ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอนหรือตกทอด ทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 เปลี่ยนที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 เป็น ‘โฉนดเพื่อการเกษตร’ เริ่มมีผลบังคับใช้ วันที่ 9 ธ.ค. 2566 ลงนามโดย ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประธานกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ค.ป.ก.) โดยมีเนื้อหาดังนี้
ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอนหรือ ตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 19 (3) (6) (7) (10) (12) แห่งพระราชบัญญัติ การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2518 และมาตรา 30 วรรคหนึ่ง และวรรคหก แห่งพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2538 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2532 คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1. ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอนหรือตกทอด ทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566”
ข้อ 2. ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3. ให้ยกเลิกบทนิยามคำว่า “การจัดให้เข้าทำประโยชน์” แห่งระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอนหรือตกทอดทางมรดสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “การจัดให้เข้าทำประโยชน์” หมายความว่า “การจัดให้เกษตรกรเข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน หรือโฉนดเพื่อการเกษตร ที่ ส.ป.ก. ออกให้แก่เกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน”
ข้อ 4. ให้เพิ่มบทนิยามคำว่า “โฉนดเพื่อการเกษตร” ระหว่างคำว่า “การจัดให้โดยมีค่าชดเชย” กับคำว่า “คู่สมรส” ของข้อ 4 แห่งระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอนหรือตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน พ.ศ. 2564 “โฉนดเพื่อการเกษตร” หมายความว่า “หนังสือแสดงสิทธิที่ ส.ป.ก. ออกให้แก่เกษตรกร ที่ได้รับการจัดให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินตามหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน”
ข้อ 5. ให้ยกเลิกความในข้อ 6 แห่งระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอนหรือตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน
“ข้อ 6 ให้ ส.ป.ก. ดำเนินงานเพื่อการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ที่ ส.ป.ก.ได้มาตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ดังนี้
(1) ที่ดินของรัฐที่นำมาเพื่อใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
(2) ที่ดินที่ได้มานอกเหนือจาก (1) เพื่อประโยชน์ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้นำที่ดินตามวรรคก่อนมาจัดให้แก่เกษตรกรตามระเบียบนี้หรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดที่ดิน ให้สถาบันเกษตรกรตามความเหมาะสมเป็นลำดับแรก กรณีที่คณะกรรมการปฏิรูปที่ดินจังหวัด หรือ เลขาธิการ หรือผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมายพิจารณาแล้วเห็นสมควรให้นำที่ดินดังกล่าวไปดำเนินการ ตามระเบียบอื่นเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับกิจการสาธารณูปโภคและกิจการอื่น ๆ ในเขตปฏิรูปที่ดินหรือเพื่อจัดให้แก่บุคคลใช้สำหรับกิจการอื่นที่เป็นการสนับสนุนหรือเกี่ยวเนื่องกับการปฏิรูปที่ดินตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศกำหนด ให้กระทำได้เท่าที่จำเป็น”
ข้อ 6. ให้ยกเลิกความในข้อ 22 แห่งระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอนหรือตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความดัง ต่อไปนี้แทน
“ข้อ 2 กรณีเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินซึ่งได้รับสิทธิการเช่าหรือสิทธิการเช่าซื้อถึงแก่ความตาย เมื่อทายาทของเกษตรกรดังกล่าวได้ยื่นคำขอรับการตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือสิทธิการเช่าซื้อ ต่อ ส.ป.ก.จังหวัด ให้พิจารณาการตกทอดทางมรดกกโดยนำหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในข้อ 20 มาใช้บังคับโดยอนุโลมในกรณีทายาทที่ยื่นคำขอตามวรรคหนึ่งมีสิทธิได้รับการตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือสิทธิการเช่าซื้อเกินกว่าหนี่งรายและเป็นกรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในระหว่างทายาทด้วยกัน ให้พิจารณาตามลำดับ ดังนี้
