บทความ

ประชุมกนง.ครั้งหน้า 30 เม.ย. คาดคงดอกเบี้ยนโยบาย
สำนักวิจัยแบงก์คาดว่าในการประชุมกนง.ครั้งหน้า 30 เม.ย. จะคงดอกเบี้ย แต่มีโอกาสลดดอกเบี้ยอีกครั้งในปีนี้ ขณะที่เศรษฐกิจไทยเผชิญกับแรงกดดันจากสงครามการค้า ยังมีความไม่นอนสูง

กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบาย "ผู้กู้-ผู้ฝาก"ได้ประโยชน์อะไร?
คำถามที่มักจะเกิดขึ้นเสมอสำหรับคนที่มีเงินฝากและคนที่กู้เงินจากสถาบันการเงิน ก็คือ เมื่อคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ลดดอกเบี้ยแล้วได้อะไร โดยเฉพาะในปี 68 ที่จะเห็นการลดดอกเบี้ยหลายครั้งก็เป็นได้ เช่นเดียวกับคำถามที่ว่ากนง.ขึ้นดอกเบี้ย ซึ่งจะเกิดผลในทางตรงกันข้าม

คาดกนง.คงดอกเบี้ย รอผลกระทบสงครามการค้า
รัฐบาลกดดันแบงก์ชาติอีกครั้งหลังนายกฯรัฐมนตรีเรียกร้องให้ลดดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่นักวิเคราะห์คาดว่าการประชุม กนง.นัดแรกของปี 26 ก.พ.นี้ จะคงดอกเบี้ย ให้น้ำหนักไปที่ความเสี่ยงของเศรษฐกิจไทย และทั้งปี 2568 มีโอกาสปรับลด 1-2 ครั้ง

มาตรการปรับโครงสร้างหนี้ กดหนี้เสียลดรอบ 1 ปี
สถานการณ์หนี้เสียไทยไตรมาส 4 ปี 67 ปรับดีตัวขึ้นครั้งแรกในรอบ 1 ปี จากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ของ ธปท. แต่ยังต้องจับตาอย่างใกล้ชิดในระยะยาว เพราะเกิดจากปรับโครงสร้างหนี้ ทำให้ลูกหนี้ที่มีความเสี่ยงที่ต้องจับตาพิเศษกำลังพุ่งสูงขึ้นแทน

ตีกรอบสถาบันการเงินปล่อยกู้ ต้องเป็นธรรม-รับผิดชอบลูกหนี้
ธปท.ปรับปรุงหลักเกณฑ์การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบและเป็นธรรม เพิ่มประสิทธิภาพช่วยเหลือลูกหนี้ กระตุกพฤติกรรมมีวินัยทางการเงิน มีแนวปฏิบัติที่ชัดเจนให้กับสถาบันการเงินและธุรกิตสินเชื่อ ต้องรับผิดชอบต่อการปล่อยสินเชื่อ

ดันร่างพ.ร.บ.ไฟแนนซ์เชียลฮับ ชิงศูนย์กลางการเงิน
ครม.ไฟเขียวร่าง พ.ร.บ.ไฟแนนซ์เชียลฮับ หวังให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการเงินในภูมิภาคอาเซียน ขณะที่ผลการจัดอันดับศูนย์กลางทางการเงินทั่วโลกล่าสุด กรุงเทพฯแย่ลง ร่วงไปอยู่ที่ 95 ยังห่างชั้นจากฮ่องกงอันดับ 3 และสิงคโปร์ อันดับ 4

ธปท.เล็งศึกษา AI รับมือโจรไซเบอร์ ปิดตายบัญชีม้า
คนไทยถูกมิจฉาชีพหลอกโอนเงินปี 67 สูญ 37,582 ล้านบาท ธปท.กวาดล้างบัญชีม้าแล้ว 1 ล้านบัญชี ขีดเส้นทุกธนาคารปิดเส้นทางโอนเงินเข้าภายใน ม.ค. 68 รับบางแห่งไม่กล้าระงับธุรกรรมเพราะกลัวถูกฟ้อง เผยกำลังศึกษาเอไอรับมือภัยรูปแบบใหม่

คงเป้าหมายการเงินปี 68 คลายแรงกดดันแบงก์ชาติ
ครม.อนุมัติเป้าหมายการเงินปี 68 ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างกระทรวงการคลังกับกนง. โดยเป็นเป้าหมายเดิมที่ใช้มานานตั้งแต่ปี 63 แม้ว่าก่อนหน้านี้เป้าหมายการเงินกลายเป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลต้องการให้มีการขยับขึ้น เพื่อกดดันกนง.และเปิดทางให้ลดดอกเบี้ย แต่การคงเป้าหมายทำให้แรงกดดันลดลง

ชำแหละแนวคิดใช้เงินสำรอง พาประเทศเผชิญความเสี่ยง
การเมืองเรื่องทุนสำรองระหว่างประเทศยังเกิดขึ้นเป็นระยะ นับตั้งแต่อดีตพรรคไทยรักไทย จนถึงพรรคเพื่อไทยในปัจจุบัน หลังจากเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลมักจะมีความเห็นกดดันธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เรื่องการนำมาใช้อยู่เสมอ แต่ก็ยังทำไม่สำเร็จ

กนง.คงดอกเบี้ย เตรียมรับสงครามการค้ารอบใหม่
กนง.มีมติเอกฉันท์ คงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.25% ต่อปี มองเศรษฐกิจไทยโตใกล้เคียงกับระดับศักยภาพ แต่กังวลความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นในระยะข้างหน้าจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะทิศทางนโยบายการค้าโลก พร้อมปรับนโยบายการเงินหากเศรษฐกิจมีปัญหา

ดอกเบี้ยโลกปีงูเล็ก "ขาลง" ดอกเบี้ยไทยรอลุ้นกนง.
ปีงูเล็กมาเยือน พร้อมกับเศรษฐกิจไม่สดใสมากนัก ทำให้นักวิเคราะห์คาดว่าธนาคารกลางประเทศยักษ์ใหญ่ของโลกจะปรับลดดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่สำหรับไทยยังไม่ชัดเจน แม้ว่าจะคาดการณ์ว่ามาตรการกระตุ้นต่าง ๆ ของรัฐบาลที่ออกมา อาจจะไม่ช่วยให้เศรษฐกิจขยายตัวได้มากนัก

5 ข้อเท็จจริง เกี่ยวกับสภาพคล่องและการปล่อยสินเชื่อ
'สักกะภพ' ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธปท. ออกมาชี้แจงเรื่องสภาพคล่องและการปล่อยสินเชื่อ โดยระบุว่าเป็น "ความเห็นส่วนตัว" ไม่เกี่ยวกับแบงก์ชาติ แม้ไม่ได้ระบุว่าเป็นการตอบโต้ใคร แต่หากใครที่ติดตามจะรู้ว่าเป็นตอบโต้คำวิจารณ์ของ "ทักษิณ ชินวัตร" ในเวที “Forbes Global CEO Conference”

สินเชื่อธอส.-ออมสิน "ซื้อ-ซ่อมแซม-แต่งบ้าน"
รัฐบาลกระตุ้นตลาดอสังหาฯผ่านธนาคารรัฐ "ธอส.-ออมสิน" ทั้งซื้อที่อยู่อาศัย ซ่อมแซมและตกแต่งบ้าน คลังอัดฉีดก่อนสินปี ยื่นกู้ภายในปีนี้ วงเงินรวมเฉียดแสนล้านบาท ซื้อที่อยู่ไม่เกิน 7 ล้าน ซ่อม-แต่งบ้านไม่เกิน 5 ล้าน ดอกเบี้ยคงที่ 3% ยื่นกู้ภายในปี 68

ThaiESG กองทุนลดหย่อนภาษี สูงสุดปีละ 3 แสน
ThaiESG กองทุนลดหย่อนภาษีเพื่อการออม ลดหย่อนสูงสุด 300,000 บาท ไม่รวมกองทุนเพื่อการลงทุนเกษียณเดิม ใช้ได้ใน 3 ปีภาษี 2567-2569 ทำให้หมวดลงทุนลดหย่อนภาษีเพิ่มสูงสุดถึง 500,000 บาท

