ครม.อนุมัติเป้าหมายการเงินปี 68 ซึ่งเป็นข้อตกลงระหว่างกระทรวงการคลังกับกนง. โดยเป็นเป้าหมายเดิมที่ใช้มานานตั้งแต่ปี 63 แม้ว่าก่อนหน้านี้เป้าหมายการเงินกลายเป็นประเด็นสำคัญที่รัฐบาลต้องการให้มีการขยับขึ้น เพื่อกดดันกนง.และเปิดทางให้ลดดอกเบี้ย แต่การคงเป้าหมายทำให้แรงกดดันลดลง
กนง.มีมติเอกฉันท์ คงอัตราดอกเบี้ยที่ 2.25% ต่อปี มองเศรษฐกิจไทยโตใกล้เคียงกับระดับศักยภาพ แต่กังวลความไม่แน่นอนที่สูงขึ้นในระยะข้างหน้าจากปัจจัยภายนอก โดยเฉพาะทิศทางนโยบายการค้าโลก พร้อมปรับนโยบายการเงินหากเศรษฐกิจมีปัญหา
คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) มีมติลดดอกเบี้ยนโยบายลง 0.25% จาก 2.50% เหลือ 2.25% มีผลทันทีในการประชุม 16 ต.ค. 2567 แต่ธนาคารพาณิชย์ยังไม่มีการปรับลดดอกเบี้ยตาม มีเพียงธนาคารออมสินและธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ที่ปรับลดลง 0.25% แต่มีผล 1 พ.ย. 2567
กนง.ปรับลดดอกเบี้ย 0.25% ทำให้ตลาดมองว่าแบงก์ชาติกำลังเผชิญกับแรงกดดันจากการเมือง หากประเมินจากเหตุผลในการปรับลดดอกเบี้ยครั้งนี้อาจจะต่างไปจากเดิมบ้าง เพราะทิศทางเศรษฐกิจแทบไม่เปลี่ยน แต่ทิศทางการเงินโลกและแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะข้างหน้า ทำให้ทิศทางดอกเบี้ยในประเทศกำลังเข้าสู่ขาลง
คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2.50% ต่อเนื่อง มองเศรษฐกิจไทยยังขยายตัว แต่จับตาใกล้ชิดสถานการณ์หนี้เสียที่แย่ลง หวั่นกระทบเศรษฐกิจประเทศ
AMRO มองนโยบายการเงินไทยเหมาะสม แต่แนะให้ลดการขาดดุลการคลัง ด้วยการปฏิรูปจัดเก็บภาษี รองรับรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และต้องปฏิรูปเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มศักยภาพในระยะยาว ทำให้ตรงจุดและตามแผนที่วางไว้
กนง.คงดอกเบี้ยในระดับสูงต่อเรื่อง 2.5% ต่อปี แต่รอบนี้คณะกรรมการฯเห็นต่างแค่ 1 เสียง ซึ่งส่วนใหญ่มองเศรษฐกิจไทยฟื้นตัวได้ดี ส่วนเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมาจากปัจจัยชั่วคราวคาดสิ้นปี 67 ยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย
แม้ว่ากนง.จะเผชิญกับแรงกดดันจากรัฐบาลให้ลดดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่สำนักวิจัยกรุงศรีคาดการณ์ กนง.จะไม่ลดดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือของปี 67 หลังเศรษฐกิจไทยแนวโน้มเติบโตกว่าที่คาดการณ์ไว้ และเงินเฟ้อเริ่มกลับมาเป็นบวกขยับเข้ากรอบเป้าหมาย
แบงก์ชาติ เตรียมปรับประมาณการจีดีพี คาดเศรษฐกิจไทยเติบโตต่อเนื่องจากเครื่องยนต์ท่องเที่ยวเป็นหลัก แต่อาจฟื้นตัวแบบไม่ทั่วถึง พร้อมจับตาเงินเฟ้อใกล้ชิดหลังพลิกบวกครั้งแรกในรอบ 6 เดือน เชื่อใกล้ขยับเข้ากรอบล่างของเป้าหมาย 1-3%
ดิจิทัลวอลเล็ต ทำให้รัฐบาลทบทวนแผนการคลังระยะปานกลางครั้งที่ 2 หลังหันมาใช้งบประมาณดำเนินโครงการแทนออกพระราชบัญญัติกู้เงิน ส่งผลให้หนี้สาธารณะขยับขึ้นในปีนี้ ทะลุ 65% ของจีดีพี และคาดว่าในปี 2571 จะเพิ่มเป็น 68.6% ของจีดีพี
แม้ว่าค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาททั่วประเทศ ยังไม่มีความชัดเจน รอผลการศึกษาของคณะอนุกรรมการฯระดับจังหวัดเสนอมาแต่ละพื้นที่ แต่หากมีการปรับขึ้นจริง คาดว่าจะส่งผลให้ต้นทุนผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น และเงินเฟ้อขยับขึ้นจากราคาสินค้าบริการปรับราคาตมต้นทุนค่าแรง
กนง.-คลัง กำหนดเป้าหมายเงินเฟ้อปี 2567 คาดเคลื่อนไหวในกรอบ 1-3% เป็นเป้าหมายสร้างเสถียรภาพด้านราคาในระยะกลาง แต่อาจมีบางช่วงเคลื่อนไหวนอกกรอบ เพราะปัจจัยชั่วคราว
ถึงเวลาที่รัฐบาลเริ่มทยอยลดมาตรการอุดหนุนราคาน้ำมันและไฟฟ้า หลังราคาพลังงานโลกปรับสูงขึ้น กดดันกองทุนน้ำมันที่ต้องแบกรับค่าใช้จ่ายมหาศาล ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดหากรัฐเลิกอุดหนุนราคาพลังงาน จะดันให้เงินเฟ้อพลิกกลับมาเป็นบวกในไตรมาส 2 ปี 67 ซึ่งเงินเฟ้อเป็นสิ่งสำคัญที่ ธปท.ใช้พิจารณาปรับขึ้นลงอัตราดอกเบ
ธนาคารโลกคาดเศรษฐกิจไทยปีนี้ต่ำกว่าคาดการณ์เดิม จากส่งออกชะลอและงบประมาณล่าช้า ประเมินดิจิทัลวอลเล็ต กระตุ้นเศรษฐกิจระยะสั้น 1% แต่หนี้สาธารณะเพิ่ม เตือนเงินเฟ้อจะขยับ ไม่มีกระสุนสำรองรับความเสี่ยงกรณีน้ำมันโลกพุ่งจากสงคราม