ThaiPBS Logo

การจัดการภัยพิบัติ

ภัยพิบัติเป็นอีกปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยและรุนแรงขึ้นในหลายพื้นที่นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร ประกาศเพิ่มขีดความสามารถของพื้นที่และชุมชนท้องถิ่นในการจัดการ และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยรัฐบาลจะสร้างการมีส่วนร่วมในการรับมือกับภัยธรรมชาติโดยเฉพาะการแก้ปัญหา PM 2.5 และการบริหารจัดการน้ำ  

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ตัดสินใจ

ดำเนินการตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564-2570

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

เหตุการณ์สึนามิเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2547 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้เกิดการวางนโยบายและจัดการภัยพิบัติ เริ่มจากการออก พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550  ที่วางกรอบการการทำงาน  โดยกำหนดให้ ปภ. เป็นหน่วยงานกลางของรัฐในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย รัฐมนตรี เป็นผู้บัญชาการ

โดยกำหนดขอบเขตของคำว่า “สาธารณภัย” ไว้ครอบคลุม   “อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ภัยแล้ง โรคระบาดในมนุษย์ โรคระบาดสัตว์ โรคระบาดสัตว์น้ำ การระบาดของศัตรูพืช ตลอดจนภัยอื่น ๆ อันมีผลกระทบต่อสาธารณชน ไม่ว่าเกิด จากธรรมชาติ มีผู้ทำให้เกิดขึ้น อุบัติเหตุ หรือเหตุอื่นใดซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกายของประชาชน หรือความเสียหายแก่ทรัพย์สินของประชาชน หรือของรัฐ และให้หมายความรวมถึงภัยทางอากาศ และการก่อวินาศกรรมด้วย”

ถัดมากระทรวงมหาดไทยได้ออกแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564-2570 ซึ่ง ครม. เมื่อวันที่ 5 ก.ค.  2565 มีมติอนุมัติแผน พร้อมทั้ง  มอบหมายให้กระทรวง กรม หน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ จังหวัด อำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคส่วนอื่น ๆ ปฏิบัติการให้เป็นไปตามแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564-2570

โดยแผนนี้จะเชื่อมโยงกับ แผนกระทรวง/ กรมที่เกี่ยวข้อง  อาทิ แผนบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงกลาโหม  แผนเตรียมความพร้อมแห่งชาติ แผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ แผนยุทธศาสตร์เตรียมความพร้อมป้องกันและแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ (พ.ศ.2560-2564 ) แผนยุทธศาสตร์กรม ปภ. พ.ศ. 2565-2570  ไปจนถึงแผนปฏิบัติการภายใต้แผน ปภ.ชาติ  แผนแม่บทแต่ละประเภทภัย  เช่น อุทกภัย แผ่นดินไหว สึนามิ ฯลฯ แผนเผชิญเหตุแต่ละประเภทภัย แผนปฏิบัติการแต่ละประเภทภัย

และแผนสนับสนุนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยของศูนย์ ปภ.เขต แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัด/กทม./อำเภอ/อปท./ชุมชน  ระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรอง ราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณี ฉุกเฉิน พ.ศ.2562

สำหรับแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564-2570 กำหนดยุทธศาสตร์ ลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ โดยยุทธศาสตร์ที่ 1 การมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย  ยุทธศาสตร์ที่ 2  เพิ่มประสิทธิภาพและระบบบริหารจัดการและประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านสาธารณภัย ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ยุทธศาสตร์ที่ 4 การจัดการภาวะฉุกเฉินแบบบูรณาการ และยุทธศาสตร์ที่ 5  การเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน

 

ในส่วนที่น่าสนใจคือ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ซึงมีรายละเอียดกำหนดให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศด้านสาธารณภัย พัฒนาการจัดการองค์ความรู้ด้านการจัดการความเสี่ยงจากสาธาณภัย  พัฒนาการสื่อสารความเสี่ยง จากสาธารณภัยที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมการลงทุนด้านการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยแบบมีส่วนร่วมจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในทุกระดับ และ เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการความเสี่ยง จากสาธารณภัย

 

 

อีกด้านหนึ่งไทยได้ลงนามใน “กรอบปฏิญญาเซนได” เป็นเครื่องมือในการจัดการความเสี่ยงจากภัยพิบัติของโลกที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากจากกรอบการดำเนินงานเฮียวโกะ (Hyogo Framework for Action 2005-2015) โดยมีประเทศสมาชิกขององค์การสหประชาชาติให้การรับรองกว่า 187 ประเทศ  กรอบปฏิญญานี้เกิดขึ้นในการประชุมสหประชาชาติระดับโลกว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 14-18 มีนาคม 2558 ณ เมืองเซนได ประเทศญี่ปุ่น

