ThaiPBS Logo

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

การเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ คือ ปัญหาที่ไทยและทั่วโลกให้ความสำคัญและพยายามหาทางรับมือแก้ไข โดยรัฐบาลประกาศสานต่อนโยบาย Carbon Neutrality (ความเป็นกลางทางคาร์บอน) เพื่อให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยในปี 2566 ได้เข้าร่วมประชุม COP28 เพื่อแสดงบทบาทความร่วมมือกับประชาคมโลก

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ดำเนินงาน

ขั้นตอนดำเนินงานตามนโยบายที่ประกาศไว้

ตรวจสอบ

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

รัฐบาล ‘เศรษฐา’ กับการผลักดันไทยเป็น ‘สังคมคาร์บอนต่ำ’

รัฐบาลโดย ‘เศรษฐา ทวีสิน’ นายกรัฐมนตรี ได้ประกาศสานต่อนโยบาย ‘Carbon Neutrality’ หรือ ความเป็นกลางทางคาร์บอน ซึ่งเป็นไปตามข้อสรุปจากการประชุม COP26 สมัยรัฐบาล ‘พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา’ อดีตนายกรัฐมนตรีโดยมีเป้าหมายให้ประเทศไทยเป็นผู้นำของอาเซียน ในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ เพื่อเป็นการพัฒนาที่ยั่งยืนและนำไปสู่การเปิดประตูบานใหญ่สู่การค้าโลก และเป็นโอกาสสำคัญของประเทศไทยและสร้างข้อได้เปรียบให้ผู้ผลิตสินค้าและบริการในประเทศ และทำให้รัฐบาลสามารถเจรจาการค้าระหว่างประเทศภายใต้กฎกติกาใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

โดยมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

  • 1. เพิ่มเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution หรือ NDC) จากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 40 ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยบูรณาการในนโยบายที่สำคัญของประเทศ ซึ่งรวมถึงในยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13
  • 2. ภาคพลังงาน มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง รวมถึงการเตรียมการยกเลิกผลิตพลังงานโดยใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน ภายในปี ค.ศ. 2050 ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในด้านพลังงานได้ร้อยละ 15 วางแผนเพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทน ผ่านโครงการ Utility Green Tariff สนับสนุนการใช้โซลาร์รูฟท็อปและการวัดแสงสุทธิ (net metering) รวมถึงสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ
  • 3. ภาคการเกษตร เป็นอีกหนึ่งภาคส่วนที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจและความมั่นคงทางอาหาร นำร่องปรับเปลี่ยนวิธีการทำนาแบบปัจจุบันไปสู่การทำนาที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ยั่งยืน มีประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิต มุ่งเน้นการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ BCG เพื่อพัฒนาสังคมแบบองค์รวม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พร้อมทั้งเพิ่มคุณค่าให้กับความหลากหลายทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจที่เน้นนวัตกรรม ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรหมุนเวียนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน
  • 4. ภาคป่าไม้ โดยเพิ่มแหล่งกักเก็บคาร์บอน โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภทให้ครอบคลุมร้อยละ 55 ของพื้นที่ทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2037 ซึ่งจะช่วยเพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 120 ล้านตันต่อปี 
  • 5. ภาคการเงินสีเขียว (Green Finance) โดยนายกรัฐมนตรี กล่าวในการประชุม Financing for the Future Summit ว่าจะส่งเสริมกลไกการเงินสีเขียวอย่างแข็งขัน ผ่านการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond) ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างดีจากนักลงทุนทั่วโลก ปัจจุบันสามารถระดมทุนได้ถึง 12.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนำไปสนับสนุนโครงการต่าง ๆ ได้มากมาย รวมถึงโครงการรถไฟฟ้าใต้ดินสายใหม่ และโครงการปรับปรุงระบบบริหารจัดการน้ำ ตลอดจนสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมถึงวางแผนออกพันธบัตรที่เชื่อมโยงกับความยั่งยืน (Sustainability Linked Bonds)อีกชุดในปีหน้า และจะระดมทุนให้ได้ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ พร้อมทั้งพัฒนาการจัดทำมาตรฐานการจัดกลุ่มกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย (Thailand Green Taxonomy) เพื่อเป็นเครื่องกำหนดมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยให้ภาครัฐ ภาคธุรกิจ และภาคการเงิน สามารถกำหนดนโยบาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บริการ และการลงทุน ให้สอดคล้องกับการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยในทุกมิติ
  • 6. จัดตั้งกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมขึ้น เพื่อตอบสนองต่อวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยนายกรัฐมนตรีผลักดันให้ผ่านพระราชบัญญัติการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อควบคุมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกแบบบังคับ ซึ่งส่วนนี้จะวางรากฐานที่มั่นคงสำหรับการเปลี่ยนแปลงสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

