ThaiPBS Logo

แก้หนี้นอกระบบ

รัฐบาลประกาศปัญหาหนี้นอกระบบเป็น ‘วาระแห่งชาติ’ เนื่องจากเป็นปัญหาที่กัดกร่อนสังคมไทยและเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาอื่น ๆ ในสังคมตามมา นโยบายแก้ปัญหาหนี้นอกระบบจึงเป็นหนึ่งในนโยบายที่คาดว่าจะช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจในหลายภาคส่วนของรัฐบาลชุดนี้

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ดำเนินงาน

เปิดให้ลงทะเบียน 1 ธ.ค. วันแรก ทั้งช่องทางออนไลน์และที่ว่าการอำเภอทั่วประเทศ

ตรวจสอบ

49 วัน (18 ม.ค.) มีผู้ลงทะเบียนหนี้นอกระบบ 131,167 ราย มูลหนี้รวม 8,564.376 ล้านบาท

ประเมินผล

มีประชาชนมาลงทะเบียนกับมหาดไทย 153,400 ราย ไกล่เกลี่ยแล้ว 45,891 ราย และไกล่เกลี่ยสำเร็จ 26,756 ราย มูลหนี้ลดลง 1,049.11 ล้านบาท จากมูลหนี้ราว 5 หมื่นล้านบาท

อ่านเพิ่มเติม

หนี้นอกระบบ คือ การกู้ยืมเงินที่ไม่ผ่านระบบสถาบันการเงินหรือไม่ผ่านผู้ให้กู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินกู้ตามกฎหมาย จึงไม่อยู่ภายใต้การกำกับของหน่วยงานภาครัฐ ก่อให้เกิดความเสี่ยงตามมา เช่น สัญญาที่คลุมเครือและไม่เป็นธรรม อัตราดอกเบี้ยที่สูงเกินกฎหมายกำหนด การใช้ความรุนแรงในการทวงหนี้ และการติดอยู่ในวงจรกับดักจากการกู้ที่อื่นมาเพื่อโปะหนี้ไม่รู้จบ แม้จะมีความเสี่ยง แต่หลายครัวเรือนก็ยังเลือกการกู้เงินนอกระบบ เนื่องจากเป็นทางออกเดียวในการเข้าถึงเงินกู้อย่างเร่งด่วนได้

งานวิจัยเรื่อง Informal Loans in Thailand: Stylized Facts and Empirical Analysis ของ Pim Pinitjitsamut และ Wisarut Suwanprasert ซึ่งทำการเก็บข้อมูลในปี 2557 จากกลุ่มตัวอย่าง 4,628 ราย พบว่า 42.3% (1,957 ราย) มีหนี้นอกระบบ และมีหนี้นอกระบบโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 54,300 บาทต่อคน โดยมีสาเหตุการกู้เงินโดยรวมแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ ค่าใช้จ่ายจำเป็น เช่น ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ค่ารักษาพยาบาล และค่าเล่าเรียน (46.8%) การลงทุนในการประกอบอาชีพ (41.5%) การใช้คืนหนี้เก่าทั้งในและนอกระบบ (9.4%) และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ไม่จำเป็น (2.3%)

ปัญหาของหนี้นอกระบบ

  • มูลค่าหนี้นอกระบบรวมทั้งประเทศอย่างน้อย 5 หมื่นล้านบาท
  • เป็นปัญหาต่อเนื่อง ลูกหนี้ใช้เท่าไหร่ก็ไม่หมด ปิดโอกาสในการต่อยอด
  • ปิดกั้นการเติบโตและส่งผลกระทบต่อทุกคนในระบบเศรษฐกิจ 

นโยบายของรัฐบาลในการแก้ปัญหา

  • การไกล่เกลี่ย โดยกระทรวงมหาดไทยและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
    • ทำงานร่วมกันแต่ไม่ทับซ้อน มีการถ่วงดุลกัน และจะจัดทำฐานข้อมูลกลาง
    • กระทรวงมหาดไทย
      • ลงทะเบียนลูกหนี้นอกระบบ ตามสถานที่ที่กำหนด เว็บไซต์ และทางโทรศัพท์ ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2566 เป็นต้นไป
      • สำรวจ – สอบถามลูกหนี้ที่ยังไม่ไปขึ้นทะเบียนบ้าง เพื่อนำมาแก้ไขปัญหา
    • สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
      • ดำเนินการทางกฎหมาย 
      • ขึ้นบัญชีผู้ประกอบการนอกระบบ
  • การปรับโครงสร้างหนี้ (หลังการไกล่เกลี่ย) โดยกระทรวงการคลัง
    • ธนาคารออมสิน 
      • แก้ไขหนี้นอกระบบ กู้ไม่เกิน 50,000 บาท ระยะเวลา 5 ปี อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.75 ต่อเดือน
      • สินเชื่อเพื่อผู้ประกอบอาชีพอิสระรายย่อย กู้ไม่เกิน 100,000 บาท ระยะเวลา 8 ปี อัตราดอกเบี้ยตามความสามารถลูกหนี้
    • ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
      • สินทรัพย์ – จำนอง/ค้ำประกัน วงเงินสำหรับเกษตรกร ไม่เกิน 2.5 ล้านบาท 
    • เจ้าหนี้สามารถลงทะเบียนขออนุญาตแบบพิโกไฟแนนซ์ (ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยระดับจังหวัดภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง) เพื่อให้ดำเนินการให้ถูกกฎหมายได้

