ช่วงสุดท้ายสภานการณ์น้ำท่วมปี 67 เสียหายแล้วกว่า 3 ล้านไร่ มูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท จังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเชียงราย สศช.แนะรัฐบาลเร่งเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในเรื่องบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานและระบบการเตือนภัย
ปี 2567 ไทยอยู่กับน้ำท่วมแทบตลอดทั้งปี ล่าสุดรวมพื้นที่น้ำท่วมแล้ว 51 จังหวัด ข้อมูลจาก GISTDA ระบุว่าในช่วงวันที่ 29 ต.ค. - 4 พ.ย. 67 มีพื้นที่น้ำท่วม 1.66 ล้านไร่ กระทบ 2.4 แสนหลังคาเรือน ท่ามกลางการจับตาสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ที่คาดว่าจะรุนแรงกว่าปีผ่านมา
ภาคใต้กำลังเข้าสู่ฤดูฝนในเดือน พ.ย.นี้ สามเดือนนับจากนี้เป็นช่วงที่ต้องเฝ้าระวัง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและดินถล่ม การเตรียมความพร้อมรับมือจึงต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้ ชุมชนจะต้องตอบ 3 คำถามให้ได้ หนีเมื่อไร? หนีอย่างไร? หนีไปไหน? และภาคีเครือข่ายต้องช่วยสร้างกลไกสนับสนุนให้พวกเขาเข้มแข็ง
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดน้ำท่วมปี 2567 กระทบเศรษฐกิจไทยอย่างต่ำ 3 หมื่นล้านบาท และอาจสูงถึง 5 หมื่นล้านบาท หากน้ำท่วมขยายขอบเขตไปยังภาคกลางและภาคใต้ แนะทุกฝ่ายวางแผนรับมือภัยพิบัติที่เสี่ยงรุนแรงมากขึ้นจากสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว
การจัดตั้งศูนย์ภัยพิบัติให้มีมาตรฐาน เป็นประเด็นที่มีการพูดถึงกันมานาน โดยเฉพาะภายหลังจากเกิดภัยพิบัติขึ้น แต่ในที่สุดเรื่องก็เงียบหาย ทำให้การบริหารจัดการทำได้เพียงแค่ "ศูนย์บัญชาการเฉพาะ" แต่จากสถานการณ์โลกร้อน อาจถึงเวลาต้องกลับมาทบทวนกันอย่างจริงจัง เพราะภัยพิบัติอาจรุนแรงและเกิดบ่อยครั้ง
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบชัดเจนและรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีการตั้งชื่อให้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเรากำลังก้าวสู่ "ยุคโลกเดือด" ซึ่งจากน้ำท่วมรุนแรงในภาคเหนือในปีนี้ ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบรุนแรงและไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่หน่วยงานของรัฐยังขาดแผนรับมืออย่างแท้จริง นอกจากแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
วิกฤตอุทกภัย และปริมาณดินโคลนจำนวนมหาศาลที่พัดพาความเสียหายมาสู่เชียงรายรอบล่าสุด สะท้อนถึงปัญหา “โลกรวน” ที่การจัดการในรูปแบบเดิมไม่สามารถรับมือได้อีกต่อไป วงเสวนาระดมความคิดเห็น สู่มิติใหม่ในการจัดการภัยพิบัติอย่างยั่งยืน เสนอแผน 3 ระยะ พร้อมผลักดันให้มีกลไกร่วมระหว่างรัฐ เอกชน และภาคประชาสังคม
รัฐบาลใช้งบประมาณกว่าร้อยล้านบาท ในปี 65 ติดตั้งระบบเตือนเพื่อรับภัยพิบัติทั่วประเทศ แต่รายงานสหประชาชาติกลับพบว่า ชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่เสี่ยงของไทยมีเพียง 50% เท่านั้น ที่ได้รับการอบรมเตรียมการป้องกันและรู้จักการเตือนภัย ซึ่งถือเป็นปัญหาสำคัญของการเตรียมพร้อมรับมือภัยพิบัติของไทย
จากสถานการณ์น้ำท่วมในปี 2567 โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ สะท้อนมให้เห็นว่ายังมีปัญหาด้านการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ดังจะเห็นได้จากความรุนแรงและความเสียหายในวงกว้าง ด้านหอการค้าฯเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนแผนการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ เพื่อรับมือความเสียหายที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ความเสียหายรุนแรงจากน้ำท่วมเชียงรายรอบนี้ นำมาสู่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงกลไกการแก้ไขปัญหาที่หลาย ๆ รัฐบาลทุ่มงบประมาณหวังลดความสูญเสียอย่างต่อเนื่อง แต่ในทางปฏิบัติยังพบปัญหาในหลายจุด ทั้งการแจ้งเตือน ระบบฐานข้อมูล จนต้องกลับมาตั้งคำถามว่าสิ่งที่ทำมาในอดีตมาถูกทางแล้วหรือไม่ และต้องทำอะไรเพิ่ม
ไทยเป็นประเทศที่เจอกับภาวะภัยแล้งและน้ำท่วมทุกปี แต่การบริหารจัดการน้ำกลับยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่จะนำปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มาเป็นบทเรียนแก้ไขรับมือภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ท่ามกลางความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะรุนแรงมากขึ้น
ไทยอาจเผชิญความเสี่ยงจากน้ำท่วมมากขึ้นในหลายภูมิภาค ในช่วง 4 เดือน สุดท้ายของปี 67 จากการเข้าสู่ภาวะลานีญาเต็มตัว แต่ไม่รุนแรงเท่าปี 54 วิจัยกรุงศรีคาดกระทบเศรษฐกิจ 4.65 หมื่นล้านบาท
โครงการเขื่อนแก่งเสือเต้น กลับมาอีกครั้งตามวัฏจักรน้ำท่วม หลังจากฝ่ายการเมืองถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาลใหม่ว่าช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบล่าช้า โครงการนี้กำลังกลายเป็น "เหยื่อแห่งความล้มเหลว"ของการบริหารจัดการน้ำอีกครั้ง
เปลี่ยนรัฐบาลมาหลายชุด แต่ยังไม่มีรัฐบาลไหนให้ความสนใจผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการคาดการณ์ว่ากรุงเทพมหานครจะได้รับผลกระทบติด 1 ใน 10 ของเมืองที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากน้ำท่วม เมื่อกรุงเทพฯเสี่ยงจมน้ำ และ “โลกเดือด” ไม่ใช่แค่วลีสนุกปาก
ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม คือวิกฤตที่คนไทยเผชิญต่อเนื่องทุกปี ทำให้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดเวทีระดมข้อคิดเห็น สรุปออกมาเป็นมติรายงานการพัฒนานโยบายสาธารณะ เรื่องการส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ ด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกของพื้นที่ในการร่วมกันวางแผน
ผลกระทบเอลนีโญรุนแรง คาดผลกระทบไทยแล้งหนัก ภัยแล้งต่อเนื่องถึงปี 2567 ขณะที่ปริมาณน้ำใช้การได้จริงทั่วประเทศ น้อยกว่าปีที่แล้งที่สุด