วาระระดับโลก กับเวที COP28 

ในปี 2566 นี้มีการประชุม COP28 ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ซึ่งปี 2566 นี้ รัฐบาลไทยได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุม COP28  มีผู้นำโลกเกือบ 200 ประเทศเข้าร่วม เพื่อประสานงานการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศโลก โดยมุ่งเน้นไปที่การติดตามเร่งรัดการมุ่งหน้าสู่การใช้แหล่งพลังงานสะอาด และ ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ให้ได้ก่อนปี 2030 เพื่อจำกัดภาวะโลกร้อนให้อยู่ที่ 1.5 องศาเซลเซียส

ประเด็นในการประชุม COP28 ที่สำคัญ

  • 1. เร่งดำเนินการเปลี่ยนไปสู่แหล่งพลังงานสะอาด เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อนปี 2593
  • 2. เปลี่ยนโฉมการเงินสำหรับการดำเนินการด้านสภาพภูมิอากาศให้ประเทศที่ยากจนและดำเนินการในข้อตกลงใหม่สำหรับประเทศกำลังพัฒนา
  • 3. มุ่งเน้นไปที่ผลกระทบต่อธรรมชาติและผู้คน
  • 4. ให้ COP28 เป็นการประชุมที่ครอบคลุมในประเด็นปัญหามากที่สุด

นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้ตัวแทนผู้นำประเทศไทยเข้าร่วม คือ ‘พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ’ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะทำงานเข้าร่วม เพื่อแสดงความมุ่งมั่นของประเทศไทย ตามเป้าหมายการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด 40% ภายในปี ค.ศ. 2030 มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนในปี ค.ศ. 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี ค.ศ. 2065

4 ข้อเสนอของไทยเตรียมไปเสนอเวที COP28

จากข้อสรุปการประชุมภาคีการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ครั้งที่ 2 (Thailand climate Action Conference : TCAC 2023) เมื่อ 16 ตุลาคม 2566 ที่มีการนำเสนอ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เพื่อนำไปรายงานใน COP28  4 ประเด็นหลัก คือ

  • 1. การขับเคลื่อนนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในระดับโลก ระดับประเทศ ระดับจังหวัด และระดับพื้นที่
  • 2. เทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • 3. กลไกการเงินด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพของกองทุนสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการคาร์บอนเครดิต
  • 4. การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในทุกระดับ

โดยในเวทีการประชุม พล.ต.อ.พัชรวาท ได้ขึ้นกล่าวจุดยืนประเทศไทย ดังนี้

  • 1. ประเทศไทย คนไทยมีความตื่นตัวเรื่องโลกร้อนมากขึ้น ขอยืนยันว่าประเทศไทยได้ทำตามสิ่งที่เราให้คำมั่นไว้อย่างแน่นอน วันนี้ประเทศไทยมาเข้าร่วมประชุม COP28 เพื่อแสดงถึงความก้าวหน้าในการดำเนินงานในประเทศที่จัดเจนและเป็นรูปธรรม และพร้อมให้ความร่วมมือเพื่อดำเนินการต่อไป
  • 2. ประเทศไทยได้ปรับปรุงแผนปฏิบัติการลดก๊าซเรือนกระจก ตามเป้าหมายการมีส่วนร่วม ตามที่ประเทศกำหนดปี 2030 ครอบคลุมทุกภาคส่วนซึ่งคาดว่า จะปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงสุดในปี 2025 โดยจะต้องปรับเปลี่ยนระบบนิเวศเศรษฐกิจ ให้รองรับการเปลี่ยนแปลงที่คำนึงถึงประชาชนทุกภาคส่วน 
  • 3. ประเทศไทยเร่งผลักดันร่าง พ.ร.บ.การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อเป็นการกำกับดูแลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มขีดความสามาถในการปรับตัว โดยมีกลไกการเงินที่เหมาะสม และเข้าถึงได้ เพื่อเปลี่ยนผ่าไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์อย่างเป็นระบบ
  • 4. ประเทศไทยได้จัดทำแผนปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อเป็นกรอบหลักในการสร้างภูมิคุ้มกัน อย่างยั่งยืนให้กับประชาชน และจะสนับสนุนเป้าหมายระดับโลกด้านการปรับตัวอีกด้วย ประเทศไทยกำลังผลักดันตัวอย่างของการปรับตัวในภาคเกษตรเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ควบคู่กับการรักษาความมั่นคงทางอาหาร ผ่านโครงการเพื่อเพิ่มศักยภาพการปลูกข้าวซึ่งเท่าทันต่อภูมิอากาศ ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกองทุนภูมิอากาศสีเขียว การระดมเงินแสนล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2025 ไปถึงจำนวนล้านล้านเหรียญสหรัฐ จะเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่ง ในการบรรลุเป้าหมายของประเทศที่กำลังพัฒนา
  • 5. ทั้งนี้ไทย ในฐานะรัฐภาคี ยินที่จะได้เห็นความชัดเจนของกองทุนฯ ใน COP28 และหวังว่าการประเมินสถานการณ์และการดำเนินการสู่ 1.5 องศาเซลเซียส ตามเป้าหมายความตกลงปารีส โลกใบเดียวของเราส่งสัญญาณแล้วว่า ปี 2023 กำลังจะถูกบันทึกในประวัติศาสตร์ ว่าเป็นปีที่ร้อนที่สุดที่เราทุกคนจะต้องลงมือทำเพื่อให้ลูกหลานของเรา มีโลกใบนี้ที่จะอาศัยอยู่ได้ต่อไป

นอกจากนี้ในช่วงเดียวกับที่มีการประชุม COP28 ไทยได้จัดนิทรรศการและกิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) เกี่ยวกับผลการดำเนินการของประเทศไทย ภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเป็นการเผยแพร่ข้อมูล และนำเสนอผลการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของประเทศไทยสู่ประชาคมโลก รวมทั้งเป็นเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ข้อมูล ความรู้ และประสบการณ์ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศระหว่างนักวิชาการ ผู้แทนรัฐบาล องค์กรเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ ณ Thailand Pavilion 

หัวข้อนิทรรศการสำคัญ

  • แผนที่นำทางการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศไทย พ.ศ. 2564 – 2573 (NDC Roadmap)
  • แผนปฏิบัติการด้านการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ แผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เครื่องมือกลไกภายใน และระหว่างประเทศ Thailand Innovation Zone
  • กิจกรรมคู่ขนาน (Side Event) ภายใต้แนวคิด ‘Climate Partnership Determination’ ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายภาครัฐ และเอกชน รวมถึงเยาวชน และสถาบันการศึกษา รวมกว่า 20 หน่วยงาน

 

แหล่งอ้างอิง

 

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ และรมว.ทส. มอบหมายให้กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม เร่งจัดการและแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์

    21 ก.พ. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง COP28 พันธสัญญาไทยขับเคลื่อนความยั่งยืน ในงาน Sustainability Forum 2024

    13 ธ.ค. 2566

  • สิ้นสุดเวทีประชุม COP28

    12 ธ.ค. 2566

  • พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รมว.ทศ.กล่าวถ้อยแถลงร่วมกับผู้นำนานาชาติ ในเวที COP 28 ประกาศหมุดหมายลดก๊าซเรือนกระจกในปี 2030

