บทความ

จับตา "เกิดน้อย-สูงวัยเยอะ" ฉุดเศรษฐกิจไทยระยะยาว
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อของญี่ปุ่น กังวลอัตราการเกิดของไทยต่ำและสังคมสูงอายุ ฉุดการขยายตัวทางเศรษฐกิจระยะยาว ส่วนเรื่องสัดส่วนหนี้สาธารณะ ยังมั่นใจว่ารัฐบาลคุมอยู่ ไม่เกิน 70% ของจีดีพี

คนไทย 24 ล้านคนเสี่ยงจน?: โจทย์ใหญ่รัฐบาลลดความยากจนหลายมิติ
จากรายงานภาวะสังคมไตรมาสที่ 4/2567 ของสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พบว่า ไทยสามารถลดสัดส่วนคนจนหลายมิติ จากร้อยละ 20.08 ในปี พ.ศ. 2558 เหลือร้อยละ 8.76 ในปี พ.ศ. 2566 แต่ความท้าทายสำคัญคือมีจำนวนคนไทยอีกกว่า 24 ล้านคน ที่เสี่ยงต่อการเป็นคนจนหลายมิติ

ไทยกระทบจำกัดหลังใช้ GMT ตาม OECD เก็บภาษีบริษัทต่างชาติ 15%
ไทยเริ่มใช้ Global Minimum Tax เก็บภาษีบริษัทข้ามชาติ 15% ตามข้อกำหนดของ OECD แต่กระทบการลงทุนไทยไม่มาก เพราะยังมีปัจจัยอื่นช่วยดึงดูดนักลงทุน แนะรัฐนำเงินภาษีที่ได้ไปลงทุนพัฒนาทักษะแรงงาน

เมื่อนักการเมือง พูดเรื่องกระตุ้นเศรษฐกิจ
การเมืองไทยในยุคหลัง ๆ มักจะมีการอ้างเหตุผลแปลก ๆ หลายเรื่อง เมื่อต้องการจะดำเนินนโยบายอะไรสักอย่าง โดยเหตุผลที่มักจะอ้างกันเป็นเหมือนยาสามัญประจำบ้าน คือ มาตรการ หรือนโยบายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ แต่เมื่อออกนโยบายมาแล้วก็แทบจะไม่มีการประเมินผลเลยว่ากระตุ้นเศรษฐกิจตามเป้าหมายหรือไม่

เผยดัชนีความจนหลายมิติ(MPI) คนไทย"จน-เสี่ยงจน"เกือบครึ่งประเทศ
สศช. รายงาน "ดัชนีความยากจนหลายมิติ" หรือ MPI ระบุคนจนหลายมิติของไทยในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา ลดลงกว่าครึ่ง แต่ความยากจนยังเป็นประเด็น"ท้าทาย" แม้สัดส่วนจะลดลง แต่คนจนมีมากถึง 7.17 ล้านคน และมีคนเสี่ยงเป็นคนจน "หลายมิติ" อีก 24.3 ล้านคน รวม 2 กลุ่มเกือบครึ่งประเทศจากประชากรในปีเดียวกัน 66.05 ล้านคน

ชำแหละบัตรคนจน: จนจริง 1.4 ล้านคนหลุด ไม่จน 10.1 ล้านคนได้
วิพากษ์มาตรการ “บัตรคนจน“ หลังกระทรวงการคลัง เตรียมลงทะเบียนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐรอบใหม่ภายใน มี.ค. 2568 แต่ที่ผ่านมา พบมีคนจนตกหล่น 1.4 ล้านคน และคนไม่จนได้สิทธิ 10.1 ล้านคน สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วยฯ ชี้สาเหตุจากตั้งเกณฑ์ไม่เข้มข้น ไม่รู้รายได้ที่แท้จริง และให้สิทธินานหลายปีโดนไม่ได้กรองซ้ำใหม่

รายจ่ายรับสังคมสูงวัย กำลังกดดันหนี้สาธารณะ
หนี้สาธารณะยังเป็นประเด็นที่บรรดาสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้ความสนใจสำหรับประเทศไทย แม้ยังไม่น่าจะกังวลมาก แต่มีแนวโน้มขยับขึ้นต่อเนื่อง ทั้งจากสังคมสูงวัยที่มีแนวโน้มค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นและนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล

เปิดโครงสร้างเงินเดือน ข้าราชการพลเรือนกลาโหม
ครม.เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการ พลเรือนกลาโหม ประเภทการสอนหรือวิจัย หลังก่อนหน้านี้เทียบเคียงใช้ระเบียบข้าราชการพลเรือน กลาโหมระบุไม่เปลี่ยนไปจากเดิม

