ThaiPBS Logo

นโยบายการคลัง (Fiscal Policy)

นโยบายการคลัง เป็นการดำเนินนโยบายของรัฐบาลเพื่อกระตุ้นหรือชะลอการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยใช้เครื่องมือที่สำคัญของรัฐบาล คือ การใช้จ่ายของรัฐบาล (รายจ่าย) และการเก็บภาษี (รายได้) รวมถึงการก่อหนี้สาธารณะของรัฐบาล

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ประกาศใช้พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561

วางแผน

รัฐบาลทำแผนการคลังระยะปานกลาง กรอบหนี้สาธารณะไม่เกิน 70% ของจีดีพี

ตัดสินใจ

เห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568-2571) ฉบับทบทวน

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

ความคืบหน้าล่าสุด 19 พ.ย. 67

19 พ.ย. 67 สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2567 ขยายตัว 3.0% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 2.2% ในไตรมาสที่สองของปี 2567 (%YoY) และเมื่อปรับผลของฤดูกาลออกแล้ว เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2567 ขยายตัวจากไตรมาสที่สอง 1.2% (QoQ_SA) รวม 9 เดือนแรกของปี 2567 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 2.3%

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2567 คาดว่าจะขยายตัว 2.6% ปรับตัวดีขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 1.9% ในปี 2566 อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ 0.5% และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2.5% ของ GDP

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยในปี 2568 คาดว่าจะขยายตัวในช่วง 2.3 -3.3% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของรายจ่ายภาครัฐ การขยายตัวของอุปสงค์ภาคเอกชนในประเทศ
และการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว

8 พ.ย. 67 บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ Fitch Ratings (Fitch) ได้คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) ณ ระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)

6 พ.ย. 67 กระทรวงการคลังรายงานสถานะของหนี้สาธารณะคงค้าง ณ 31 ส.ค. 2567 มีจำนวน 11,728,149.06 ล้านบาท หรือคิดเป็น 64.02% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(GDP) จากกรอบกรอบการบริหารหนี้สาธารณะที่ไม่เกิน 70%

  • คณะรัฐมนตรี เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วงเงิน 3,752,700 ล้านบาท  ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว และให้เสนอสภาผู้แทนราษฎร
  • ครม. มีมติชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 – 2571) ฉบับทบทวน ครั้งที่ 2 ภายใต้รัฐบาลปัจจุบัน
  • คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการปรับปรุงแผนการคลังระยะปานกลาง (2568-2571) เมื่อวันที่ 28 ธ.ค.2566

ปัจจุบัน การดำเนินนโยบายการคลัง (fiscal policy) เป็นไปตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐพ.ศ. 2561 โดยมีการกำหนดรายละเอียดด้านรายจ่าย ตลอดจนเพดานหนี้สาธารณะ ตามคณะกรรมการวินัยการเงินการคลังของรัฐ คือ

  • หนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ไม่เกินร้อยละ 60
  • ภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ไม่เกินร้อยละ 35
  • หนี้สาธารณะที่ออกด้วยสกุลเงินต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 10
  • ภาระหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อรายได้การส่งออกสินค้าและบริการไม่เกินร้อยละ 5

แต่จากวิกฤตการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงินกว่าล้านล้านบาท ทำให้สัดส่วนหนี้สาธารณะเพิ่มสูงขึ้น จนกระทั่งคณะกรรมการวินัยการเงินการคลังจึงได้มีมติเห็นชอบขยายกรอบเพดานหนี้สาธารณะจากเดิมที่กำหนดว่าสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ต้องไม่เกินร้อยละ 60 เป็นสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ต้องไม่เกินร้อยละ 70 ต่อ GDP เมื่อเดือนก.ย. 2564

การทบทวนกรอบสัดส่วนการบริหารหนี้สาธารณะในครั้งนี้เป็นไปตามความในมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 ที่กำหนดให้มีการทบทวนสัดส่วนต่างๆ อย่างน้อยทุกสามปี

การขยายเพดานหนี้สาธารณะ มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในเรื่อง “กรอบความยั่งยืนทางการคลัง” แต่เรื่องความยั่งยืนทางการคลังสามารถพิจารณาได้หลายมุม โดยสัดส่วนหนี้สาธารณะเป็นปัจจัยหนึ่ง แต่ยังมีปัจจัยอื่นมาใช้ในการพิจารณาด้วย เช่น แนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ ตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 กำหนดให้คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ มีหน้าที่จัดทำ “แผนการคลังระยะปานกลาง” ซึ่งเป็นแผนแม่บทหลักด้านการคลังและงบประมาณ

