ความไม่แน่นอนทางการเมืองเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังมีกฎหมายสำคัญ ๆ ยังค้างสภาผู้แทนราษฎรอีกจำนวนมาก 35 ฉบับ โดยในช่วง 2 ปี รัฐบาลเพื่อไทย มีกฎหมายผ่านการพิจารณาประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 16 ฉบับ ขณะที่รัฐบาลเหลือเวลาบริหารอีกราว 2 ปี ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองเริ่มปะทุขึ้น ทั้งในสภาฯและนอกสภาฯ
ยังคงข้อถกเถียงว่าประเทศไทยควรจะยืดอายุเกษียณจาก 60 ปี เป็น 65-70 ปีหรือไม่ เพื่อรับมือกับสังคมผู้สูงวัยระดับสุดยอด ขณะที่สังคมไทยมีผู้สูงอายจำนวนมาก 86 % ยังคงทำงานนอกระบบ แต่ไม่มีสวัสดิการคุ้มครอง
"รถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย" มาตามนัด แม้การเมืองยังมีความเสี่ยง รัฐบาลประกาศเดือนส.ค. นี้ เปิดลงทะเบียนผู้ต้องการใช้บริการ ผ่านแอพฯ’ทางรัฐ’ ใช้ได้ทุกสาย เริ่ม 30 ก.ย. 68
ถึงเวลาต้องปรับใช้เทคโนโลยีอย่างจริงจัง เพื่อแก้ปัญหาคอร์รัปชันในไทย ก่อนที่ปัญหาจะเกินเยียวยา คอร์รัปชั่นเรื่อยมา หลังจากดัชนีรับรู้การทุจริต หรือ CPI ของประเทศร่วงต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปี 2567 คะแนนที่ต่ำสุดในรอบ 12 ปี ป.ป.ช.หวั่นกระทบลงทุนจากภาพลักษณ์ย่ำแย่
เพศวิถีศึกษา เป็นหนึ่งในวิชาสำคัญตามพรบ.การป้องกันและแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ที่หวังว่าจะมีการบรรจุเป็นวิชาในโรงเรียน แต่ผ่านไปเกือบ 10 ปี ความพยายามแก้ปัญหา "ท้องไม่พร้อม"ในสังคมไทยผ่านหลักสูตรในโรงเรียนไปไม่ถึงไห เมื่อศธ.นำไปไว้ในวิชาสุขศึกษา ขณะเดียวกันก็ไม่ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานอื่น
การถ่ายโอนภารกิจโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพื่อปฏิรูประบบสุขภาพปฐมภูมิ ตั้งแต่ปี 2566-2568 เกิดขึ้นจำนวนหลายพันแห่ง แต่ในปี 2569 ตัวเลขถ่ายโอนลดลงเหลือเพียง 22 แห่ง หวั่นความยั่งยืน หันมาเน้นคุณภาพ ทำให้การถ่ายโอนลดลง
นักวิชาการป่าไม้ตั้งคำถาม กลไกคาร์บอนเครดิตในพื้นทีป่าไม้ช่วยลดโลกร้อนได้จริงหรือ? ชี้เป็นแค่กระบวนการฟอกเขียว เปิดทางธุรกิจยังก่อมลพิษที่แหล่งกำเนิดเหมือนเดิม ขณะที่เป้าหมาย Net Zero ของประเทศจะทำได้ ต้องเพิ่มป่ามากมาถึง 30 ล้านไร่ แต่ที่ผ่านมา 40 ปี ไทยไม่เคยเพิ่มพื้นทีป่าไม้ได้สำเร็จ
โรงพยาบาลขาดทุน บัตรทอง ล่มหรือไม่ เป็นคำถามใหญ่ที่ต้องเร่งหาทางออก ชี้ต้องปรับระบบงบประมาณ เหตุเงินบำรุงสุทธิทั้งระบบเหลือเพียง 46,000 ล้านบาท สัญญาณเตือนปี 2570 อาจเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องอย่างหนัก
