ไทยพีบีเอส ร่วมกับสำนักนวัตกรรมเพื่อประชาธิปไตย สถาบันพระปกเกล้า เปิดพื้นที่สนทนา แลกเปลี่ยนและรวบรวมความเห็นของภาคประชาสังคม และนักวิชาการจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศ เพื่อสรุปเป็นข้อเสนอ และส่งต่อความคาดหวังต่อการทำหน้าที่ของ สว.ชุดใหม่
สว. ก็คือ ตัวแทนของประชาชนเช่นเดียวกันกับ สส.
สำหรับคำถามแรก “สว.คือใครในสายตาประชาชน” ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามเกินครึ่งในแต่ละภาคเห็นด้วยว่า สว. ก็คือ ตัวแทนของประชาชนเช่นเดียวกันกับ สส.
โดยพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามจากภาคอีสานมีจำนวนมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับอีก 3 ภาค โดยคิดเป็นร้อยละ 71 รองลงมาได้แก่ ภาคกลาง คิดเป็นร้อยละ 65.5 และภาคเหนือ คิดเป็นร้อยละ 61.1 และท้ายที่สุด ได้แก่ภาคใต้ ที่มีประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามเห็นด้วยกับประโยคดังกล่าวเพียงร้อยละ 50
สว. ก็คือ นักการเมือง
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชนในประเด็นว่า “สว. ก็คือนักการเมือง” พบว่าประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามเกินครึ่งเห็นด้วยกับประโยคดังกล่าว โดยผู้ตอบแบบสอบถามจากภาคอีสานแสดงออกว่าเห็นด้วยกับประโยคดังกล่าวมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับอีก 3 ภาค โดยคิดเป็นร้อยละ 77.4 รองลงมาได้แก่ ภาคเหนือ คิดเป็นร้อยละ 61.4 และภาคใต้ คิดเป็นร้อยละ 57.5 และท้ายที่สุดได้แก่ภาคกลาง คิดเป็นร้อยละ 51.7
สว.ในฝัน ! ลักษณะนิสัยของ สว. ที่ประชาชนอยากเห็นมากที่สุด 3 อันดับแรก
ประชาชนผู้ตอบแบบสอบถามสามารถเลือก 11 ลักษณะนิสัยที่ตนเองอยากเห็นใน สว. โดยจากแบบสอบถามพบว่า 3 อันดับแรกของแต่ละภาคนั้นมีความคล้ายคลึงกัน โดยในอันดับที่หนึ่ง ภาคเหนือและภาคใต้ นั้นต้องการที่จะเห็น สว. ที่มีความซื่อสัตย์และจริงใจเป็นสำคัญ โดยคิดเป็นร้อยละ 44.4 สำหรับภาคเหนือ และร้อยละ 37.5 สำหรับภาคใต้ ในขณะที่ภาคกลางและภาคอีสาน ต่างต้องการที่จะเห็น สว. ที่มีความน่าเชื่อถือเป็นอันดับแรก โดยคิดเป็นร้อยละ 37.9 สำหรับภาคกลาง และร้อยละ 57.1 สำหรับภาคอีสาน
ในอันดับที่สอง พบว่าภาคกลางและภาคอีสานยังคงต้องการเห็น สว. ที่มีลักษณะเหมือนกัน ได้แก่การเป็นคนที่สงบและควบคุมอารมณ์สีหน้าได้ดี โดยคิดเป็นร้อยละ 24.1 สำหรับภาคกลาง และร้อยละ 25.0 สำหรับภาคอีสาน ในขณะที่ภาคเหนือนั้นต้องการจะเห็น สว. ที่มีความเป็นธรรม ในอันดับที่สอง คิดเป็นร้อยละ 27.8 และภาคใต้ต้องการให้ สว. มีลักษณะของคนที่มีความรู้และความฉลาดในอันดับที่สอง คิดเป็นร้อยละ 22.5%
สำหรับอันดับที่สาม แต่ละภาคมีลักษณะนิสัยของสว.ที่ตนเองต้องการจะเห็นแตกต่างกัน โดยในภาคเหนือต้องการที่จะเห็น สว.ที่มีความรู้และฉลาด คิดเป็นร้อยละ 16.7 ภาคกลางต้องการสว.ที่เปิดรับความคิดใหม่ ๆ หรือไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ คิดเป็นร้อยละ 24.1 ภาคอีสานต้องการ สว. ที่มีชื่อเสียง หรือเป็นที่รู้จักของประชาชน คิดเป็นร้อยละ 28.6 และภาคใต้ต้องการ สว. ที่สามารถทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี คิดเป็นร้อยละ 25.0
โดยสรุปแล้ว ภาคเหนือต้องการ สว.ที่มีความซื่อสัตย์และจริงใจเป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่ สว.ที่มีความเป็นธรรม และในท้ายที่สุดต้องเป็นคนที่มีความรู้และความฉลาด ถัดมาในภาคกลางอยากจะเห็น สว. ที่มีความน่าเชื่อถือเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยการมีบุคลิกที่สงบและควบคุมอารมณ์สีหน้าได้ดี และในท้ายที่สุด เป็นบุคคลที่เปิดรับความคิดใหม่ ๆ หรือไอเดียสร้างสรรค์ใหม่ ๆ และสำหรับภาคอีสาน คล้ายคลึงกันกับความต้องการในภาคกลาง คืออยากจะเห็น สว. ที่มีความน่าเชื่อถือเป็นอย่างแรก ตามมาด้วยการเป็นคนที่สงบและควบคุมอารมณ์สีหน้าได้ดี และสุดท้ายเป็นที่รู้จักหรือมีชื่อเสียงของประชาชนในพื้นที่ สำหรับภาคสุดท้ายอย่างภาคใต้ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ต้องการจะเป็น สว. ที่มีความซื่อสัตย์และจริงใจเป็นสำคัญ นอกจากนี้ยังต้องเป็นคนที่มีความรู้และฉลาด และสามารถทำงานร่วมกันกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดีอีกด้วย
- [ส.ว.ในฝัน] บทบาทหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญที่ประชาชนอยากให้ ส.ว. เข้าไปทำมากที่สุด 3 อันดับแรก
ภาคเหนือ (เชียงราย) | ภาคกลาง (ลพบุรี) | ภาคอีสาน (ขอนแก่น) | ภาคใต้ (พัทลุง) | |
1 | กลั่นกรอง เห็นชอบกฎหมาย (83.4%) | เห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (86.2%) | กลั่นกรอง เห็นชอบกฎหมาย (87.9%) | ใช้อำนาจกรรมาธิการแก้ไขปัญหาให้ประชาชน (87.5%) |
2 | เห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (80.5%) | ตรวจสอบรัฐบาลผ่านการตั้งกระทู้และเปิดอภิปราย (86.1%) | ตรวจสอบรัฐบาลผ่านการตั้งกระทู้และเปิดอภิปราย (84.9%) | ตรวจสอบรัฐบาลผ่านการตั้งกระทู้และเปิดอภิปราย (85%) |
3 | ใช้อำนาจกรรมาธิการแก้ไขปัญหาให้ประชาชน (77.7%) | ใช้อำนาจกรรมาธิการแก้ไขปัญหาให้ประชาชน (82.7%) | เห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ (81.8%) | กลั่นกรอง เห็นชอบกฎหมาย (85%)
|
กลั่นกรอง เห็นชอบกฎหมาย (82.7%) | ให้ความเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการองค์กรอิสระ (81.8%) |