ทั้งนี้ กำหนดให้รัฐบาลต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในสามเดือนนับตั้งแต่วันสิ้นปีงบประมาณทุกปี และเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบตามมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังฯ

แผนการคลังระยะปานกลางมีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี และอย่างน้อยต้องประกอบด้วย

  • เป้าหมายและนโยบายการคลัง
  • สถานะและประมาณการเศรษฐกิจ
  • สถานะและประมาณการการคลัง ซึ่งรวมถึงประมาณการรายได้ ประมาณการร่ายจ่าย ดุลการคลัง และการจัดการกับดุลการคลัง
  • สถานะหนี้สาธารณะของรัฐบาล
  • ภาระผูกพันทางการคลังของรัฐบาล

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • พิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เผยขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม 15% เป็นเพียงแนวคิด มองทั่วโลกก็ทำกัน ขอเวลาศึกษาข้อดี-ข้อเสีย รับส่งผลชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน  ดูเพิ่มเติม ›

    4 ธ.ค. 2567

  • สศช.รายงานเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่สามของปี 2567 ขยาย 3.0% เร่งขึ้นจากการขยายตัว 2.2% ในไตรมาสที่สองของปี 2567 (%YoY) และรวม 9 เดือนแรกของปี 2567 เศรษฐกิจไทยขยายตัว 2.3%   ดูเพิ่มเติม ›

    18 พ.ย. 2567

  • Fitch Ratings (Fitch) คงอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Sovereign Credit Rating) ที่ BBB+ และคงมุมมองความน่าเชื่อถือของประเทศไทย (Outlook) ณ ระดับมีเสถียรภาพ (Stable Outlook)  ดูเพิ่มเติม ›

    8 พ.ย. 2567

  • กระทรวงการคลัง รายงาน ครม. ถึงสถานะของหนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 31 ส.ค.67 มีจำนวน 11,728,149.06 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 64.02 ของจีดีพี   ดูเพิ่มเติม ›

    5 พ.ย. 2567

  • ครม.เห็นชอบแผนก่อหนี้ใหม่ปี 2568 โดยเป็นแผนการก่อหนี้ใหม่ 1,204,304.44 ล้านบาท  ดูเพิ่มเติม ›

    1 ต.ค. 2567

  • โปรดเกล้าฯ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่าย ปี 2568 จำนวน 3.752 ล้านล้านบาท ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 เป็นต้นไป  ดูเพิ่มเติม ›

    30 ก.ย. 2567

  • คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติแผนการก่อหนี้ใหม่ของรัฐบาล เพิ่มอีก 112,000 ล้านบาท รวมเป็น 883,458.40 ล้านบาท ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) เพิ่มจาก 65.06% เป็น 65.74%   ดูเพิ่มเติม ›

    17 ก.ย. 2567

  • จุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ รัฐคลัง เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบขยายเวลาคงอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ไว้ที่ 7% ต่ออีก 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 67- 30 ก.ย.68  ดูเพิ่มเติม ›

    17 ก.ย. 2567

  • วุฒิสภา ผ่านร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม ประจำปีงบประมาณ ปี 2567 วงเงิน 1.22 แสนล้านบาท เพื่อใช้ในโครงการเติมเงินหมื่นผ่านดิจิทัลวอลเล็ต  ดูเพิ่มเติม ›

    6 ส.ค. 2567

  • สภาฯรับหลักการร่างพระราชบัญญัติงบกลางปี 2567 วงเงิน 1.22 แสนล้าน ด้วยมติ 297 ต่อ 164 เสียง

    17 ก.ค. 2567

  • ครม.เห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ไม่เกิน 122,000 ล้านบาท เพื่อใช้โครงการดิจิทัลวอลเล็ต

    9 ก.ค. 2567

  • ประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 1 ครั้งที่ 2 (สมัยวิสามัญ) เป็นพิเศษ เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568  ดูเพิ่มเติม ›

    19 มิ.ย. 2567

  • คณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 วงเงิน 3,752,700 ล้านบาท  ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว  ดูเพิ่มเติม ›

    11 มิ.ย. 2567

  • ครม.อนุมัติมาตรการทางภาษี เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศช่วงโลว์ซีซันนาน 7 เดือน คาดรัฐสูญรายได้  1,781 ล้านบาท  ดูเพิ่มเติม ›

    4 มิ.ย. 2567

  • ครม. มีมติชอบแผนการคลังระยะปานกลาง (ปีงบประมาณ 2568 – 2571) ฉบับทบทวน ครั้งที่ 2 เพิ่งงบดิจิทัลวอลเล็ต  ดูเพิ่มเติม ›

    28 พ.ค. 2567

  • คณะกรรมการนโยบายการเงินการคลังของรัฐ ที่มีนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเห็นชอบการจัดทำงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 เพื่อใช้ในโครงการดิจิทัลวอลเล็ต กรอบวงเงิน 122,000 ล้านบาท