เช็กรายการลดหย่อนภาษีปี 2567 ออม-ลงทุนได้ถึง 8 แสน
ลดหย่อนภาษีปี 2567 มนุษย์เงินเดือนที่มีเงินเหลือมากได้ลดหย่อนเพิ่มขึ้น จากมาตรการใหม่ 3 รายการ เพิ่มจากปีก่อน โดยเฉพาะกองทุน Thai ESG เพิ่มเป็น 300,000 บาท ที่ไม่รวมกับมาตรการลงทุนเดิม 500,000 บาท พร้อมอีก 2 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ "Easy E-Recipt และเที่ยวเมืองรอง"

กนง.ลดดอกเบี้ยนโยบาย คนกู้เงินได้ประโยชน์อะไร?
ภายหลัง กนง.มีมติลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในรอบกว่า 4 ปี จาก 2.50% สู่ระดับ 2.25% ต่อปี ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ในไทยต้องทยอยประกาศปรับลดดอกเบี้ยลงตาม แล้วประชาชนคนไทยได้ประโยชน์อะไรบ้างจากการลดดอกเบี้ยครั้งนี้

เมื่อการเมือง "เจ็ตแล็ก" เรื่องนโยบายดอกเบี้ย
คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 2.50% เหลือ 2.25% มีผลทันทีในการประชุม 16 ต.ค. 2567 แต่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่มีการปรับลดดอกเบี้ยตาม มีเพียงธนาคารออมสินและธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่ปรับลดลง 0.25% แต่มีผล 1 พ.ย. 2567

เช็กกองทุนลดหย่อนภาษีปี 67 รายได้ปีละล้านไม่เสียภาษี
กองทุนลดหย่อนภาษีสำหรับมนุษย์เงินเดือนในปี 2567 จะได้ลดหย่อนสูงสุดเท่าที่เคยมีมา เนื่องจากรัฐบาลปรับเกณฑ์กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (ESG) ใหม่ ลงทุนได้ถึง 300,000 บาทเมื่อรวมกับเพดานกองทุนลดหย่อนภาษีเดิมไม่เกิน 500,000 บาท ทำให้ลดหย่อนได้สูงสุด 800,000 บาท คนรายได้ปีละล้านแทบไม่เสียภาษี

ดอกเบี้ยกำลังขาลง จากเศรษฐกิจชะลอ-การเงินโลก
กนง.ปรับลดดอกเบี้ย 0.25% ทำให้ตลาดมองว่าแบงก์ชาติกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากการเมือง หากประเมินจากเหตุผลในการปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้อาจจะต่างไปจากเดิมบ้าง เพราะทิศทางเศรษฐกิจแทบไม่เปลี่ยน แต่ทิศทางการเงินโลกและแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ทำให้ทิศทางดอกเบี้ยในประเทศกำลังเข้าสู่ขาลง

กนง.ลดดอกเบี้ย 0.25% ครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี
มติ กนง.ลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี เหลือ 2.25% ต่อปี มองสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ และช่วยบรรเทาภาระหนี้ครัวเรือน พร้อมจับตาหนี้เสียอย่างใกล้ชิด ปฏิเสธเจอแรงกดดันจากการเมืองให้ลดดอกเบี้ย ขณะที่สำนักวิจัยระบุลดดอกเบี้ยสวนทางตลาด

ทำไมคาดการณ์ว่ากนง.ยังคงดอกเบี้ย 16 ต.ค. นี้
การลดดอกเบี้ยโดยไม่จำเป็นส่งผลดีกับรัฐบาลและภาคธุรกิจ แต่ไม่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องรายย่อยที่ขาดความสามารถในการแข่งขัน ทีดีอาร์ไอหนุน ธปท.ปรับโครงสร้างหนี้ แนะรัฐบาลทุ่มงบเพิ่มทักษะผู้ประกอบการระดับล่าง

เตือนหายนะ! หากธปท.ฟังรัฐบาล จนขาดมาตรฐานวิชาชีพ
กระแสการเมืองส่งคนนั่งบอร์ดแบงก์ชาติ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในอดีต "สมชัย จิตสุชน" อดีตกนง.มองว่าหากการเมืองส่งคนเข้ามา มีความเสี่ยงมากขึ้นจากความเชื่อมั่น แม้อาจไม่ถึงขั้นหายนะ ขึ้นกับการทำงานมากกว่า หากยึดหลักตามมาตรฐานวิชาชีพและมองระยะยาว

