รวมทั้ง เชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพแบบดิจิทัลผ่านระบบ “หมอพร้อม” ภายในปี 2568 โดยเน้นให้ประชาชนเข้าถึงบริการสุขภาพที่สะดวก รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ การส่งต่อในรูปแบบกระดาษจะถูกยกเลิก และเปลี่ยนไปใช้ระบบดิจิทัลทั้งหมด
ระบบนี้จะรวบรวมข้อมูลสุขภาพของผู้ป่วยจากหลายสถานพยาบาลไว้ในที่เดียว ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่โดยที่ข้อมูลสุขภาพติดตามไปด้วย ทั้งนี้ การเชื่อมต่อข้อมูลดิจิทัลจะรวมถึงโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงฯ และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โดยขณะนี้กำลังหารือกับศิริราชเพื่อดำเนินการเชื่อมต่อข้อมูลร่วมกัน
สำหรับ “30 บาทรักษาทุกที่” เฟส 4 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ยังไม่ได้กำหนดวันที่ชัดเจน แต่ยืนยันว่าจะเริ่มโครงการครอบคลุมทุกจังหวัดภายในสิ้นปี 2567 ส่วนการเชื่อมโนงข้อมูลสุขภาพ ก็เป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล ที่มุ่งพัฒนาหน่วยบริการให้เป็น “โรงพยาบาลอัจฉริยะ” (Smart Hospital)
“30 บาทรักษาทุกที่” เฟสที่ผ่านมา (1-3) ที่ครอบคลุม 46 จังหวัด รวมกรุงเทพมหานคร สามารถลดค่าใช้จ่ายการเดินทางของประชาชนได้ถึง 23% และลดความแออัดในโรงพยาบาลขนาดใหญ่ สำหรับระยะที่ 4 จะขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมทั่วประเทศ
- ระยะที่ 1 ครอบคลุม 4 จังหวัด ได้แก่ แพร่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี นราธิวาส ตั้งแต่วันที่ 7 มกราคม 2567 เป็นต้นไป
- ระยะที่ 2 ครอบคลุม 12 จังหวัด ได้แก่ เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ สิงห์บุรี สระแก้ว หนองบัวลำภู นครราชสีมา อำนาจเจริญ และพังงา ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป
- ระยะที่ 3 ครอบคลุม 6 เขตสุขภาพ 33 จังหวัด ได้แก่ เขต 1 เขต 3 เขต 4 เขต 8 เขต 9 และเขต 12 ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป
เขตสุขภาพที่ 1 เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา ลำปาง ลำพูน แม่ฮ่องสอน
เขตสุขภาพที่ 3 กำแพงเพชร พิจิตร ชัยนาท อุทัยธานี
เขตสุขภาพที่ 4 สระบุรี นนทบุรี ลพบุรี อ่างทอง นครนายก พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี
เขตสุขภาพที่ 8 อุดรธานี สกลนคร นครพนม เลย หนองคาย บึงกาฬ
เขตสุขภาพที่ 9 ชัยภูมิ บุรีรัมย์ สุรินทร์
เขตสุขภาพที่ 12 สงขลา สตูล ตรัง พัทลุง ปัตตานี ยะลา
เขตสุขภาพที่ 13 กรุงเทพมหานคร - ระยะที่ 4 ครอบคลุ่ม จังหวัดที่เหลือทั้งประเทศ
เขตสุขภาพที่ 2 พิจิตร อุทัยธานี
เขตสุขภาพที่ 5 ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี นครปฐม สมุทรสาคร สมุทรสงคราม ประจวบคีรีขันธ์
เขตสุขภาพที่ 6 จันทบุรี ตราด ระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา
เขตสุขภาพที่ 7 มหาสารคาม ขอนแก่น
เขตสุขภาพที่ 10 กระบี่ ภูเก็ต นครศรีธรรมราช ชุมพร ระนอง
เขตสุขภาพที่ 11 สระแก้ว จันทบุรี ตราด
ลดป่วยโรค NCDs ลดภาระงบประมาณระยะยาว
ตลอดระยะเวลา 5 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข ต้องบริหารงบประมาณของระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ปีละประมาณ 150,000 ล้านบาท จากข้อมูลผู้เข้ารับบริการผู้ป่วยนอกของกระทรวงสาธารณสุขที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเข้ารับบริการ 304 ล้านคน/ครั้งต่อปี แบ่งเป็นบริการปฐมภูมิ 154 ล้านครั้ง ทุติยภูมิ 125 ล้านครั้ง และตติยภูมิ 25 ล้านครั้ง ซึ่งแต่ละระดับมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกัน
โดยพบว่า 52% ของงบประมาณถูกใช้ในกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ซึ่งส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่เหมาะสมและการออกกำลังกาย
“การลดจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ในกลุ่มโรค NCDs จะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในระบบและลดจำนวนผู้เข้ารับบริการที่สูงถึง 304 ล้านครั้งต่อปีได้” รมว.สธ. กล่าว
งบประมาณต้องเพียงพอ การบริหารต้องสมดุล
นายสมศักดิ์ ย้ำว่า การบริหารงบประมาณต้องรอบคอบ โดยการจัดการแบบ “ปลายปิด” หมายถึงการกำหนดวงเงินตายตัวสำหรับแต่ละโรค หากงบไม่พออาจต้องขอเพิ่ม ซึ่งหากดำเนินการเช่นนี้ต่อเนื่อง จะสร้างภาระในระยะยาวและกระทบต่อการจัดการของ สปสช. เช่น กรณีการปรับลดค่า DRGs (ระบบวินิจฉัยโรคร่วม) ในอดีต แม้จะลดลงเล็กน้อย แต่ส่งผลกระทบต่อหน่วยบริการ
“ในฐานะประธานบอร์ด สปสช. ผมต้องการสร้างความสมดุลระหว่างการบริการและการใช้จ่าย รวมถึงหาทางลดจำนวนผู้ป่วย โดยเฉพาะโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)” นายสมศักดิ์ระบุ
อสม. กับบทบาทปรับพฤติกรรมสุขภาพ
ขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุข กำลังเร่งรณรงค์ให้ความรู้ประชาชนผ่านอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) โดยเน้นการให้ความรู้เรื่อง “การนับคาร์บ” เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคอาหารที่เหมาะสม อสม. 1 คน จะสอนประชาชน 50 คน ซึ่งคาดว่า อสม.กว่า 1 ล้านคน จะเข้าถึงประชาชนได้มากถึง 50 ล้านคน
“เมื่อประชาชนมีความรู้และตระหนักถึงการดูแลสุขภาพตนเอง จำนวนผู้เข้ารับบริการในโรงพยาบาลจะลดลง ส่งผลให้ภาระงานของบุคลากรทางการแพทย์ลดลงตามไปด้วย” รมว.สธ.กล่าว
นโยบายนี้ไม่เพียงช่วยยกระดับระบบสาธารณสุข แต่ยังมุ่งหวังสร้างสังคมที่มีสุขภาพดีและลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาในระยะยาว