ThaiPBS Logo

พักหนี้เกษตรกร

นโยบายพักหนี้เกษตรกร เป็นหนึ่งในมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะเร่งด่วน โดยกลุ่มเป้าหมายเป็นลูกหนี้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ที่มีสถานะเป็นหนี้ปกติและหนี้ค้างชำระที่มี ต้นเงินคงเป็นหนี้ทุกสัญญารวมกัน ณ 30 ก.ย. 2566 ไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งมีเกษตรกรที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าว จำนวนกว่า 2.69 ล้านราย

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ดำเนินงาน

1 ต.ค.66-31 ม.ค. 67 เกษตรกรแจ้งความจำนง แสดงความประสงค์เข้าร่วมมาตรการผ่านแอปพลิเคชัน หรือขอคำแนะนำที่ ธ.ก.ส.ทุกสาขา เพื่อทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญาเงินกู้

ตรวจสอบ

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

ความคืบหน้า

  • 18 ธ.ค. 2566 มาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อย ตามนโยบายรัฐบาล สำหรับลูกหนี้ที่มีหนี้ไม่เกิน 300,000 บาท โดยมีลูกค้าที่มีสิทธิ์เข้าร่วมโครงการ 2,101,784 ราย แจ้งความประสงค์เข้าร่วมโครงการแล้ว 1,679,033 ราย ประมาณ 80% รวมจำนวนต้นเงินที่พักชำระหนี้ 236,136 ล้านบาท
  • มาตรการหมดเขต 31 ม.ค. 2567

รัฐบาลมีนโยบายพักชำระหนี้ลูกหนี้รายย่อย ทั้งต้นเงินและดอกเบี้ย เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระหนี้สินและสนับสนุนการฟื้นตัวของเกษตรกรหลังภาวะวิกฤต COVID-19 และเศรษฐกิจชะลอตัว โดยในวันที่ 26 กันยายน 2566 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ ธ.ก.ส. ดำเนินมาตรการพักชำระหนี้ให้กับเกษตรกรและบุคคลที่มีสถานะเป็นหนี้ปกติและหนี้ค้างชำระที่มี ต้นเงินคงเป็นหนี้ทุกสัญญารวมกัน ณ 30 ก.ย. 2566 ไม่เกิน 300,000 บาท

เกษตรกรยื่นความประสงค์

เกษตรกรแจ้งความจำนง แสดงความประสงค์เข้าร่วมมาตรการผ่านแอปพลิเคชัน หรือ ขอคำแนะนำที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา เพื่อทำข้อตกลงต่อท้ายสัญญาเงินกู้ ในวันที่ 1 ต.ค.2566 – 31 ม.ค. 2567

เงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการ

  • เป็นลูกหนี้รายคน (เกษตรกรและบุคคล)
  • มีเงินต้นเป็นหนี้คงเหลือทุกสัญญารวมกัน ณ วันที่ 30 ก.ย. 2566 ไม่เกิน 300,000 บาท
  • มีสถานะเป็นหนี้ปกติและหนี้ค้างชำระ (หนี้ค้างชำระ 0-3 เดือน และ หนี้ NPL)

 เกษตรกรที่เข้าเกณฑ์

  • 2.69 ล้านราย คิดเป็น 70% ของลูกหนี้ ธ.ก.ส. คิดเป็นมูลหนี้รวมประมาณ 280,000 ล้านบาท
  • เข้าร่วมโดยสมัครใจ
  • ต้องประเมินศักยภาพและความสามารถในการชำระหนี้ (มีการประเมินทุกปี ตลอดระยะเวลามาตรการ 3 ปี)