เป้าหมายของ  “กรอบปฏิญญาเซนได”  คือป้องกันไม่ให้เกิดความเสี่ยงใหม่และลดความเสี่ยงที่มีอยู่โดยแบ่งแบ่งการดำเนินงานออกเป็น
“ลด 4 อย่าง เพิ่ม 3 อย่าง” โดยการลด 4 อย่าง คือ 1) ลดอัตราการเสียชีวิต 2) ลดจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ 3) ลดความสูญเสียด้านเศรษฐกิจ และ
4) ลดความเสียหายต่อสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการพื้นฐาน และเพิ่ม 3 อย่าง คือ 1) เพิ่มแผนยุทธศาสตร์ ลดความเสี่ยงระดับชาติ และระดับท้องถิ่น 2) เพิ่มการให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ และ 3) เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าและข้อมูลความเสี่ยง

 

สุดท้ายนำมาสู่นโยบายการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ

  1. มุ่งเน้นลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยด้วยการสร้างความตระหนักรู้ ประเมินความเสี่ยง ใช้ข้อมูล การวางแผน การลงทุน
  2. ส่งสริมการวิจัย ประยุกต์ใช้นวัตกรรม เทคโนโลยี และภูมิปัญญา โดยการยกระดับการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
  3. เสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ ให้ครอบคลุมทุกมิติ
  4. เสริมสร้างความเข้มแข็งการบูรณาการ ยกระดับมาตรฐานระบบ การจัดการในภาวะฉุกเฉิน การบรรเทาทุกข์ ช่วยเหลือสงเคราะห์ผู้ประสบภัยได้อย่างรวดเร็ว ทั่วถึง และทันต่อเหตุการณ์
  5. พัฒนาระบบการฟื้นฟูยั่งยืน ให้กลับคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว หรือให้ดีกว่าและปลอดภัยกว่าเดิม เพื่อลดความเสี่ยงเดิมและป้องกันความเสี่ยงใหม่

 

ล่าสุด นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร แถลงนโยบายต่อรัฐสภา  “เพิ่มขีดความสามารถของพื้นที่และชุมชนท้องถิ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อม
และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลจะสร้างมีส่วนร่วมในการรับมือกับภัยธรรมชาติโดยเฉพาะการแก้ปัญหา PM 2.5  และการบริหารจัดการน้ำ ที่จะต้องได้รับความร่วมมือระหว่งประเทศ  12 ก.ย. 2567

 

 

Policy Analysis Canvas

นโยบาย

การจัดการภัยพิบัติ

เจ้าภาพขับเคลื่อน

กระทรวงมหาดไทย

คน/ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

  • กรมบรรเทาและป้องกันสาธารณภัย
  • ท้องถิ่น

รายละเอียดนโยบาย/ กิจกรรม

  1. การมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย
  2. เพิ่มประสิทธิภาพและระบบบริหารจัดการและประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านสาธารณภัย
  3. ส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย
  4.  การจัดการภาวะฉุกเฉินแบบบูรณาการ
  5. การเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน

เครื่องมือที่ใช้ เช่น กฎหมาย งบฯ ข้อมูล

  • พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550
  • แผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564-2570
  • กรอบปฏิญญาเซนได ว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติครั้งที่ 3

ประชาชนได้อะไรจากนโยบายนี้

ลดความสูญเสียจากภัยพิบัติอย่างเป็นระบบ

 

ประชาชนเสียอะไรจากนโยบายนี้

ประชาชนมีส่วนร่วมในนโยบายนี้ได้อย่างไร เช่น เวทีนโยบายสาธารณะ สมัชชาสุขภาพ ประชาพิจารณ์

จัดเวทีระดมความเห็นแลกเปลี่ยน จัดทำข้อเสนอรับมือภัยพิบัติระดับท้องถิ่น

ที่มานโยบาย

  • พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550
  • คำแถลงนโยบายของ นายกฯ แพทองธาร ชินวัตร

ความท้าทายของนโยบายนี้

  • ขาดงบประมาณการดำเนินการระยะยาว
  • ขาดข้อมูลระดับพื้นที่

 

กลุ่มเป้าหมายของนโยบาย เช่น ประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้เปราะบาง ผู้สูงอายุ

ประชาชนทั่วไป

 

ลำดับเหตุการณ์

  • นายกฯ แพทองธาร แถลงนโยบายประกาศสร้างการมีส่วนร่วมในการรับมือกับภัยธรรมชาติโดยเฉพาะการแก้ปัญหา PM 2.5  และการบริหารจัดการน้ำ

    12 ก.ย. 2567

  • ไทยลงนามในกรอบปฏิญญาเซนได ในการประชุมสหประชาชาติระดับโลกว่าด้วยการลดความเสี่ยงจากภัยพิบัติครั้งที่ 3

    18 มี.ค. 2558

  • ครม. อนุมัติแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ. 2564-2570

    5 ก.ค. 2565

  • สภาฯ ผ่าน พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 วางกรอบการการจัดการภัยพิบัติ

