นักวิชาการด้านการเกษตร มองนโยบายพักหนี้เกษตรกรเป็นนโยบายประชานิยม ยิ่งทำให้เป็นหนี้เพิ่ม ไม่ช่วยให้หลุดพ้นความยากจนได้ และยังเป็นกับดักให้คนรอแต่ความช่วยเหลือ แนะรัฐบาลมุ่นเน้นแก้ปัญหาระยะกลาง-ยาว เพิ่มศักยภาพการเกษตรให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก หากต้องการหลุดกับดักประเทศรายได้ปานกลาง
เกษตรกรไทยกำลังติดหล่มการพัฒนา ทำให้มีรายได้และกำไรไม่เพียงพอเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยภาคเกษตรต่ำกว่านอกภาคการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังมีสิ่งชักจูงให้คนรุ่นใหม่ต่างละทิ้งงานภาคเกษตร ท่ามกลางแรงงานเกษตรในปัจจุบันที่มีอายุเฉลี่ยสูงและใกล้ออกจากตลาดแรงงานมากขึ้น
ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม คือวิกฤตที่คนไทยเผชิญต่อเนื่องทุกปี ทำให้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดเวทีระดมข้อคิดเห็น สรุปออกมาเป็นมติรายงานการพัฒนานโยบายสาธารณะ เรื่องการส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ ด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกของพื้นที่ในการร่วมกันวางแผน
หากพูดถึงนโยบายที่เหล่าพรรคการเมืองให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้น “นโยบายช่วยเหลือเกษตรกร” เพราะนโยบายดังกล่าวถือเป็นนโยบายที่มีเกษตรกรเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) กว่า 8,805,275 คน
หลัง ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบาย ยกระดับเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ล่าสุด ราชกิจจาฯ ลงประกาศระเบียบเพิ่มเติม เปลี่ยนที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 เป็น ‘โฉนดเพื่อการเกษตร’ มีผลบังคับใช้ 9 ธ.ค. 2566
นโยบายอุดหนุนภาคเกษตร เป็นนโยบายสำคัญของทุกรัฐบาล แม้ว่าหลายรัฐบาลพยายามจะยกเลิกด้วยการสนับสนุนให้ภาคเกษตรไทยมีการพัฒนาให้ทันสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้ ในขณะที่มักจะเป็นนโยบายที่ทุกรัฐบาลจะประกาศทันทีหลังเข้าบริหารประเทศ เช่นเดียวกับรัฐบาลนี้
รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2566 มีทั้งกรอบนโยบายระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ที่มุ่งเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายสำคัญ และนโยบายภาคเกษตร นับว่าเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล เช่นเดียวกับรัฐบาลชุดก่อน ๆ
“มาตรการพักหนี้เกษตรกร” นับว่าเป็นมาตรการ”การเมือง” ที่ทุกรัฐบาลต้องออกมาเพื่อช่วยเหลือหนี้สินภาคเกษตร แต่ที่ผ่านมามักจะไม่มีการประเมินผลว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ และแทบจะไม่มีใครท้วงติงว่าเป็นมาตรการสำเร็จ หรือ ล้มเหลว