เมื่อถามถึงบทบาทตามรัฐธรรมนูญที่ประชาชนอยากให้ ส.ว. ทำมากที่สุด 3 อันดับ พบว่าทั้ง 4 ภาคมีความคล้ายคลึงกัน โดยในอันดับแรกภาคเหนือและภาคอีสานต้องการให้ ส.ว. มีบทบาทสำคัญในการกลั่นกรอง เห็นชอบกฎหมาย คิดเป็นร้อยละ 84.4 สำหรับภาคเหนือ และร้อยละ 87.9 สำหรับภาคอีสาน ในขณะที่ ภาคกลางต้องการให้ ส.ว. มีบทบาทในการเห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ คิดเป็นร้อยละ 86.2 และภาคใต้ต้องการให้ ส.ว. ใช้อำนาจกรรมาธิการในการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนเป็นหลัก คิดเป็นร้อยละ 87.5
ในลำดับต่อมา พบว่าภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้ ต่างต้องการเห็น ส.ว. ที่มีบทบาทในการเข้าไปตรวจสอบรัฐบาลผ่านการตั้งกระทูและเปิดอภิปราบ โดยคิดเป็นร้อยละ 86.1 สำหรับภาคกลาง ร้อยละ 84.9 สำหรับภาคอีสาน และร้อยละ 85 สำหรับภาคใต้ ในขณะที่ภาคเหนือ คิดเป็นร้อยละ 80.5 ต้องการให้ ส.ว. มีบทบาทในการเห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอันดับที่ 2
และในอันดับสุดท้าย ภาคเหนือและภาคกลางต้องการเห็น ส.ว. ใช้อำนาจกรรมาธิการแก้ไขปัญหาประชาชน คิดเป็นร้อยละ 77.7 สำหรับภาคเหนือ และร้อยละ 82.7 สำหรับภาคกลาง นอกจากนี้ภาคกลางยังต้องการเห็นส.ว. มีบทบาทในการกลั่นกรอง เห็นชอบกฎหมายด้วยเช่นเดียวกัน สำหรับภาคอีสานต้องการที่จะเห็นส.ว. มีบทบาทในการเห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และการให้ความเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการองค์กรอิสระ/ศาลรัฐธรรมนูญ คิดเป็นร้อยละ 81.8 เท่ากัน และภาคใต้ต้องการที่จะเห็น ส.ว. ที่มีบทบาทในการกลั่นกรองและเห็นชอบกฎหมาย คิดเป็นร้อยละ 85
โดยสรุป ภาคเหนือต้องการให้ ส.ว. มีบทบาทสำคัญในการกลั่นกรอง เห็นชอบกฎหมายเป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่การเห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และสุดท้ายคือการใช้อำนาของกรรมาธิการในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชน สำหรับภาคกลางอยากจะเห็น ส.ว. ที่มีบทบาทในการเห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นอันดับแรก ตามมาด้วยการตรวจสอบรัฐบาลผ่านการตั้งกระทู้และการเปิดอภิปราย โดยในท้ายที่สุดต้องการที่จะเห็น ส.ว. ใช้อำนาจกรรมาธิการในการแก้ไขปัญหาประชาชน และมีบทบาทในการกลั่นกรอง เห็นชอบกฎหมาย ในขณะที่ภาคอีสานต้องการให้ ส.ว. มีบทบาทในการกลั่นรกอง เห็นชอบกฎหมายเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาได้แก่การตรวจสอบรัฐบาลผ่านการตั้งกระทู้และเปิดอภิปราบ ตามมาด้วยบทบาทการเห็นชอบการแก้ไขรัฐธรรมนูญและการให้ความเห็นชอบแต่งตั้งกรรมการองค์กรอิสระ/ศาลรัฐธรรมนูญ และในท้ายที่สุด ภาคใต้ต้องการให้ ส.ว. มีบทบาทในการใช้อำนาจกรรมาธิการแก้ไขปัญหาให้ประชาชนเป็นสำคัญ ตามมาด้วยการตรวจสอบรัฐบาลผ่านการตั้งกระทู้และเปิดอภิปราย และในอันดับสุดท้าย ต้องการให้ ส.ว. มีบทบาทในการกลั่นกรอง เห็นชอบกฎหมาย