ThaiPBS Logo
Policy Forum ครั้งที่ 5 | นโยบายพักหนี้เกษตรกร

Policy Forum ครั้งที่ 5 | นโยบายพักหนี้เกษตรกร

6 ธ.ค. 256617:31 น.

คุณสมบัติของนโยบายพักหนี้เกษตรกร ในวงเงินเพดานไม่เกิน 3 แสนบาท ในยุคของรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน แม้จะช่วยลดต้น ลดดอกได้ ถ้าใช้หนี้ตามกำหนด แต่หลายฝ่ายก็ยอมรับ อาจช่วยเกษตรกรได้แค่กลุ่มเดียวที่มีหนี้ไม่มาก แต่หากล้วงลึกถึงลูกหนี้กลุ่มใหญ่ของไทยก็คือเกษตรกรและพบว่ามากกว่าร้อยละ 90 เกษตรกรไทยเป็นหนี้ และมีหนี้เฉลี่ย 450,000 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ของเกษตกรไทยที่อาจยังต้องใช้ชีวิตหมุนหนี้ไม่รู้จบ

รายละเอียด

Copied!
คุณสมบัติของนโยบายพักหนี้เกษตรกร ในวงเงินเพดานไม่เกิน 3 แสนบาท ในยุคของรัฐบาล เศรษฐา ทวีสิน แม้จะช่วยลดต้น ลดดอกได้ ถ้าใช้หนี้ตามกำหนด แต่หลายฝ่ายก็ยอมรับ อาจช่วยเกษตรกรได้แค่กลุ่มเดียวที่มีหนี้ไม่มาก แต่หากล้วงลึกถึงลูกหนี้กลุ่มใหญ่ของไทยก็คือเกษตรกรและพบว่ามากกว่าร้อยละ 90 เกษตรกรไทยเป็นหนี้ และมีหนี้เฉลี่ย 450,000 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งไม่อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ของเกษตกรไทยที่อาจยังต้องใช้ชีวิตหมุนหนี้ไม่รู้จบ

The Active จัดเวที Policy Forum ครั้งที่ 5 “นโยบายพักหนี้เกษตรกร” เปิดพื้นที่สะท้อนความคิดเห็นหาคำตอบให้กับนโยบายพักหนี้ เพื่อให้เกษตรกรหลุดพ้นวังวนหนี้สินมีหลากหลายมุมมอง พบว่าการแก้หนี้มีหลายมิติที่ต้องลงลึกให้ถึงนโยบายที่ตรงจุด

ปัจจุบันครัวเรือนเกษตรกรไทยมีหนี้กันเป็นวงกว้างและมีหนี้ปริมาณมาก กว่าร้อยละ 90 เป็นหนี้ และมีหนี้เฉลี่ย 450,000 บาทต่อครัวเรือน แม้จะมีมาตรการพักหนี้พักดอก แต่ก็ไม่ได้ตอบโจทย์ แก้ปัญหาหนี้สินที่เป็นอยู่ได้เพราะหนี้สินของเกษตกรไทยมักยากเกินจะแก้ไขสำหรับผู้ที่ติดกับวังวน ทั้งหนี้ในระบบ หนี้นอกระบบ

ถ้าเรามาย้อนดูภาคเกษตรไทย พบว่า รายได้น้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ จากกราฟแท่งรูปนี้จะพบว่า ถ้าเทียบกับจังหวัดต่ำสุด ค่าแรงขึ้นต่ำ อยู่ที่ 328 บาท/วัน/คน ซึ้งถ้าดูกำไรจากการเกษตร (เฉลี่ย เมื่อปี 2017 -2021) จะพบว่า เกษตรกรไทยมีค่าแรง 202.7 บาท/คน/ครัวเรือน หากเทียบกันแล้ว รายได้เฉลี่ยของเกษตรกรไทย มีรายได้เฉลี่ยน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ

แต่เมื่อไม่มีทางเลือกมากนักเกษตรกรไทยก็จะยังคงทำเกษตรแบบเดิม เพราะไม่มีทางเลือกอาชีพอื่นที่ดีนักเพราะความเคยชินทำในอาชีพที่ถนัด แต่ผลที่ตามมากคือ เกษตรกรยิ่งทำ ยิ่งเป็นหนี้ เพราะ 45 % เกษตรกรไทยมีรายได้น้อยกว่ารายจ่าย และอีก 85 % เกษตรกรไทยหมุนเงินไม่ทัน อย่างน้อย 1 เดือน

รศ.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย กล่าวว่า ในระยะสั้น ควรส่งเสริมนโยบายการสื่อสาร ให้เกษตกรรับรู้และเข้าใจมาตรการแก้หนี้อย่างถูกวิธี ซึ่งภาคนโยบายต้องสร้างแรงจูงใจ และสื่อสารถึงเป้าหมายของการชำระหนี้ ขณะที่ภาคนโยบายควรเพิ่มการลดดอกเบี้ย

ในมุมมองการเพิ่มศักยภาพเกษตรกร ต้องเริ่มให้มีการต่อยอดเกษตกร ทั้งการสนับสนุนการทำบัญชี การเริ่มออมเงิน การทำเกษตรอินทรีย์ การพัฒนาผลิตภัน และตลาดนำการผลิต ขณะเดียวกันต้องมีสวัสดิการพื้นฐาน การเสริมทักษะนอกภาคการเกษตรด้วยการเสริมอาชีพอื่น ๆ สร้างงานที่หลากหลาย

ปรับโครงสร้างท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ เช่นการกระจายอำนาจ ภายใต้แนวคิดพัฒนาชนบท ขณะที่การปรับโครงสร้างหนี้ให้เกษตรกร หนี้ที่เกิดจากความผิดพลาดจากนโยบายรัฐ ขณะที่รัฐต้องปรับนโยบาย คือภาครัฐต้องปรับนโยบายการอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไข มีอัตราดอกเบี้ยที่เป็นธรรม จัดการหนี้นอกระบบ สนับสนุนกลุ่มที่มีศักยภาพน้อยให้มีการพัฒนาต่อยอดได้

ตัวชี้วัดความสำเร็จนโยบาย

เกษตกรเข้าร่วมโครงกรมากที่สุด ยอดหนี้รวมลดลง เพิ่มรายได้ 15 % ลดรายจ่าย 15 % มีอาชีพเสริม

ตัวชี้วัดระยะยาว

เกษตรกรเกษียณโดยปลดหนี้ได้ มีเงินออม มีวินันชำระหนี้ ลดหนี้ได้จริง ไม่กู้เพิ่ม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีรายได้เพิ่ม รักษาพื้นที่ดินทำกินไว้ได้

 

 

Video

Visual Note

Visual Note