คลินิกชุมชนอบอุ่น 276 แห่งในกทม. ในฐานะหน่วยบริการผู้ป่วยปฐมภูมิในระบบหลักประกันสุขภาพ หรือบัตรทอง กำลังวิกฤต แจ้งขอลาออกแล้ว 17 แห่ง คาดว่าจะยื่นลาออกอีก 40 แห่งภายในสิ้น 68 นี้ เหตุรูปแบบการจ่ายเงิน ทำให้ต้องแบบภาระค่าส่งตัวสูง แนะทางรอด ให้แยกงบประมาณส่งตัวออกจากงบค่าใช้จ่ายรายหัว
พ.ร.ป. การป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2568 ประกาศใช้เพื่อเพิ่มระบบคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสคดีทุจริตต่อ ป.ป.ช. โดยไม่ต้องรับผิดหากถูกฟ้องร้องกลับ โดยหวังเพิ่มผู้ชี้เป้าทุจริตและการประพฤติมิชอบของผู้ดำรงตำเเหน่งทางการเมือง แต่ไม่ช่วยกรณีอื่น
รัฐบาลพยายามเพิ่มพื้นที่ป่าไม้ให้ได้ 40% แต่ผ่านมายาวนานกว่า 40 ปี ทำไม่สำเร็จ พื้นที่ป่ายังคงอยู่ที่ 31% ผู้เชี่ยวชาญป่าไม้ระบุ หากยังรวมศูนย์การจัดการป่าไม้ ขาดการมีส่วนร่วมของชุมชนการเพิ่มพื้นป่ายังเป็นไปได้ยาก พบป่านับแสนไร่ อยู่นอกเขตปกครอง
สภาพัฒน์ฯรายงานภาวะสังคมไทย ไตรมาส 1/68 พบว่าการจ้างงานหดตัว ลดลง 0.5 % จากไตรมาสหนึ่ง ปี 2567 ขณะที่เด็กจบใหม่ยังเสี่ยงตกงาน เหตุผู้บริหาร 89 % มองว่าเด็กจบใหม่ยังขาดประสบการณ์ ทำงานเป็นทีมไม่เป็น
เวที Policy Forum จัดเสวนา "บัตรทอง "บนทางแยกไปต่อหรือปรับเปลี่ยนตัวแทนโรงพยาบาล, คลินิกอบอุ่น เตือน ระบบสุขภาพกำลังจะวิกฤติ ชี้ เงินบำรุงและเงินสำรองสุทธิทั้งระบบเหลือแค่ 4.6 หมื่นล้านและมีแนวโน้มลดลงหวั่นปี 2570 เผชิญวิกฤติอีกรอบ แนะรื้อระบบงบประมาณ
การปฏิรูปการศึกษาล่าช้า ทำให้คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนตกต่ำลงเรื่อย ๆ เด็กเผชิญสารพัดปัญหา ทั้งสุขภาพกาย-สุขภาพจิต อัตรานักเรียนป่วยซึมเศร้าเพิ่มขึ้น บุหรี่ไฟฟ้าใกล้โรงเรียน เพิ่มขึ้น ขณะที่เด็กไทยส่วนใหญ่ไม่กินอาหารเช้าก่อนไปโรงเรียนทำให้ ขาดสมาธิในการเรียนรู้
รัฐบาลเดินหน้านโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตามนโยบายพรรคเพื่อไทยที่หาเสียงไว้ ซึ่งขณะที่การผลักดันกฎหมาย 3 ฉบับที่สำคัญ คือ ร่างพ.ร.บ. รฟม. ,ร่างพ.ร.บ.กรมรางฯ และร่างพ.ร.บ. ตั๋วร่วม โดยตั้งเป้าหมายบังคับใช้ทัน 30 ก.ย. 68 หากไม่สะดุดการเมืองเสียก่อน แต่จะยั่งยืนหรือไม่ขึ้นกับเงินที่จะนำมาใช้บริหารในระยะยาว
ปฏิรูปการศึกษา ล้มเหลวซ้ำซาก ผู้เชี่ยวชาญการศึกษา ระบุ 6 ปัญหาการศึกษาไทยที่ต้องการปฏิรูปการศึกษาแบบเร่งด่วน ที่ผ่านมาทำได้เพียงตั้งคณะกรรมการและกองเอกสาร แต่ไม่มีผลต่อคุณภาพการศึกษา ขณะที่ พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ ใช้มา 26 ปี ไม่มีการแก้ไข เหตุการเมืองขาดความกล้าหาญตัดสินใจผ่าตัดกระทรวง
