ThaiPBS Logo

แก้กฎหมายประมง

รัฐบาลประกาศนโยบาย "จะฟื้นชีวิตอุตสาหกรรมประมงให้กลับมาเป็นแหล่งรายได้ที่สำคัญของประชาชนอีกครั้งด้วยการแก้ไขข้อกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายให้เหมาะสมอันเป็นการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลให้อยู่กับประเทศอย่างยั่งยืน" โดยจะแก้กฎหมายที่รัฐบาลก่อนตกลงไว้กับสหภาพยุโรป (EU)

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

รัฐบาลเตรียมแก้กฎหมายและระเบียบการทำประมง

วางแผน

ครม.อนุมัติร่างแก้ไขพระราชบัญญัติการประมง พ.ศ. 2560 เสนอให้กฤษฎีกาตรวจทาน

ตัดสินใจ

กรรมาธิการอยู่ระหว่างการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขพระราชกำหนดประมง

ดำเนินงาน

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

ความคืบหน้า (24 มิ.ย. 2567)

  • 24 มิ.ย. 67 เวลา 22.00 น. (11.00 น. ตามเวลากรุงวอชิงตัน) กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ได้เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี ค.ศ. 2024 (2024 Trafficking in Persons Report: 2024 TIP Report) ซึ่งเป็นการจัดระดับการดำเนินงานป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก จำนวน 186 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ โดยในปีนี้ประเทศไทยยังคงได้รับการจัดระดับให้อยู่ในระดับ 2 (Tier 2) เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมาติดต่อกันเป็นปีที่ 3

การฟื้นฟูอุตสาหกรรมประมงของพรรคเพื่อไทย นับว่าเป็นพรรคการเมืองเดียวที่มีนโยบายด้านนี้เด่นชัด โดยประกาศว่า พร้อมทวงคืน “เจ้าสมุทร” ให้ประมงไทยกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง ด้วยการแก้กฎหมายในช่วงคสช. ที่ออกกฎหมายตามข้อตกลง IUU

นโยบายประมง ช่วงหาเสียงเลือกตั้ง พรรคเพื่อไทย

  • พรรคเพื่อไทยยังคงเดินหน้าผลักดันการแก้ไขปัญหาการประมงต่อไป จากความสำเร็จก้าวแรกในการเสนอร่าง พ.ร.บ. หากพรรคเพื่อไทยได้รับความสนับสนุนจากพี่น้องประชาชนให้เป็นรัฐบาล เรามีนโยบายที่พร้อมดำเนินการได้ทันที
  • ยกเลิก พ.ร.ก. ที่เป็นผลพวงรัฐประหารทันที และบังคับใช้ พ.ร.ก. ฉบับใหม่ที่ร่วมเขียนโดยพี่น้องชาวประมงตัวจริง เพราะการบังคับใช้กฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ทำให้พี่น้องประชาชนต้องสูญเสียอาชีพ เสียรายได้ เป็นความเสียหายทางเศรษฐกิจหลายแสนล้านบาท
  • เร่งเจรจาข้อตกลง IUU (Illegal, Unreported and Unregulated fishing) ใหม่โดยตรงกับสหภาพยุโรป (EU) เพื่อแก้ไขและปรับปรุงข้อตกลง โดยเคารพบทบัญญัติของกฎหมายทะเลและแผนปฏิบัติการขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) อย่างเป็นธรรมและโปร่งใส หากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาลจากการสนับสนุนของประชาชน เราจะมีความน่าเชื่อถือในเวทีการเมืองโลก ทำให้การเจรจากับต่างชาติไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
  • ปลดล็อกประมงพื้นบ้านขนาดเล็ก ไม่ต้องขออนุญาต ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการขึ้นทะเบียน ให้พี่น้องได้ทำมาหากินอย่างเท่าเทียม จากปัญหาความไม่เป็นธรรมทางกฎหมายที่ผ่านมาทำให้ประมงพื้นบ้านขนาดเล็กเหลืออยู่เพียง 600,000 ครัวเรือน จาก 22 จังหวัดที่มีประมงหล่อเลี้ยงชีวิต พรรคเพื่อไทยจะลดอุปสรรค ช่วยเหลือพี่น้องประชาชนได้ประกอบอาชีพอย่างเท่าเทียมอีกครั้ง
  • ฟื้นฟูเศรษฐกิจประมงและทรัพยากรทางทะเล ด้วยการกำหนดทิศทางพัฒนาการประมงอย่างยั่งยืน คืนโอกาสเรือประมงพาณิชย์ไทยที่หายไปกว่า 52 % และฟื้นศักยภาพทางทะเลไทยที่สูญเสียไป เราจะพัฒนาและอนุรักษ์การประมงไทยให้กลับมามั่นคงในระยะยาว

