รัฐบาลลดหย่อนภาษีนิติบุคคล ซื้อรถยนต์ไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ หากผลิตและประกอบในประเทศลดหย่อนได้ 100% หากเป็นรถนำเข้าลดหย่อน 50% ใช้สิทธิได้ถึงสิ้นปี 68 คาดจะมีการใช้สิทธิรวม 10,000 คัน รัฐสูญรายได้ 10,600 ล้านบาท
'ปุรวิชญ์ วัฒนสุข' จะพาผู้อ่านทำความเข้าใจดัชนีรับรู้การทุจริตในมิติที่ลึกขึ้น นอกเหนือจากตัวเลขที่ปรากฏในรายงานข่าว โดยจะอภิปรายผ่านงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา
"สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์" ตั้งข้อสังเกตร่างกฎหมายเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ ที่รัฐบาลกำลังผลักดันผ่านสภา ไม่มีการศึกษาความเป็นไปได้ แต่มีการหยิบยกเหตุผลที่น่าสงสัย รวมถึงไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับผลกระทบทางสังคมที่เกิดขึ้น และเปิดทางให้ฝ่ายการเมือง
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อของญี่ปุ่น กังวลอัตราการเกิดของไทยต่ำและสังคมสูงอายุ ฉุดการขยายตัวทางเศรษฐกิจระยะยาว ส่วนเรื่องสัดส่วนหนี้สาธารณะ ยังมั่นใจว่ารัฐบาลคุมอยู่ ไม่เกิน 70% ของจีดีพี
IQAir เป็นบริษัทเทคโนโลยีคุณภาพอากาศในสวิตเซอร์แลนด์ รายงานคุณภาพอากาศทั่วโลกในปีที่ผ่านมา ระบุในอาเซียนดีขึ้น โดยอันดับไทยขยับขึ้น ขณะที่กทม.เป็นเมืองที่มีสภาพอากาศยอดแย่อันดับ 42 ของโลก แแต่เชียงใหม่ครองแชมป์อากาศยอดแย่ในไทย
น้ำท่วม ไฟป่า ฝุ่นควัน... ปัญหาเดิม ๆ ที่วนเวียนมาไม่จบไม่สิ้นในทุกปี! สะท้อนถึงปัญหาการจัดการภัยพิบัติในรูปแบบเดิมไม่สามารถรับมือได้อีกต่อไป ถึงเวลาแล้วที่เราจะใช้ "ข้อมูล" ที่มีอยู่มาออกแบบนวัตกรรมการรับมือภัยพิบัติ ฟื้นคืนชีวิต จิตใจ และเศรษฐกิจของคนไทย
คณะกรรมาธิการยุโรปแจงสภา เตือนไทยหลายครั้งประเด็นแก้กฎหมายประมง กระทบต่อความพยายามในการปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมาย ขู่การผ่อนปรน IUU ไม่อาจยอมรับได้ อาจกระทบเจรจา FTA
โครงการแลนด์บริดจ์ เป็นโครงการที่มีคำถามมากที่สุดโครงการหนึ่งของประเทศ โดยเฉพาะความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจและผลกระทบสิ่งแวดล้อม จากขนาดใหญ่กว่ามาบตาพุด 3.8 เท่าและแหลมฉบัง 2.4 เท่า โดยผลศึกษานักวิชาการหลายสภาบันล่าสุด ประเมินจะกระทบต่อพื้นที่ชายฝั่งและสภาพแวดล้อมค่อนข้างมาก แนะให้ศึกษาอย่างรอบด้าน
ในปี 67 มั่วโลกยังปล่อยก๊าซ CO2 สู่ชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้น แม้จะเผชิญกับสถานการณ์อุณหภูมิโลกสูงขึ้น และมีความพยายามจากหลายประเทศในการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่การปล่อย CO2 ทั่วโลกยังคงเพิ่มขึ้น ยังเป็นเรื่องท้าทาย Net Zero
