การตัดสินใจของคณะกรรมการ สปสช. อนุมัติงบประมาณจัดซื้อยาฮอร์โมนข้ามเพศ 6 รายการภายใต้โครงการ 30 บาทรักษาทุกที่ ถือเป็นเหตุการณ์สำคัญที่สะท้อนทั้งความก้าวหน้าในการยอมรับความหลากหลายทางเพศ และความท้าทายในการบริหารจัดการระบบสุขภาพของประเทศ ท่ามกลางข้อถกเถียงเรื่องความพร้อมของระบบและลำดับความสำคัญ
เวทีระดมความคิดเห็น “ผู้ให้-ผู้รับบริการ” ในระบบบัตรทอง เสนอให้จัดระบบบริหารจัดการงบประมาณใหม่ ปรับระบบเสนอให้แยกเงินเดือนบุคลากรออกจากงบเหมาจ่ายรายหัว, ปรับเพิ่มเพดานการจ่ายชดเชยตามกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม เป็น 12,000 บาท และเพิ่มงบประมาณสนับสนุนกองทุนสุขภาพท้องถิ่น และกองทุนดูแลระยะยาว
สองทศวรรษ “หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ที่ยังเผชิญปัญหางบประมาณ แม้จะเพิ่มงบประมาณมาโดยตลอด แต่ยังมีสัดส่วนโรงพยาบาลขาดทุน 24 % ของโรงพยาบาลทั้งหมด ขณะที่เสียงเรียกร้องอยากให้มีแก้ปัญหากลไกการเบิกจ่าย โดยเฉพาะปัญหา อัตราการจ่ายต่อแต้ม (AdjRW)ไม่สอดคล้องกับต้นทุนค่ารักษาที่เกิดขึ้นจริง
โรงพยาบาลขาดทุน บัตรทอง ล่มหรือไม่ เป็นคำถามใหญ่ที่ต้องเร่งหาทางออก ชี้ต้องปรับระบบงบประมาณ เหตุเงินบำรุงสุทธิทั้งระบบเหลือเพียง 46,000 ล้านบาท สัญญาณเตือนปี 2570 อาจเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างหนัก
เวที Policy Forum จัดเสวนา "บัตรทอง "บนทางแยกไปต่อหรือปรับเปลี่ยนตัวแทนโรงพยาบาล, คลินิกอบอุ่น เตือน ระบบสุขภาพกำลังจะวิกฤติ ชี้ เงินบำรุงและเงินสำรองสุทธิทั้งระบบเหลือแค่ 4.6 หมื่นล้านและมีแนวโน้มลดลงหวั่นปี 2570 เผชิญวิกฤติอีกรอบ แนะรื้อระบบงบประมาณ
”ใบส่งตัวบัตรทอง“ ในพื้นที่กทม.ยังเป็นปัญหาใหญ่ ทั้งผู้มีสิทธิรับบริการและสปสช. หลังจากครินนิกชุมชนอบอุ่นประสบปัญหาขาดทุน แต่ปัญหามากกว่านั้นคือการบริหารจัดการ ที่มีความทับซ้อนกันทำให้เกิดรายจ่ายและสร้างภาระด้านงบประมาณต่อระบบโดยรวม แม้จะเป็นระบบบริการที่ดี แต่มีเรื่องต้องปรับปรุงอีกมาก
“ตู้ห่วงใย” และบริการใหม่ ๆ เช่น ร้านยาฟรี-ส่งยาถึงบ้าน สำหรับบริหารบัตรทองหรือ30บาทรักษาทุกที่ อาจช่วยเพิ่มการเข้าถึงบริการ ลดความแออัดสถานบริการ แต่หากไม่มีการประเมินต้นทุน และคุณภาพบริการ ทำให้มีคำถามตามมาว่าเป็นภาระมากกว่าประโยชน์ โดยเฉพาะต่องบประมาณที่ยังมีปัญหา
ค่าใช้จ่ายเดินทางไปโรงพยาบาล เป็นอีกหนึ่งในปัญหาใหญ่ของคนที่อาศัยในเมือง สปสช. เปิดโครงการนำร่อง ให้บริการ“รับส่งผู้สูงอายุ- คนพิการ ไปหาหมอ” โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในพื้นที่ กทม. ตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงสิ้นปี 68
ผู้มีสิทธิบัตรทอง 30 บาท หากเกิดอาการเจ็บป่วยเมื่ออยู่นอกพื้นที่สังกัดสถานพยาบาลของตนเอง สามารถเข้ารับการรักษาได้กับสถานพยาบาลในเครือของ สปสช. ทุกพื้นที่ และคนไทยทุกคนหากเจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติถึงแก่ชีวิต สามารถใช้สิทธิ UCEP รักษาฟรี 3 วัน ไม่ว่าจะเป็นโรงพบาบาลรัฐหรือเอกชน
ผู้มีสิทธิบัตรทอง หรือบัตร 30 บาทพลัส หากใช้สิทธิบัตรทอง แล้วได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล ซึ่งไม่ใช่เกิดจากโรคหรือเหตุแทรกซ้อนของโรค ก็มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามมาตรา 41 พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
นโยบายบัตรประชาชนใบเดียวรักษาทุกที่ ได้รับเสียงตอบรับค่อนข้างดีจากประชาชนเนื่องจากช่วยเพิ่มความสะดวกในการเข้ารับบริการใกล้บ้าน โดยเตรียมนำร่องเฟส 2 เดือน มี.ค. นี้ ชวนเช็คความพร้อมและจับตาโจทย์สำคัญที่ต้องจับตาทั้งการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ และ รูปแบบการเบิกจ่ายของ สปสช.
"30 บาทรักษาทุกที่" เริ่มแล้วตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. 2567 นำร่องใน 4 จังหวัด คือ แพร่ ร้อยเอ็ด เพชรบุรี และนราธิวาส นอกจากโรงพยาบาลของรัฐ ยังสามารถเลือกรับบริการได้ผ่านสถานพยาบาลเอกชนที่ขึ้นทะเบียน
ในการเลือกตั้งที่ผ่านมาหลายพรรคการเมืองชูนโยบายเกี่ยวกับ “รัฐสวัสดิการ” แม้ว่าแต่ละพรรคมุ่งเน้นนโยบายต่างกัน แต่ก็ชี้ให้เห็นว่า “สวัสดิการจากภาครัฐ” ได้ปักหลักอย่างมั่นคงในนโยบายของรัฐบาลนับจากนี้ไป