วันที่ 30 พ.ย. 2566 คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าของคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติตามที่คณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติเสนอ

หลักการและเป้าหมายการทำงานของคณะกรรมการนโยบายฯ ให้เร่งแก้ปัญหาที่สืบเนื่องจากการทำประมงผิดกฎหมายขาดการรายงานและไร้การควบคุม (Illegal, Unreported and Unregulated fishing: IUU)

ขณะนี้สภาผู้แทนราษฎรกำลังอยู่ระหว่างการเสนอขอแก้ไขพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 ซึ่งคณะกรรมการทั้ง 2 คณะ มีหน้าที่ในการสนับสนุนและจะต้องไม่ออกกฎระเบียบที่จะขัดกับการแก้ไขดังกล่าว

ยกเลิกคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ ภายใต้คณะกรรมการนโยบายฯ จำนวน 8 คณะ ดังนี้

  • คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการทำประมงผิดกฎหมาย (คำสั่งที่ 12/2564)
  • คณะอนุกรรมการตรวจสอบและติดตามการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาการทำประมง และแรงงานในภาคประมง (คำสั่งที่ 13/2564)
  • คณะอนุกรรมการกลั่นกรองกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับภาคประมงและแรงงานในภาคประมง (คำสั่งที่ 4/2564)
  • คณะอนุกรรมการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง (คำสั่งที่ 6/2564)
  • คณะอนุกรรมการแก้ไขปัญหาการใช้เครื่องมือประมงผิดกฎหมายในทะเลสาบสงขลา (คำสั่งที่ 7/2564)
  • คณะอนุกรรมการป้องกัน แก้ไขปัญหา และประสานการปฏิบัติกี่ยวกับผลกระทบของการทำประมงต่อสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม (คำสั่งที่ 9/2564)
  • คณะอนุกรรมการวิชาการเพื่อจัดทำข้อมูลสนับสนุนการแก้ไขปัญหาผลกระทบของการทำการประมงต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (คำสั่งที่ 10/2564)
  • คณะกรรมการเฉพาะกิจเจรจาแก้ไขปัญหาผลกระทบของการทำประมงต่อสัตว์ทะเลเลี้ยงลูกด้วยนม (คำสั่งที่ 11/2564)

แต่งตั้งคณะทำงาน 1 คณะ โดยมีปลอดประสพ สุรัสวดี เป็นประธาน เพื่อพิจารณาความจำเป็นที่จะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการใดในการขับเคลื่อนนโยบายเร่งด่วนและนโยบายระยะยาว

ให้กรมประมงไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อดำเนินการตามข้อสั่งการของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 1 ก.ย. 2566 รวม 5 ประเด็น ดังนี้

  • ขอให้ยกเลิกการกำหนดให้เรือประมงติดวิทยุมดขาว2 แทนมดดำ ของกรมเจ้าท่า
  • ขอให้ปรับแก้ประกาศกระทรวงมหาดไทยให้แรงงานต่างด้าวกลุ่มระยะเวลาอยู่อาศัยเกินกำหนดที่ได้รับอนุญาต (over stay) สามารถตรวจอัตลักษณ์และขอหนังสือคนประจำเรือแรงงานต่างด้าว (seabook) ได้
  • เร่งนำเรือออกนอกระบบ จำนวน 1,007 ลำ งบประมาณ 1,806 ล้านบาท (อยู่ในขั้นตอนเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา)
  • ส่งเสริมกองเรือประมงนอกน่านน้ำใหม่
  • ลดโทษปรับให้เหมาะสมกับความเสียหายของความผิดรวมทั้งให้มีคณะทำงานศึกษาและดำเนินการในเรื่องการจัดตั้งระบบ One Stop Service เพื่อความรวดเร็วในการอนุญาตทำการประมง โดยมอบหมายให้ปลอดประสพ สุรัสวดี รับผิดชอบและไปดำเนินการต่อไป

ทบทวนบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายฯให้เหมาะสม โดยจะหารือกับคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมง พ.ศ. 2558 เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของคณะกรรมการนโยบายฯ

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • ที่ประชุมวุฒิสภา มีมติเห็นชอบ ม.69 ไม่อนุญาตให้ใช้อวนล้อมตาถี่จับปลากะตักในเวลากลางคืน ตามมติกรรมาธิการวิสามัญฯเสียงข้างมาก