การลงทะเบียน

เปิดลงทะเบียนวันแรกในวันที่ 1 ธ.ค. 2566 สามารถลงทะเบียนได้ที่

  • แอปพลิเคชัน ThaID “ไทยดี” หรือสแกน QR code
  • เว็บไซต์ https://debt.dopa.go.th
  • ศาลากลางจังหวัด ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอ
  • สำนักงานเขตทุกแห่ง
  • สายด่วนศูนย์ดำรงธรรม 1567 เป็นสายด่วนแก้หนี้นอกระบบสำหรับประชาชน

ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2566 – 8 ธ.ค. 2566 มีลูกหนี้ที่มาลงทะเบียนแล้วกว่า 71,000 คน รวมยอดมูลหนี้นอกระบบกว่า 3,500 ล้านบาท

 

แหล่งอ้างอิง

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • นายกฯ แถลงผลสำเร็จการแก้ไขหนี้ทั้งระบบคืบหน้า ไกล่เกลี่ยสำเร็จกว่า 57% มูลหนี้ลดลงกว่า 670 ล้านบาท  ดูเพิ่มเติม ›

    12 ก.พ. 2567

  • กระทรวงมหาดไทยรานงานลงทะเบียนหนี้นอกระบบ มีมูลหนี้รวม 8,564.376 ล้านบาท ประชาชนลงทะเบียนแล้ว 131,167 ราย

    18 ม.ค. 2567

  • สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เผยยอดลงทะเบียนหนี้นอกระบบ 30 วัน 113,859 ราย มูลหนี้ 7,350 ล้านบาท ไกล่เกลี่ยสำเร็จแล้ว 933 ราย

    31 ธ.ค. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง ลงพื้นที่ติดตามการแก้หนี้นอกระบบในพื้นที่ จ.น่าน

    23 ธ.ค. 2566

  • กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย รายงานรวม 16 วัน ประชาชนลงทะเบียนแล้ว 97,803 ราย มูลหนี้ 5,799.346 ล้านบาท และเจ้าหนี้ 68,546 ราย

    16 ธ.ค. 2566

  • นายกฯ มอบนโยบายแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ กับผู้ว่าฯ นายอำเภอ ผู้กำกับฯ ทั่วประเทศ ย้ำเป็นภารกิจที่ยาก

    8 ธ.ค. 2566

  • เปิดให้ประชาชนที่เดือดร้อนจากหนี้นอกระบบ ลงทะเบียนเป็นวันแรก

    1 ธ.ค. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง แถลงวาระแห่งชาติ “การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ”

    28 พ.ย. 2566

  • สุทธิพงษ์ จุลเจริญ ปลัดมท. เผยว่านายกฯสั่งจัดระเบียบสังคมและปราบปรามผู้มีอิทธิพล โดยเฉพาะปัญหาหนี้นอกระบบ

    23 พ.ย. 2566

  • อนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกฯ และรมว.มท. กล่าวว่ามอบหมายให้นายอำเภอ ผู้กำกับการแต่ละโรงพัก เป็นผู้ประสานงานแก้ไขปัญหาหนี้

    20 พ.ย. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับการแก้ไขหนี้สินของประชาชนรายย่อย

    6 พ.ย. 2566

  • พรรคเพื่อไทยแถลงถึงนโยบายแก้หนี้ที่ต้องแก้ไขเร่งด่วน 4 กอง หนึ่งในนั้นคือหนี้นอกระบบ

    14 มี.ค. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

วาระแห่งชาติ "แก้ไขหนี้นอกระบบ"
บูรณาการความร่วมมือของทุกภาคส่วนประกาศวาระแห่งชาติ ขับเคลื่อน “การแก้ไขปัญหาหนี้นอกระบบ” ให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างจริงจัง
วันที่: 28 พ.ย. 2566ที่มา: ทำเนียบรัฐบาล

เชิงกระบวนการ

ร่วมมือทุกภาคส่วนและเปิดลงทะเบียน
ภาครัฐจะรับบทบาทเป็นตัวกลางสำคัญในการไกล่เกลี่ยพร้อมกันทั้งหมด ดูแลทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างเป็นธรรม

เชิงการเมือง

แก้ปัญหาหนี้นอกระบบ
นโยบายแก้ปัญหานี้มีมานานหลายรัฐบาล แม้จะประกาศเป็นนโยบายแห่งชาติ แต่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาได้

บทความ/บทวิเคราะห์