ปัญหาคอร์รัปชันกลายเป็นปัญาระดับโลกที่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจและการลงทุนระหว่างประเทศ การรวมตัวกันของหน่วยงานต่อต้านคอร์รัปชันผ่าน ASEAN-PAC มีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามทุจริต
ธรรมาภิบาล เป็นแนวคิดสำคัญในการบริหารจัดการที่ต้องเน้นความโปร่งใส ความเป็นธรรม และการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและลดการทุจริต แต่ในประเทศไทยการนำนโยบายธรรมาภิบาลไปใช้กลับถูกจำกัดให้อยู่ในกรอบของระบบราชการและข้าราชการเป็นศูนย์กลางของอำนาจ
การนำหลักธรรมาภิบาลมาปรับใช้ในแต่ละภาคส่วน นับเป็นอีกกลไกสำคัญในการเพื่อลดปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน การที่จะทำให้เกิดผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมจำเป็นต้อง ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ในการขับเคลื่อนงานด้านธรรมาภิบาลและต่อต้านคอร์รัปชันให้เกิดขึ้น
วงจรคอร์รัปชัน ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงในภาครัฐแต่เกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนในสังคม โดยเฉพาะภาคเอกชนซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกมิติตั้งแต่สถานการณ์ ปัญหา สาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางแก้ไขคอร์รัปชันจึงยึดโยงกับเอกชนและส่งต่อผลกระทบไปยังระบบเศรษฐกิจของสังคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
การทุจริตคอร์รัปชันในปัจจุบันมีความซับซ้อนและส่งผลกระทบเสียหายรุนแรง แนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องอาศัยการการส่วนร่วมของทุกประเทศทั่วโลก ทั้งองค์กรระหว่างประเทศ และประชาชนทั้งในระดับนานาชาติ และในประเทศ
ป.ป.ช. ออกประกาศฉบับใหม่ เพิ่ม 16 ตำแหน่งเจ้าพนักงานรัฐ ระดับผู้ช่วยเลขาธิการและผู้อำนวยการ ต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินเพิ่มเติม มีผลบังคับใช้ใน 60 วัน หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา
การฟ้องปิดปาก หรือ SLAPP ถูกนำมาเป็นเครื่องมือขัดขวางการตรวจสอบหรือ ปกป้องประโยชน์สาธารณะ ขณะที่ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายให้ความช่วยเหลือผู้ที่ถูกดำเนินคดีจากการฟ้องปิดปาก ดังนั้น การเร่งออกกฎหมายป้องกันการฟ้องคดีปิดปากจึงเป็นอีกกลไกสำคัญสู่การตรวจสอบและป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน
“ผมเชื่อมั่นครับ ว่าภายใต้รัฐบาลนี้ ปัญหาคอร์รัปชันจะลดลง ความโปร่งใสและเป็นธรรมจะเพิ่มมากขึ้น และตามมาด้วยความน่าเชื่อถือ การยอมรับจากประชาชนและนักลงทุนทั่วโลก ซึ่งจะส่งผลกระทบในทางที่ดีต่อเศรษฐกิจ และความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนทุกคน”
คำแถลงนโยบายรัฐบาลของนาวสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีความคล้ายกับของนายเศรษฐา ทวีสิน ในหลาย ๆ นโยบาย และที่คล้ายกันอย่างน่าประหลาดใจคือ ทั้งสองรัฐบาลไม่มีการระบุเกี่ยวกับนโยบายการปราบปรามการทุจริต ราวกับว่าสังคมไทยไม่มีปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันและไม่ใช่เรื่องของรัฐบาล