แม่น้ำกกและแม่น้ำสาย กำลังเผชิญวิกฤตมลพิษจากสารหนู จากการทำเหมืองแร่ทองคำ และเหมืองแร่แรร์เอิร์ธ ที่รัฐฉานประเทศเมียนมาร์ ขณะที่ไทยยังไม่มีมาตรการคุมแหล่งกำเนิดนอกแดนได้ ทำได้เพียงมาตรการฟื้นฟูในประเทศ โดยอาจประกาศเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม
ไขข้อข้องใจ การคำนวณโครงสร้างการรับซื้อไฟฟ้าสีเขียว หรือ Big Lot กว่า 5 พันเมกะวัตต์ ค่าไฟถูกจริงหรือ? เพราะต้องคิดหลายชั้นและซับซ้อน ยันต้นทุนไม่ได้ถูกกว่า ดังที่สนพ.อ้าง เพราะต้องคิดค่าความพร้อมจ่าย หลังผู้ใช้ไฟฟ้าเป้าหมายสมัครซื้อไฟฟ้าสีเขียวไม่มาก ทำให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วไปต้องรับภาระ
ภาคใต้ไร้โควตาจับสลากแพทย์ใช้ทุนในปี 2568 ขณะที่ภาคอีสานยังมีโควตา สะท้อนความสำเร็จของโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชนบท หรือ CPIRD แต่ก็เปิดประเด็นใหม่เกี่ยวกับโครงสร้างการจัดสรรแพทย์ในอนาคต เมื่อใคร ๆ ก็อยากทำงานใกล้บ้าน
เปิดรายงานวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของไทย ระบุต้นทุนจากแสงอาทิตย์ของไทยต่ำกว่าโรงไฟฟ้าก๊าซใหม่ แนะแผน PDP2024 เพิ่มสัดส่วนพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น พร้อมเสนอไม่ควรสร้างโรงไฟฟ้าก๊าซใหม่ ขณะที่ การใช้ระบบดักจับและกักเก็บคาร์บอน (CCS) ไม่ลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล และ ยังมีราคาแพงกว่าพลังงานหมุนเวียน
กระทรวงสาธารณสุขเตรียมเสนอกฎหมายอุ้มบุญใหม่ ก้าวข้ามข้อจำกัดเดิม เพิ่มกลุ่มผู้รับบริการตั้งครรภ์แทน (อุ้มบุญ) ในกลุ่มชาวต่างชาติ เตรียมขยายสิทธิการเข้าถึงของกลุ่มสมรสเท่าเทียม และผู้มีรายได้น้อย
สทนช.ระบายน้ำ 21 เขื่อนรับมืออิทธิพลของ “ลานีญา” ทำให้ปริมาณฝนปี 68 เพิ่มขึ้นอย่างมากในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะในกทม. ฝนถล่มในเดือน พ.ค. มีปริมาณมากกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปี ขณะที่กรุงเทพมหานครไม่ห่วงน้ำเหนือ มั่นใจรับมือได้ โดยพัฒนาใช้เอไอช่วยประเมินและปรับปรุงสถานีสูบน้ำ ใช้ 1,900 คลองช่วยระบาย
สำรวจปัญหาความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพไทย วิเคราะห์ข้อจำกัดและศักยภาพ 3 กองทุนสุขภาพ "ข้าราชการ-ประกันสังคม-บัตรทอง" สู่มาตรฐานที่เท่าเทียม เสนอ "โมเดลขนมชั้น" หาทางออกลดความเหลื่อมล้ำระบบสุขภาพของประเทศ
นิด้าโพลชี้คนไทยกังวล ปัญหาความเท่าเทียม และคุณภาพการศึกษา ขณะที่เด็กไทยน่าเป็นห่วงเข้าถึงการศึกษาคุณภาพดียาก ค่าใช้จ่ายสูง-ไกลบ้าน และหวังว่ารัฐบาลจะพัฒนาคุณภาพการศึกษา แต่คนไทยบางส่วนสิ้นหวัง เชื่อต้องพึ่งพาตัวเอง