สงครามการค้าเริ่มขึ้นแล้ว เมื่อสหรัฐประกาศขึ้นภาษีแคนาดา-เม็กซิโก-จีน พร้อมเตรียมขยับขึ้นกับหลายประเทศเดือนเม.ย.นี้ ขณะที่จีนตอบโต้ทันที โดยนักวิเคราะห์คาดว่าจะส่งผลกระทบมากกว่าครั้งก่อนและเป็นสงครามการค้าครั้งประวัติศาสตร์
เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผู้เขียนได้มีโอกาสพูดคุยกับศาสตราจารย์ชาวสวีเดนที่คว่ำหวอดเรื่องการวิจัยเกี่ยวกับความขัดแย้งและสันติภาพมายาวนานท่านหนึ่ง เขาตั้งข้อสังเกตว่าทำไมสังคมไทยจึงไม่ค่อยให้ความสำคัญกับกระบวนการสันติภาพในภาคใต้ที่นับได้ว่ามีความก้าวหน้าที่สำคัญ
สำนักวิจัยแบงก์คาดว่าในการประชุมกนง.ครั้งหน้า 30 เม.ย. จะคงดอกเบี้ย แต่มีโอกาสลดดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้ ขณะที่เศรษฐกิจไทยเผชิญกับแรงกดดันจากสงครามการค้า ยังมีความไม่นอนสูง
คำถามที่มักจะเกิดขึ้นเสมอสำหรับคนที่มีเงินฝากและคนที่กู้เงินจากสถาบันการเงิน ก็คือ เมื่อคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ลดดอกเบี้ยแล้วได้อะไร โดยเฉพาะในปี 68 ที่จะเห็นการลดดอกเบี้ยหลายครั้งก็เป็นได้ เช่นเดียวกับคำถามที่ว่ากนง.ขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งจะเกิดผลในทางตรงกันข้าม
ละครซีรีส์การุณยฆาต ออกอากาศทางช่องวัน 31 ได้รับความสนใจจากสังคมไทยเป็นอย่างดี ละครนี้ เกิดจากนิยาย เรื่องการุณยฆาต ประพันธ์โดยนักเขียนซึ่งเป็นแพทย์ผู้ทำงานด้านเวชศาสตร์ประคับประคอง หรือเรียกกันว่า “หมอพาลิ” ผู้ให้การดูแล Palliative care
ปล่อยให้การทุจริตกัดกินสังคมไทยมานานแค่ไหน ? ถึงเวลาแล้วที่ “หลังการเลือกตั้ง อบจ. 2568” จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญให้ทุกคนร่วมมือกันสร้างกลไกตรวจสอบผู้นำท้องถิ่น เพื่อหยุดยั้งการคอร์รัปชัน และพลิกฟื้นบ้านเราให้กลับมาสดใสอีกครั้ง
แม้จะมีงบประมาณ อบจ.มากถึงปีละ 1,400 ล้านบาท แต่ “ห่านที่ออกไข่ทองคำให้ประเทศ” อย่างภูเก็ตก็มีราคาที่ต้องจ่าย จากการเป็นเมืองเศรษฐกิจและท่องเที่ยวสำคัญ
สตง.รายงานผลการตรวจสอบ มาตรการแก้ฝุ่นของรัฐบาลในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ทั้งในภาคเหนือและกทม. พบว่าไม่คุ้มค่างบประมาณ และเป็นไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ ต้นตอแก้ปัญหาไม่ได้ เหตุขาดข้อมูล เน้นแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและต่างคนต่างทำ
เหตุการณ์สึนามิ ปี 2547 เป็นจุดเริ่มต้นของระบบจัดการภัยพิบัติและเครือข่ายอาสาสมัครในไทย รวมถึงการจัดทำ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 ผ่านเส้นทางยาวนานมาถึงวันนี้ ประเทศไทยยังคงตกอยู่ในวังวนและเผชิญความสูญเสียจากภัยพิบัติหลากรูปแบบที่รุนแรง ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อย ๆ