อบจ. ในกระแสการกระจายอำนาจ
การเลือกตั้ง อบจ. ที่หลายคนพุ่งเป้าไปที่เกมการเมืองระหว่างผู้ลงสมัคร แต่การเลือกตั้ง อบจ. มีมากกว่านั้น เพราะเป็นเรื่องการกระจายอำนาจการเงินการคลังสู่ท้องถิ่น รวมถึงอำนาจการบริหารจัดการในพื้นที่ ที่นับเป็นความท้าทายที่สำคัญ

เช็กรายการลดหย่อน ภ.ง.ด.90/91 ก่อนยื่นภาษีปี 68
เริ่มแล้ว เทศกาลยื่นแบบภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ภ.ง.ด.90/91 ผู้มีเงินได้ตรวจสอบรายการที่สามารถลดหย่อนได้ตามเงื่อนไข ยื่นผ่านออนไล์ยืดเวลาถึง 8 เม.ย. ขณะที่ยื่นโดยใช้เอกสารกระดาษตามกำหนดเดิมภายใน 31 มี.ค. หากใครต้องเสียเพิ่มตั้งแต่ 3,000 บาท ผ่อนได้ 3 งวด เตือนขายของออนไลน์รายได้ถึงเกณฑ์ต้องยื่นแบบฯ

เตรียมรับสงครามการค้าป่วนโลก โจทย์หินส่งออกไทยปี 68
ภาคส่งออกที่เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย จะเจอความเสี่ยงอย่างหนักในปี 68 หลังสหรัฐฯเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าเปิดสงความการค้ารอบใหม่

ตอบทุกข้อสงสัย Easy E-Receipt 2.0 ซื้อสินค้าลดหย่อนภาษีปี 68
รวมทุกข้อสงสัยมาตรการ Easy E-Receipt 2.0 ช้อปสินค้าลดหย่อนภาษีในปี 68 สูงสุด 50,000 บาท สินค้าและบริการอะไรที่นำไปลดหย่อนได้และไม่ได้ รวมถึงวิธีการลดหย่อนเป็นอย่างไร

ภาษีความเค็ม มาแน่ปี 68 ปรับพฤติกรรมการบริโภคเพื่อสุขภาพ
หลังจากรัฐบาลเริ่มเก็บ 'ภาษีความหวาน' เพื่อปรับพฤติกรรมการบริโภคหวังลดโรคให้กับประชาชน ปีหน้ารัฐบาลเตรียมขยับไปจัดเก็บ "ภาษีความเค็ม" เริ่มจากขนมขบเคี้ยวโซเดียมสูง ควบคู่ไปกับแนวคิด "เศรษฐศาสตร์พฤติกรรม" ที่จะมาช่วยปรับพฤติกรรมประชาชนให้บริโภคเค็มน้อยลง

นโยบาย "บ้านเพื่อคนไทย" แก้ปัญหาไม่ตรงจุด
ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาฯวิพากษ์นโยบาย "บ้านเพื่อคนไทย" รัฐบาลไม่เข้าใจปัญหาที่อยู่อาศัยยุคใหม่ ค้านนำที่รัฐย่านใจกลางเมืองมาพัฒนา และเปิดให้เช่าที่ดิน 99 ปี ระบุไม่มีที่ไหนทำกัน แนะควรเข้าไปดูกฏกติกาต่างชาติเข้ามาซื้ออสังหาฯ

Easy E-Receipt 2.0 ช้อปลดหย่อนภาษี เริ่ม 16 ม.ค.
ครม.เคาะมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” ซื้อสินค้าและบริการในร้านค้าที่จดทะเบียนภาษี ร้านโอทอป วิสาหกิจชุมชน ลดหย่อนภาษีสูงสุด 50,000 บาท เริ่มตั้งแต่ 16 ม.ค. - 28 ก.พ. 68 ยิ่นภาษีปีหน้า คาดรัฐบาลสูญรายได้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 10,500 ล้านบาท

VAT กับความเหลื่อมล้ำ: เมื่อ VAT ยังไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสม (ที่สุด) ในการลดความเหลื่อมล้ำ
แนวคิดการปฏิรูปภาษีของนายพิชัย ชุณหวชิร ที่กล่าวในเวที Sustainability Forum 2025 เมื่อ 3 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา นำไปสู่การถกเถียงในวงกว้างถึงผลกระทบของการปฏิรูปภาษี นอกเหนือจากเรื่องการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐแล้ว “ความเหลื่อมล้ำ” เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ได้รับการพูดถึง

