ThaiPBS Logo

การเกษตร การเกษตร

นโยบายภาคการเกษตรที่สำคัญของรัฐบาล ภายใต้หลักการ "ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้" โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายว่าเกษตรกรทั้งประเทศจะมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญใน 4 ปี โดยมาตรการที่เป็นรูปธรรมที่ประกาศในนโยบายของรัฐบาลเป็นมาตรการด้านด้านเงิน "พักหนี้เกษตรกร" และ การจักสรรที่ดินทำกินให้กับเกษตรกร

อ่านเพิ่มเติม

ตามนโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภา ยังมุ่งเน้นไปที่การลดภาระและเพิ่มรายได้ของเกษตรกรเป็นสำคัญ รวมทั้งเรื่องที่ดินทำกินของเกษตรกรในพื้นที่สำนักงานปฏิรูปที่ดิน(สปก.) และที่ดินในการดูแลของกระทรวงกลาโหม

เกษตรกรมีหนี้สูง

ระบบเศรษฐกิจคือภาคการเกษตร ประชากรจำนวนไม่น้อยของประเทศไทยกว่า 10 ล้านคน หรือราว 1 ใน 3 ของก าลังแรงงาน อยู่ในภาคนี้ที่ทำงานหนักเพื่อเลี้ยงชีพ แต่กลับสะท้อนออกมาเป็นมูลค่าเพียงร้อยละ 7 ต่อ GDP ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่ารูปแบบการทำการเกษตรที่ยังคงพึ่งพาวัฏจักรธรรมชาติและมีประสิทธิภาพของผลผลิตต่ำแต่ค่าใช้จ่ายในการผลิตมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้เกษตรกรไทยมีหนี้สินเฉลี่ยครัวเรือนละกว่า 3 แสนบาท

นโยบายเร่งด่วนพักหนี้ 3 ปี

นโยบายแรก คือ การแก้ปัญหาหนี้สินทั้งในภาคเกษตร ภาคธุรกิจ และภาคประชาชน รัฐบาลจะลดภาระพี่น้องเกษตรกรด้วยการพักหนี้เกษตรกรตามเงื่อนไขและคุณสมบัติที่เหมาะสม รวมถึงมาตรการช่วยประคองภาระหนี้สินและต้นทุนทางการเงินสำหรับภาคประชาชนที่ครอบคลุมถึงผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ให้ได้มีโอกาสในการฟื้นตัวและกลับมาดำเนินธุรกิจได้อีกครั้ง นอกจากนี้รัฐบาลจะมีมาตรการ ในการแก้ไขปัญหาหนี้สินของกลุ่มอื่น ๆ ภายใต้ปรัชญาที่จะไม่ขัดต่อวินัยทางการเงินและไม่ทำให้เกิดภาวะภัยทางจริยธรรม (Moral Hazard) ของผู้มีภาระหนี้สิน

ตลาดนำ-นวัตกรรมเสริม-เพิ่มรายได้

สำหรับประชาชนในภาคการเกษตร รัฐบาลจะสร้างรายได้ในภาคการเกษตรโดยใช้หลักการ ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้ โดยการสนับสนุนการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพของภาคการเกษตรควบคู่ไปด้วยกัน จะมีการบูรณาการองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการน้ำให้มีประสิทธิภาพเพื่อตอบสนองต่อความต้องการน้ำในแต่ละพื้นที่ ใช้การบริหารจัดการแปลงเกษตร

ด้วยนวัตกรรมเกษตรแม่นยำ (Precision Farming) การวิจัย พัฒนาพันธุ์ เพื่อเพิ่มผลผลิตและเพิ่มมูลค่าผลตอบแทนต่อไร่ให้สูงขึ้น ตลอดจนการหาตลาดให้สินค้าเกษตรได้ขายในราคาที่เหมาะสม สนับสนุนให้เปลี่ยนแปลงการปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติและเศรษฐกิจ และการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น