กระทรวงสาธารณสุข เตรียมยกระดับ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)จากระเบียบกระทรวงเป็นพระราชบัญญัติเข้าสู่การพิจารณาของสภาฯ หวังปรับสถานภาพ และสิทธิประโยชน์ให้มั่นคง พร้อมระบบสวัสดิการ เพื่อเป็นกำลังสำคัญบริการสาธารณสุข เป็นด่านหน้าดูแลสุขภาพในระดับชุมชนทั่วประเทศ
“ลดคาร์บ ลดโรค” นโยบายของสาธารณสุขล่าสุด ยุค "สมศักดิ์ เทพสุทิน" หวัง "ป้องกันดีกว่ารักษา" แต่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของคนไทยได้จริงหรือ? สุดท้ายแล้วอาจเป็นเพียงนโยบายเพื่อหวังประหยัดงบประมาณ แต่ไม่สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมได้จริง
รัฐบาลกำหนดทิศทางวิจัยการศึกษาของชาติปี 2568-2570 ครั้งแรก แก้ปัญหางานวิจัยด้านการศึกษาไร้ทิศทาง สะเปะสะปะ ไม่สอดคล้องกับบริบทของสังคม จนไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของสังคม ตีกรอบ 4 ด้าน จัดระบบโครงสร้างการศึกษา เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน และสร้างระบบนิเวศทางการศึกษาใหม่
รัฐบาลจะผลักดันนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายได้จริงหรือไม่ คาดชดเชยรายได้เอกชน 9.5 พันล้าน และกทม.ขอชดเชยสายสีเขียว 8,000 ล้าน ขณะที่กรมรางฯมั่นใจ 20 บาทตลอดสายทำได้จริง หลังค่าโดยสาร 20 บาท ดันรายได้รถไฟฟ้าสีแดง- ม่วง เพิ่มขึ้น
เปิดรายงาน OECD เผยธุรกิจในไทยกระจุกตัวและขาดการแข่งขัน บริษัท 5% มีรายได้กว่า 85% ของประเทศ ยก 4 ภาคธุรกิจของไทย “สื่อสาร-พลังงาน-ธนาคาร-ประกันภัย” มีปัญหาผูกขาด กระจุกตัว และแข่งขันต่ำ เนื่องจากปัญหาด้านกฎหมาย และไม่มีการเปิดเผยข้อมูล อ้างความลับธุรกิจ
สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้กลับมารุนแรงอีกครั้ง กว่า 2 เดือนความขัดแย้งจังหวัดชายแดนใต้ ปะทุรุนแรงกว่า 20 ครั้ง ขณะที่เวทีการเจรจาสันติภาพใต้หยุดนิ่งมากว่า 1 ปี ทำให้เสียงเรียกร้องให้เปิดเจรจารอบใหม่เพื่อดับไฟใต้เกิดขึ้นอีกครั้ง
ความหวังการปฏิรูปการศึกษาจากการผลักดัน พ.ร.บ.การศึกษาฉบับใหม่ ยังต้องรอต่อไป แม้มีความพยายามแก้ไขพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ 2542 ที่ใช้มานาน 26 ปี เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาไทยในหลายด้าน แต่ร่างกฎหมายใหม่ยังไปไม่ถึงไหน ยังไม่ผ่านการพิจารณาของครม. และมีแนวโน้มไม่ทันใช้ในรัฐบาลนี้
ชีวิตประจำวันของคนกรุง เจอปัญหามากมาย แม้จะเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่หากพิจารณาลึกลงไป อาจเป็นปัญหาเดิมที่พูดกันมานาน นั่นคือ การกระจายอำนาจ ซึ่งการรวมศูนย์อำนาจการบริหาร ทำให้ไม่มีการแก้ไขปัญหา และหลายปัญหาเรื้อรัง หน่วยงานรัฐบาลกลางควรแบ่งภาระต่างให้กทม. และท้องถิ่นช่วยดูแล
