ThaiPBS Logo

นโยบายยาเสพติดแนวใหม่

นโยบายยาเสพติดแนวใหม่ เป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของนโยบายปราบปรามยาเสพติดของไทย เนื่องจากผู้การจำแนก "ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย" ทำให้ไม่ต้องรับโทษหนักเป็น "ผู้ค้า" อีกต่อไป และกระทรวงสาธารณสุข มีบทบาทสำคัญของนโยบายยาเสพติดแนวใหม่

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

แก้ไขพระราชบัญญัติติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 กำหนดให้ผู้ป่วยเป็นผู้เสพ

วางแผน

กำหนดปรมาณถือครองยาบ้าที่ถือว่าเป็น ผู้เสพ หรือ ผู้ค้า

ดำเนินงาน

ขั้นตอนดำเนินงานตามนโยบายที่ประกาศไว้

ตรวจสอบ

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

ความเคลื่อนไหวล่าสุด 11 มิ.ย. 2567

  • คณะรัฐมนตรีเห็นชอบอนุมัติหลักกการร่างกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….แก้ไขเฉพาะปริมาณแอมเฟตามีน (ยาบ้า) และเมทแอมเฟตามีน (ยาไอซ์) โดยกำหนดให้ปริมาณแอมเฟตามีน มีปริมาณไม่เกิน 1 หน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกิน 100 มิลลิกรัม และเมทแอมเฟตามีน มีปริมาณไม่เกิน 1 หน่วยการใช้ หรือมีน้ำหนักสุทธิไม่เกิน 100 มิลลิกรัม หรือในกรณีที่เป็นเกล็ด ผง ผลึก มีน้ำหนักสุทธิไม่เกิน 20 มิลลิกรัม

นโยบาย “ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย” เป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายยาเสพติดครั้งสำคัญของรัฐบาล หลงจากคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ฉบับที่ 108/2557 ลงวันที่ 21 ก.ค. 2557 มีเจตนารมณ์ให้โอกาสแก่ผู้ต้องสงสัยว่าใช้ยาเสพติดสามารถเข้ารับการบำบัดฟื้นฟู โดยไม่ถือว่ามีความผิด

นอกจากนี้ ยังสอดคล้องกับการประชุมสมัชชาสหประชาชาติสมัยพิเศษว่าด้วยปัญหายาเสพติดของโลก ค.ศ. 2016 ได้มีมติและนโยบายใหม่ต่อปัญหายาเสพติดว่าแท้ที่จริงแล้วปัญหายาเสพติดเป็นเรื่องของสุขภาพ ระบบสาธารณสุข อาชญากรรม สิทธิมนุษยชน และความยากจน

ดังนั้น ให้มีการแก้ปัญหายาสพติดโดยมุ่งเน้นด้านสาธารณสุข เน้นการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยแบบบูรณาการ คำนึงถึสิทธิมนุุษยชนอย่างครอบคลุม

นโยบายพรรคเพื่อไทย: “ปราบปรามผู้ผลิตและผู้ขาย” “เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย”

  • ยาเสพติดกับเพื่อไทยอยู่ร่วมกันไม่ได้
  • “ปราบปรามผู้ผลิตและผู้ขาย” อย่างเต็มรูปแบบรวมไปถึงการ “ยึดทรัพย์” ของผู้ผลิตและผู้ขาย
  • เปิดการเจรจากับประเทศเพื่อนบ้านตามแนวชายแดน เพื่อเข้าจัดการทำลายแหล่งผลิตยาเสพติดอย่างถาวร
  • เร่งพัฒนาเศรษฐกิจแนวชายแดน สร้างงาน สร้างเงิน สร้างรายได้ สร้างทางเลือกให้ประชาชน เพื่อดึงคนออกจากวงจรการค้ายาเสพติดอย่างถาวร

“เปลี่ยนผู้เสพเป็นผู้ป่วย” บำบัดผู้ติดยาเสพติดอย่างทั่วถึง นำการบำบัดทางจิตวิทยาที่ทันสมัยมาปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการกลับไปใช้ยาเสพติดอีกครั้ง ทำให้ผู้ป่วยกลายเป็นผู้สร้างโอกาส สร้างรายได้แก่ครอบครัวอย่างมั่นคง คืนชีวิตพี่น้องลูกหลานกลับคืนสู่ครอบครัว

ที่มา:

ทีมาของนโยบายยาเสพติดแนวใหม่

ผู้เสพ คือ ผู้ป่วย ตามพระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • ประกาศกฎกระทรวง ครอบครองยาบ้า 1 เม็ด ยาไอซ์ 100 มิลลิกรัม ถือเป็นผู้เสพ (จากเดิม 5 เม็ดและ 500 มิลลิกรัม ตามลำดับ)  ดูเพิ่มเติม ›