หนี้สาธารณะเริ่มขยับ เกินกรอบก.ม.วินัยการเงินการคลัง
สัญญาณร้ายหนี้สาธารณะ เริ่มขยับเกินกรอบพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง จากยอดหนี้ล่าสุดเมื่อสิ้นก.ย. 67 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อรายได้เกินกฎหมายที่กำหนดไว้ที่ 35% แม้สัดส่วนต่อจีดีพียังอยู่ในกรอบ

ยืดเวลาชำระหนี้ต้มยำกุ้ง สิ่งที่ต้องแลกกับอุ้มหนี้รายย่อย
รัฐบาลเล็งลดนำส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟู FIDF ของธนาคารพาณิชย์ เพื่อชดเชยการพักดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้บ้าน รถยนต์ และธุรกิจ ที่เป็นหนี้เสียไม่เกิน 1 ปี ล่าสุด ธปท.เผยกำลังหาข้อสรุปที่ชัดเจนกับกระทรวงการคลัง ยอมรับลดส่งเงินเข้ากองทุนฯกระทบยืดจ่ายหนี้จากวิกฤตต้มยำกุ้งตั้งแต่ปี 40

เป็นไปได้แค่ไหน? จะใช้ Negative Income Tax
หลังจาก ทักษิณ ชินวัตร ขายไอเดียแก้ปัญหาความยากจนและเหลื่อมล้ำ โดยใช้ภาษีเงินได้แบบติดลบ หรือ Negative Income Tax ก็ได้รับความสนใจจากคนในรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐบาล แต่ยังไม่มีความคืบหน้าและยังเป็นประเด็นคำถามว่าหากจะใช้จริงสามารถทำได้แค่ไหน

Fitch คงอันดับเครดิตไทย ห่วงการเมืองผันผวน
Fitch บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ประกาศคงอันดับความน่าเชื่อถือ แต่ห่วงการเมืองผันผวน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการติดตามนโยบายของไทยมานาน รวมถึงการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะต่อไป และประเด็นหนี้สาธารณะที่ขยับเพิ่มขึ้น ห่วงการปรับตัวทางการคลังล่าช้า

ก.พ.ร.กำหนดตัวชี้วัดร่วมปี 68 ยกระดับผลประเมินเทียบ PISA
ครม.มีมติเห็นชอบตัวชี้วัด Joint KPIs ใหม่ ของหน่วยงานราชการ ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยเพิ่มยกระดับผลการประเมินนักเรียนให้ได้ตามมาตรฐานของ PISA และมุ่งแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 รวมถึงยกระดับธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการน้ำเพิ่มขึ้น

กู้เงินกระตุ้นเศรษฐกิจ ดันหนี้สาธารณะพุ่ง 64%ของจีดีพี
กระทรวงการคลัง รายงานสาธารณะ ส.ค. 67 แตะ 64.02% ของจีดีพี ปรับเพิ่มขึ้นเป็นเดือนที่ 3 ติดต่อกัน ยอมรับการกู้เงินของรัฐบาลทำให้มีหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น

ThaiESG กองทุนลดหย่อนภาษี สูงสุดปีละ 3 แสน
ThaiESG กองทุนลดหย่อนภาษีเพื่อการออม ลดหย่อนสูงสุด 300,000 บาท ไม่รวมกองทุนเพื่อการลงทุนเกษียณเดิม ใช้ได้ใน 3 ปีภาษี 2567-2569 ทำให้หมวดลงทุนลดหย่อนภาษีเพิ่มสูงสุดถึง 500,000 บาท

เช็กรายการลดหย่อนภาษีปี 2567 ออม-ลงทุนได้ถึง 8 แสน
ลดหย่อนภาษีปี 2567 มนุษย์เงินเดือนที่มีเงินเหลือมากได้ลดหย่อนเพิ่มขึ้น จากมาตรการใหม่ 3 รายการ เพิ่มจากปีก่อน โดยเฉพาะกองทุน Thai ESG เพิ่มเป็น 300,000 บาท ที่ไม่รวมกับมาตรการลงทุนเดิม 500,000 บาท พร้อมอีก 2 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ "Easy E-Recipt และเที่ยวเมืองรอง"

ไทยเสี่ยงถูกหั่นเครดิต จากภาระหนี้-ระบบเศรษฐกิจ
การก่อหนี้ของรัฐบาลส่งกระทบต่อฐานะการคลังในอนาคต ปัญหาโครงสร้างการเมืองการปกครอง รวมถึงโครงสร้างเศรษฐกิจที่ไม่เอื้อต่อการเติบโตระยะยาว กำลังคุกคามความน่าเชื่อถือของประเทศ SCB EIC มองว่ายังอาจทำให้ไทยถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ และจะส่งผลกระทบหนักหลายด้าน แนะรัฐบาลควรเร่งวางแผนระยะยาว

ทำอย่างไรก้าวให้พ้น วงจรอุบาทว์ ประชานิยมภาคเกษตร
นักวิชาการด้านการเกษตร มองนโยบายพักหนี้เกษตรกรเป็นนโยบายประชานิยม ยิ่งทำให้เป็นหนี้เพิ่ม ไม่ช่วยให้หลุดพ้นความยากจนได้ และยังเป็นกับดักให้คนรอแต่ความช่วยเหลือ แนะรัฐบาลมุ่นเน้นแก้ปัญหาระยะกลาง-ยาว เพิ่มศักยภาพการเกษตรให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก หากต้องการหลุดกับดักประเทศรายได้ปานกลาง

เคาะแผนก่อหนี้ใหม่กว่า 1.2 ล้านล้าน โปะงบประมาณ
ครม.อนุมัติแผนการบริหารหนี้สาธารณะประจำปี 2568 โดยก่อหนี้ใหม่เพิ่มอีก 6.17 หมื่นล้านบาท รวม 1.2 ล้านล้านบาท ส่วนใหญ่กู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ บอร์ดนโยบายฯยันสัดส่วนหนี้ยังอยู่ในกรอบกฎหมาย

คนรุ่นใหม่อยากมีบ้าน แต่รายได้น้อย-มีภาระ ไม่มีกำลังซื้อ
ผลสำรวจความคิดเห็นผู้บริโภคครึ่งปีหลัง พบว่ายังมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัย แต่ยังกังวลเกี่ยวกับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ คนเริ่มหันมากเช่ามากขึ้น เนื่องจากที่อยู่อาศัยราคาแพง ขณะคนรุ่นใหม่ กลุ่มมิลเลนเนียลและ GEN Y-Z หันมาอยู่กับพ่อแม่มากขึ้น เพราะต้องดูแลผู้สูงอายุและรายได้ไม่เพียงพอ ขอรอรับมรดก

รัฐบาล "มองสั้น" เน้นประชานิยม สร้างหนี้ระยะยาว
การทำนโยบายที่เน้นประชานิยมเอาใจประชาชน สะท้อนถึงปัญหา "การมองสั้น" ของรัฐบาล และกำลังสร้างปัญหาให้ไทยในอนาคต โดยเฉพาะรายได้รัฐบาลของที่มีแต่ลดลง แต่กลับยังสร้างภาระหนี้เพิ่มมากขึ้น มีความเสี่ยงหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

แนะลดหย่อนภาษีโรงแรมรายเล็ก หนุนเศรษฐกิจ"เมืองรอง"
ttb analytics ชี้รายได้ธุรกิจโรงแรมไทยยังกระจุกตัวแต่ผู้ประกอบการรายใหญ่ ไม่ได้กระจายไปยังเมืองรองอย่างมีประสิทธิภาพเท่าที่ควร แนะรัฐลดหย่อนภาษีพิเศษหนุนผู้ประกอบการรายย่อย เพื่อให้เศรษฐกิจเติบโตมากขึ้น

หนี้สาธารณะแตะ 65.74% จากกู้แจกเงิน 10,000 บาท
หนี้สาธารณะขยับขึ้นเป็น 65.74% ของจีดีพี จากเพดานตามกฎหมายที่ 70% แต่สัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้เสี่ยง แตะ 33.76% จากเพดาน 35% โดยมาจากการปรับงบประมาณและแผนก่อหนี้ ตามนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงท้ายปีงบประมาณ แจกเงิน 10,000 บาท กลุ่มเปราะบาง

หนี้ประเทศเสี่ยงชนเพดาน จากรัฐกู้แจก"ดิจิทัลวอลเล็ต"
คาดเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำในปี 2024 และ 2025 ที่ 2.5% และ 2.6% ตามลำดับ ภาคการท่องเที่ยวยังเป็นแรงหนุนหลัก ขณะที่โครงการดิจิทัลวอลเล็ต ช่วยได้ไม่มากและชั่วคราว แต่มีความเสี่ยงให้หนี้สาธารณะพุ่งขึ้นชนเพดานในปี 2027 เพราะใช้วงเงินสูง รัฐบาลต้องกู้เงินมาเดินหน้าโครงการ

12 ปีส่งเงินเข้า FIDF "หนี้ลดไม่ถึงครึ่ง"
"ทักษิณ ชินวัตร" เสนอให้ลดการนำส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟูฯของสถาบันการเงิน และให้นำมาช่วยเหลือลูกหนี้ แต่วิธีการนี้ไม่ได้เป็น "มาตรการใหม่" แต่มีมาแล้วใน "สมัยลุง" ที่ให้ลดนำส่งเป็นการชั่วคราว และให้สถาบันการเงินลดดอกเบี้ย ในยุคโควิด-19 แต่ในครั้งนี้จะทำได้หรือไม่?

อุตสาหกรรมไทยย่ำแย่ ปิดโรงงาน 757 แห่ง
อุตสาหกรรมไทยกำลังล้มเหลวจากความเสี่ยงหลายด้าน ทั้งเทคโนโลยี กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม และสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ทำให้ 7 เดือนแรกปี 67 ปิดโรงงานแล้ว 757 แห่ง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา สภาพัฒน์แนะมาตรการเร่งช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กให้สามารถอยู่รอดได้อย่างมั่นคง

จีนทุบราคา-แพลตฟอร์มออนไลน์ฮิต ธุรกิจไทยอาการหนัก
ธุรกิจไทยกำลังย่ำแย่ จากสินค้าจีนคุณภาพดีราคาถูกกว่าตีตลาดหนัก ทั้งผ่านการนำเข้าและแพลตฟอร์มออนไลน์ แม้ว่าจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภค แต่หากรัฐบาลไม่เร่งหามาตรการรับมือ จะส่งผลกระทบหนักต่อเศรษฐกิจไทย

ไทยต้องลดขาดดุลการคลัง ปฏิรูปตรงจุด-ทำให้ได้ตามแผน
AMRO มองนโยบายการเงินไทยเหมาะสม แต่แนะให้ลดการขาดดุลการคลัง ด้วยการปฏิรูปจัดเก็บภาษี รองรับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และต้องปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพในระยะยาว ทำให้ตรงจุดและตามแผนที่วางไว้

อิเล็กทรอนิกส์ไทยตามไม่ทันโลก เสี่ยงตกงาน 1.2 แสน
อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ต้องเร่งปรับเพื่อเปลี่ยนให้ทันโลก ก่อนกลายเป็นเพียงอดีตที่เล่าขาน คาดหากไม่รีบปรับตัว จะกระทบต่อคนงาน 120,000 คนที่กระจายอยู่ในหลายภูมิภาค

ลดภาษีเงินได้ ดึงแรงงานทักษะสูงกลับบ้าน
รัฐบาลเคาะมาตรการเชิญชวนแรงงานไทยทักษะสูงในต่างแดน กลับเข้ามาทำงานในไทยเพื่อช่วยพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ ด้วยการลดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีเงินได้นิติบุคคลของบริษัทเอกชน มีผลถึงปี 2572

หนี้ครัวเรือน-สังคมสูงวัย ฉุดเศรษฐกิจไทยโตต่ำ
ปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยพูดกันมานาน แต่ยังไม่มีรัฐบาลไหนแก้ไขได้ เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว รัฐบาลในแต่ละยุคก็มักจะใช้มาตรการกระตุ้นระยะสั้น แต่จากสถานการณ์หลังโควิด-19 หลายประเทศพื้นตัวเร็ว แต่ไทยยังย่ำแย่ สะท้อนให้เห็นปัญหารุนแรงขึ้นจากปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงและสังคมสูงอายุ ฉุดบริโภคในประเทศ

ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ใช้ได้ไตรมาส 4 ปี 67 เผยเงื่อนไข-วิธีลงทะเบียน
ดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท รัฐบาลเตรียมเปิดให้ประชาชนลงทะเบียนตั้งแต่ 1 ส.ค. - 15 ก.ย. 67 ผ่านแอปพลิเคชัน "ทางรัฐ" เริ่มใช้จ่ายในไตรมาส 4 ปี 67 พร้อมเผยเงื่อนไข และขั้นตอนการลงทะเบียน

สังคมสูงอายุ กำลังฉุดเศรษฐกิจไทย แย่กว่าทุกวิกฤต
ขณะที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้จีดีพีของประเทศขยายตัวมากกว่า 3% ด้วยการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น แต่อาจไม่ง่าย เพราะศักยภาพของเศรษฐกิจไทมีแนวโน้มขยายตัวต่ำกว่า 2% เนื่องจากปัญหาโครงสร้าง ทั้งขีดแข่งขันของประเทศ แรงงานเข้าสู่สังคมสูงอายุ ทำให้ศักยภาพแต่กว่าทุกวิกฤตที่ผ่านมา

ตรวจแถวนโยบายรัฐบาล หาคำตอบว่าทำไมเราต้องสนใจ
นโยบายสาธารณะ หรือนโยบายรัฐบาลได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อย ๆ และยิ่งการเมืองยุคประชานิยม"สุดขั้ว" อาจสร้างความเสียหายอย่างคาดไม่ถึง ศาสตราจารย์มิ่งสรรพ์ ขาวสอาด นักเศรษฐศาสตร์ ในฐานะประธานมูลนิธิสถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ ให้มุมมองว่าทำไมเราต้องสนใจ และวิจารณ์หลายนโยบายของรัฐบาลว่าทำไมไม่สมเหตุสมผล