วันแรงงานแห่งชาติ ไม่มีเซอร์ไพรส์ รัฐบาลบริหารประเทศเข้าปีที่ 3 พยายามขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 600 บาทตามนโยบายที่แถลงต่อรัฐสภา แต่รัฐบาลไร้อำนาจกดดันคณะกรรมการไตรภาคีปรับขึ้นค่าแรงอย่างทั่วถึง สวนทางกับค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น
หายนะทางทะเลเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อปรากฏการณ์ "ปะการังฟอกขาว" รุนแรงต่อเนื่อง ล่าสุด ปะการังฟอกขาวรุนแรงทั่วโลกครั้งที่ 4 รุนแรงทุบสถิติ กว่า 84% ทั่วโลก ใน 82 ประเทศ กำลังเผชิญกับวิกฤต
คนทำงานกลางแจ้ง ไรเดอร์ คนงานก่อสร้าง กำลังได้รับผลกระทบจากวิกฤตสภาพอากาศที่ร้อนขึ้น ขณะที่ไทยยังไม่มีนโยบายและกฎหมายครอบคลุมถึงสวัสดิการคุ้มครองแรงงานเหล่านี้ ขณะที่หลายประเทศเช่น “อินเดีย - การ์ตา -ปารากวัย" ตื่นตัวออกกฎหมายคุ้มครองแรงงานกลางแจ้งที่ต้องทำงานกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกาศมาตรการคุมกิจกรรมท่องเที่ยวดำน้ำ เพื่อคุ้มครองปะการังที่เสื่อมโทรมจากการท่องเที่ยวและสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยห้ามถ่ายภาพใต้น้ำ-ดำน้ำต้องมี “ผู้ควบคุมที่ได้รับอนุญาต”ไปกับเรือทุกครั้ง ห้ามดำน้ำในแนวปะการัง ห้ามแตะปะการัง สัตว์น้ำและสิ่งมีชีวิตในทะเล
หมอลาออกนับพันคนต่อปี สะท้อนปัญหาเชิงโครงสร้างในระบบสาธารณสุขไทย "ภาระงานล้นมือ - ขาดแรงจูงใจ -กระจายแพทย์ไม่ทั่วถึง" ขณะที่แนวทางแก้ไขของรัฐยังเน้นแต่การผลิตแพทย์เพิ่ม โดยไม่ตอบโจทย์การรักษาแพทย์ให้อยู่ในระบบ
สตง.ออกเอกสาร ชี้แจง 8 ข้อ ปมสงสัยแก้แบบปล่องลิฟต์ ต้นตอตึกถล่ม ยันเป็นไปตามสัญญาถูกต้องตามกฎหมาย ระบุบีบจนทางเดินแคบไม่ตรงตามกฎกระทรวง เนื่องจากแบบงานโครงสร้างขัดกับงานสถาปัตยกรรมภายใน โดยได้การลดเงิน 5 แสน หลังแก้แบบแล้ว
การถล่มของตึกใหม่ของสตง. นำไปสู่การตรวจสอบความโปร่งใสของโครงการและมาตรฐานการก่อสร้าง ที่พบข้อบกพร่องและพิรุธหลายจุด ทั้งงบประมาณและการฮั้วประมูล การจัดซื้อจัดจ้าง ไปจนถึงบริษัทที่ได้รับการจัดซื้อจัดจ้าง
นโยบายภาษี”ทรัมป์” อาจส่งกระทบต่อ “ผู้เลี้ยงสุกร- โคเนื้อ” ทำให้โครงสร้างราคาหมูในประเทศเปลี่ยน กระทบทั้งห่วงโซ่ เกษตรกร โรงงานอาหารสัตว์ หากไทยยอมเปิดให้มีการนำเข้าเนื้อสุกร และโคเนื้อจากสหรัฐ จนสร้างความเสียหาย
ธปท.คาดนโยบายภาษีทรัมป์ เปลี่ยนการค้าโลกครั้งใหญ่ ประเมินเศรษฐกิจไทยปีนี้โตต่ำกว่า 2.5% แต่อาจไม่รุนแรงเท่าวิกฤตโควิด-19 โดยกระทบหนักธุรกิจกลุ่มส่งออกไปสหรัฐฯ แนะไทยเร่งปรับตัวควบคู่กับการเจรจา พร้อมเสนอมาตรการรับมือระยะสั้น-ระยะยาว