คาดกนง.คงดอกเบี้ยถึงสิ้นปี แต่ลด 2 ครั้งครึ่งแรกปีหน้า
คาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้เติบโตที่ 2.4% และกนง.อาจคงดอกเบี้ยนโยบายถึงสิ้นปีนี้ แต่มีแนวโน้มปรับลดในช่วงครึ่งแรกของปีหน้า 2 ครั้ง จากการจับจ่ายใช้สอยแผ่วลง หนุนกนง.ผ่อนคลายนโยบายการเงินมากขึ้น

หนี้ประเทศเสี่ยงชนเพดาน จากรัฐกู้แจก"ดิจิทัลวอลเล็ต"
คาดเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำในปี 2024 และ 2025 ที่ 2.5% และ 2.6% ตามลำดับ ภาคการท่องเที่ยวยังเป็นแรงหนุนหลัก ขณะที่โครงการดิจิทัลวอลเล็ต ช่วยได้ไม่มากและชั่วคราว แต่มีความเสี่ยงให้หนี้สาธารณะพุ่งขึ้นชนเพดานในปี 2027 เพราะใช้วงเงินสูง รัฐบาลต้องกู้เงินมาเดินหน้าโครงการ

ลูกหนี้ผิดนัดพุ่ง แบงก์ขยับตั้งสำรอง 5.1 หมื่นล้านบาท
ธปท.เผยสถานการณ์หนี้ไทยยังแย่ต่อเนื่อง ตัวเลขหนี้เสีย หรือ NPL ในไตรมาส 2 ปี 67 ปรับเพิ่มขึ้นทั้งระบบ โดยเฉพาะหนี้เสียกลุ่มบัตรเครดิตและบ้านที่ขยับขึ้นมากสุด พร้อมจับตามการชำระหนี้ธุรกิจ SMEs และหนี้ครัวเรือน คาดอาจหนุนให้หนี้เสียทยอยเพิ่มขึ้นอีก

กนง.ผวาหนี้เสีย ฉุดเศรษฐกิจไทย มึนลงทุนเอกชนทรุด
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.50% ต่อเนื่อง มองเศรษฐกิจไทยยังขยายตัว แต่จับตาใกล้ชิดสถานการณ์หนี้เสียที่แย่ลง หวั่นกระทบเศรษฐกิจประเทศ

เศรษฐกิจไทยอาการหนัก หนี้เสียขยับขึ้นทั้งระบบ
หนี้เสียไทยยังคงเป็นปัญหาที่เรื้อรังต่อเนื่อง แม้จะมีมาตรการปรับโครงสร้างหนี้ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แต่ดูเหมือนจะไม่ดีขึ้น ล่าสุดข้อมูลเครดิตบูโร เผยหนี้เสียไตรมาส 1 ปี 2567 ปรับเพิ่มขึ้นทั้งระบบภาคธุรกิจ และบุคคคลธรรมดา

สศช.ลดเป้าจีดีพีปี'67 เหตุหนี้สูง เศรษฐกิจโลกผันผวน
สศช.รายงานเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 67 ขยายตัว 2.3% แต่คาดทั้งปีเติบโตลดลงเหลือ 2.8% มีแรงกดดันจากหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง สถาบันการเงินเข้มงวดสินเชื่อ ขณะที่ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอ

เศรษฐกิจไทยชะลอ ลุ้นกนง.ลดดอกเบี้ยปลายปี 67
เศรษฐกิจไทยเติบโตลดลงมาตั้งแต่ต้นปี 67 และมีแนวโน้มจะแย่ลงเรื่อย ๆ จากปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานาน แม้นโยบายการเงินจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ไม่มาก แต่ก็มีการคาดว่า กนง.อาจยอมลดดอกเบี้ย 1 ครั้งในปลายปี 67 เพื่อลดแรงกดดันเศรษฐกิจในประเทศ

ไทยต้องลดขาดดุลการคลัง ปฏิรูปตรงจุด-ทำให้ได้ตามแผน
AMRO มองนโยบายการเงินไทยเหมาะสม แต่แนะให้ลดการขาดดุลการคลัง ด้วยการปฏิรูปจัดเก็บภาษี รองรับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และต้องปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพในระยะยาว ทำให้ตรงจุดและตามแผนที่วางไว้