เส้นทางสู่รัฐธรรมนูญใหม่ แม้ยังอีกไกลและอาจไม่เสร็จสิ้นในสมัยรัฐบาลแพทองธาร ชินวัตร แต่สิ่งหนึ่งที่ทำได้เลยคือ การออกแบบ สสร. ซึ่งเป็นบันไดขั้นแรกที่จะนำไปสู่การออกแบบแกนกลางของรัฐธรรมนูญและโครงสร้างการเมืองที่เป็นของทุกคน
ในยุคที่การมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ เป็นความหวังในการแก้โจทย์สังคมได้อย่างตรงจุด แต่ข้อเสนอเชิงนโยบายจากเสียงของประชาชนกลับ “ติดดอย - ติดหล่ม” การใช้นวัตกรรมเชิงนโยบาย วิเคราะห์ข้อมูลและติดตามการทำงานของผู้กำหนดนโยบาย ไปพร้อมกับการหาหน้าต่างนโยบายให้เจอ จะช่วยผลักดันข้อเสนอนโยบายลงจากดอย
สถานการณ์น้ำท่วม และสึนามิโคลนที่เกิดขึ้นในเชียงราย สะท้อนถึงระบบการรับมือที่ยังไม่ดีพอ และการตกอยู่ในวังวนของภัยพิบัติใหญ่มานานนับสิบปี ทำให้การพัฒนาเติบโตของ “เชียงราย” ถูกบั่นทอน “รศ.สุทธิศักดิ์ ศรลัมพ์” เสนอ 3 แนวทาง ทำให้เมืองปลอดภัย และเดินหน้าพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจและการท่องเที่ยวได้มากขึ้น
"ข้อมูล" เป็นจุดเริ่มต้นสู่การสร้างนโยบายสาธารณะที่ตอบโจทย์ตรงจุด แต่ในทางปฏิบัติยังมีอุปสรรคและข้อจำกัดที่ต้องแก้ไข ตั้งแต่การจัดเก็บข้อมูลไปจนถึงระดับปฏิบัติ วงเสวนาชวนระดมความคิด ร่วมกันหากลไกให้ทุกภาคส่วนแบ่งปันข้อมูลเพื่อการวิจัยและพัฒนา พร้อมยกระดับการรักษาความปลอดภัย
จากจุดเริ่มต้นของแนวคิดให้ทุกคนเข้าถึง “สิทธิการตายดี” สามารถใช้เวลาช่วงวาระสุดท้ายของชีวิตให้จากไปอย่างไม่ทุกข์ทรมาน ยกระดับมาสู่ “นโยบายสถานชีวาภิบาล” ที่ดำเนินต่อเนื่องมาถึง 2 รัฐบาล แม้จะเห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น แต่ยังมีหลายปัญหาที่ยังสะดุด ต้องช่วยกันเร่งแก้เพื่อให้นโยบายเดินหน้าต่อได้
ช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล หลายนโยบายที่มีความหวังกลับ ถูกแปรรูป เปลี่ยนร่าง หรือหายไป สะท้อนถึงปัญหาบริบทสังคมไทย “การเมืองผูกกับนโยบาย” นำมาสู่ข้อเรียกร้องให้เกิด “นโยบายนำการเมือง” ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบาย โดยรัฐต้องมีพันธะรับผิดชอบ ร่วมมือพัฒนาระบบติดตามนโยบายให้มีประสิทธิภาพ
ใกล้ความจริงมากขึ้น เมื่อ กมธ.วิสามัญ “ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองและส่งเสริมวิถีชีวิตกลุ่มชาติพันธุ์ พ.ศ. …” พิจารณากฎหมายครบทั้ง 35 มาตรา เร่งเดินหน้าหาฉันทามติ 3 ประเด็นละเอียดอ่อนให้จบภายใน ส.ค.นี้ เป็นของขวัญรับ “วันชนเผ่าพื้นเมืองโลก” ก่อนส่งสภาฯ เข้าสู่การพิจารณาในวาระ 2