"ภาษีความหวาน"ล้มเหลว คนยังบริโภคน้ำตาลสูง-ของแพง
รัฐบาลมีนโยบายเก็บภาษีความหวาน หวังให้คนไทยบริโภคน้ำตาลน้อยลง และรักษาสุขภาพมากขึ้น แต่คนไทยยังนิยมบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง กลับทำให้ผู้ผลิตเครื่องดื่มมีต้นทุนสูงขึ้น และผลักภาระต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากภาษีไปที่ผู้บริโภค ด้วยการเพิ่มราคาสินค้า

ระเบิดเวลาประชากร: เกิดน้อย แก่มาก
อัตราการเกิดของไทยลดลงเรื่อย ๆ ทำให้จำนวนการเกิดของเด็กลดน้อยลง แต่ผู้สูงอายุมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประเทศไทยกำลังเผชิญกับความท้าทายสำคัญทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม ในอนาคต หากไม่มีมาตรการรองรับอย่างจริงจัง

ไทยต้องขึ้นภาษี เลี่ยงวิกฤตการคลัง
ธนาคารโลกแนะไทยต้องขึ้นภาษี ลดความเสี่ยงทางการคลัง คาดปี 68 หนี้สาธารณะไทยจะสูงขึ้นที่ 64.6% ต่อจีดีพี รัฐบาลจะเผชิญแรงกดดันด้านรายจ่ายสูงขึ้นจากสังคมสูงวัย และขยายการการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

ธนาคารโลกแนะต้องรื้อใหญ่ กระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น
ธนาคารโลกชี้การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น ต้องดำเนินอย่างจริงจัง ในระดับ "เปลี่ยนกระบวนทัศน์" เพื่อปลดล็อคศักยภาพการเติบโตของเมืองรอง และช่วยหนุนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน ระบุกรุงเทพฯกลายเป็น "เมืองโตเดี่ยว" ที่เติบโตมากที่สุดเมืองหนึ่งของโลก จนรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่ไหว

เศรษฐกิจไทยเสี่ยงวิกฤตใหญ่ แต่การเมืองมุ่งแก้ระยะสั้น
นักเศรษฐศาสตร์มองเศรษฐกิจไทยกำลังเดินหน้าเข้าสู่วิกฤตมากขึ้นเรื่อย ๆ จากปัญหาการเมืองและระบบราชการปรับตัวไม่ทันต่อการเปลี่ยนแปลง เรียกร้องให้มีการปรับโครงสร้างครั้งใหญ่จากระดับนโยบาย อย่ามุ่งแต่นโยบายระยะสั้น หวังคะแนนนิยมทางการเมือง

สัญญาณเตือนวิกฤตคลัง ย้อน 10 ปี รายได้ลด-หนี้มีแต่เพิ่ม
สัญญาณเตือนวิกฤตทางการคลัง ย้อนดูการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลลดลงต่อเนื่องในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ท่ามกลางรายจ่ายประจำที่เพิ่มมากขึ้นจากสวัสดิการข้าราชการและสังคมสูงอายุ กำลังเสี่ยงกลายเป็นวิกฤตการคลังครั้งใหญ่ของไทยในอนาคตอันใกล้

นายกฯแถลงงบปี 68 วงเงิน 3.75 ล้านล้านบาท หวังฟื้นเศรษฐกิจ
นายกรัฐมนตรี แถลงงบประมาณปี 68 เสนอต่อสภาฯ 3.75 ล้านล้านบาท กู้ขาดดุลเพิ่มอีก 8.65 แสนล้านบาท มีเป้าหมายให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้เต็มศักยภาพ ยันฐานะการเงินการคลังยังแข็งแกร่ง หนี้สาธารณะแตะ 63.37% ใกล้กรอบเพดานมากขึ้น

ยกเว้นภาษีเงินชดเชยเลิกจ้าง มีผลย้อนหลัง 1 ม.ค. 66
สรรพากรยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับค่าชดเชยที่ลูกจ้างได้รับจากถูกเลิกจ้าง หวังช่วยเหลือลูกจ้างที่เดือดร้อนจากการถูกเลิกจ้าง ไม่เกิน 3 แสนบาท มีผลย้อนหลัง ตั้งแต่ 1 ม.ค. 2566 ใครที่จ่ายภาษีไปแล้ว สามารถยื่นขอคืนภาษีได้ภายใน 3 ปี