    10 ธ.ค. 2566

  • เวทีประชุม COP28

    30 พ.ย. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ประกาศต่อที่ประชุมสิ่งแวดล้อมยูเอ็น ดันไทยยกเลิกใช้ถ่านหิน เพิ่มสัดส่วนพลังงานสะอาด ผลักดันพื้นที่สีเขียว ขับเคลื่อนกรีนไฟแนนซ์

    21 ก.ย. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ภาคพลังงาน
เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน การปรับเปลี่ยนรูปแบบการขนส่ง รวมถึงการเตรียมการยกเลิกผลิตพลังงานโดยใช้เชื้อเพลิงถ่านหิน ภายในปี ค.ศ. 2050 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในด้านพลังงานได้ร้อยละ 15
ภาคการเกษตร
นำร่องปรับเปลี่ยนวิธีการทำนาแบบปัจจุบันไปสู่การทำนาที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่ยั่งยืน มีประสิทธิภาพ เพิ่มผลผลิต มุ่งเน้นการขับเคลื่อนนโยบายเศรษฐกิจ BCG เพื่อพัฒนาสังคมแบบองค์รวม โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง พร้อมทั้งเพิ่มคุณค่าให้กับความหลากหลายทางชีวภาพ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และเศรษฐกิจที่เน้นนวัตกรรม ผ่านการเพิ่มประสิทธิภาพของทรัพยากรหมุนเวียนและการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างยั่งยืน
ภาคป่าไม้
เพิ่มแหล่งกักเก็บคาร์บอน โดยตั้งเป้าหมายเพิ่มพื้นที่สีเขียวทุกประเภทให้ครอบคลุมร้อยละ 55 ของพื้นที่ทั้งหมดภายในปี ค.ศ. 2037 ซึ่งจะช่วยเพิ่มการดูดกลับก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 120 ล้านตันต่อปี
ภาคการเงินสีเขียว (Green Finance)
ส่งเสริมกลไกการเงินสีเขียวอย่างแข็งขัน ผ่านการออกพันธบัตรเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Bond)

อินโฟกราฟิก

ct-240206-nasagraphct-240206-nasagraph2-5ct-240206-nasagraph3-5

บทความ/บทวิเคราะห์

ดูทั้งหมด
ไทยต้องเตรียมรับมือ สภาพอากาศสุดขั้ว

ไทยต้องเตรียมรับมือ สภาพอากาศสุดขั้ว

จากสภาพอากาศร้อนอบอ้าวในปีนี้ เป็นผลจากคลื่นความร้อนกระหน่ำเอเชียในหลายประเทศ จึงเป็นสัญญาณเตือนว่า "สภาพอากาศสุดขั้ว" ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทั้งภัยแล้ง ไฟป่า น้ำท่วมและพายุ อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่คำถามก็คือ ไทยมีแผนรองรับเรื่องเหล่านี้แค่ไหน
สิ่งที่รัฐบาลควรทำ คือ เร่งรับมือผลกระทบโลกร้อน

สิ่งที่รัฐบาลควรทำ คือ เร่งรับมือผลกระทบโลกร้อน

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รวดเร็วเป็นปัจจัยหลักให้โลกอุณภูมิร้อนขึ้น และส่งผลกระทบทั่วโลกในหลายด้าน โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีพื้นที่ติดชายทะเลและเสี่ยงต่อน้ำท่วม ธนาคารโลกคาดหากไทยไม่เตรียมรับมืออาจทำให้เศรษฐกิจถดถอย 20-30% ภายในปี 2593
เพิ่มอำนาจหน้าที่บอร์ดกนภ. ออกเกณฑ์คาร์บอนเครดิต

เพิ่มอำนาจหน้าที่บอร์ดกนภ. ออกเกณฑ์คาร์บอนเครดิต

คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการ ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการดำเนินงานด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตามที่กระทรวงทรัพยากรฯ เสนอ ตามการปรับโครงสร้างใหม่ ตั้ง "กรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม" และเพิ่มอำนาจหน้าที่บอร์ดกนภ. ในการออกเกณฑ์และวิธีการจัดการคาร์บอนเครดิต