    1 ธ.ค. 2550

  • เกิดเหตุสึนามิมีผู้เสียชีวติและบาดเจ็บจำนวนมาก นำมาสู่การวางแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยอย่างเป็นระบบ

    26 ธ.ค. 2547

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ลดความเสี่ยงจากสาธารณภัยให้มีประสิทธิภาพ
1) การมุ่งเน้นการลดความเสี่ยงจากสาธารณภัย 2) เพิ่มประสิทธิภาพและระบบบริหารจัดการและประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านสาธารณภัย 3) ส่งเสริมความเป็นหุ้นส่วนระหว่างประเทศในการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย 4) การจัดการภาวะฉุกเฉินแบบบูรณาการ 5) การเพิ่มประสิทธิภาพการฟื้นฟูอย่างยั่งยืน
"4 ลด" ตามกรอบเซนได
1) ลดอัตราการเสียชีวิต 2) ลดจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ 3) ลดความสูญเสียด้านเศรษฐกิจ และ 4) ลดความเสียหายต่อสาธารณูปโภค สาธารณูปการ และบริการพื้นฐาน
"3 เพิ่ม" ตามกรอบเซนได
1) เพิ่มแผนยุทธศาสตร์ ลดความเสี่ยงระดับชาติ และระดับท้องถิ่น 2) เพิ่มการให้ความช่วยเหลือระหว่างประเทศ และ 3) เพิ่มการเข้าถึงข้อมูลการแจ้งเตือนภัยล่วงหน้าและข้อมูลความเสี่ยง

เชิงกระบวนการ

เพิ่มประสิทธิภาพและระบบบริหารจัดการและประยุกต์ใช้นวัตกรรมด้านสาธารณภัย
1) การพัฒนาระบบสารสนเทศด้านสาธารณภัย 2) พัฒนาการจัดการองค์ความรู้ด้านการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัย 3) พัฒนาการสื่อสารความเสี่ยง จากสาธารณภัยที่มีประสิทธิภาพ 4) ส่งเสริมการลงทุนด้านการจัดการความเสี่ยงจากสาธารณภัยแบบมีส่วนร่วมจากภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ในทุกระดับ 5) เสริมสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในการจัดการความเสี่ยง จากสาธารณภัย

เชิงการเมือง

เพิ่มขีดความสามารถพื้นที่รับมือภัยพิบัติ
พื้นที่และชุมชนท้องถิ่นในการจัดการสิ่งแวดล้อม และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รัฐบาลจะสร้างมีส่วนร่วมในการรับมือกับภัยธรรมชาติโดยเฉพาะการแก้ปัญหา PM 2.5 และการบริหารจัดการน้ำ

อินโฟกราฟิก

Image 0Image 1Image 2

บทความ

ดูทั้งหมด
นโยบายสาธารณะผ่านขาขึ้น แต่ไปไม่ถึงขาเคลื่อน

นโยบายสาธารณะผ่านขาขึ้น แต่ไปไม่ถึงขาเคลื่อน

ในยุคที่การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ เป็นความหวังในการแก้โจทย์สังคมได้อย่างตรงจุด แต่ข้อเสนอเชิงนโยบายจากเสียงของประชาชนกลับ “ติดดอย - ติดหล่ม” การใช้นวัตกรรมเชิงนโยบาย วิเคราะห์ข้อมูลและติดตามการทำงานของผู้กำหนดนโยบาย ไปพร้อมกับการหาหน้าต่างนโยบายให้เจอ จะช่วยผลักดันข้อเสนอนโยบายลงจากดอย

ไทยตามหลังหรือไม่? เปรียบเทียบระบบป้องกันภัยพิบัติที่รอบด้านจากรอบโลก

ไทยตามหลังหรือไม่? เปรียบเทียบระบบป้องกันภัยพิบัติที่รอบด้านจากรอบโลก

ระบบป้องกันภัยพิบัติที่ใช้กันทั่วโลกมีความแตกต่างกันไปตามบริบทของแต่ละประเทศ ซึ่งมีจุดแข็ง จุดอ่อนแตกต่างกันไป การเรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศจะช่วยให้ประเทศไทยสามารถเปรียบเทียบและนำมาปรับใช้ในสถานการณ์ที่เหมาะสม

สทนช.เปิดแผนป้องกัน หวังแก้น้ำท่วมใต้ซ้ำซาก

สทนช.เปิดแผนป้องกัน หวังแก้น้ำท่วมใต้ซ้ำซาก

สทนช.เผยโครงการป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ ทั้งการระบบป้องกันและขยายพื้นที่กักเก็บ เพื่อลดผลกระทบ แต่จากสถานการณ์น้ำท่วมในปีนี้ ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ อาจเป็นเรื่องท้าทายอีกครั้งว่าโครงการดังกล่าวจะเพียงพอหรือไม่