นอกจากนี้ รัฐบาลจะฟื้นชีวิตอุตสาหกรรมประมงให้กลับมาเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประชาชนอีกครั้งด้วยการแก้ไขข้อกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายให้เหมาะสมอันเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลให้อยู่กับประเทศอย่างยั่งยืน การบริหารจัดการภาคการเกษตรที่ครบถ้วนทุกด้านตั้งแต่ดิน น้ำ พันธุ์พืชพันธุ์สัตว์กลไกราคา แหล่งเงินทุน นวัตกรรม และกรรมสิทธิ์ที่ดินของเกษตรกรผู้ปลูกพืช ผู้เลี้ยงปศุสัตว์ และกลุ่มประมง มีเป้าหมายทำให้รายได้ของเกษตรกรทั้งประเทศเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญภายในระยะเวลา 4 ปี

ใช้ประโยชน์ที่ดินกองทัพ

ภายใต้นโยบาย “พัฒนาร่วมกับกองทัพ” รัฐบาลจะนำพื้นที่ของหน่วยทหารที่เกินความจำเป็นมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อประชาชน โดยเฉพาะการใช้เพื่อการเกษตร การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค การเพิ่มพูนความสมบูรณ์ของระบบนิเวศ และการใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อสนับสนุนการสร้างรายได้การสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจและการสร้างความเข้มแข็งด้านสังคมของประเทศ

นโยบายภาคการเมือง

นโยบายป่าไม้แห่งชาติ

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

พื้นที่ป่า
อย่างน้อยในอัตราร้อยละ 40 ของพื้นที่ประเทศ แบ่งเป็น ป่าอนุรักษ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ประเทศ ป่าเศรษฐกิจและป่าชุมชนไม่น้อยกว่าร้อยละ 15
การอนุรักษ์และใช้ประโยชน์
เพื่อให้ประเทศไทยมีพื้นที่ป่าไม้ที่เหมาะสมกับความสมดุลของระบบนิเวศและการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
การมีส่วนร่วม
บริหารจัดการทรัพยากรป่าไม้มีประสิทธิภาพบนพื้นฐานองค์ความรู้และนวัตกรรม และกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

ใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ทหาร

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

จัดสรรที่ดินของกองทัพ
นำร่อง 3 จังหวัด คือ อุดรธานี 20,000 ไร่ กาญจนบุรี 3,000 ไร่ และป้อมพระจุลจอมเกล้า 300 ไร่
วันที่: 31 ต.ค. 2566
ขั้นตอนดำเนินการ
กองทัพบกร่วมกับกรมธนารักษ์ สำรวจและทำสัญญา โดยให้ประชาชนทำสัญญาเช่าในราคาถูก
แก้ปัญหาที่ดินทำกินในพื้นที่ทหาร
เป็นเพียงส่วนน้อยจากพื้นที่ของกองทัพที่อยู่ในเป้าหมายจัดสรรที่ดินทำกินให้กับเกษตรกร

แจกโฉนดที่ดิน ส.ป.ก.

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

โฉลดเพื่อการเกษตร
เปลี่ยนที่ดินในพื้นที่ส.ป.ก. เป็นโฉนด สำหรับประชาชนในพื้นที่ เป็นโครงการแจก "โฉนดเพื่อการเกษตร"
กำหนดเกณฑ์ผู้มีสิทธิ
การจัดที่ดินยังคงเป็นไปเพื่อประกอบเกษตรกรรมตามศักยภาพของพื้นที่ โดยสามารถเปลี่ยนมือได้ระหว่างเกษตรกรที่มีคุณสมบัติด้วยกันตามที่กฎหมายกำหนด ต้องปลูกไม้มีค่าในพื้นที่ตามสัดส่วนที่ ส.ป.ก. กำหนด สามารถใช้ค้ำประกันเงินกู้กับสถาบันการเงินได้ทุกแห่ง โดยเฉพาะสถาบันการเงินของรัฐ ต้องถือครอง ส.ป.ก. 4-01 และทำประโยชน์มาไม่น้อยกว่า 5 ปี
แก้ปัญหาไม่มีที่ดินทำกิน
ช่วยแก้ปัญหาเกษตรกรไม่มีที่ดินทำกินและไม่มีเอกสารสิทธิ์ แต่ยังไม่เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลต้องการออกเอกสารสิทธิ์ 50 ล้านไร่