    27 พ.ค. 2567

  • ขยายกรอบการก่อหนี้สาธารณะจากไม่เกิน 60% ของจีดีพี เป็น ไม่เกิน 70% ของจีดีพี  ดูเพิ่มเติม ›

    20 ก.ย. 2567

  • ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศขยายเพดานเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น และการชำระคืนต้นเงินกู้ของรัฐบาลและหน่วยงานของรัฐ  ดูเพิ่มเติม ›

    16 เม.ย. 2567

  • ่ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนการคลัง ระยะปานกลาง (ปี งบประมาณ 2567 - 2570) เพื่อใช้เป็นแผนแม่บทหลักสำหรับการวางแผนการดำเนินการทางการเงินการคลังและงบประมาณของรัฐ  ดูเพิ่มเติม ›

    27 ธ.ค. 2565

  • ราชกิจจจานุเบกษา ประกาศใช้พระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561  ดูเพิ่มเติม ›

    18 เม.ย. 2567

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

เป้าหมายด้านการคลัง
ในระยะยาวจะกำหนดให้รัฐบาลมุ่งสู่การจัดทำงบประมาณสมดุลในระยะเวลาที่เหมาะสม

เชิงกระบวนการ

สัดส่วนหนี้สาธารณะ
หนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ไม่เกินร้อยละ 70
สัดส่วนหนี้ต่องบประมาณ
ภาระหนี้ของรัฐบาลต่อประมาณการรายได้ไม่เกินร้อยละ 35
สัดส่วนหนี้เป็นเงินตราต่างประเทศ
หนี้สาธารณะที่ออกด้วยสกุลเงินต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมดไม่เกินร้อยละ 10
สัดส่วนหนี้ต่อรายได้ส่งออก
ภาระหนี้สาธารณะที่เป็นเงินตราต่างประเทศต่อรายได้การส่งออกสินค้าและบริการไม่เกินร้อยละ 5

เชิงการเมือง

ลดการขาดดุลงบประมาณ
ลดการขาดดุลงบประมาณ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายงบประมาณสมดุล

อินโฟกราฟิก

Image 0Image 1Image 2Image 3Image 4Image 5

บทความ

ดูทั้งหมด
VAT กับความเหลื่อมล้ำ: เมื่อ VAT ยังไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสม (ที่สุด) ในการลดความเหลื่อมล้ำ

VAT กับความเหลื่อมล้ำ: เมื่อ VAT ยังไม่ใช่ทางเลือกที่เหมาะสม (ที่สุด) ในการลดความเหลื่อมล้ำ

แนวคิดการปฏิรูปภาษีของนายพิชัย ชุณหวชิร ที่กล่าวในเวที Sustainability Forum 2025 เมื่อ 3 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา นำไปสู่การถกเถียงในวงกว้างถึงผลกระทบของการปฏิรูปภาษี นอกเหนือจากเรื่องการจัดเก็บรายได้ของภาครัฐแล้ว “ความเหลื่อมล้ำ” เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ได้รับการพูดถึง

หนี้สาธารณะเริ่มขยับ เกินกรอบก.ม.วินัยการเงินการคลัง

หนี้สาธารณะเริ่มขยับ เกินกรอบก.ม.วินัยการเงินการคลัง

สัญญาณร้ายหนี้สาธารณะ เริ่มขยับเกินกรอบพ.ร.บ.วินัยการเงินการคลัง จากยอดหนี้ล่าสุดเมื่อสิ้นก.ย. 67 สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อรายได้เกินกฎหมายที่กำหนดไว้ที่ 35% แม้สัดส่วนต่อจีดีพียังอยู่ในกรอบ

ยืดเวลาชำระหนี้ต้มยำกุ้ง สิ่งที่ต้องแลกกับอุ้มหนี้รายย่อย

ยืดเวลาชำระหนี้ต้มยำกุ้ง สิ่งที่ต้องแลกกับอุ้มหนี้รายย่อย

รัฐบาลเล็งลดนำส่งเงินเข้ากองทุนฟื้นฟู FIDF ของธนาคารพาณิชย์ เพื่อชดเชยการพักดอกเบี้ยให้กับลูกหนี้บ้าน รถยนต์ และธุรกิจ ที่เป็นหนี้เสียไม่เกิน 1 ปี ล่าสุด ธปท.เผยกำลังหาข้อสรุปที่ชัดเจนกับกระทรวงการคลัง ยอมรับลดส่งเงินเข้ากองทุนฯกระทบยืดจ่ายหนี้จากวิกฤตต้มยำกุ้งตั้งแต่ปี 40