บทความ
รัฐบาลพักหนี้เกษตรกร ระยะ 2-3 ถึงครบวาระปี 70
รัฐบาลอนุมัติมาตรการพักหนี้เกษตรกร ระยะที่ 2-3 ทำให้โครงการพักหนี้เกษตรกรผ่านธ.ก.ส. จะมีระยะเวลายาวนานถึงปลายปี 2570 ซึ่งเป็นช่วงที่ครบวาระรัฐบาล หากอยู่จนครบวาระ โดยใช้งบประมาณตั้งแต่โครงการระยะแรกกว่า 3 หมื่นล้านบาท
พักหนี้เกษตรกรระยะที่ 1 ผู้เข้าร่วม 1.85 ล้านคน
ธ.ก.ส. สรุปนโยบายพักหนี้เกษตรกรระยะแรก มีเกษตรกรขอเข้าร่วม 1.85 ล้านราย จากเกษตรกรผู้มีสิทธิ 2.1 ล้านคน รวมมูลหนี้ 2.6 แสนล้านบาท
เคาะเพิ่มเงื่อนไขชะลอฟ้อง-บังคับคดี-ขายทอดทรัพย์สิน ลูกหนี้เกษตรกร
ครม.เห็นชอบแก้ไขมติ ครม.ในอดีตเมื่อ 16 ม.ค. 2550 เรื่องแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกร โดยเพิ่มเงื่อนไขการชะลอฟ้องร้อง บังคับคดี และขายทอดทรัพย์สินของลูกหนี้เกษตรกร เพื่อไม่ให้กระทบฐานะทางการเงิน ธ.ก.ส.
เกษตรกรไทยติดกับดักรายได้ต่ำ ไร้เสน่ห์ดึงดูดแรงงานรุ่นใหม่
เกษตรกรไทยกำลังติดหล่มการพัฒนา ทำให้มีรายได้และกำไรไม่เพียงพอเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งผลให้รายได้เฉลี่ยภาคเกษตรต่ำกว่านอกภาคการเกษตรอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังมีสิ่งชักจูงให้คนรุ่นใหม่ต่างละทิ้งงานภาคเกษตร ท่ามกลางแรงงานเกษตรในปัจจุบันที่มีอายุเฉลี่ยสูงและใกล้ออกจากตลาดแรงงานมากขึ้น
แก้หนี้ทั้งระบบ ไม่มีอะไรใหม่
การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2566 แม้ว่ารัฐบาลจะพยายามรณรงค์ว่าเป็นมาตรการ "แก้หนี้ทั้งระบบ" แต่หากใครที่ติดตามมาตรการแก้ปัญหาของรัฐบาลก่อนหน้านี้ ก็จะพบว่าแทบไม่มีอะไรใหม่ เพราะล้วนแต่เป็นมาตรการเดิม ๆ บางมาตรการเป็นเรื่องที่หน่วยงานรัฐดำเนินการอยู่แล้ว
พักหนี้เกษตรกรแค่ยาชา รัฐต้องเร่งผ่าตัดใหญ่
หากพูดถึงนโยบายที่เหล่าพรรคการเมืองให้ความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ คงหนีไม่พ้น “นโยบายช่วยเหลือเกษตรกร” เพราะนโยบายดังกล่าวถือเป็นนโยบายที่มีเกษตรกรเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) กว่า 8,805,275 คน
2 เดือนรัฐบาล อุดหนุน-พยุงราคาพืชผลกว่า 6.7 หมื่นล้าน
นโยบายอุดหนุนภาคเกษตร เป็นนโยบายสำคัญของทุกรัฐบาล แม้ว่าหลายรัฐบาลพยายามจะยกเลิกด้วยการสนับสนุนให้ภาคเกษตรไทยมีการพัฒนาให้ทันสมัยมากขึ้น แต่ก็ยังไม่สามารถทำได้ ในขณะที่มักจะเป็นนโยบายที่ทุกรัฐบาลจะประกาศทันทีหลังเข้าบริหารประเทศ เช่นเดียวกับรัฐบาลนี้
หนี้สิน-ที่ดินทำกิน-ราคาพืชผล นโยบาย“ไม่เคยเปลี่ยน”
รัฐบาลนายเศรษฐา ทวีสิน แถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 11 ก.ย. 2566 มีทั้งกรอบนโยบายระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ที่มุ่งเน้นกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นเป้าหมายสำคัญ และนโยบายภาคเกษตร นับว่าเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาล เช่นเดียวกับรัฐบาลชุดก่อน ๆ
ผลวิจัยชี้ชัดนโยบายพักหนี้ “ยิ่งพัก หนี้ยิ่งเพิ่ม”
“มาตรการพักหนี้เกษตรกร” นับว่าเป็นมาตรการ”การเมือง” ที่ทุกรัฐบาลต้องออกมาเพื่อช่วยเหลือหนี้สินภาคเกษตร แต่ที่ผ่านมามักจะไม่มีการประเมินผลว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ และแทบจะไม่มีใครท้วงติงว่าเป็นมาตรการสำเร็จ หรือ ล้มเหลว