    17 มิ.ย. 2567

  • ครม. เห็นชอบร่างกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติดให้โทษและวัตถุออกฤทธิ์ที่ให้สันนิษฐานว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อเสพ ไม่เกิน มีปริมาณไม่เกิน 1 หน่วยการใช้  ดูเพิ่มเติม ›

    11 มิ.ย. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ประชุมติดตามการแก้ไขปัญหายาเสพติด ย้ำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำงานหนักเพิ่มขึ้น ใช้ทุกวิถีทางในการปราบปรามยาเสพติด ให้รายงานความคืบหน้าภายใน 90 วัน  ดูเพิ่มเติม ›

    8 พ.ค. 2567

  • ราชกิจจานุเบกษาประกาศกฎกระทรวงกำหนดปริมาณยาเสพติด ยาบ้า 5 เม็ดเป็นผู้เสพ  ดูเพิ่มเติม ›

    10 ก.พ. 2567

  • ประกาศใช้พระราชบัญญัติ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2554 กำหนดให้ผู้เสพคือผู้ป่วย  ดูเพิ่มเติม ›

    27 ก.ย. 2545

  • ประกาศใช้ พระราชบัญญัติ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2534

    20 พ.ย. 2534

  • ประกาศใช้พระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2519 และกำหนดให้มีสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรียกโดยย่อว่า"สำนักงาน ป.ป.ส."

    16 พ.ย. 2519

  • รัฐบาลประกาศให้ยกเลิกการเสพฝิ่น แต่ปัญหายาเสพติดก็มิได้หมดไป กลับปรากฏว่ามียาเสพติดชนิดใหม่ ที่รุนแรงกว่าฝิ่น คือเฮโรอีน  ดูเพิ่มเติม ›

    1 ธ.ค. 2501

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

สัดส่วนของผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดต่อประชากร
ผูู้ที่เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ไม่เกิน 8 คน ต่อประชากร 1,000 คน
ร้อยละของคดีอาชญากรรมที่เกี่ยวเนื่องกับยาเสพติดลดลง
คดีอาชญากรรม ที่มีผู้กระทำความผิด เกี่ยวเนื่องกับยาเสพติดลดลงอย่างต่อเนื่อง

เชิงกระบวนการ

ความพึ่งพอใจของประชาชน
ประชาชนมีความพึงพอใจและความเชื่อมั่นต่อการดำเนินงาน ป้องกัน ปราบปรามและแก้ไขปัญหายาเสพติด อย่างน้อยร้อยละ 80

บทความ/บทวิเคราะห์

ดูทั้งหมด
อดีต ปัจจุบัน อนาคต นโยบายกัญชา

อดีต ปัจจุบัน อนาคต นโยบายกัญชา

หลังปลดล็อกออกจากบัญชียาเสพติดมาเพียง 2 ปีรัฐบาลเศรษฐา กำลังจะนำกัญชากลับไปเป็นยาเสพติดอีกครั้ง แม้ว่าจะมีพรรคภูมิใจไทย ที่เคยผลักดันกัญชาออกจากบัญชียาเสพติด ในสมัยรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ร่วมรัฐบาลนี้ด้วยก็ตาม
นับถอยหลังดึงกัญชา กลับเข้าบัญชียาเสพติด

นับถอยหลังดึงกัญชา กลับเข้าบัญชียาเสพติด

กระทรวงสาธารณสุขยุค "สมศักดิ์ เทพสุทิน" มีความมั่นใจการนำ "กัญชา" กลับเข้าสู่บัญชียาเสพติดอีกครั้ง หลังมีการใช้นโยบายกัญชาเสรีกว่าหนึ่งปี เนื่องจากการเปิดรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศควบคุมกัญชา มีผู้แสงความเห็นมากเป็นประวัติการกว่าแสนครั้ง เกือบ 80% เห็นด้วยกับการนำกัญหากลับมาบัญชียาเสพติดอีกครั้ง
มองรอบด้าน  'กัญชา' กลับเป็นยาเสพติด

มองรอบด้าน 'กัญชา' กลับเป็นยาเสพติด

การเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาของนโยบายกัญชาทำให้เกิดความสับสน โดยหลังปลดล็อกออกจากบัญชียาเสพติดเมื่อวันที่ 9 มิ.ย. 2565 ผ่านไป 2 ปี รัฐบาลต้องการนำกลับเข้าบัญชียาเสพติดอีกครั้ง ขณะที่ข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกัญชาค่อนข้างกระจัดกระจาย ฝ่ายหนุน และฝ่ายต้าน อ้างข้อมูลกันคนละชุด