    25 ก.พ. 2568

  • เพจ Plaplatootoo “ปาป้า-ทูทู่” มาสคอต จ.สมุทรสงคราม โพสต์ให้ข้อมูล พร้อมเรียกร้องการทบทวน พ.ร.ก.การประมง พ.ศ. 2558 ในมาตรา 69 โดยมองว่า เปิดช่องให้มีการใช้ อวนตามุ้ง (อวนตาถี่) ทำลายระบบนิเวศทางทะเล  ดูเพิ่มเติม ›

    17 ม.ค. 2568

  • สภายุโรปยื่นกระทู้ถามกรรมาธิการยุโรป เกี่ยวกับการแก้กฎหมายประมงของไทย เรียกร้องให้ให้แสดงท่าที  ดูเพิ่มเติม ›

    13 ม.ค. 2568

  • ประชุมวุฒิสภาลงมติเห็นด้วย 165 ต่อ 11 งดออกเสียง 7 ไม่ลงคะแนน1 เสียง ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมพระราชกำหนดการประมงปี 2558 โดยตั้งกรรมาธิการวิสามัญขึ้นมาศึกษา 21 คน

    13 ม.ค. 2568

  • สภาฯโหวตเห็นด้วยแก้ไขร่างกฎหมายประมง มาตรา 69 ผ่อนปรนการใช้เครื่องมืออวนล้อมจับที่มีช่องตาอวนเล็กกว่า 2.5 เซนติเมตร

    25 ธ.ค. 2567

  • สหรัฐอเมริกา เผยแพร่รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ประจำปี ค.ศ. 2024 (2024 Trafficking in Persons Report: 2024 TIP Report) จำนวน 186 ประเทศ/เขตเศรษฐกิจ โดยในปีนี้ไทยยังคงได้รับการจัดระดับให้อยู่ในระดับ 2

    24 มิ.ย. 2567

  • ครม.เห็นชอบแต่งตั้งคณะทำงานฝ่ายไทย ของคณะทำงานร่วมระหว่างรัฐบาลไทยและคณะกรรมาธิการยุโรปในการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม (IUU)  ดูเพิ่มเติม ›

    8 พ.ค. 2567

  • สำนักข่าวเทเลกราฟ รายงานว่า ไทยอาจถูกคว่ำบาตรจากสหภาพยุโรป (EU) เนื่องจากความกังวลในร่างกฎหมายประมงฉบับใหม่ที่ผ่อนปรนการทำประมง ซึ่งอาจนำไปสู่การค้าแรงงานมนุษย์ที่รุนแรงมากขึ้น  ดูเพิ่มเติม ›

    20 มี.ค. 2567

  • ครม.อนุมัติร่างกฎกระทรวงการขออนุญาตและการอนุญาตทำการประมงพาณิชย์ พ.ศ. ... โดยยกเลิกฉบับเดิมในปี 2562  ดูเพิ่มเติม ›

    19 มี.ค. 2567

  • ที่ประชุมสภาฯ มีมติเอกฉันท์ 416 เสียง รับหลักการร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.ก.การประมง ที่ ครม.เสนอ และมีร่างกฎหมายในทำนองเดียวกันอีก 7 ฉบับที่ สส.เป็นผู้เสนอ รวม 8 ฉบับ  ดูเพิ่มเติม ›

    22 ก.พ. 2567

  • ครม. อนุมัติร่าง พ.ร.บ.แก้ไข พ.ร.ก.ประมง (เพิ่มเติม) 2560 ส่งให้กฤษฎีกาตรวจทาน โดยเห็นว่าไม่ขัดแย้งกับหลักการของการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing)  ดูเพิ่มเติม ›

    30 ม.ค. 2567

  • ครม. มีมติให้เพิ่มวันในการทำการประมงให้กับเรือประมง 1,200 ลำ   ดูเพิ่มเติม ›

    2 ม.ค. 2567

  • ประชุมคกก.แก้ไขปัญหาประมงทะเล ครั้งที่ 2/2566 อนุมัติเพิ่มวันทำประมง ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน

    18 ธ.ค. 2566

  • คณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทะเล แถลงเตรียมเสนอร่างกฎหมายให้ครม. พิจารณา

    30 พ.ย. 2566

  • ครม. รับทราบความคืบหน้าแก้ปัญหาของคณะกรรมการนโยบายการประมงแห่งชาติ

    28 พ.ย. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ และรมว.คลัง ตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหาการประมงทะเล

    13 ก.ย. 2566

  • แถลงนโยบายต่อรัฐสภา ระบุจ ะฟื้นชีวิตอุตสาหกรรมประมงให้กลับมาเป็นแหล่งรายได้ ด้วยการแก้ไขและบังคับใช้กฎหมายอย่างเหมาะสม  ดูเพิ่มเติม ›

    11 ก.ย. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ฟื้นฟูอุตสาหกรรมประมง
เพื่อแก้ปัญหาข้อกฎหมายในอุตสาหกรรมการประมง ที่ออกมาควบคุมการทำประมงของไทยจากรัฐบาลก่อน