เพิ่มค่าครองชีพข้าราชการ-ลูกจ้าง-ทหาร วุฒิต่ำกว่าปริญญาตรี
ครม.เห็นชอบสนับสนุนเงินค่าครองชีพชั่วคราวให้กับข้าราชการ ลูกจ้าง และทหารประจำการ มีผลย้อนหลังตั้งแต่ 1 พ.ค. 2567 คาดใช้งบประมาณ 2,400 ล้านบาทต่อปี

ฐานะการคลังเสี่ยงสูง รายจ่ายรัฐเพิ่มจากสังคมสูงอายุ
ประชากรสูงวัยมีเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ก่อนจะเข้าสู่สังคมสูงวัยขั้นสุดยอดในอีก 5 ปีข้างหน้า รัฐบาลต้องเร่งหามาตรการรับมืออย่างจริงจัง เพราะรายได้ภาครัฐกำลังลดลงจากวัยคนทำงานลดลง ขณะที่รายง่ายด้านสวัสดิการที่รัฐจัดหาให้ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้นอย่างมาก

กู้ชนเพดาน ปรับงบปี 67 หนุนแจกดิจิทัลวอลเล็ต
ครม.เห็นชอบงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมงบปี 67 วงเงิน 122,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ดันงบประมาณขาดดุลเพิ่มขึ้นเป็น 805,000 ล้านบาท เหลือวงเงินกู้ได้เพียงหมื่นล้าน เกือบติดเพดาน

เช็กเงื่อนไข-ผู้ได้สิทธิ ลดหย่อนภาษีท่องเที่ยวเมืองรอง
มาอีกแล้ว ลดหย่อนภาษีกระตุ้นท่องเที่ยวเมืองรอง รัฐบาลออก 2 มาตรการทางภาษีให้กับเอกชน และนักท่องเที่ยวชาวไทย เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในช่วงโลว์ซีซัน คาดทำให้รัฐสูญรายได้ราว 1,781 ล้านบาท

ธปท.มองเศรษฐกิจไทยฟื้นไม่ทั่ว กระจุกตัวแค่เมืองท่องเที่ยว
แบงก์ชาติ เตรียมปรับประมาณการจีดีพี คาดเศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่องจากเครื่องยนต์ท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่อาจฟื้นตัวแบบไม่ทั่วถึง พร้อมจับตาเงินเฟ้อใกล้ชิดหลังพลิกบวกครั้งแรกในรอบ 6 เดือน เชื่อใกล้ขยับเข้ากรอบล่างของเป้าหมาย 1-3%

คนไทยมีความรู้เรื่อง "เสียภาษี" อยู่ในระดับต่ำ
สภาพัฒน์ เผยผลสำรวจคนไทยส่วนใหญ่ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีฯ และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาษีอยู่ในระดับต่ำ ขณะที่ส่วนมากมองว่าสวัสดิการรัฐที่ได้ไม่คุ้มค่ากับภาษีที่จ่าย หากได้สวัสดิการดีขึ้นก็จะเต็มใจเสียภาษี

ดิจิทัลวอลเล็ต ดันหนี้สาธารณะพุ่ง
ดิจิทัลวอลเล็ต ทำให้รัฐบาลทบทวนแผนการคลังระยะปานกลางครั้งที่ 2 หลังหันมาใช้งบประมาณดำเนินโครงการแทนออกพระราชบัญญัติกู้เงิน ส่งผลให้หนี้สาธารณะขยับขึ้นในปีนี้ ทะลุ 65% ของจีดีพี และคาดว่าในปี 2571 จะเพิ่มเป็น 68.6% ของจีดีพี

อุดหนุนพลังงานฉุดรายได้ หนี้สาธารณะแตะ 63.4%
สศช.เผยฐานะการคลังไทยครึ่งปีงบประมาณ 67 รัฐเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 2.3% เหตุมาตรการลดภาษีน้ำมัน แต่ยังกู้เงินมากขึ้น หนุนหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 63.4% ขยับใกล้กรอบเพดาน

เครดิตไทย "มีเสถียรภาพ" จับตาบริหารหนี้สาธารณะ
มูดี้ส์จัดอันดับความน่าเชื่อถือของไทยมี "เสถียรภาพ" แต่ยังกังวลการบริหารจัดการหนี้ แม้ไม่ห่วงเรื่องความสามารถในการชำระหนี้ เช่นเดียวกับสถาบันการจัดอันดับอื่น ที่ประเมินว่าไทยยังไม่มีปัญหาการชำระหนี้ในระยะสั้น ท่ามกลางการขยายตัวเศรษฐกิจในเกณฑ์ต่ำ

