“หนี้” เป็นเครื่องมือที่ช่วยจัดสรรทรัพยากรระหว่างปัจจุบันและอนาคต ทำให้เรามีทรัพยากรที่สมดุลระหว่างเวลามากขึ้น แต่หากสร้างหนี้มากเกินไปก็จะนำไปสู่ “ปัญหาหนี้” ที่จะส่งผลให้คนหรือสังคมมีความเป็นอยู่ที่แย่ลงในระยะยาว
ผู้ว่าธปท.มองปัญหาหนี้ของประเทศรุนแรงขึ้น เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศ การแก้ปัญหาต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย และต้องขจัดอคติเพื่อหาทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน วิจารณ์นโยบายรัฐบาลที่ผ่าน ๆ มา มุ่งเน้นเห็นผลระยะสั้น ไม่คำนึงผลระยะยาว เป็นตัวซ้ำเติมวิกฤติหนี้ยืดเยื้อและแก้ไขยากขึ้นในอนาคต
รัฐบาลเตรียมร่างกฎหมาย พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันฉบับใหม่ เพื่อให้มีอำนาจครอบคลุมมากขึ้น ซึ่งกำลังเปิดรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย นักวิชาการทีดีอาร์ไอ แนะใช้กองทุนฯลดความผันผวนน้ำมัน อย่าใช้เพียงเอาใจประชาชน แก้โครงสร้างเก็บภาษีน้ำมันที่ซ้ำซ้อน และเลิกอิงราคาน้ำมันจากสิงคโปร์ ควบคุมโรงกลั่นขายน้ำมันถูกในประเทศ
สศช.เผยฐานะการคลังไทยครึ่งปีงบประมาณ 67 รัฐเก็บรายได้ต่ำกว่าเป้าหมาย 2.3% เหตุมาตรการลดภาษีน้ำมัน แต่ยังกู้เงินมากขึ้น หนุนหนี้สาธารณะเพิ่มขึ้น 63.4% ขยับใกล้กรอบเพดาน
บอร์ดกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง มีมติขึ้นราคาดีเซล 50 สต./ลิตร หลังหมดมาตรการลดภาษี เตรียมจ่อขึ้นแบบขั้นบันได เหตุกองทุนแบกหนี้จำนวนมาก นักวิชาการทีดีอาร์ไอเห็นด้วย เชื่อไม่กระทบภาระประชาชนมากนัก ชี้กองทุนฯยิ่งก่อหนี้มากก็ยิ่งเป็นภาระคนไทยในอนาคต พร้อมแนะ 3 ข้อแผนบริหารราคาน้ำมันในระยะยาว
ครม.เห็นชอบแก้ไขมติ ครม.ในอดีตเมื่อ 16 ม.ค. 2550 เรื่องแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร โดยเพิ่มเงื่อนไขการชะลอฟ้องร้อง บังคับคดี และขายทอดทรัพย์สินของลูกหนี้เกษตรกร เพื่อไม่ให้กระทบฐานะทางการเงิน ธ.ก.ส.
หากพูดถึงนโยบายที่เหล่าพรรคการเมืองให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้น “นโยบายช่วยเหลือเกษตรกร” เพราะนโยบายดังกล่าวถือเป็นนโยบายที่มีเกษตรกรเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) กว่า 8,805,275 คน
นโยบายแจกเงินดิจิทัลวอลเล็ต 10,000 บาท ยังมีข้อถกเถียงในหลายประเด็นถึงเหตุผลและความจำเป็น แต่เบื้องหลังข้อถกเถียงต่อนโยบายแจกเงินดิจิทัลในครั้งนี้ คือ ฐานคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลย้ำว่าเศรษฐกิจ "วิกฤต" จำเป็นต้องมีการกระตุ้น ในขณะที่ฝ่ายค้านอย่างพรรคก้าวไกลมองว่ายังไม่ถึงขั้นวิกฤต
เมื่อวันที่ 10 พ.ย. 2566 ที่ทำเนียบรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง แถลงความคืบหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต หลังจากมีความล่าช้าจากที่คาดการณ์ไว้และเกิดกระแสวิจารณ์อย่างกว้างขวาง ซึ่งเป็นการแถลงในรายละเอียดครั้งแรกของนายเศรษฐาและยืนยันว่ารัฐบาลจะดำเนินการนโยบายนี้เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ
รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2566 มีทั้งกรอบนโยบายระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ที่มุ่งเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายสำคัญ และนโยบายภาคเกษตร นับว่าเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล เช่นเดียวกับรัฐบาลชุดก่อน ๆ
“มาตรการพักหนี้เกษตรกร” นับว่าเป็นมาตรการ”การเมือง” ที่ทุกรัฐบาลต้องออกมาเพื่อช่วยเหลือหนี้สินภาคเกษตร แต่ที่ผ่านมามักจะไม่มีการประเมินผลว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ และแทบจะไม่มีใครท้วงติงว่าเป็นมาตรการสำเร็จ หรือ ล้มเหลว