(1) ให้สิทธิการเช่าหรือสิทธิการเช่าซื้อตกทอดแก่คู่สมรสเป็นลำดับแรก
(2) กรณีไม่มีคู่สมรส หรือมีแต่ไม่ขอรับสิทธิดังกล่าว หรือคู่สมรสนั้นไม่ต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ให้สิทธิการเช่าหรือสิทธิการเช่าซื้อตกทอดแก่ทายาทชั้นบุตร ซึ่งหมายรวมถึง ผู้สืบสันดานของทายาทชั้นบุตรที่ตายก่อนเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน โดยให้เป็นไปตามลำดับ ดังนี้
ก. ให้สิทธิการเช่าหรือสิทธิการเช่าซื้อตกทอดแก่บุตรเพียงรายเดียว เว้นแต่เป็นกรณีที่อาจให้สิทธิแก่บุตรได้เกินกว่าหนึ่งรายตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในข้อ 20 (2) ให้พิจารณา ตามข้อตกลงระหว่างบุตรดังกล่าว หากไม่อาจตกลงกันได้ให้บุตรผู้มีสิทธิแต่ละรายได้รับการตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือสิทธิการเช่าซื้อที่ดินตามส่วนที่เท่ากันหรือใกล้เคียงกัน
ข. กรณีที่ดินนั้นไม่สามารถให้สิทธิการเช่าหรือสิทธิการเช่าซื้อแก่บุตรตามจำนวนของผู้มีสิทธิทั้งหมดและไม่อาจตกลงกันได้ในระหว่างบุตรผู้มีสิทธิด้วยกัน ให้คัดเลือกผู้ที่เหมาะสมจากบุตร เหล่านั้นเท่ากับจำนวนแปลงที่อาจแบ่งได้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในข้อ 20 (2) เป็นผู้ได้รับการตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือสิทธิการเช่าซื้อตามจำนวนแปลงที่ดินที่อาจให้สิทธิได้
ทั้งนี้ การคัดเลือกดังกล่าวให้คำนึงถึงความเกี่ยวพันระหว่างทายาทนั้นกับเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน เช่น เป็นผู้ร่วมประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นผู้อุปการะ หรือได้รับอุปการะ โดยพิจารณาประกอบกับความสามารถในการรับไปซึ่งสิทธิและหน้าที่ของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินที่ถึงแก่ความตายเป็นสำคัญ (3) หากไม่มีทายาทตาม (1) และ (2)หรือมีแต่ไม่ขอรับสิทธิดังกล่าว หรือทายาทนั้น ไม่ต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนด ให้สิทธิการเช่าหรือสิทธิการเช่าซื้อตกทอดแก่ทายาทอื่นของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินได้ ถ้าทายาทอื่นผู้มีสิทธิได้รับการพิจารณานั้นมีจำนวนเกินกว่าหนึ่งราย ให้นำความใน (2) ก. และ ข. ตลอดจนการจัดลำดับและชั้นของทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
ข้อ 7. ให้เพิ่มความดังต่อไปนี้ เป็นข้อ 29/1 แห่งระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอนหรือตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน พ.ศ. 2564
“ข้อ 29/1 เกษตรกรผู้ได้รับที่ดินตามโฉนดเพื่อการเกษตรมาแล้วไม่น้อยกว่าสองปี อาจยื่นคำขอสละสิทธิของตนทั้งหมดหรือแต่บางส่วนต่อ ส.ป.ก.จังหวัด เพื่อให้เกษตรกรอื่นเป็นผู้ได้รับการพิจารณาจัดที่ดินแทนที่เมื่อได้รับคำขอรับการจัดที่ดินแทนที่จากเกษตรกรอื่นตามวรรคหนึ่งแล้ว ให้ ส.ป.ก.พิจารณาคัดเลือกและดำเนินการทางทะเบียน โดยนำหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในข้อ 19 และข้อ 20 มาใช้บังคับโดยอนุโลม”
ข้อ 8. ให้เพิ่มความดังต่อไปนี้ เป็นข้อ 29/2 แห่งระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกรการโอนหรือตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกร ผู้ได้รับที่ดิน พ.ศ. 2564
“ข้อ 29/2 ภายใต้บังคับข้อ 12 ระยะเวลาอื่นใดในการพิจารณาเพื่อให้ได้รับโฉนดเพื่อการเกษตร ต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 90 วันกรณีตามวรรคหนึ่ง หากไม่อาจดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ ให้ ส.ป.ก. ขยายระยะเวลาได้ครั้งละไม่เกินสามสิบวัน”
ข้อ 9.ให้ยกเลิกความในข้อ 30 แห่งระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอนหรือตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “ข้อ 3 เมื่อทายาทของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดินซึ่งได้รับการจัดให้เข้าทำประโยชน์ถึงแก่ความตายได้ยื่นคำขอรับการจัดที่ดินแทนที่ผู้ตายต่อ ส.ป.ก.จังหวัด ให้พิจารณาการจัดที่ดินแทนที่ โดยนำหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในข้อ 19 และข้อ 22 มาใช้บังคับโดยอนุโลมให้จัดที่ดินแทนที่แก่ทายาทโดยการจัดให้เข้าทำประโยชน์”