ผู้เข้าร่วมมาตรการที่ประสงค์ชำระดอกเบี้ยค้างเดิมที่เกิดขึ้นก่อนเข้าร่วมมาตรการ ถ้าเป็นหนี้ปกติ ธ.ก.ส. จะเปลี่ยนลำดับการตัดชำระหนี้ต้นเงินและดอกเบี้ยในอัตราส่วน 50:50 ของเงินที่นำมาชำระในแต่ละคราว และกรณีเป็นหนี้ค้างชำระ (NPL) ธนาคารจะจัดสรรชำระต้นเงินให้ทั้งจำนวนที่ลูกค้าส่งชำระในแต่ละคราว รวมทั้งสามารถเข้าร่วมมาตรการจูงใจตามโครงการชำระดีมีโชคของ ธ.ก.ส. ได้

ทั้งนี้ การแสดงความประสงค์เข้าร่วมมาตรการพักชำระหนี้ จะต้องเป็นไปตามความสมัครใจของลูกหนี้ โดยแจ้งความประสงค์ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2566 จนถึง 31 ม.ค. 2567 รวม 4 เดือน

สำหรับลูกหนี้ที่ประสงค์จะออกจากการเข้าร่วมมาตรการจะต้องแจ้งความประสงค์ต่อ ธ.ก.ส. และต้องเป็นลูกหนี้ที่เข้าร่วมมาตรการมาแล้วอย่างน้อย 1 ปี ได้แก่ กรณีลูกหนี้ต้องการขอสินเชื่อใหม่เพื่อดำเนินธุรกิจกับธนาคาร ซึ่งต้องสละสิทธิ์การเข้าร่วมมาตรการก่อนการยื่นขอสินเชื่อ และกรณีลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขของมาตรการ เช่น การไม่เข้าร่วมการประเมินศักยภาพและความสามารถในการชำระหนี้ประจำปี หรือไม่เข้าร่วมการอบรมและฟื้นฟูการประกอบอาชีพที่ ธ.ก.ส. กำหนด หรือก่อภาระหนี้เพิ่มขึ้นกับสถาบันการเงินอื่นระหว่างเข้าร่วมมาตรการ ธ.ก.ส. จะพิจารณาให้ออกจากมาตรการดังกล่าว

นอกจากการพักชำระหนี้ลูกหนี้รายย่อย รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับภารกิจในการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนลดภาระหนี้สินเกษตรกรรายย่อยและเพิ่มรายได้เกษตรกร โดยในระหว่างการพักชำระหนี้ ธ.ก.ส. ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาอาชีพ ทั้งอาชีพเดิม อาชีพเสริม และอาชีพใหม่ ภายใต้แนวทาง “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ใหม่” โดยร่วมมือกับส่วนงานภายนอกทั้งภาครัฐ เอกชน สถาบันการศึกษา เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้เพิ่มมูลค่าผลผลิต การลดต้นทุน การปรับปรุงพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ไปสู่ตลาดที่มีกำลังซื้อสูง เพื่อสร้างรายได้ เป้าหมายเกษตรกร 300,000 คนต่อปี

เช่น การส่งเสริมการปลูกผักระยะสั้น อาทิ การปลูกผักบนแคร่ของชุมชนห้วยเสือเต้น จังหวัดขอนแก่น และการปลูกผักสลัดและมะเขือเทศทานสดของฟาร์มศุข จังหวัดศรีสะเกษ ที่ส่งจำหน่ายไปยังโรงแรมหรือโรงพยาบาลในพื้นที่จังหวัด เพื่อเป็นการส่งเสริมการบริโภคท้องถิ่น

ธ.ก.ส. ยังเตรียมสินเชื่อที่เหมาะสมในการฟื้นฟูการประกอบอาชีพ ในการจัดหาปัจจัยการผลิต วงเงินสูงสุด ไม่เกิน 100,000 บาท เพื่อให้เกษตรกรสามารถยืนได้อย่างมั่นคง หลังจากการพักชำระหนี้

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • แถลงผลงานครบรอบ 60 วัน รัฐบาลระบุมีจำนวนเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 700,000 ราย   ดูเพิ่มเติม ›