พักหนี้เกษตรกร

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

ลูกหนี้รายย่อยที่เป็นเกษตรกร
2.69 ล้านราย คิดเป็น 70% ของลูกหนี้รายย่อยธ.ก.ส. รายละไม่เกิน 300,000 บาท มูลหนี้รวมประมาณ 280,000 ล้านบาท
เปิดเข้าร่วมโดยสมัครใจ
สมัครใจเข้าร่วมโครงการ โดยมีการประเมินทุกปี และมีการฝึกอบรมเพิ่มทักษะหารายได้เพิ่ม
แก้ปัญหาหนี้เกษตรกร
เป้าหมายแก้ปัญหาหนี้สินของเกษตรกรรายย่อย โดยตั้งเป้าหมายจะมีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้นหลังเสร็จสิ้นโครงการ

แก้กฎหมายประมง

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

ฟื้นฟูอุตสาหกรรมประมง
เพื่อแก้ปัญหาข้อกฎหมายในอุตสาหกรรมการประมง ที่ออกมาควบคุมการทำประมงของไทยจากรัฐบาลก่อน
ออกฎหมายการประมงฉบับใหม่
ร่างกฎหมายและเสนอครม. จากนั้นจะเสนอสภาผู้แทนราษฎร เพื่อผ่านร่างกฎหมาย
ปัญหาอุตสาหกรรมประมง
ยังมีข้อขัดแย้งต่อการทำประมงไทย ทั้งการใช้แรงงานและการจับปลาผิดกฎหมาย

บทความ

ดูทั้งหมด
เตือนไทยแล้วหลายครั้ง แก้กฎหมายประมง เสี่ยงระเมิด IUU

เตือนไทยแล้วหลายครั้ง แก้กฎหมายประมง เสี่ยงระเมิด IUU

คณะกรรมาธิการยุโรปแจงสภา เตือนไทยหลายครั้งประเด็นแก้กฎหมายประมง กระทบต่อความพยายามในการปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมาย ขู่การผ่อนปรน IUU ไม่อาจยอมรับได้ อาจกระทบเจรจา FTA

ชาวนาทุกข์ซ้ำซาก “ข้าวราคาตก“ ต้องแก้มากกว่าอัดฉีดเงิน

ชาวนาทุกข์ซ้ำซาก “ข้าวราคาตก“ ต้องแก้มากกว่าอัดฉีดเงิน

ข้าวราคาตกต่ำ เป็นปัญหาที่ยากควบคุม เนื่องจากผลิตล้นตลาดและเป็นไปตามกลไกตลาดโลก แต่ผลกระทบกับชาวนาสามารถแก้ไขได้ หากมีมาตรการแก้ปัญหาภาคเกษตรอย่างจริงจัง รัฐบาลต้องจริงจังและมีมาตรการระยะยาวแก้ปัญหาภาคเกษตร ไม่ควรแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเป็นครั้งคราว

ILO จี้ไทยส่งรายงาน คุ้มครองแรงงานประมง

ILO จี้ไทยส่งรายงาน คุ้มครองแรงงานประมง

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) แสดงความกังวลต่อรัฐบาลไทยกรณีที่กระทรวงแรงงานไทยขาดส่งรายงานเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานในอุตสาหกรรมประมง ตามข้อกำหนดของอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ ขณะที่ไทยอยู่ระหว่างการแก้กฎหมายประมง ซึ่งมีประเด็นเรื่องการยกเลิกคุ้มครองแรงงานบางมาตรา