ผลกระทบจากนโยบายของโดนัลด์ ทรัมป์ มีการวิเคราะห์ในหลายด้าน แต่ล่าสุด EIC ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ประเมินผลกระทบทั้งเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยอย่างรอบด้าน ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยจะชะลอตัวกว่าที่ประเมินไว้ หากสหรัฐฯเปิดสงครามการค้าอย่างดุเดือด ซึ่งคนไทยเคยเจอมาแล้วในสงครามการค้าครั้งก่อน
มติ กนง.ลดอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบกว่า 4 ปี เหลือ 2.25% ต่อปี มองสอดคล้องกับศักยภาพเศรษฐกิจ และช่วยบรรเทาภาระหนี้ครัวเรือน พร้อมจับตาหนี้เสียอย่างใกล้ชิด ปฏิเสธเจอแรงกดดันจากการเมืองให้ลดดอกเบี้ย ขณะที่สำนักวิจัยระบุลดดอกเบี้ยสวนทางตลาด
คาดเศรษฐกิจไทยขยายตัวต่ำในปี 2024 และ 2025 ที่ 2.5% และ 2.6% ตามลำดับ ภาคการท่องเที่ยวยังเป็นแรงหนุนหลัก ขณะที่โครงการดิจิทัลวอลเล็ต ช่วยได้ไม่มากและชั่วคราว แต่มีความเสี่ยงให้หนี้สาธารณะพุ่งขึ้นชนเพดานในปี 2027 เพราะใช้วงเงินสูง รัฐบาลต้องกู้เงินมาเดินหน้าโครงการ
รายงานประชุม กนง. ส่งสัญญาณไม่รีบปรับลดอัตราดอกเบี้ย ประเมินเศรษฐกิจไทยขยายตัวเข้าสู่ระดับศักยภาพ และเงินเฟ้อขยับเข้ากรอบล่างเป้าหมายปลายปี 67 แต่กังวลหนี้เสียเริ่มขยายวงไปยังกลุ่มรายได้สูง พร้อมเฝ้าระวังกระทบเศรษฐกิจ
อุตสาหกรรมไทยกำลังล้มเหลวจากความเสี่ยงหลายด้าน ทั้งเทคโนโลยี กฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อม และสินค้าราคาถูกจากต่างประเทศ ทำให้ 7 เดือนแรกปี 67 ปิดโรงงานแล้ว 757 แห่ง ซึ่งมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา สภาพัฒน์แนะมาตรการเร่งช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็กให้สามารถอยู่รอดได้อย่างมั่นคง
ธุรกิจไทยกำลังย่ำแย่ จากสินค้าจีนคุณภาพดีราคาถูกกว่าตีตลาดหนัก ทั้งผ่านการนำเข้าและแพลตฟอร์มออนไลน์ แม้ว่าจะเป็นผลดีต่อผู้บริโภค แต่หากรัฐบาลไม่เร่งหามาตรการรับมือ จะส่งผลกระทบหนักต่อเศรษฐกิจไทย
สศช.รายงานเศรษฐกิจไทยไตรมาส 2 ปี 67 ขยายตัว 2.3% แต่คาดทั้งปีเติบโตลดลงเหลือ 2.8% มีแรงกดดันจากหนี้สินครัวเรือนและภาคธุรกิจที่อยู่ในระดับสูง สถาบันการเงินเข้มงวดสินเชื่อ ขณะที่ความเสี่ยงเศรษฐกิจโลกชะลอ
เศรษฐกิจไทยเติบโตลดลงมาตั้งแต่ต้นปี 67 และมีแนวโน้มจะแย่ลงเรื่อย ๆ จากปัญหาเชิงโครงสร้างที่สะสมมานาน แม้นโยบายการเงินจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ไม่มาก แต่ก็มีการคาดว่า กนง.อาจยอมลดดอกเบี้ย 1 ครั้งในปลายปี 67 เพื่อลดแรงกดดันเศรษฐกิจในประเทศ
ปัจจัยพื้นฐานในประเทศที่เปราะบางกว่าในอดีต เตรียมรับความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนสูง ทั้งการเมืองในประเทศ เศรษฐกิจโลกและความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ ประเมินแนวโน้มค่าเงินบาทถึงสิ้นปี 2567 ผันผวนมากขึ้น หลังครึ่งปีแรกอ่อนค่าสุดในเอเชีย
ปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยพูดกันมานาน แต่ยังไม่มีรัฐบาลไหนแก้ไขได้ เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว รัฐบาลในแต่ละยุคก็มักจะใช้มาตรการกระตุ้นระยะสั้น แต่จากสถานการณ์หลังโควิด-19 หลายประเทศพื้นตัวเร็ว แต่ไทยยังย่ำแย่ สะท้อนให้เห็นปัญหารุนแรงขึ้นจากปัญหาหนี้ครัวเรือนสูงและสังคมสูงอายุ ฉุดบริโภคในประเทศ
การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่รวดเร็วเป็นปัจจัยหลักให้โลกอุณภูมิร้อนขึ้น และส่งผลกระทบทั่วโลกในหลายด้าน โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีพื้นที่ติดชายทะเลและเสี่ยงต่อน้ำท่วม ธนาคารโลกคาดหากไทยไม่เตรียมรับมืออาจทำให้เศรษฐกิจถดถอย 20-30% ภายในปี 2593
ธปท.ย้ำเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด 19 แล้ว แต่ยังโตต่ำและฟื้นตัวช้ากว่าประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งมิติการขยายตัวและการส่งออกสินค้า ซึ่งเป็นผลจากทั้งปัจจัยเชิงวัฏจักรระยะสั้นและเชิงโครงสร้าง แนะเร่งปรับกติกาภาครัฐ ส่งเสริมการแข่งขันอย่างเป็นธรรม