ThaiPBS Logo

ระบบประกันสังคม

ประกันสังคม เป็นเครื่องมือทางสังคมที่ใช้สร้างหลักประกันและความมั่นคงในการดำเนินชีวิต จัดการความเสี่ยงจากสถานการณ์ไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ เช่น เจ็บป่วย อุบัติเหตุ เสียชีวิต ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ใช้เพื่อให้หลักประกันชีวิตแก่ประชาชนตั้งแต่เกิดจนตาย

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

ดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการสำนักงานประกันสังคม ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 -2570) ฉบับทบทวน ประจำปี 2567

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

ความเคลื่อนไหวล่าสุด 2 ธ.ค. 67

2 ธ.ค. 67 สำนักงานประกันสังคมสำรวจความคิดเห็นร่างกฎกระทรวงก่าหนดค่าจ้างขั้นต่ำและขั้นสูงที่ใช้เป็นฐานในการค่านวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม และสิทธิประโยชน์ของผู้ประกันตน โดยค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบผู้ประกันตนตามมาตรา 33 แต่ละคนให้ก่าหนดขั้นต่ำและขั้นสูง ดังต่อไปนี้

  1. ตั้งแต่วันที 1 ม.ค. 69 ถึง 31 ธ.ค. 71 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 17,500 บาท
  2. ตั้งแต่วันที 1 ม.ค. 72 ถึง 31 ธ.ค. 74 จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 20,000 บาท
  3. ตั้งแต่วันที 1 ม.ค. 75 เป็นต้นไป จำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 1,650 บาท และไม่เกิน 20,300 บาท
8 พ.ย. 67 สำนักงานประกันสังคมยังได้ให้สิทธิผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ในระบบประกันสังคมที่ป่วยสามารถล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องไตอัตโนมัติ (Automated Peritoneal Dialysis : APD) ให้กับผู้ประกันตนสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ปกติแม้เวลากลางคืนขณะหลับ โดยได้รับสิทธิประโยชน์ดังนี้
  • จ่ายค่าวางท่อรับส่งน้ำยาเข้า-ออกช่องท้อง พร้อมอุปกรณ์ให้แก่ผู้ประกันตนหรือสถานพยาบาลไม่เกิน 20,000 บาท/ราย/ 2 ปี
  • จ่ายค่าบริการทางการแพทย์โดยการบำบัดทดแทนไตกรณีการล้างช่องท้องด้วยเครื่องอัตโนมัติแก่สถานพยาบาลที่ให้การรักษา ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่ขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการล้างช่องท้องด้วยเครื่องล้างไตอัตโนมัติ โดยผู้ประกันตนไม่ต้องสำรองจ่ายในอัตราเท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน 32,700 บาท/เดือน

8 พ.ค. 67 คณะกรรมการการแพทย์ กองทุนประกันสังคม มีมติเห็นชอบให้ปรับประกาศคณะกรรมการการแพทย์ เพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนเข้าถึงการรักษาโรคมะเร็งให้มีประสิทธิภาพ โดยผู้ประกันตนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เข้ารับบริการได้ทั้งสถานพยาบาลรัฐและเอกชนที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม

14 ก.พ. 67 กระทรวงแรงงานออกคำสั่งแต่งตั้งบอร์ดประกันสังคมทั้ง 14 ราย (จากฝั่งนายจ้าง 7 ราย และฝั่งผู้ประกันตน 7 ราย) หลังเลือกตั้งผ่านมาแล้วเกือบ 2 เดือน

ประกันสังคม เป็นการสร้างหลักประกันในการดำรงชีวิตในกลุ่มสมาชิกเพื่อรับผิดชอบการเฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โดยมีคุณลักษณะ ดังนี้

  • 1. เฉลี่ยทุกข์-เฉลี่ยสุข ซึ่งกันและกันระหว่างสมาชิก
  • 2. เงินสมทบที่เก็บไปจะสะสมเป็นกองทุน ให้สิทธิพิเศษเฉพาะผู้ส่งเงินสมทบ (ผู้ประกันตน) เท่านั้น
  • 3. การเก็บเงินสมทบถือเป็นภาษีพิเศษ เก็บจากบุคคลที่กำหมายกำหนดเท่านั้น

มีเป้าหมายหลักที่จะทำให้ประกันสังคมสามารถครอบคลุมทุกตัวบุคคลของประชาชนในชาติ (Universal Coverage) ได้ในอนาคต

 

ประเทศไทยดำเนินการระบบประกันสังคมออกเป็น 2 กองทุน ได้แก่

1. กองทุนประกันสังคม

เป็นกองทุนที่ให้หลักประกันแก่ผู้ประกันตนให้ได้รับประโยชน์ทดแทน เมื่อต้องประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ หรือตาย ซึ่งไม่เนื่องจากการทำงาน รวมถึง คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ชราภาพ และว่างงาน