กระตุ้นอสังหาฯ-จี้ลดดอกเบี้ย เมื่อการเมืองวนลูปเดิม
คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติออกมาตรการกระตุ้นอสังหาฯ โดยอ้างว่าเพื่อสนับสนุนประชาชนมีที่อยู่อาศัย และเตรียมรองรับการกลายเป็นเมืองอุตสาหกรรมระดับโลก โดยจะผ่อนปรนเงื่อนไขให้ต่างชาติ แต่ไม่ใช่มาตรการใหม่ ล้วนเป็นมาตรการเดิม ๆ ที่เคยดำเนินการมาแล้วในยุคก่อน และเคยถูกวิจารณ์ว่า "ผลประโยชน์ทับซ้อน"

ส่องแผนการคลัง 5 ปี หนี้พุ่งหนุนดิจิทัลวอลเล็ต
รัฐบาลเห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง 5 ปี (2567-2571) โดยระบุเหตุผลว่าเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้เติบโต แต่ตามแผน งบปี 2568-69 ขาดดุลงบประมาณพุ่ง ท่ามกลางกระแสข่าวเพื่อนำมาใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ออกมาใช้ให้ทันในปลายปีนี้ ส่งผลหนี้สาธารณะขยับขึ้นแตะ 67% ของจีดีพี

รัฐบาลก่อหนี้เพิ่ม 5.6 แสนล้านบาท ดันหนี้สาธารณะแตะ 61.29%
รัฐบาลปรับปรุงแผนการก่อหนี้สาธารณะ เพิ่มขึ้นอีก 5.6 แสนล้านบาท ทำให้สัดส่วนหนี้สาธาณะของไทยจะอยู่ที่ 61.29% ของจีดีพี (GDP) โดยในแผนมีการเพิ่มวงเงินกู้ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ เป็นผลมาจากงบประมาณปี 67 ที่ล่าช้า ค้ำประกันเงินกู้ให้รัฐวิสาหกิจ รวมถึงขยายวงเงินกู้เสริมสภาพคล่อง กฟผ. และกองทุนน้ำมันฯ

เศรษฐศาสตร์เรื่องการแจกเงินดิจิทัล
ผศ.ดร.ทีปกร จิร์ฐิติกุลชัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เสนอบทความ "เศรษฐศาสตร์เรื่องการแจกเงินดิจิทัล" ย้ำถึงจุดยืนคัดค้านการแจกเงินดิจิทัล 10,000 บาทอีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านั้น เป็นหนึ่งในนักเศรษฐศาสตร์ลงชื่อคัดค้านนโยบายนี้ ชี้ให้เห็นหลักทางเศรษฐศาสตร์ว่ามองอย่างไรก็ไม่คุ้มค่า

Mechanism Design : วิธีการสร้าง "การยอมรับ-เชื่อมั่น" ในนโยบาย
มารู้จักกับแนวคิด “การออกแบบกลไก (Mechanism Design)” เป็นเครื่องมือที่นำมาใช้ออกแบบกลไกหรือวิธีการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่สังคมตกลงกันหรือผู้กำหนดต้องดำเนินการ ยึดเป้าหมายมากกว่าวิธีการ โดยผู้มีส่วนได้เสียยอมรับและเชื่อมั่น

Easy E-Receipt ชอปปิงลดหย่อนภาษี 5 หมื่นบาท
Easy E-Receipt มาตรการชอปปิงไม่เกิน 50,000 บาท ใช้เพื่อลดหย่อนภาษีประจำปี มีผลแล้ว บุคคลธรรมดาสามารถซื้อสินค้าและบริการได้ถึง 15 ก.พ. 2567 จากร้านค้าที่มีใบกำกับอิเล็กทรอนิกส์

รัฐบาลต้องเร่งหารายได้ รับผู้สูงอายุ พุ่ง 38% ใน 4 ปี
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้รัฐบาลเพิ่มศักยภาพทางด้านการคลัง โดยเฉพาะการหารายได้ของรัฐบาล เพื่อรองรับสวัสดิการทางสังคม รับสังคมสูงวัย โดยคาดว่าค่าใช้จ่ายเบี้ยผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น 38%

ความเท่าเทียมในสวัสดิการ “คลุมเครือ คาดหวังสูง”
ในการเลือกตั้งที่ผ่านมาหลายพรรคการเมืองชูนโยบายเกี่ยวกับ “รัฐสวัสดิการ” แม้ว่าแต่ละพรรคมุ่งเน้นนโยบายต่างกัน แต่ก็ชี้ให้เห็นว่า “สวัสดิการจากภาครัฐ” ได้ปักหลักอย่างมั่นคงในนโยบายของรัฐบาลนับจากนี้ไป