ช่วงสุดท้ายสภานการณ์น้ำท่วมปี 67 เสียหายแล้วกว่า 3 ล้านไร่ มูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท จังหวัดที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดคือเชียงราย สศช.แนะรัฐบาลเร่งเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในเรื่องบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานและระบบการเตือนภัย
วิกฤตทางธรรมชาติและระบบนิเวศเริ่มมีความรุนแรงมากขึ้นในโลกยุคโลกเดือด จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่พึ่งพาทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลักอย่างรุนแรงในระยะยาวได้ หากไม่ช่วยกันรักษาความหลากหลายทางชีวภาพอย่างจริงจัง
การประชุม COP29 ยังเผชิญกับความท้าทายว่าจะประสบความสำเร็จแค่ไหน จากการเปลี่ยนแปลงการเมืองในประเทศพัฒนาแล้ว แต่ก็ก็คาดว่าจะมีความคืบหน้าในการกำหนดเป้าหมายทางการเงิน เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนา และคาดว่าจะผลักดันด้านพลังงานไฮโดรเจน
ชัยชนะของโดนัลด์ ทรัมป์ ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ทำให้เกิดความกังวลว่านโยบายของสหรัฐจะไปขัดขวางความพยามของหลายประเทศทั่วโลกในการ่วมกันแก้ปัญหาโลกร้อน แต่ไม่ว่าทรัมป์จะดำเนินนโยบายอย่างไร อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกในปี 67 อาจข้ามจุดเปลี่ยนสำคัญ เมื่ออุณภูมิเฉลี่ยสูงกว่าก่อนยุคอุตสาหกรรม 1.5 °C
โลกเดือด หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะมาเร็วขึ้น คาดว่าในปี 2570 อุณหภูมิโลกจะแตะระดับ 1.5 องศาเหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรม ทำให้ส่งผลกระทบรุนแรงและบ่อยขึ้น แต่ในแง่การค้าขาย จะได้รับผลกระทบมากขึ้นจากมาตรการต่าง ๆ ที่จะออกมาแก้ปัญหาโลกร้อน
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดน้ำท่วมปี 2567 กระทบเศรษฐกิจไทยอย่างต่ำ 3 หมื่นล้านบาท และอาจสูงถึง 5 หมื่นล้านบาท หากน้ำท่วมขยายขอบเขตไปยังภาคกลางและภาคใต้ แนะทุกฝ่ายวางแผนรับมือภัยพิบัติที่เสี่ยงรุนแรงมากขึ้นจากสภาพภูมิอากาศสุดขั้ว
การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบชัดเจนและรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนมีการตั้งชื่อให้กับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นว่าเรากำลังก้าวสู่ "ยุคโลกเดือด" ซึ่งจากน้ำท่วมรุนแรงในภาคเหนือในปีนี้ ชี้ให้เห็นว่าผลกระทบรุนแรงและไม่อาจคาดการณ์ได้ แต่หน่วยงานของรัฐยังขาดแผนรับมืออย่างแท้จริง นอกจากแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
กลุ่มประเทศอาเซียนได้ยกระดับเพื่อรับมือกับปัญหาโลกร้อน โดยการตั้งศูนย์อาเซียนด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อสนับสนุนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศให้ประเทศสมาชิกอาเซียน
ไทยเป็นประเทศที่เจอกับภาวะภัยแล้งและน้ำท่วมทุกปี แต่การบริหารจัดการน้ำกลับยังไม่มีประสิทธิภาพ จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่จะนำปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น มาเป็นบทเรียนแก้ไขรับมือภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ท่ามกลางความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่จะรุนแรงมากขึ้น
เปลี่ยนรัฐบาลมาหลายชุด แต่ยังไม่มีรัฐบาลไหนให้ความสนใจผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการคาดการณ์ว่ากรุงเทพมหานครจะได้รับผลกระทบติด 1 ใน 10 ของเมืองที่ได้รับผลกระทบมากที่สุดจากน้ำท่วม เมื่อกรุงเทพฯเสี่ยงจมน้ำ และ “โลกเดือด” ไม่ใช่แค่วลีสนุกปาก