    9 พ.ย. 2566

  • เกษตรกรแสดงความประสงค์เข้าร่วมมาตรการ โดยทุกรายจะมีผลในสัญญาพร้อมกันในวันที่ 1 ต.ค. 2566

    1 ต.ค. 2566 - 31 ม.ค. 2567

  • คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบมาตรการพักชำระหนี้ให้กับลูกหนี้รายย่อยตามนโยบายรัฐบาลระยะที่ 1

    26 ก.ย. 2566

  • ธ.ก.ส. ประกาศให้เกษตรกรแสดงความประสงค์เข้าร่วมมาตรการผ่านแอปพลิเคชัน หรือ ขอคำแนะนำที่ ธ.ก.ส.ทุกสาขา

    26 ก.ย. 2566

  • รัฐบาลแถลงนโยบายต่อรัฐสภา หนึ่งในมาตรการเร่งด่วน คือ พักชำระหนี้กษตรกร

    11 ก.ย. 2566

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ลูกหนี้รายย่อยที่เป็นเกษตรกร
2.69 ล้านราย คิดเป็น 70% ของลูกหนี้รายย่อยธ.ก.ส. รายละไม่เกิน 300,000 บาท มูลหนี้รวมประมาณ 280,000 ล้านบาท

เชิงกระบวนการ

เปิดเข้าร่วมโดยสมัครใจ
สมัครใจเข้าร่วมโครงการ โดยมีการประเมินทุกปี และมีการฝึกอบรมเพิ่มทักษะหารายได้เพิ่ม

เชิงการเมือง

แก้ปัญหาหนี้เกษตรกร
เป้าหมายแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรรายย่อย โดยตั้งเป้าหมายจะมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นหลังเสร็จสิ้นโครงการ

บทความ/บทวิเคราะห์

ดูทั้งหมด
เคาะเพิ่มเงื่อนไขชะลอฟ้อง-บังคับคดี-ขายทอดทรัพย์สิน ลูกหนี้เกษตรกร

เคาะเพิ่มเงื่อนไขชะลอฟ้อง-บังคับคดี-ขายทอดทรัพย์สิน ลูกหนี้เกษตรกร

ครม.เห็นชอบแก้ไขมติ ครม.ในอดีตเมื่อ 16 ม.ค. 2550 เรื่องแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร โดยเพิ่มเงื่อนไขการชะลอฟ้องร้อง บังคับคดี และขายทอดทรัพย์สินของลูกหนี้เกษตรกร เพื่อไม่ให้กระทบฐานะทางการเงิน ธ.ก.ส.
เกษตรกรไทยติดกับดักรายได้ต่ำ ไร้เสน่ห์ดึงดูดแรงงานรุ่นใหม่

เกษตรกรไทยติดกับดักรายได้ต่ำ ไร้เสน่ห์ดึงดูดแรงงานรุ่นใหม่

เกษตรกรไทยกำลังติดหล่มการพัฒนา ทำให้มีรายได้และกำไรไม่เพียงพอเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยภาคเกษตรต่ำกว่านอกภาคการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังมีสิ่งชักจูงให้คนรุ่นใหม่ต่างละทิ้งงานภาคเกษตร ท่ามกลางแรงงานเกษตรในปัจจุบันที่มีอายุเฉลี่ยสูงและใกล้ออกจากตลาดแรงงานมากขึ้น
แก้หนี้ทั้งระบบ ไม่มีอะไรใหม่

แก้หนี้ทั้งระบบ ไม่มีอะไรใหม่

การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2566 แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามรณรงค์ว่าเป็นมาตรการ "แก้หนี้ทั้งระบบ" แต่หากใครที่ติดตามมาตรการแก้ปัญหาของรัฐบาลก่อนหน้านี้ ก็จะพบว่าแทบไม่มีอะไรใหม่ เพราะล้วนแต่เป็นมาตรการเดิม ๆ บางมาตรการเป็นเรื่องที่หน่วยงานรัฐดำเนินการอยู่แล้ว