IQAir เป็นบริษัทเทคโนโลยีคุณภาพอากาศในสวิตเซอร์แลนด์ รายงานคุณภาพอากาศทั่วโลกในปีที่ผ่านมา ระบุในอาเซียนดีขึ้น โดยอันดับไทยขยับขึ้น ขณะที่กทม.เป็นเมืองที่มีสภาพอากาศยอดแย่อันดับ 42 ของโลก แแต่เชียงใหม่ครองแชมป์อากาศยอดแย่ในไทย
ฝุ่น PM2.5 ในกรุงเทพมหานครที่พุ่งสูงอยู่ในช่วงนี้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน ยืนยันด้วยสถิติการเข้ารับการรักษาด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นเพิ่มขึ้น แต่อีกด้านหนึ่งมาตรการการแก้ปัญหากลับยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอจะจัดการถึงต้นเหตุของปัญหา
ฤดูฝุ่นมาเยือนเมืองกรุงตามนัดของทุกปี แต่ปีนี้แรงขึ้น เมื่อดูสถิติย้อนหลังพบว่าในปีนี้หนักกว่าเดิม ชี้ให้เห็นว่าสถานการณ์เมืองกรุงแย่ลงทุกปี หากไม่รีบหามาตรการป้องกัน ขณะที่ผู้อยู่อาศัยมีรายจ่ายดูแลสุขภาพสูงขึ้น
หลายปีมานี้ คนไทย โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยในภาคเหนือ ต้องเผชิญกับวิกฤต PM 2.5 ที่สูงเกินค่ามาตรฐาน จนอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงมกราคม-มีนาคมของทุกปี
ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่มาทุกปี เป็นเรื่องที่แก้ไขยาก แม้รัฐบาลมีแนวทางที่จะดำเนินการผ่านหลายหน่วยงาน แต่ดูเหมือนยังขาดความจริงจัง ตั้งแต่กลไกการทำงานจนถึงการจัดสรรงบประมาณ ทำให้แก้ปัญหาล้มเหลว ขณะที่ตัวแทนท้องถิ่นชี้รัฐบาลต้องกระจายอำนาจในการตัดสินใจ
ร่างพระราชบัญญัติบริหารจัดการเพื่ออากาศสะอาด ใกล้ความจริง หลังมีการตั้งกรรมาธิการร่วมในการพิจารณาร่างกฎหมายที่เสนอเข้าสภาฯถึง 7 ฉบับ โดยคณะกรรมาธิการฯกำหนดขั้นตอนการออกกฎหมาย คาดว่าจะประกาศใช้ได้ทันในปี 2568 หากไม่สะดุดในขั้นตอนการพิจารณากฎหมายของรัฐสภา
จ่ายเงินลดการเผาอ้อยได้ผลเล็กน้อย ชาวไร่ยังนิยมเผาอ้อยก่อนตัดส่งโรงงาน เหตุต้นทุนตัดอ้อยสดสูงกว่าเงินชดเชย ศูนย์วิจัยกสิกรระบุต้นทุนแรงงานเกี่ยวอ้อยสดสูง และใช้ระยะเวลาเก็บเกี่ยวมากกว่า ทำให้โครงการจ่ายเงินของรัฐไม่ได้รับความสนใจ แนะใช้กลไกคาร์บอนเครดิต
การพิจารณา ร่างกฎหมายอากาศสะอาด กำลังเข้าสู่ช่วงสำคัญในชั้นกรรมาธิการวิสามัญฯ กับการหลอมรวมเนื้อหาจาก 7 ร่าง เพื่อทำให้เนื้อหาที่ออกมาสมบูรณ์ที่สุดและสามารถออกแบบกลไกการทำงานเพื่อติดตามการป้องกันมลพิษทางอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การรับรู้ของคนทั่วไปเกี่ยวกับสถานการณ์สิ่งแวดล้อมเลวร้ายลงทุกปี แต่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯรายงานสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของไทยในปีที่ผ่านมา กลับระบุว่าดีขึ้นและทรงตัว ไม่มีด้านใดที่เลวร้ายลง
คณะกรรมการสิทธิฯ เสนอรัฐบาลแก้ปัญหาไฟฟ่าและฝุ่นควันใน 8 จังหวัดภาคเหนือ ต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นดูแล รวมถึงการจัดงบประมาณ พร้อมทบทวนนโยบายห้ามเผาเด็ดขาด ขณะเดียวกันต้องสร้างตัวชี้วัดให้ทุกหน่วยงานเห็นร่วมกันเพื่อนำไปปฏิบัติ
ระหว่างชีวิตเรา กับฝุ่น PM 2.5 อะไรจะหายไปจากโลกนี้ก่อนกันแน่ ? คำถามใหญ่ท่ามกลางวิกฤตฝุ่นพิษที่ไทยกำลังเผชิญซ้ำ ๆ ทุกปี และต่างรู้ดีว่าสาเหตุมาจากไหน แต่การแก้ปัญหายังเหมือนพายเรือวนในอ่าง "กฎหมายอากาศสะอาด" เป็นหนึ่งความหวังสำคัญที่จะทำให้ปัญหานี้หมดไปได้ ผ่านกลไกระบบตรวจสอบย้อนกลับ
อายุขัยเฉลี่ยของคนไทยกำลังลดลง จากฝุ่นพิษ PM 2.5 เกินระดับมาตรฐาน เช่นเดียวกับหลายประเทศที่เผชิญปัญหานี้ แต่พ.ร.บ.อากาศสะอาด อาจเป็นความหวังในการแก้ปัญหาสภาพอากาศ หากดูตัวอย่างจากสหรัฐฯและสหราชอาณาจักร ที่มีการผลักดันกฎหมายสะอาดขึ้น จนปริมาณควันพิษลดลงถึง 65%
ท่ามกลางสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ที่พุ่งสูงในหลายพื้นที่ นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน ประกาศเร่งเดินหน้าแก้ไขทั้งเรื่อง 'จุดความร้อน' และ ประสานความร่วมมือกับต่างประเทศ ที่สำคัญคือให้ยึด 'เชียงใหม่โมเดล' เป็นแนวทางในการแก้ปัญหา
จากคลิปในโซเชียลมีเดียที่ปรากฏภาพเด็กนักเรียนนับร้อยชีวิตกำลังแตกตื่นวิ่งหนีหนีฝุ่นควันจากการเผาไร่อ้อยที่ลอยเข้าไปในโรงเรียน ในพื้นที่ ต.โคกตูม อ.เมือง จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 21 ก.พ. ที่ผ่านมา นำมาสู่เสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงมาตรการควบคุมการเผาที่ไม่ได้ผล และยิ่งตอกย้ำว่าทำไมต้องมี พ.ร.บ.อากาศสะอาด
ปัญหาฝุ่นควัน PM2.5 กลับมาสร้างปัญหาเป็นระยะ แม้รัฐบาลก่อนกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ ปี 2562 แต่ดูเหมือนจะดีขึ้นในระยะแรก แต่เมื่อสิ้นแผนฝุ่นควันก็กลับมาหนักขึ้น ในขณะที่รัฐบาลปัจจุบันไม่มีแผนที่ชัด มีเพียงแต่มาตรการจากครม.เป็นข้อสั่งการ
ภาคประชาสังคมเสนอรัฐบาลจัดการกับผู้ก่อมลพิษรายใหญ่ และผ่านกฎหมายการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและ เคลื่อนย้ายสารมลพิษ (PRTR)