อรอุษา พรมอ๊อด
นับถอยหลังร่างพ.ร.บ.อากาศสะอาด คาดประกาศใช้ปี 68
ร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ใกล้ความจริง หลังมีการตั้งกรรมาธิการร่วมในการพิจารณาร่างกฎหมายที่เสนอเข้าสภาฯถึง 7 ฉบับ โดยคณะกรรมาธิการฯกำหนดขั้นตอนการออกกฎหมาย คาดว่าจะประกาศใช้ได้ทันในปี 2568 หากไม่สะดุดในขั้นตอนการพิจารณากฎหมายของรัฐสภา
เปิดโครงสร้าง ‘บ้านหลังใหม่’ จัดการอากาศสะอาด
การพิจารณา ร่างกฎหมายอากาศสะอาด กำลังเข้าสู่ช่วงสำคัญในชั้นกรรมาธิการวิสามัญฯ กับการหลอมรวมเนื้อหาจาก 7 ร่าง เพื่อทำให้เนื้อหาที่ออกมาสมบูรณ์ที่สุดและสามารถออกแบบกลไกการทำงานเพื่อติดตามการป้องกันมลพิษทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โอกาสสร้างอากาศสะอาด หยุดเผา “ตอซังข้าวโพด”
ระหว่างชีวิตเรา กับฝุ่น PM 2.5 อะไรจะหายไปจากโลกนี้ก่อนกันแน่ ? คำถามใหญ่ท่ามกลางวิกฤตฝุ่นพิษที่ไทยกำลังเผชิญซ้ำ ๆ ทุกปี และต่างรู้ดีว่าสาเหตุมาจากไหน แต่การแก้ปัญหายังเหมือนพายเรือวนในอ่าง "กฎหมายอากาศสะอาด" เป็นหนึ่งความหวังสำคัญที่จะทำให้ปัญหานี้หมดไปได้ ผ่านกลไกระบบตรวจสอบย้อนกลับ
หลักการที่ “ต้องมี” ใน พ.ร.บ.อากาศสะอาด
วิเคราะห์มุมนักเศรษฐศาสตร์ ถึงสาระและหลักการสำคัญที่จำเป็นต้องมีใน ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... ที่ประชาชนจะได้ใช้ ภายหลัง 7 ร่าง ผ่านรัฐสภาเข้าสู่การพิจารณาอย่างเข้มข้นของคณะกรรมาธิการ เพื่อเป้าหมายลดการก่อมลพิษ แก้ปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
ชวนรู้จักสารพัดสารพิษภาคอุตสาหกรรมที่คร่าชีวิตผู้คน
มลพิษทางอากาศที่ปล่อยจากภาคอุตสาหกรรม คือ สารที่เกิดจากการใช้เชื้อเพลิง ประกอบไปด้วยก๊าซ ฝุ่นละออง ควันดำ โลหะหนัก สารอินทรีย์ระเหยง่าย และสารไดออกซิน เป็นต้นมูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้รวบรวมข้อมูลอันตรายจากสารพิษเหล่านี้ ในความ เรื่อง “PM 2.5 กับอุตสาหกรรม ตอนที่ 3: สารมลพิษทางอากาศกับผลกระทบแสนอันตราย”
ย้อนรอยบทเรียนมลพิษโรงไฟฟ้า-นิคมอุตสาหกรรม
ก่อนที่ประเทศไทยจะตื่นตัวกับปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างทุกวันนี้ ในอดีตเคยมีปัญหามลพิษที่กระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมมาก่อน มูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้นำเสนอ 3 กรณีมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรม ผ่านบทความ PM 2.5 กับอุตสาหกรรม ตอนที่ 2: กรณีมลพิษอากาศอุตสาหกรรมในตำนาน
ภาคอุตสาหกรรม อีกต้นต่อสำคัญสร้างฝุ่น PM2.5
ฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหาระดับชาติที่ประเทศไทยเผชิญมาอย่างต่อเนื่อง และต้นกำเนิดฝุ่นที่รัฐบาลอาจพูดถึงไม่มากนัก นั่นคือ “อุตสาหกรรม” มูลนิธิบูรณะนิเวศ ได้สะท้อนผ่านบทความ ตอนที่ 1 “ในม่านมัวของปัญหาฝุ่น PM2.5 มี อุตสาหกรรมซ่อนเร้นอยู่” พร้อมเผยข้อมูล พื้นที่ฝุ่นหนาสอดคล้องกับจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม
บริหารจัดการน้ำ สร้างความเข้มแข็งให้กับพื้นที่ได้มีส่วนร่วม
ปัญหาภัยแล้ง น้ำท่วม คือวิกฤตที่คนไทยเผชิญต่อเนื่องทุกปี ทำให้สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ได้จัดเวทีระดมข้อคิดเห็น สรุปออกมาเป็นมติรายงานการพัฒนานโยบายสาธารณะ เรื่องการส่งเสริมความเข้มแข็งกลไกการบริหารจัดการน้ำเชิงพื้นที่ ด้วยการสร้างความเข้มแข็งให้กับกลไกของพื้นที่ในการร่วมกันวางแผน
สร้างการเกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพ ผ่านนโยบาย “ส่งเสริมการมีบุตร”
สมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 มีมติเห็นชอบข้อเสนอทางนโยบาย ส่งเสริมการพัฒนาประชากรให้เกิดและเติบโตอย่างมีคุณภาพ สอดรับนโยบาย “ส่งเสริมการมีบุตร” ที่ควรสร้างให้ทั้ง “การเกิด” และ “การเติบโต” มีคุณภาพ