พื้นฐานเศรษฐกิจย่ำแย่กว่าเดิม เสี่ยงสูง-ฉุดเงินบาทอ่อน
ปัจจัยพื้นฐานในประเทศที่เปราะบางกว่าในอดีต เตรียมรับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนสูง ทั้งการเมืองในประเทศ เศรษฐกิจโลกและความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ ประเมินแนวโน้มค่าเงินบาทถึงสิ้นปี 2567 ผันผวนมากขึ้น หลังครึ่งปีแรกอ่อนค่าสุดในเอเชีย

“เงื่อนไข-ความเสี่ยง” ต้องรู้ ก่อนลงทุน Thai ESG
ตลาดทุนไทยอยู่ในภาวะซบเซา หลังนักลงทุนต่างชาติทยอยขายหุ้นและตราสารหนี้ไทยรวมครึ่งปีแรก 2567 ทะลุ 1.8 แสนล้านบาท ทำให้ล่าสุดรัฐบาลปรับเงื่อนไขใหม่ของกองทุน Thai ESG ลดเวลาถือครองสั้นลง และเพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษี เพื่อดึงดูดให้นักลงทุนนำเงินมาลงทุนในตลาดทุนไทยมากยิ่งขึ้น

ส่องประเทศพัฒนาแล้ว ทำไมหนี้ครัวเรือนไทยจึงน่ากลัว
หนี้ครัวเรือนกำลังเป็นปัญหาใหญ่ของไทย เพราะสูงเกิน 90% ต่อจีดีพีมานานหลายปี และส่วนใหญ่เป็นหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ซึ่งบั่นทอนการเติบโตทางเศรษฐกิจระยะยาว ในขณะที่หากไปดูบางประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนา แม้มีหนี้ครัวเรือนระดับสูง แต่เป็นหนี้ที่ลงทุนเพื่ออนาคต

27 ปีลอยตัวค่าเงินบาท โจทย์เศรษฐกิจยิ่งยุ่งยาก
วิกฤตต้มยำกุ้ง นำไปสู่ลอยตัวค่าเงินบาท 2 ก.ค. 2540 แม้ว่าคนไทยจำนวนมากจะลืมไปแล้วถึงวิกฤตครั้งใหญ่ แต่บาดแผลที่เกิดขึ้นยังปรากฏให้เห็นในสังคม ในโอกาสครบรอบ 27 ปี จึงเป็นโอกาสที่จะกลับมาทบทวนบทเรียน แม้ว่าปัญหาและความซับซ้อนของระบบเศรษฐกิจจะเปลี่ยนต่างไปอย่างสิ้นเชิง

กนง.เพิ่มน้ำหนักคงดอกเบึ้ย มีมติ 6 ต่อ 1
กนง.คงดอกเบี้ยในระดับสูงต่อเรื่อง 2.5% ต่อปี แต่รอบนี้คณะกรรมการฯเห็นต่างแค่ 1 เสียง ซึ่งส่วนใหญ่มองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ดี ส่วนเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมาจากปัจจัยชั่วคราวคาดสิ้นปี 67 ยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย

คาดกนง.ตรึงดอกเบี้ย 2.50% ถึงสิ้นปี 67
แม้ว่ากนง.จะเผชิญกับแรงกดดันจากรัฐบาลให้ลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่สำนักวิจัยกรุงศรีคาดการณ์ กนง.จะไม่ลดดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปี 67 หลังเศรษฐกิจไทยแนวโน้มเติบโตกว่าที่คาดการณ์ไว้ และเงินเฟ้อเริ่มกลับมาเป็นบวกขยับเข้ากรอบเป้าหมาย

ธปท.มองเศรษฐกิจไทยฟื้นไม่ทั่ว กระจุกตัวแค่เมืองท่องเที่ยว
แบงก์ชาติ เตรียมปรับประมาณการจีดีพี คาดเศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่องจากเครื่องยนต์ท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่อาจฟื้นตัวแบบไม่ทั่วถึง พร้อมจับตาเงินเฟ้อใกล้ชิดหลังพลิกบวกครั้งแรกในรอบ 6 เดือน เชื่อใกล้ขยับเข้ากรอบล่างของเป้าหมาย 1-3%

คาดกนง.ลดดอกเบี้ยปลายปี 67 รับเศรษฐกิจชะลอ
แรงกดดันให้คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.)ลดดอกเบี้ย ดูเหมือนจะคลี่คลายลง หลังจากได้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังคนใหม่ ที่บอกว่า "พูดภาษาเดียวกัน"กับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) แต่ก็คาดว่าในปลายปีนี้ กนง.อาจจะลดดอกเบี้ย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเป็นไปทิศทางเดียวกับแนวโน้มตลาดเงินโลก

