตอน-จุดบริการเอกชน" 30 บาทรักษาทุกที่ใน 4 จังหวัด
"30 บาทรักษาทุกที่" เริ่มแล้วตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. 2567 นำร่องใน 4 จังหวัด คือ แพร่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี และนราธิวาส นอกจากโรงพยาบาลของรัฐ ยังสามารถเลือกรับบริการได้ผ่านสถานพยาบาลเอกชนที่ขึ้นทะเบียน

30 บาทพลัสเฟส 2 ตั้งเป้า "Mid-Year Success"
หลังจากกระทรวงสาธารณสุข ประกาศมาตรการระยะเวลาเร่งด่วน หรือ Quick Win 100 วัน ที่มีหลายมาตรการเริ่มดำเนินการแล้ว โดยเฉพาะ "30 บาทรักษาทุกที่ด้วยบัตรประชาชนใบเดียว ใน 4 จังหวัด ก็เตรียมขับเคลื่อน "Mid-Year Success" ในไตรมาส 2 ช่วง ม.ค. - มี.ค.

ความเท่าเทียมในสวัสดิการ “คลุมเครือ คาดหวังสูง”
ในการเลือกตั้งที่ผ่านมาหลายพรรคการเมืองชูนโยบายเกี่ยวกับ “รัฐสวัสดิการ” แม้ว่าแต่ละพรรคมุ่งเน้นนโยบายต่างกัน แต่ก็ชี้ให้เห็นว่า “สวัสดิการจากภาครัฐ” ได้ปักหลักอย่างมั่นคงในนโยบายของรัฐบาลนับจากนี้ไป