
วชิรวิทย์ เลิศบำรุงชัย

ใบส่งตัวบัตรทองในกทม.เอาอย่างไร? ใช้สูตรไหนแก้ปัญหาดี?
”ใบส่งตัวบัตรทอง“ ในพื้นที่กทม.ยังเป็นปัญหาใหญ่ ทั้งผู้มีสิทธิรับบริการและสปสช. หลังจากครินนิกชุมชนอบอุ่นประสบปัญหาขาดทุน แต่ปัญหามากกว่านั้นคือการบริหารจัดการ ที่มีความทับซ้อนกันทำให้เกิดรายจ่ายและสร้างภาระด้านงบประมาณต่อระบบโดยรวม แม้จะเป็นระบบบริการที่ดี แต่มีเรื่องต้องปรับปรุงอีกมาก

“ร้านยากับตู้ห่วงใย” นวัตกรรมบัตรทอง คุ้มค่า หรือ สิ้นเปลืองงบ?
“ตู้ห่วงใย” และบริการใหม่ ๆ เช่น ร้านยาฟรี-ส่งยาถึงบ้าน สำหรับบริหารบัตรทองหรือ30บาทรักษาทุกที่ อาจช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการ ลดความแออัดสถานบริการ แต่หากไม่มีการประเมินต้นทุน และคุณภาพบริการ ทำให้มีคำถามตามมาว่าเป็นภาระมากกว่าประโยชน์ โดยเฉพาะต่องบประมาณที่ยังมีปัญหา

ประกาศคุ้มครองสิ่งแวดล้อม รับมือมลพิษ แม่น้ำกก-สาย
แม่น้ำกกและแม่น้ำสาย กำลังเผชิญวิกฤตมลพิษจากสารหนู จากการทำเหมืองแร่ทองคำ และเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ ที่รัฐฉานประเทศเมียนมาร์ ขณะที่ไทยยังไม่มีมาตรการคุมแหล่งกำเนิดนอกแดนได้ ทำได้เพียงมาตรการฟื้นฟูในประเทศ โดยอาจประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม

ปิดโควตาแพทย์ชนบท ใช้ทุนภาคใต้ พุ่งเป้า”อีสาน”ขาดหมอ
ภาคใต้ไร้โควตาจับสลากแพทย์ใช้ทุนในปี 2568 ขณะที่ภาคอีสานยังมีโควตา สะท้อนความสำเร็จของโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชนบท หรือ CPIRD แต่ก็เปิดประเด็นใหม่เกี่ยวกับโครงสร้างการจัดสรรแพทย์ในอนาคต เมื่อใคร ๆ ก็อยากทำงานใกล้บ้าน

แก้กฎหมาย ”อุ้มบุญ” เพิ่มสิทธิ LGBTQ+ เข้าถึงบริการ
กระทรวงสาธารณสุขเตรียมเสนอกฎหมายอุ้มบุญใหม่ ก้าวข้ามข้อจำกัดเดิม เพิ่มกลุ่มผู้รับบริการตั้งครรภ์แทน (อุ้มบุญ) ในกลุ่มชาวต่างชาติ เตรียมขยายสิทธิการเข้าถึงของกลุ่มสมรสเท่าเทียม และผู้มีรายได้น้อย

เปิด”โมเดลขนมชั้น“ ลดเหลื่อมล้ำ 3 กองทุนสุขภาพ
สำรวจปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพไทย วิเคราะห์ข้อจำกัดและศักยภาพ 3 กองทุนสุขภาพ "ข้าราชการ-ประกันสังคม-บัตรทอง" สู่มาตรฐานที่เท่าเทียม เสนอ "โมเดลขนมชั้น" หาทางออกลดความเหลื่อมล้ำระบบสุขภาพของประเทศ

ยกระดับอสม.กว่าล้านคนทั่วประเทศ รอลุ้นก.ม.ผ่านสภาฯ
กระทรวงสาธารณสุข เตรียมยกระดับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)จากระเบียบกระทรวงเป็นพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ หวังปรับสถานภาพ และสิทธิประโยชน์ให้มั่นคง พร้อมระบบสวัสดิการ เพื่อเป็นกำลังสำคัญบริการสาธารณสุข เป็นด่านหน้าดูแลสุขภาพในระดับชุมชนทั่วประเทศ

“ลดคาร์บ ลดโรค” แก้โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) ได้จริงหรือ?
“ลดคาร์บ ลดโรค” นโยบายของสาธารณสุขล่าสุด ยุค "สมศักดิ์ เทพสุทิน" หวัง "ป้องกันดีกว่ารักษา" แต่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของคนไทยได้จริงหรือ? สุดท้ายแล้วอาจเป็นเพียงนโยบายเพื่อหวังประหยัดงบประมาณ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้จริง

หมอลาออก: แก้อย่างไร “ผลิตเพิ่ม หรือ จูงใจให้อยู่ต่อ”
หมอลาออกนับพันคนต่อปี สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบสาธารณสุขไทย "ภาระงานล้นมือ - ขาดแรงจูงใจ -กระจายแพทย์ไม่ทั่วถึง" ขณะที่แนวทางแก้ไขของรัฐยังเน้นแต่การผลิตแพทย์เพิ่ม โดยไม่ตอบโจทย์การรักษาแพทย์ให้อยู่ในระบบ