ThaiPBS Logo

สารบัญประกอบ

    ปรับลดงบ “30บาทรักษาทุกที่” เหลือ 4,175.99 บาท/คน

    6 ก.พ. 256811:13 น.
    ปรับลดงบ “30บาทรักษาทุกที่” เหลือ 4,175.99 บาท/คน

    สารบัญประกอบ

      ปรับลดงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ งบปี 69 เหลือ 265,295.58 ล้านบาท จากบอร์ดสปสช.เสนอของบ 272,583.32 ล้านบาท ขณะที่เหมาจ่ายรายหัว 30 บาทรักษาทุกที่ เหลือ จ่ายรายหัว 4,175.99 บาท จากที่ขอไป 4,298.24 บาท

      การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติตามที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เสนอตามความเห็นของสำนักงบประมาณ อนุมัติงบประมาณสำหรับกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณพ.ศ.2569 ภายในวงเงิน 265,295.58 ล้านบาท ลดลงจากข้อเสนอของคณะกรรมการ สปสช.เสนอของบประมาณ 272,583.32 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น

      (1) ค่าบริการทางการแพทย์เหมาจ่ายรายหัว สำหรับประชาชนผู้มีสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จำนวน 47.5 ล้านคน วงเงิน 198,367.88 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ
      พ.ศ. 2568 จำนวน 16,526.71 ล้านบาท คิดเป็น 9.09% คิดเป็นอัตราเหมาจ่ายรายหัว 4,175.99 บาทต่อผู้มีสิทธิ ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการในส่วนเงินเดือนค่าตอบแทนบุคลากร ลดลงจากที่คณะกรรมการสปสช.เสนอไปที่ 4,298.24 บาท

      (2) ค่าบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวีและผู้ป่วยเอดส์ ประกอบด้วย ค่าบริการผู้ติดเชื้อเอชไอวี และผู้ป่วยเอดส์ วงเงิน 3,651.76  ล้านบาท และค่าบริการป้องกันการติดเชื้อเอชไอวี วงเงิน 877.60 ล้านบาท รวมวงเงิน 4,529.36 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 319.92 ล้านบาท หรือคิดเป็น 7.60%

      (3) ค่าบริการผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง วงเงิน 16,074.98 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 2,568.81 ล้านบาท หรือคิดเป็น 19.02%

      (4) ค่าบริการควบคุม ป้องกันและรักษาโรคเรื้อรัง (ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน และผู้ป่วยโรคหอบหืดและปอดอุดกั้นเรื้อรัง) ประกอบด้วย 3 รายการ ได้แก่ งบบริการควบคุมป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง วงเงิน 1,355.31 ล้านบาท งบบริการผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชน วงเงิน 132.15 ล้านบาท และงบบริการควบคุมสำหรับผู้ป่วยโรคหอบหืด และโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง วงเงิน 73.013 ล้านบาท รวมวงเงิน 1,560.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 261.55 ล้านบาท หรือคิดเป็น 20.14%

      (5) ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับหน่วยบริการในพื้นที่กันดาร พื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ วงเงิน 1,490.29 ล้านบาท

      (6) ค่าบริการสาธารณสุขเพิ่มเติมสำหรับการบริการระดับปฐมภูมิ รวมวงเงิน 3,770.48 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 1,590.25 ล้านบาท หรือคิดเป็น 72.94% ประกอบด้วย

      • บริการด้วยทีมแพทย์ประจำครอบครัว วงเงิน 153.52 บาท
      • บริการที่ร้านยา วงเงิน 701.46 ล้านบาท
      • บริการตรวจทางห้องปฏิบัติการนอกโรงพยาบาล วงเงิน 199.15 ล้านบาท
      • ค่าบริการสาธารณสุขระบบทางไกล (Telehealth/Telemedicine) 171.88 ล้านบาท
      • บริการด้านยาและเวชภัณฑ์สำหรับการจัดส่งยาและเวชภัณฑ์ไปยังผู้ป่วยที่บ้าน วงเงิน 56.90 ล้านบาท
      • บริการนวัตกรรมด้านทันตกรรม วงเงิน 719.13 ล้านบาท
      • ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับหน่วยบริการร่วมให้บริการด้านการพยาบาล วงเงิน 1,101.59 ล้านบาท
      • บริการนวัตกรรมการแพทย์แผนไทย วงเงิน 87.83 ล้านบาท
      • บริการนวัตกรรมด้านเวชกรรม วงเงิน 483.93 ล้านบาท
      • บริการนวัตกรรมด้านกายภาพบำบัด วงเงิน 95.07 ล้านบาท

      (7) ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย

      • ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล เมืองพัทยาและกรุงเทพมหานคร วงเงิน 3,870.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 1,348.11 ล้านบาท หรือคิดเป็น 53.45%
      • ค่าบริการสาธารณสุขสำหรับผู้มีภาวะพึ่งพิงในชุมชน วงเงิน 5,514.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 2,614.12 ล้านบาท หรือคิดเป็น 90.13%
      • ค่าบริการสาธารณสุขร่วมกับองค์การบริหารส่วนจังหวัด วงเงิน 541.02 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 10.05 ล้านบาทหรือคิดเป็น 1.89%

      (8) เงินช่วยเหลือเบื้องต้นผู้รับบริการและผู้ให้บริการที่ได้รับความเสียหายจากการให้บริการ วงเงิน 562.23 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 39.31 ล้านบาท หรือคิดเป็น 7.52%

      (9) ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค สำหรับการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรครายบุคคลและครอบครัว สำหรับคนไทยทุกคนทุกสิทธิ

      • ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคทั่วไป จำนวน 67.63 ล้านคน วงเงิน 27,761.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 จำนวน 2,377.96 ล้านบาท หรือคิดเป็น 9.37% ซึ่งครอบคลุมค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการในส่วนเงินเดือนค่าตอบแทนบุคลากร
      • ค่าบริการสร้างเสริมสุขภาพและควบคุมป้องกันโรคไม่ติดต่อ (NCDs) จำนวน 6,215,900 คน วงเงิน 1,252.27 ล้านบาท

      สำหรับงบประมาณบริหารงานของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ วงเงิน 2,306.49 ล้านบาท นั้น เห็นสมควรที่คณะรัฐมนตรีจะมอบหมายให้สำนักงบประมาณพิจารณาสนับสนุนงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้ตามความจำเป็นเหมาะสม ประหยัดและสอดคล้องกับภารกิจการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

      เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง:

      Social Participation กลไกนำทุกคนเข้าถึงระบบสุขภาพที่ดี

      30 บาทรักษาทุกที่ มีสิทธิประโยชน์อะไรใหม่?

      บทเรียนโรคไตเรื้อรัง: ถึงเวลาทำงบประมาณแบบฐานศูนย์

      นโยบายที่เกี่ยวข้อง

      ระบบหลักประกันสุขภาพ

      ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ "30 บาทรักษาทุกโรค" ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ต่อมาเรียกว่า "บัตรทอง" ซึ่งดำเนินการมาครบรอบ 20 ปีเมื่อปี 2566 และกำลังก้าวสู่ปีที่ 23 ในปี 2568 แต่ปัญหายังต้องแก้ไขกันต่อไป โดยเฉพาะเรื่องงบประมาณและการบริหารจัดการ แม้ว่าเป็นหนึ่งในนโยบายที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด

      • 1
      • 2
      • 3
      • 4
      • 5

      ผู้เขียน: