หลังจากมีการนำเสนอร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดต่อสภาผู้แทนราษฎร รวม 7 ฉบับ ทำให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการขึ้นมาพิจารณายกร่างใหม่ ซึ่งถือว่าเป็นฉบับที่ 8 โดยรวมความรู้และแนวคิดที่มาจากเจ้าของร่าง 7 ฉบับ เนื่องจากแต่ละฉบับมีจุดเด่นและมุมมองที่แตกต่างกันไป แต่เป้าหมายที่ทุกฝ่ายมีร่วมกันคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่สะอาดและปลอดภัย โดยมุ่งเน้นการหลอมรวมความรู้จากทุกฝ่าย เพื่อให้ได้ร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดฉบับที่ 8 ที่ครอบคลุมทุกมิติ
นานแค่ไหนกว่าร่างพระราชบัญญัติจะประกาศใช้
คณะกรรมาธิการฯ มีการตั้งอนุกรรมาธิการ 2 ชุด ซึ่งมีการประชุมตั้งแต่ ม.ค.-ต.ค. 2567 คณะกรรมาธิการและอนุกรรมาธิการทั้ง 2 ชุด ได้ประชุมรวมทั้งหมด 114 ครั้งเพื่อแปรญัตติและปรับปรุงเนื้อหา
คณะกรรมาธิการจะพิจารณาร่างกฎหมายและคำแปรญัตติอีกครั้ง โดยเปิดรับฟังความคิดเห็นจากสาธารณะผ่านเว็บไซต์ของสภาผู้แทนราษฎรในช่วงกลาง ธ.ค. 67 เพื่อให้ประชาชน
มีส่วนร่วมในกระบวนการ
จากนั้นจะเสนอร่างกฎหมายให้สภาผู้แทนราษฎรพิจารณาประมาณปลาย ธ.ค. 67 และ หากได้รับการเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎร จะนำเสนอให้วุฒิสภาพิจารณาในต้นปี 67 (หากวุฒิสภามีข้อแก้ไข และสภาไม่เห็นด้วย ต้องตั้งคณะกรรมาธิการร่วม)
ในกรณีที่วุฒิสภาเห็นชอบโดยไม่มีการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดฉบับนี้จะน าขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป โดยคาดว่าจะมีผลบังคับใช้ภายในปี 68
โครงสร้างสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฯ
- ร่างกฎหมายจะมีหมวดว่าด้วยสิทธิและหน้าที่อย่างละเอียด ทั้งของประชาชนและของรัฐ ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของกฎหมายนี้
- การออกแบบให้มีกลไกการบริหารจัดการ ทั้งคณะกรรมการระดับชาติไปจนถึงระดับพื้นที่ เนื่องจากกฎหมายฉบับนี้มุ่งเน้นการให้ความสำคัญกับการกระจายอำนาจ และการบริหารจัดการในระดับพื้นที่
- มีเครื่องมือสำคัญที่จะนำมาใช้บริหารจัดการที่หลากหลาย ตั้งแต่การกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศสะอาด มาตรฐานควบคุมการระบายสารมลพิษทางอากาศ การบริหารจัดการภายใต้การแบ่งพื้นที่ที่คำนึงถึงคุณภาพอากาศที่จะมีการควบคุมเข้มข้นแตกต่างกัน มีเครื่องมือทางเศรษฐศาสตร์ทั้งการป้องกันและสร้างแรงจูงใจ
ความท้าทายต่อความพยายามในหลากหลายด้าน
- ในเชิงเนื้อหาของกฎหมาย: ร่างกฎหมายนี้ต้องสามารถบังคับใช้ได้จริงโดยไม่ถูกครอบงำและให้ความสำคัญต่อสิทธิในการหายใจอากาศสะอาดของประชาชน นอกจากนี้ยังต้องสามารถทะลุจุดอ่อนในการแก้ไขปัญหามลพิษที่มีลักษณะเฉพาะจากภาคอุตสาหกรรม คมนาคม ป่าไม้ เกษตรกรรม เมืองและมลพิษข้ามแดน ซึ่งแต่ละภาคก็จะมีกฎหมายเป็นการเฉพาะ ซึ่งกฎหมายอากาศสะอาดฉบับนี้จะต้องเสริมหนุนและเชื่อมโยงที่สามารถทำให้คณะกรรมการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องดำเนินงานตามที่ฉบับนี้กำหนด
- ในเชิงกระบวนการ: การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่ความยั่งยืน จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคประชาชน องค์กรเอกชน และสถาบันการศึกษา รวมถึงความรับผิดชอบต่อส่วนรวมในการสร้างระบบตรวจสอบที่มีประสิทธิภาพและมาตรฐานการควบคุมมลพิษที่เหมาะสมกับแต่ละประเภทกิจการ ขณะเดียวกันต้องไม่เป็นภาระเกินควรแก่ผู้ประกอบการ การแก้ปัญหามลพิษข้ามแดนยังเป็นความท้าทายที่มีข้อจำากัดในการบังคับใช้กฎหมายนอกราชอาณาจักรและความซับซ้อนในการพิสูจน์ความเชื่อมโยงระหว่างแหล่งกำเนิดกับผลกระทบ รวมถึงการชดใช้ความเสียหายและการบังคับคดีจากผู้กระทำผิดในต่างประเทศ รวมถึงการประสานความร่วมมือระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหา
งานที่ยังต้องทำต่อเพื่อให้ร่างกฎหมายนี้บรรลุผล
- มลพิษภายในประเทศ
– จัดทำระบบให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการเพื่อป้องกันการกระทำผิด
– พัฒนาระบบการติดตามตรวจสอบแหล่งกำเนิดมลพิษที่มีประสิทธิภาพและมีส่วนร่วมมากขึ้น
– พัฒนากลไกการบังคับใช้กฎหมายที่มีประสิทธิภาพ ได้สัดส่วนกับการกระทำความผิด
– จัดทำกลไกการร้องเรียนที่โปร่งใสและกลไกการปกป้องผู้ร้องเรียน (Anti-SLAPP)
– กำหนดบทลงโทษในทางอาญาและทางพินัยจากการละเมิดกฎหมายที่ก าหนดในพระราชบัญญัติ - มลพิษข้ามแดน
– กำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับผู้ที่ต้องรับผิดทางแพ่ง ภาระการพิสูจน์ ค่าเสียหายและกลไกการบังคับคดี
– ปรับปรุงบทบัญญัติเรื่องมาตรการบังคับทางปกครองให้มีประสิทธิภาพ
ผลที่จะได้รับจากร่างพระราชบัญญัติฯ
ร่างพระราชบัญญัติฯ นับเป็นก้าวสำคัญในการสร้างระบบการจัดการมลพิษที่ยั่งยืนและครอบคลุมทุกด้าน โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของประชาชนและการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อการจัดการที่มีประสิทธิภาพ และมีเครื่องมือและกลไกในการบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาดที่ครบถ้วนทุกมิติ มีการจัดการตั้งแต่ต้นทางโดยการป้องกันไว้ก่อนการแก้ไขในภาวะฉุกเฉิน และการส่งเสริมสนับสนุนของทุกภาคส่วน มีการกำหนดแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่ครอบคลุมทั้งภายในประเทศและมลพิษข้ามแดนที่ส่งผลกระทบภายในประเทศหากได้รับการประกาศใช้ จะสามารถป้องกัน ควบคุม และแก้ไขปัญหามลพิษได้อย่างเป็นระบบเพื่อนำไปสู่อนาคตที่ปลอดภัยและคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นสำหรับประชาชนคนไทยทุกคน