โดยมีสิทธิประโยชน์ 7 กรณี (ไม่เนื่องจากการทำงาน) ได้แก่ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย ว่างงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และชราภาพ

โดยแบ่งผู้ประกันตนออกเป็น 3 มาตรา ได้แก่

1. ผู้ประกันตน (มาตรา 33) ลูกจ้างผู้ซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ได้รับความคุ้มครองทั้ง 7 กรณี

2. ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 39) เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 จ่ายเงินสมทบก่อนออกจากงานไม่น้อยกว่า 12 เดือน แล้วออกจากงานไม่เกิน 6 เดือนนับแต่วันที่ออกจากงาน และต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมต่อ ได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี (ไม่ได้รับกรณีว่างงาน)

3. ผู้ประกันตนโดยสมัครใจ (มาตรา 40) ประกอบอาชีพอิสระหรือแรงงานนอกระบบไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ 39 ได้รับความคุ้มครอง 3 – 5 กรณี ขึ้นอยู่กับจำนวนเงินที่จ่าย

 

2. กองทุนเงินทดแทน

เป็นกองทุนที่จ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย ทุพพลภาพ สูญเสียอวัยวะหรือสมรรถภาพในการทำงานของร่างกาย ตายหรือสูญหาย อันเนื่องมาจากการทำงานให้แก่นายจ้าง โดยไม่คำนึงถึงวัน เวลา และสถานที่ แต่ดูจากสาเหตุ

มีสิทธิประโยชน์ 4 กรณี (เนื่องจากการทำงาน) ได้แก่ ค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนรายเดือน (รวม 4 กรณี ได้แก่ หยุดงาน สูญเสียสมรรถภาพในการทำงาน ทุพพลภาพ และตายหรือสูญหาย) ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ

 

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • สำนักงานประกันสังคมสำรวจความเห็นเตรียมเพิ่มสิทธิประโยชน์เมื่อปรับเพดานค่าจ้างที่กำหนดไว้ที่ 15,000 บาท   ดูเพิ่มเติม ›

    2 ธ.ค. 2567

  • รศ.ดร.ษัษฐรัมย์ ธรรมบุษดี กรรมการผู้แทนฝ่ายผู้ประกันตน ในฐานะคณะกรรมการประกันสังคม ระบุว่าในการประชุมคณะกรรมการประกันสังคม 11 ธ.ค.67 จะหารือเกี่ยวกับสูตรบำนาญใหม่และสิทธิว่างงาน

    26 พ.ย. 2567

  • ประกันสังคม ให้สิทธิประโยชน์ผู้ประกันตนป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย สามารถล้างไตทางช่องท้องด้วยเครื่องล้างไตอัตโนมัติ (APD)

    8 พ.ย. 2567

  • คณะกรรมการประกันสังคม ปรับเพิ่มเงินสงเคราะห์บุตร อายุ 0-6 ปี ของผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 จาก เดิม 800 บาทต่อเดือน เป็น 1,000 ต่อเดือน  ดูเพิ่มเติม ›

    27 ส.ค. 2567

  • คณะกรรมการการแพทย์ กองทุนประกันสังคม มีมติเห็นชอบเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้ผู้ประกันตนที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง เข้ารับบริการได้ทั้งสถานพยาบาลรัฐและเอกชนที่ทำความตกลงกับสำนักงานประกันสังคม

    8 พ.ค. 2567

  • รมว.แรงงานเผย คณะกรรมการประกันสังคม เห็นด้วยกับแนวทางขยายเพดานส่งเงินประกันสังคมและเกณฑ์คิดอายุเกษียณจาก 55 ปี เป็น 60 ปี

    4 มี.ค. 2567

  • กระทรวงแรงงาน ออกคำสั่งแต่งตั้งบอร์ดประกันสังคมทั้ง 14 ราย (จากฝั่งนายจ้าง 7 ราย และฝั่งผู้ประกันตน 7 ราย)  ดูเพิ่มเติม ›

    14 ก.พ. 2567

  • ประกาศผลเลือกตั้งบอร์ดประกันสังคมอย่างเป็นทางการ

    24 ม.ค. 2567

  • เลือกตั้งกรรมการในคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ดประกันสังคม) ครั้งแรก

    24 ธ.ค. 2566

  • บังคับใช้ พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2558 เพิ่มความคุ้มครองให้ลูกจ้าง  ดูเพิ่มเติม ›

    20 ต.ค. 2558

  • กองทุนประกันสังคม ขยายขอบเขตคุ้มครองสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 1 คนขึ้นไป

    1 เม.ย. 2545

  • บังคับใช้ พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542  ดูเพิ่มเติม ›