ข้อ 10. ให้ยกเลิกความในข้อ 36 แห่งระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอนหรือตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน พ.ศ. 2564 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน “ข้อ 36 เหตุจำเป็นต้องจัดการทรัพย์สินหรือหนี้สินที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ได้รับที่ดิน ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จะมีได้เฉพาะในกรณีที่เกษตรกรผู้ได้รับที่ดินมีทรัพย์สินหรือหนี้สินจากการเข้าทำประโยชน์ในที่ดิน ดังต่อไปนี้
(1) เกษตรกรผู้ได้รับที่ดินมีอสังหาริมทรัพย์ติดอยู่กับที่ดินในลักษณะถาวร เช่น ไม้ยืนต้นทางการเกษตร โรงเรือน สิ่งปลูกสร้าง หรือได้มีการปรับปรุงพัฒนาที่ดินเพื่อให้เหมาะสมต่อการเกษตรกรรม
(2) เกษตรกรผู้ได้รับที่ดินยังมีเงื่อนไขหรือค่าภาระติดพันอยู่ หรือมีหนี้สินค้างชำระกับ ส.ป.ก.หรือ สถาบันการเงินที่ร่วมโครงการกับ ส.ป.ก. หรือสถาบันเกษตรกรในเขตปฏิรูปที่ดิน เกษตรกรผู้ได้รับที่ดินซึ่งมีความประสงค์ขอรับเงินค่าชดเชยอันเนื่องมาจากการสละสิทธิคืนที่ดิน ให้แก่ ส.ป.ก.ตามที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ ตามระเบียบกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่าด้วย การใช้จ่ายเงินการเบิกจ่ายเงิน และการเก็บรักษาเงินกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2550 ไม่ถือว่ามีเหตุจำเป็นต้องจัดการทรัพย์สินหรือหนี้สินที่เกิดขึ้นในระหว่างที่ได้รับที่ดินตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม”
ข้อ 11.ให้เพิ่มความดังต่อไปนี้เป็น “ส่วนที่ 5 โฉนดเพื่อการเกษตร” และเพิ่มข้อ 53/1 และข้อ 53/2 แห่งระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอนหรือตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน พ.ศ. 2564
“ส่วนที่ 5
โฉนดการเกษตร
ข้อ 53/1 เมื่อเกษตรกรยื่นคำขอ ให้ ส.ป.ก.ออกโฉนดเพื่อการเกษตร แก่เกษตรกรผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน จะต้องเป็นการได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินมาแล้ว เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปี กรณีมีการโอนสิทธิ หรือจัดที่ดินแทนที่ให้กับคู่สมรส บุตร เครือญาติ หรือทายาท ให้นับระยะเวลาที่ได้ร่วมทำประโยชน์เป็นระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง
ข้อ 53/2 การออก แก้ไขเพิ่มเติม ยกเลิกเพิกถอน และออกใบแทนโฉนดเพื่อการเกษตรให้นำความในส่วนที่ 1 ส่วนที่ ส่วนที่ 3 และส่วนที่ 4 เฉพาะที่เกี่ยวกับหนังสืออนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินมาใช้โดยอนุโลม แบบหลักเกณฑ์และวิธีการออกโฉนดเพื่อการเกษตร ให้เป็นไปตามที่ ส.ป.ก.กำหนด”
ข้อ 12. ให้เพิ่มความดังต่อไปนี้ เป็นข้อ 60 ข้อ 61 และข้อ 62 แห่งระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอนหรือตกทอดทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน พ.ศ. 2564
“ข้อ 60 เมื่อเกษตรกรผู้ได้รับอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดิน หรือได้รับ ส.ป.ก. 4-01 ได้ยื่นคำขอออกโฉนดเพื่อการเกษตร ให้ ส.ป.ก.จังหวัด ออกหนังสือรับรองสิทธิ การขอออกโฉนดเพื่อการเกษตรไว้เป็นหลักฐาน จนกว่าจะมีการออกโฉนดเพื่อการเกษตรให้แก่เกษตรกร กรณีมีการออกโฉนดเพื่อการเกษตรเรียบร้อยแล้ว ให้หนังสือรับรองตามวรรคหนึ่งสิ้นผลการรับรอง”
“ข้อ 61 ให้คณะอนุกรรมการที่คณะกรรมการแต่งตั้งตามข้อ 5 ของระเบียบนี้ มีอำนาจ พิจารณาอุทธรณ์กรสั่งให้สิ้นสิทธิ การเพิกถอนการจัดที่ดินก่อนระเบียบนี้ใช้บังคับ รวมถึงคำขออุทธรณ์อยู่ระหว่างการพิจารณา”
“ข้อ 62 ผู้ใดที่เข้าทำประโยชน์ในที่ดินที่ ส.ป.ก.ได้จัดให้แก่เกษตรกรแล้ว โดยไม่ได้รับอนุญาตและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามที่กฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนดก่อนวันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ ให้มาดำเนินการแจ้งการครอบครองที่ดินกับ ส.ป.ก.จังหวัด ภายในสองปีนับตั้งแต่วันที่ระเบียบนี้มีผลใช้บังคับ เพื่อรับสิทธิโดยการเช่าที่ดินตามที่กำหนดในระเบียบนี้
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการขอรับสิทธิโดยการเช่าที่ดิน ให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด”
- ที่มา : ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอนหรือตกทอด ทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2566
- อ่านเพิ่มเติม ระเบียบคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการคัดเลือกและจัดที่ดินให้แก่เกษตรกร การโอนหรือตกทอด ทางมรดกสิทธิการเช่าหรือเช่าซื้อ และการจัดการทรัพย์สินและหนี้สินของเกษตรกรผู้ได้รับที่ดิน พ.ศ. 2564