ร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ใกล้ความจริง หลังมีการตั้งกรรมาธิการร่วมในการพิจารณาร่างกฎหมายที่เสนอเข้าสภาฯถึง 7 ฉบับ โดยคณะกรรมาธิการฯกำหนดขั้นตอนการออกกฎหมาย คาดว่าจะประกาศใช้ได้ทันในปี 2568 หากไม่สะดุดในขั้นตอนการพิจารณากฎหมายของรัฐสภา
ระหว่างชีวิตเรา กับฝุ่น PM 2.5 อะไรจะหายไปจากโลกนี้ก่อนกันแน่ ? คำถามใหญ่ท่ามกลางวิกฤตฝุ่นพิษที่ไทยกำลังเผชิญซ้ำ ๆ ทุกปี และต่างรู้ดีว่าสาเหตุมาจากไหน แต่การแก้ปัญหายังเหมือนพายเรือวนในอ่าง "กฎหมายอากาศสะอาด" เป็นหนึ่งความหวังสำคัญที่จะทำให้ปัญหานี้หมดไปได้ ผ่านกลไกระบบตรวจสอบย้อนกลับ
อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยกำลังลดลง จากฝุ่นพิษ PM 2.5 เกินระดับมาตรฐาน เช่นเดียวกับหลายประเทศที่เผชิญปัญหานี้ แต่พ.ร.บ.อากาศสะอาด อาจเป็นความหวังในการแก้ปัญหาสภาพอากาศ หากดูตัวอย่างจากสหรัฐฯและสหราชอาณาจักร ที่มีการผลักดันกฎหมายสะอาดขึ้น จนปริมาณควันพิษลดลงถึง 65%
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือกำลังวิกฤตในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดเชียงใหม่ที่ติดอันดับ 2 ของเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดในโลก จนหลายฝ่ายต้องระดมสรรพกำลังออกมาเร่งแก้ปัญหา ในวันที่ พ.ร.บ.อากาศสะอาด ซึ่งเชื่อว่าจะนำไปสู่การแก้ปัญหาอย่างประสิทธิภาพ กำลังอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของ กมธ.
วิเคราะห์มุมนักเศรษฐศาสตร์ ถึงสาระและหลักการสำคัญที่จำเป็นต้องมีใน ร่าง พ.ร.บ.บริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด พ.ศ. .... ที่ประชาชนจะได้ใช้ ภายหลัง 7 ร่าง ผ่านรัฐสภาเข้าสู่การพิจารณาอย่างเข้มข้นของคณะกรรมาธิการ เพื่อเป้าหมายลดการก่อมลพิษ แก้ปัญหาผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
เมื่อรัฐบาล “เศรษฐา ทวีสิน” ยกระดับความสำคัญของการแก้ไขปัญหา ฝุ่น PM 2.5 ด้วยการประกาศให้การแก้ไขมลภาวะทางอากาศเป็น “วาระแห่งชาติ”