มาตรการรองรับฤดูแล้ง ปี 2566/67
แผนการผ่านการเห็นชอบของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) เมื่อวันที่ 26 ต.ค. 2566 ประกอบด้วยแผนงาน 3 ด้าน รวม 9 มาตรการ ได้แก่
- ด้านน้ำต้นทุน (Supply)
- เผ้าระวังและเตรียมจัดหาแหล่งน้ำสำรอง พร้อมวางแผนเตรียมเครื่องจักรเครื่องมือในพื้นที่เฝ้าระวังเสี่ยงขาดแคลนน้ำ
- ปฏิบัติการเติมน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ
- ด้านความต้องการใช้น้ำ (Demand)
- กำหนดแผนจัดสรรน้ำและพื้นที่เพาะปลูกพืชฤดูแล้ง
- บริหารการจัดการน้ำให้เป็นไปตามลำดับความสำคัญการใช้น้ำที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด
- เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ ประหยัดน้ำและลดการสูญเสียน้ำในทุกภาคส่วน
- เฝ้าระวังและแก้ไขคุณภาพน้ำ
- ด้านการบริหารจัดการ (Management)
- เสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการบริหารจัดการน้ำของชุมชน / องค์กรผู้ใช้น้ำ
- สร้างการรับรู้ประชาสัมพันธ์
- ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน
โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อรองรับสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงปี 2567
มีแผนงานที่เกี่ยวข้องในหลายด้าน เช่น การซ่อมและปรับปรุงอาคารชลศาสตร์ การสร้างความมั่นคงด้านน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค การเพิ่มน้ำต้นทุนเพื่อรองรับภัยแล้ง และการเตรียมความพร้อมเครื่องมือเครื่องจักร
แผนงาน/โครงการรองรับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2566/67
ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้คาดการณ์พื้นที่เกษตรที่จะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปี 2566/67 รวมประมาณ 16.51 ล้านไร่ แบ่งเป็น
- ในเขตชลประทาน พื้นที่ไม่มีแผนปลูกข้าวนาปรัง ในลุ่มเจ้าพระยา รวม 22 จังหวัด พื้นที่ 7.34 ล้านไร่
- นอกเขตชลประทาน พื้นที่ทำการเกษตรมีโอกาสเกิดภัยแล้ง รวม 60 จังหวัด พื้นที่ 9.17 ล้านไร่ แบ่งเป็น มีความเสี่ยงสูง 3.32 ล้านไร่ มีความเสี่ยงปานกลาง 2.07 ล้านไร่ และมีความเสี่ยงต่ำ 3.88 ล้านไร่
วงเงินงบประมาณ : 7,770.659 ล้านบาท
ประกอบด้วย 4 แผนงาน ได้แก่
1. แผนงานสร้างรายได้ หรือ ลดภาระค่าใช้จ่าย หรืออื่นๆ ในพื้นที่ที่ไม่สามารถทำการเพาะปลูกได้ โดยสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรดำเนินกิจกรรมทางการเกษตรที่ช่วยลดรายจ่ายและสร้างรายได้ในระยะสั้น
- ส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน
- ส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกในกระชังบก
- ช่วยเหลือด้านหนี้สินสมาชิกสหกรณ์และกลุ่มเกษตรกร
2. แผนงานการส่งเสริมการปลูกพืชทดแทน / อาชีพทางเลือก โดยจะส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืชทดแทนนาปรัง โดยปลูกพืชใช้น้ำน้อยในช่วงฤดูแล้ง ให้สอดคล้องกับริมาณน้ำที่มี โดยไม่ต้องใช้น้ำจากระบบชลประทาน เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พืชตระกูลถั่ว การเลี้ยงจิ้งหรีด การเลี้ยงผึ้ง เป็นต้น
- ส่งเสริมการจัดการพื้นที่เพื่อรองรับผลกระทบจากภัยแล้ง (พืชใช้น้ำน้อย)
- ฝึกอาชีพเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยแล้งด้านเกษตร
- ส่งเสริมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง
- ฝึกอบรมส่งเสริมการปลูกพืชระยะสั้นใช้น้ำน้อยด้วยระบบน้ำหยด
- ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรให้สมาชิกสถาบันเกษตรกรอย่างยั่งยืน
3. แผนงานเพิ่มน้ำต้นทุน เพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภคในครัวเรือน โดยการสนับสนุนให้สมาชิกสถาบันเกษตรกร/กลุ่มเกษตรกรรวมถึงเกษตรกร พัฒนาแหล่งน้ำผิวดิน น้ำใต้ดิน และปรับปรุงระบบกักเก็บน้ำให้เพียงพอ
- สนับสนุนการบริหารจัดการน้ำชลประทาน เพื่อเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำต้นทุน
- พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน
- ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตรให้สมาชิกสถาบันเกษตรกรอย่างยั่งยืน
- บริหารจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติการฝนหลวงสู้ภัยแล้งและเอลนีโญ
4. แผนงานเพื่อเตรียมการในช่วงฤดูฝน ปี 2567 และในระยะต่อไป โดยการเตรียมการส่งเสริมการปลูกข้าวโดยวิธีเปียกสลับแห้งเพื่อการประหยัดน้ำ สำหรับขยายผลในช่วงฤดูฝน ปี 2567
- ส่งเสริมการปลูกข้าวโดยวิธีเปียกสลับแห้งเพื่อการประหยัดน้ำ ฤดูกาลผลิต ปี 2566/67
- ผลิตขยายเมล็ดพันธุ์พืชตระกูลถั่ว
ธนาคารน้ำใต้ดิน
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำร่องธนาคารน้ำใต้ดิน จ.ชัยนาท หรือเรียกว่า “ชัยนาทโมเดล” โดยจะทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำที่ช่วยให้เกษตรกรและประชาชนปรับตัวให้อยู่รอดจากน้ำท่วม-น้ำแล้ง นำน้ำขึ้นมาใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค ทำการเกษตร และช่วยลดการพึ่งพาการสูบน้ำบาดาล
สำหรับจังหวัดชัยนาท จะมีการดำเนินโครงการธนาคารน้ำใต้ดินให้ครอบคลุมทั้งจัดหวัดรวมทั้งสิ้น 834 แห่ง และมีแผนการดำเนินงานในพื้นที่จังหวัดชัยนาทเพิ่มเติมอีก 56 แห่ง ในปี 2567
แหล่งอ้างอิง