    1 เม.ย. 2542

  • กองทุนประกันสังคม ขยายสิทธิ์ประโยชน์เพิ่มอีก 2 กรณี คือ สงเคราะห์บุตรและชราภาพ รวมเป็น 6 กรณี

    ธ.ค. 2541

  • บังคับใช้ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน

    19 ส.ค. 2541

  • บังคับใช้ พ.ร.บ.ประกันสังคม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2537

    30 มี.ค. 2538

  • บังคับใช้ พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ. 2537 โดยมีสาระสำคัญคือ แยกกฎหมายที่เกี่ยวกับเงินทดแทนและกองทุนเงินทดแทน จากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน

    1 ก.ค. 2537

  • ประกาศตั้งกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมขึ้น โอน สำนักงานกองทุนเงินทดแทน สำนักงานประกันสังคม สังกัดกระทรวงมหาดไทย มาสังกัดกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมแทน  ดูเพิ่มเติม ›

    23 ก.ย. 2536

  • กองทุนประกันสังคม ขยายขอบเขตคุ้มครองสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 10 คนขึ้นไป

    ก.ย. 2536

  • จัดตั้ง กองทุุนประกันสังคม คุ้มครองเฉพาะสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง 20 คนขึ้นไป สิทธิประโยชน์ 4 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ และเสียชีวิตไม่ใช่จากการทำงาน และคลอดบุตร

    2 ก.ย. 2533

  • สำนักงานกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงาน ถูกโอนมาสังกัดสำนักงานประกันสังคม

    3 ก.ย. 2533

  • บังคับใช้ พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533

    2 ก.ย. 2533

  • ขยายความคุ้มครองของกองทุนเงินทดแทนไปครบทุกจังหวัด

    2531

  • บังคับใช้ พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ  ดูเพิ่มเติม ›

    1 ธ.ค. 2530

  • ครม. มีมติเห็นชอบตามความเห็น คกก.ปฏิรูประบบราชการและระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน โดยให้ขยายขอบเขตงานกองทุนประกันสังคมออกไปให้ทั่วทุกจังหวัด ภายในปี 2528 (จากเดิมที่เสนอเริ่มดำเนินการใน 10 จังหวัด)  ดูเพิ่มเติม ›

    พ.ค. 2527

  • กระทรวงการคลัง บังคับใช้กฎกระทรวงฉบับที่ 162 (พ.ศ. 2526) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ เพื่อให้นายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพขึ้นด้วยความสมัครใจ  ดูเพิ่มเติม ›

    1 ม.ค. 2527

  • ครม. อนุมัติหลักการตามที่คณะกรรมการเตรียมการประกันสังคมเสนอ แต่ให้คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการและระเบียบบริหารราชการแผ่นดินพิจารณารายละเอียดอีกชั้นหนึ่ง  ดูเพิ่มเติม ›

    ก.ย. 2525

  • แต่งตั้งคณะกรรมการเตรียมการประกันสังคมขึ้น พิจารณาปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ.ประกันสังคม 2497  ดูเพิ่มเติม ›

    ก.พ. 2524

  • รัฐบาล พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ มีมติรับหลักการประกันสังคม  ดูเพิ่มเติม ›

    ธ.ค. 2523

  • ครม. พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พิจารณาตามที่คณะกรรมการเตรียมการประกันสังคมเสนอ แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจเพราะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล

    มี.ค. 2522

  • คระกรรมการเตรียมการประกันสังคมเสนอผลการพิจารณาเฉพาะกิจ และร่างพ.ร.บ.ประกันสังคมที่แก้ไขใหม่ ต่อครม.

    ก.พ. 2522

  • จัดสัมมนาไตรภาคี เรื่องการประกันสังคมและการพัฒนาประเทศ

    เม.ย. 2521

  • จัดสัมมนาไตรภาคี เรื่องการประกันสังคม

    มิ.ย. 2520

  • ครม. มีมติตั้งคณะกรรมการเตรียมการประกันสังคมขึ้น กระตุ้นให้รัฐบาลเห็นความสำคัญของการประกันสังคม

    2518

  • เริ่ิ่มดำเนินการเก็บเงินสมทบ

    1 ม.ค. 2517

  • ประกาศอัตราเงินสมทบที่นายจ้างต้องจ่ายให้กองทุนเงินทดแทนครั้งแรก

    11 มิ.ย. 2516

  • จอมพลถนอม กิตติขจร ออกประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 จัดตั้ง กองทุนเงินทดแทน ดูแลโดยกรมแรงงาน เพื่อจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง ในกรณีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการทำงาน

    16 มี.ค. 2515

  • สภาวิจัยแห่งชาติ เสนอรายงานต่อรัฐบาล ควรงดบังคับใช้ระบบประกันสังคมไว้ก่อน เพราะประชาชนที่ยากจนจะเดือดร้อน นายจ้างต้องจ่ายเงินเพิ่ม และควรใช้วิธีสมัครใจแทน รัฐบาลจึงมีมติให้งดไว้ก่อน  ดูเพิ่มเติม ›

    2508

  • ครม. จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ส่งร่างกฎหมายใหม่ให้สภาวิจัยแห่งชาติศึกษาและเสนอความเห็น

    23 มิ.ย. 2507

  • ตรา พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2497 และตั้งกรมประกันสังคม ในกระทรวงการคลัง แต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้บังคับ เพราะถูกคัดค้าน เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่ ทำให้ต้องระงับใช้โดยไม่มีกำหนด

    9 ก.พ. 2497

  • คณะอนุกรรมการได้เสนอหลักการ และวิธีการประกันสังคม

    ปลายปี 2496

  • รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตั้งคณะกรรมการสังคมสงเคราะห์ เพื่อพิจารณาวิธีการดำเนินการช่วยเหลือสงเคราะห์ประชาชนในด้านสวัสดิการทางสังคม

    2495

  • ตรา พ.ร.บ.เบี้ยบำนาญรัตนโกสินทร์ ศก 120 ขึ้น ถือเป็นหลักประกันสังคมระบบแรกของประเทศ โดยครอบคลุมเฉพาะกลุ่มข้าราชการ

    2444

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

แผนปฏิบัติ 5 ปี
แผนปฏิบัติราชการสำนักงานประกันสังคม ระยะ 5 ปี(พ.ศ. 2566 -2570) ฉบับทบทวน ประจำปี 2567 เพื่อให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ “องค์กรแห่งความเชื่อมั่น ด้านการให้บริการ ประกันสังคมที่ทันสมัย”
ดูเพิ่มเติม ›

เชิงกระบวนการ

กำหนดตัวชี้วัด (KPI)
กำหนดตัวชี้วัดตามแผนปฏิบัติงานในการสร้างความพึงพอใจด้านบริการของสำนักงานประกันสังคม

เชิงการเมือง

ตามทำแผนปฏิบัติงาน
ตามยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและนโยบายรัฐบาล

อินโฟกราฟิก

Image 0Image 1Image 2Image 3

บทความ

ดูทั้งหมด
ประกันสังคมจ่อปรับ "เงินนำส่ง-สิทธิประโยชน์" รอบ 31 ปี

ประกันสังคมจ่อปรับ "เงินนำส่ง-สิทธิประโยชน์" รอบ 31 ปี

สำนักงานประกันสังคม เปิดรับฟังความเห็นร่างกฎกระทรวงกำหนดเพดานค่าจ้าง เพื่อใช้คำนวณเงินนำส่งสำหรับผู้ประกันตน ม.33 คาดเริ่มปี 69 เริ่มจากเพดานเงินเดือน 17,500 บาท และทยอยปรับจนถึง 23,000 บาทตั้งแต่ปี 75 โดยผู้ประกันตนจะต้องส่งเงินเพิ่มขึ้น แต่ก็จะได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้นด้วย

กองทุนประกันสังคม: ถึงเวลาปรับใหญ่ก่อนเผชิญวิกฤต

กองทุนประกันสังคม: ถึงเวลาปรับใหญ่ก่อนเผชิญวิกฤต

กองทุนประกันสังคมกำลังถึงจุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่อสังคมไทยกำลังก้าวสู่ "สังคมสูงอายุระดับสุดยอด" ทำให้จำเป็นต้องมีการปรับการบริหารจัดการเพื่อรองรับผู้สูงอายุที่เกษียณจากการทำงาน ซึ่งทำให้กองทุนมีภาระต้องจ่ายเงินบำนาญมากขึ้นและอาจเกิดปัญหาสภาพคล่องทางการเงินจนกระทบหลักประกันคนทำงานส่วนใหญ่ของประเทศ

เช็กขั้นตอนขอสินเชื่อบ้านธอส. สำหรับผู้ประกันตน ม.33-39-40

เช็กขั้นตอนขอสินเชื่อบ้านธอส. สำหรับผู้ประกันตน ม.33-39-40

ธอส.ปล่อยสินเชื่อบ้านให้ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 ม.40 วงเงินไม่เกิน 2 ล้านบาทต่อหลักประกัน ดอกเบี้ย 5 ปีแรก อัตรา 1.59% ปีที่ 6 - 8 MRR - 2.00% ต่อปี และปีที่ 9 จนตลอดอายุสัญญา MRR - 0.50% ต่อปี โดยผู้ประกันตนขอรับสิทธิได้ตั้งแต่ 1 พ.ย. 67 เป็นต้นไป