เชิงกระบวนการ

ออกฎหมายการประมงฉบับใหม่
ร่างกฎหมายและเสนอครม. จากนั้นจะเสนอสภาผู้แทนราษฎร เพื่อผ่านร่างกฎหมาย

เชิงการเมือง

ปัญหาอุตสาหกรรมประมง
ยังมีข้อขัดแย้งต่อการทำประมงไทย ทั้งการใช้แรงงานและการจับปลาผิดกฎหมาย

บทความ

ดูทั้งหมด
เตือนไทยแล้วหลายครั้ง แก้กฎหมายประมง เสี่ยงระเมิด IUU

เตือนไทยแล้วหลายครั้ง แก้กฎหมายประมง เสี่ยงระเมิด IUU

คณะกรรมาธิการยุโรปแจงสภา เตือนไทยหลายครั้งประเด็นแก้กฎหมายประมง กระทบต่อความพยายามในการปราบปรามการทำประมงผิดกฎหมาย ขู่การผ่อนปรน IUU ไม่อาจยอมรับได้ อาจกระทบเจรจา FTA

ILO จี้ไทยส่งรายงาน คุ้มครองแรงงานประมง

ILO จี้ไทยส่งรายงาน คุ้มครองแรงงานประมง

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) แสดงความกังวลต่อรัฐบาลไทยกรณีที่กระทรวงแรงงานไทยขาดส่งรายงานเกี่ยวกับการคุ้มครองแรงงานในอุตสาหกรรมประมง ตามข้อกำหนดของอนุสัญญาแรงงานระหว่างประเทศ ขณะที่ไทยอยู่ระหว่างการแก้กฎหมายประมง ซึ่งมีประเด็นเรื่องการยกเลิกคุ้มครองแรงงานบางมาตรา

สภายุโรปชงกมธ.อียู ถกประเด็นไทยแก้กฎหมายประมง

สภายุโรปชงกมธ.อียู ถกประเด็นไทยแก้กฎหมายประมง

รัฐสภายุโรปถกร่างกฎหมายประมงไทย ขอให้กรรมาธิการแสดงท่าทีต่อร่างกฎหมายของไทย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของวุฒิสภา อ้างไทยกำลังถอยหลัง และอาจกระทบเจรจา FTA ระหว่างไทย-อียู

ประมงเสี่ยงเจอ IUU หลังเลิกคุ้มครองแรงงาน-ใช้อวนตาถี่

ประมงเสี่ยงเจอ IUU หลังเลิกคุ้มครองแรงงาน-ใช้อวนตาถี่

ที่ประชุมสภาฯ โหวตผ่านร่างแก้ไข พ.ร.บ.ประมง เสียงข้างมาก 366 เสียง ไร้เสียงคัดค้าน จับตาผลกระทบ FTA หลังยุโรปกังวลขัดหลัก IUU Fishing ด้าน EJF ห่วง 3 ประเด็นสำคัญที่ถูกแก้ไขกฎหมาย อาจสร้างผลกระทบร้ายแรงด้านสิ่งแวดล้อมและสิทธิมนุษยชน

จับตาแก้พ.ร.บ.ประมง กระทบยั่งยืน-ถอยหลังเข้าคลอง

จับตาแก้พ.ร.บ.ประมง กระทบยั่งยืน-ถอยหลังเข้าคลอง

กมธ.ส่งร่างพ.ร.บ.ประมงฉบับใหม่ เข้าสภาฯวันที่ 25 ธ.ค.67 เพื่อลงมติวาระ 2 และ 3 หากผ่านจะเข้าสู่พิจารณา สว. ในขณะที่ กมธ.ผู้แทนประมงพื้นบ้าน โวยโดนลักไก่ ได้รับแจ้งในเวลาไม่ถึง 72 ชม. ห่วงข้อเสนอยกเลิกคุ้มครองแรงงาน อนุญาตอวนล้อมจับ และขนถ่ายสัตว์น้ำกลางทะเล เสี่ยงกระทบการค้าโลก

อียูจับตาแก้กฎหมายประมงไทย ยันกระทบเจรจา FTA

อียูจับตาแก้กฎหมายประมงไทย ยันกระทบเจรจา FTA

คณะกรรมาธิการยุโรป โต้สภาที่ปรึกษาตลาดแห่งสหภาพยุโรป ยืนยันสหภาพยุโรปไม่ได้นิ่งนอนใจเฝ้าจับตาการแก้ไขกฎหมายการประมงอย่างใกล้ชิด ย้ำหากเป็นไปในทิศทางที่แย่ลงจะส่งผลกระทบ FTA