เปิดผลการประชุมบอร์ดอุทยานแห่งชาติ ครั้งหลังสุดเมื่อปี 2563 ค้านแนวทางผู้ตรวจการแผ่นดิน เพิกถอนแนวเขตทับลานบางส่วน เผยเสี่ยงกระทบมรดกโลกและการดำเนินคดีบุกรุกป่า โดยเฉพาะพวกนายทุนกลุ่มรีสอร์ทและโรงแรม เทียบความแตกต่างพื้นที่อุทยานจากแผนที่ 3 ฉบับ หากใช้ One Map ผืนป่าทับลานจะเหลือราว 1.1 ล้านไร่
กฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กำหนดหลักเกณฑ์แบ่งแยกและโอนสิทธิในที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 ให้กับทายาทโดยธรรม รวมถึงการนำสิทธิในที่ดินไปชำระหนี้สถาบันเกษตรกร และสามารถคืนให้กับ ส.ป.ก. โดยได้รับค่าตอบแทน
รัฐไทยถือครองที่ดินราว 60% ของทั้งประเทศ แต่การบริหารยังขาดความเป็นระบบเดียวกัน นำมาซึ่งปัญหาการทับซ้อนของพื้นที่มากถึง 1 ใน 3 ของทั้งประเทศ ก่อให้เกิดข้อพิพาทกับชาวบ้านที่ถูกกีดกันออกจากพื้นที่ป่าดั้งเดิมมาอย่างต่อเนื่อง
ส.ป.ก.ปักหมุดอาณาเขตรุกล้ำพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ กลายเป็นปัญหาระดับชาติ เมื่อพื้นที่ป่ากำลังจะเป็นโฉนดที่ดิน นำไปซื้อขายต่อได้หลังถือครองครบ 5 ปี และกรณีนี้ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงครั้งแรก แต่เคยเกิดขึ้นมาแล้วบนพื้นที่กว่า 900 ไร่ ในอุทยานแห่งชาติทับลาน
การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2567 มีมติรับทราบร่างกฎกระทรวงการแบ่งแยก หรือโอนสิทธิในที่ดินของผู้ได้รับสิทธิโดยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. .... เพื่อช่วยเหลือชาวเกษตรกรให้สามารถแบ่งแยกหรือโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ได้
หลัง ร.อ. ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบาย ยกระดับเอกสารสิทธิเป็นโฉนดที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ล่าสุด ราชกิจจาฯ ลงประกาศระเบียบเพิ่มเติม เปลี่ยนที่ดิน ส.ป.ก. 4-01 เป็น ‘โฉนดเพื่อการเกษตร’ มีผลบังคับใช้ 9 ธ.ค. 2566