ประเทศไทยเดินหน้ามุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยลดจัดหาเชื้อเพลิงฟอสซิลในแผน PDP 2024 หันมากเพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น ผู้เชี่ยวชาญชี้ก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจะต้องลดลงเหลือน้อยกว่า 20% ในค.ศ. 2050 หรือ พ.ศ 2593
คาร์บอนเครดิตสามารถนำไปซื้อขายแลกเปลี่ยนได้ อาจสร้างรายได้และกำไรให้กับธุรกิจ แต่การสะสมคาร์บอนเครดิตจะต้องมาจากโครงการคาร์บอนเครดิตที่ได้รับการรับรองจาก T-VER โดยจะมีต้นทุนในการดำเนินการ ประเมิน และรับรองคาร์บอนเครดิต
ไทยเสี่ยงเจอภัยแล้งสลับกับน้ำท่วมฉับพลันที่รุนแรงมากขึ้นในแต่ละปี เนื่องจากวิกฤตสภาพอากาศสุดขั้ว นักวิจัยวิจัยเศรษฐกิจป๋วยฯ ชี้จะกระทบเศรษฐกิจไทยในทุกภาคส่วนตั้งแต่รากหญ้าไปจนถึงระดับบน เตือนทุกฝ่ายร่วมกันลดปล่อยก๊าศเรือนกระจก และปรับตัวเพื่อรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
สภาพอากาศของประเทศไทยกำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน จากเอลนีโญ ไปสู่ลานีญา หรือเรียกว่า "เอนโซ่" คาดว่าสภาพอากาศยังร้อนกว่าค่าเฉลี่ยเมื่อครั้งเจอปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรง และอาจจะเผชิญกับน้ำท่วม จากปริมาณฝนมากกว่าปกติ
ร่างการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่รัฐบาลไทยกำลังจะผลักดันออกมา อย่างน้อยคาดว่าจะเสนอครม.กลางปีนี้ คาดจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ ภาคอุตสาหกรรมและการดำรงชีวิตของคนเราในชีวิตประจำวัน เพราะเราต่างมีราคาที่ต้องจ่าย หากต้องบรรเป้าหมายแก้ปัญหาโลกร้อน
จากสภาพอากาศร้อนอบอ้าวในปีนี้ เป็นผลจากคลื่นความร้อนกระหน่ำเอเชียในหลายประเทศ จึงเป็นสัญญาณเตือนว่า "สภาพอากาศสุดขั้ว" ไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไป ทั้งภัยแล้ง ไฟป่า น้ำท่วมและพายุ อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา แต่คำถามก็คือ ไทยมีแผนรองรับเรื่องเหล่านี้แค่ไหน
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รวดเร็วเป็นปัจจัยหลักให้โลกอุณภูมิร้อนขึ้น และส่งผลกระทบทั่วโลกในหลายด้าน โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีพื้นที่ติดชายทะเลและเสี่ยงต่อน้ำท่วม ธนาคารโลกคาดหากไทยไม่เตรียมรับมืออาจทำให้เศรษฐกิจถดถอย 20-30% ภายในปี 2593
ธปท.จับมือแบงก์พาณิชย์ ตั้งเป้าหมายผลักดันธนาคารออกผลิตภัณฑ์การเงินสำหรับกลุ่มลูกค้าที่พร้อมปรับตัวไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน คาดออกในช่วงต้นไตรมาส 3 ของปี 2567 และหวังว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นสำคัญที่สร้างแรงจูงใจให้ภาคธุรกิจในวงกว้างเกิดการปรับตัว เพื่อบรรลุเป้าหมายด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย
โลกร้อนทุบสถิติ อุณหภูมิพื้นผิวโลกในเดือนม.ค. 2567 เป็นเดือนที่ร้อนที่สุดตั้งแต่มีการบันทึก สูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 1.5°C เป็นเวลา 12 เดือน กรีนพีซเรียกร้องลดปล่อยแก๊สเรือนกระจากทันที โดยเฉพาะบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก
โลกร้อน หรือ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กำลังส่งผลกระทบมากกว่าเรื่องอากาศร้อนจัดและการเปลี่ยนแปลงฤดูกาล แต่กำลังคุกคามถึงสุขภาพของคนไทย เมื่อพบว่าในปีที่ผ่านมา ไข้เลือดออกและไข้มาลาเรีย ระบาดหนักในเอเชีย รวมถึงไทย