ประธานาธิบดีทรัมป์ ประกาศเลื่อนภาษีตอบโต้ เปิดโต๊ะเจรา 90 วัน SCB EIC ประเมินลดผลกระทบไทยแค่ระยะสั้น แต่ไม่ช่วยรอดพ้นวิกฤตจากระบบการค้าโลกยุคใหม่ที่กำลังเข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความปั่นป่วน คาดกระทบส่งออกไทย 8.1 แสนล้านบาท หากถูกตั้งภาษี 36%
การแก้ไขกฎหมายแรงงาน ขยายสิทธิลาคลอดเป็น 120 วันโดยได้รับค่าจ้าง จะได้รับการพิจารณาในสภาอีกครั้ง แม้ว่าภาคประชาสังคมและขบวนการแรงงานจะเรียกร้องวันลาคลอด 180 วัน เพราะให้ความสำคัญถึงสุขภาพแม่และเด็กเป็นสำคัญ
โลกร้อน การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เป็นสิ่งที่เราได้ยินมาอยู่เรื่อยๆ และความรุนแรงของภัยธรรมชาตินั้นมีมากขึ้นทุกปี คงเป็นไปได้ยากที่เราจะหยุดวงจรเหล่านี้ แต่สิ่งที่เราทำได้คือการตั้งรับต่อผลกระทบและพยายามลดการปล่อยมลพิษให้ได้มากที่สุด
เหตุการณ์ตึก สตง. ถล่มทำให้คนไทยมองเห็นทุนจีน 'ลึกขึ้น' และ 'หลากหลายมากขึ้น' แต่ทว่าเหตุการณ์ไม่ปกติเหล่านี้กลายเป็นเรื่องปกติสำหรับประเทศไทยได้อย่างไร เราควรตั้งข้อสงสัยต่อกฎหมายหรือผู้ดูแลกฎหมายกันอย่างไร
ฤดูกาลเกณฑ์ทหารเวียนมาอีกครั้งในช่วงเดือนเม.ย. ของทุกปี แต่นโยบายเปลี่ยนการบังคับเกณฑ์ทหารเป็นสมัครใจของรัฐบาล ยังดำเนินการอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามแผนการปฏิรูปกองทัพของกระทรวงกลาโหม ที่คาดว่าจะยกเลิกระบบการเกณฑ์ทหารได้ในปี 71
อุบัติเหตุบนท้องถนน ที่ทำให้คนเสียชีวิตและทรัพย์สินมากที่สุดในประเทศไทย มาจากจักรยานยนต์ชนมากที่สุด โดยมีอัตราเสียชีวิตทุก 37 นาที โดเฉพาะในช่วงเทศกาล สถิติความสูญเสียจะพุ่งสูงขึ้น ขณะที่พบว่าปัญหาการออกใบอนุญาตขับขี่จักรยานยนต์ยังมีปัญหาขาดความเข้มงวดและทักษะจำเป็นในการขับขี่ปลอดภัย
แม้ว่ากนง.จะเผชิญกับแรงกดดันจากรัฐบาลให้ลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่สำนักวิจัยกรุงศรีคาดการณ์ กนง.จะไม่ลดดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปี 67 หลังเศรษฐกิจไทยแนวโน้มเติบโตกว่าที่คาดการณ์ไว้ และเงินเฟ้อเริ่มกลับมาเป็นบวกขยับเข้ากรอบเป้าหมาย
ความขัดแย้งระหว่างกระทรวงการคลัง กับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เรื่องนโยบายดอกเบี้ย เป็นเรื่องที่มีมานาน ฝ่ายหนึ่งใกล้ชิดกับการเมือง มักจะโอนอ่อนตามการเมือง แต่อีกฝ่ายห่วงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การอ้างเหตุผลก็เป็นเหตุผลเดิม ๆ ที่เคยอ้างกันมาและกล่าวโทษกันไปมา โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจย่ำแย่
นับตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค. 2541 สำนักงานประกันสังคมได้เรียกเก็บเงินสมทบ "ชราภาพ" เพื่อเป็นเงินสะสมสำหรับสมาชิกประกันสังคมเมื่อถึงวันเกษียณอายุ ซึ่งปัจจุบัน กองทุนมีการจ่ายเงินบำเหน็จบำนาญชราภาพให้กับสมาชิกแล้ว แต่มีการปรับปรุงเงื่อนไขบางอย่าง ดังนั้น สมาชิกต้องมั่นตรวจสอบเพือประโยชน์ของตัวเอง
นายกรัฐมนตรีเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์มากขึ้นในเรื่องการเดินทางไปต่างประเทศบ่อยมาก ท่ามกลางกระแสการเมืองในประเทศเริ่มร้อนแรง โดยเฉพาะประเด็น ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี และเริ่มมีคำถามถึงผลงานรัฐบาลในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
จากคลิปในโซเชียลมีเดียที่ปรากฏภาพเด็กนักเรียนนับร้อยชีวิตกำลังแตกตื่นวิ่งหนีหนีฝุ่นควันจากการเผาไร่อ้อยที่ลอยเข้าไปในโรงเรียน ในพื้นที่ ต.โคกตูม อ.เมือง จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ที่ผ่านมา นำมาสู่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงมาตรการควบคุมการเผาที่ไม่ได้ผล และยิ่งตอกย้ำว่าทำไมต้องมี พ.ร.บ.อากาศสะอาด
โรงแรมไทยกำลังปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงกว่าค่าเฉลี่ยในภูมิภาคเอเชีย ท่ามกลางกระแสแก้ปัญหาโลกร้อนในหลายประเทศ แม้ไม่ได้มีกฎกติกาบังคับให้โรงแรมต้องเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินงาน แต่ก็มีแรงการกระตุ้นในทางอ้อมที่มาจากความต้องการของกลุ่มลูกค้า ซึ่งถือเป็นความท้าทายของธุรกิจ
บอร์ดอีวี เร่งเดินหน้าผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอีวีของภูมิภาคในรถยนต์ทุกประเภท โดยออกมาตรการลดภาษีสูงสุด 2 เท่า ให้กับบริษัทเอกชนที่ซื้อรถบัสไฟฟ้า และรถบรรทุกไฟฟ้า ตั้งเป้าไม่ต่ำกว่า 10,000 คน รวมถึงยังให้สิทธิประโยชน์กับผู้ผลิตแบตเตอรีรถไฟฟ้าระดับต้นน้ำ ให้สนใจเข้ามาลงทุนในไทย
สุขภาพจิตคนไทย ยังคงเป้นปัญหาที่ใหญ่และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน Policy Watch นำบทวิเคราะห์ โดย สรัช สินธุประมา หัวหน้าทีมสื่อสารสาธารณะและนักวิจัย 101 PUB ที่สะท้อนถึงสถานการณ์ ปัญหา และความท้ายทายในการแก้ปัญหาสุขภาพจิตคนไทย
Policy Watch แพลต์ฟอร์มเพื่อการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบเสนอนโยบายสาธารณะภายหลังการเลือกตั้ง 2566 โดยได้รวบรวมนโยบายสำคัญๆ ทั้งจากภาคการเมือง ภาคประชาสังคม รวมทั้งบทวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้อง สำหรับผู้ที่สนใจ
Policy Watch เป็นแพลตฟอร์มภายใต้ไทยพีบีเอส สื่อสาธารณะแห่งแรกของประเทศ ด้วยวิสัยทัศน์ "มุ่งมั่นเป็นสถาบันสื่อสาธารณะ ที่สร้างสรรค์สังคมคุณภาพและคุณธรรม"