หนี้ครัวเรือนลด "ทางเทคนิค" ต่ำกว่า 91% จากจีดีพีโต
หนี้ครัวเรือนในไตรมาสแรกปีนี้จะปรับลดลงเล็กน้อยจากระดับ 91% เพราะจีดีพีขยายตัว แต่ปัญหายังคงอยู่ เพราะหากระดับที่ทำให้เศรษฐกิจยั่งยืนแล้ว สัดส่วนหนี้ครัวเรือนจะต้องไม่เกินระดับ 80% ของจีดีพี

เป้าหมายนโยบายการเงินปี 67 กรอบเงินเฟ้อ 1-3%
กนง.-คลัง กำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อปี 2567 คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 1-3% เป็นเป้าหมายสร้างเสถียรภาพด้านราคาในระยะกลาง แต่อาจมีบางช่วงเคลื่อนไหวนอกกรอบ เพราะปัจจัยชั่วคราว

รายละเอียดความเห็นธปท. ดิจิทัลวอลเล็ต5แสนล้าน
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ส่งหนังสือถึงรัฐบาล ให้ความเห็นต่อโครงการดิจิทัลวอลเล็ตใน 4 ประเด็น โดยหนังสือถึงสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22เม.ย. ก่อนการประชุมครม.ในวันที่ 23 เม.ย. ซึ่งในมีหลายประเด็นที่เป็นความเห็นเพิ่มเติม หลังจากรัฐบาลมีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการ

ศึกศักดิ์ศรี "คลัง-แบงก์ชาติ" ว่าด้วยเรื่องดอกเบี้ย
ความขัดแย้งระหว่างกระทรวงการคลัง กับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เรื่องนโยบายดอกเบี้ย เป็นเรื่องที่มีมานาน ฝ่ายหนึ่งใกล้ชิดกับการเมือง มักจะโอนอ่อนตามการเมือง แต่อีกฝ่ายห่วงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ การอ้างเหตุผลก็เป็นเหตุผลเดิม ๆ ที่เคยอ้างกันมาและกล่าวโทษกันไปมา โดยเฉพาะในช่วงเศรษฐกิจย่ำแย่

มุมมองผู้ว่าธปท. ในสถานการณ์ถูกกดดันลดดอกเบี้ย
มุมมอง ผู้ว่า ธปท. กับแรงปะทะทางการเมือง เป็นเรื่องปกติของธนาคารกลางทุกแห่ง โดยรัฐบาลส่วนใหญ่จะมีมุมมองแค่ระยะสั้นไม่คำนึงผลข้างเคียง พร้อมยอมรับว่าการที่นายกรัฐมนตรี นั่งควบตำแหน่ง รมว.คลัง ถือเป็นความท้าทายในการทำงานร่วมกัน

"ดอกเบี้ยมีความพิเศษเฉพาะ" กนง.รับฟังทุกข้อเสนอ ก่อนลงมติคงดอกเบี้ย
มติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อ 2.50% กนง.พร้อมยินดีรับฟังข้อเสนอจากทุกฝ่าย ถือเป็นความหวังดีและเป็นประโยชน์ หลังถูกกดดันหนักจากรัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่ส่งสัญญาณถึง 3 ครั้งให้ลดดอกเบี้ยหวังกระตุ้นเศรษฐกิจ

นโยบายการเงิน ภายใต้ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ
อะไรคือนโยบายการเงินที่เหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องดอกเบี้ยควรลดหรือไม่? เป็นข้อถกเถียงในช่วง 1-2 เดือนที่ผ่านมา เมื่อรัฐบาลเผชิญกับปัญหาเรื่อง "นโยบายดิจิทัลวอลเล็ต" และเรียกร้องให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย ซึ่ง ดร.สมชัย จิตสุชน อดีตกรรมการ กนง. มีคำตอบ

ทำไมนักการเมืองชอบนโยบายดอกเบี้ยต่ำ?
เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ไม่เห็นด้วยหากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะขึ้นดอกเบี้ย เพราะจะส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ หรือฉุดเศรษฐกิจชะลอตัว