ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) วันที่ 12 มิ.ย. 2567 มีมติ 6 ต่อ 1 เสียง คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 2.50 ต่อปี เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มขยายตัวที่ร้อยละ 2.6 ทั้งปี 2567 เท่ากับประมาณการเดิม ปัจจัยมาจากจากอุปสงค์ในประเทศและการท่องเที่ยว รวมทั้งการเบิกจ่ายภาครัฐที่กลับมาเร่งขึ้นในไตรมาสที่ 2 ขณะที่ภาคส่งออกยังคงขยายตัวในระดับต่ำ ส่วนในปี 2568 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวร้อยละ 3.0
มติกนง.ให้คงดอกเบี้ยเพิ่มขึ้น จากครั้งก่อนมีมติให้คงดอกเบี้ย 5 ต่อ 2 ท่ามแรงกดดันจากรัฐบาลที่ต้องการให้ลดดอกเบี้ย
ปิติ ดิษยทัต เลขานุการ กนง. เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ มีการนำปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความชัดเจนเข้ามาพิจารณาอย่างเต็มที่โดยเฉพาะงบการลงทุน งบเบิกจ่ายของภาครัฐ รวมถึงมาตรการอื่น ๆ ของรัฐด้วย เช่น โครงการดิจิทัลวอลเล็ต คาดว่าจะส่งผลชัดเจนในช่วงไตรมาส 4 ปี 67 และจนถึงต้นปี 2568 แต่คงไม่ได้สร้างการเปลี่ยนแปลงต่อเศรษฐกิจโดยรวมมากนัก ซึ่งนโยบายการเงินนี้ยังคงสามารถรองรับความเสี่ยงด้านสูงและด้านต่ำได้ทั้งหมด
ทั้งนี้ กนง.เชื่อว่าอัตราดอกเบี้ยที่ระดับร้อยละ 2.50 ต่อปี ไม่ได้สูงเกินจนสร้างผลกระทบให้กับเศรษฐกิจไทย แม้ขณะนี้หนี้เสียของภาคธุรกิจทั้งขนาดเล็ก (SMEs) เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และธุรกิจขนาดใหญ่เริ่มกลับมาเพิ่มขึ้นเล็กน้อยร้อยละ 1.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แต่ยังอยู่ในกรอบที่ กนง.คาดการณ์ไว้ และไม่ได้เพิ่มขึ้นแบบก้าวกระโดด อีกทั้งยอดการให้สินเชื่อก็ยังคงเติบโตเล็กน้อย 0.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
กรณีที่รัฐบาลได้ตั้งเป้าผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ จีดีพี (GDP) ในปีนี้แตะระดับร้อยละ 3 นั้น เลขานุการ กนง. มองว่า สามารถเป็นไปได้ หากมีการเร่งการเบิกจ่ายงบประมาณปี 67 ของภาครัฐ และโครงการดิจิทัลวอลเล็ตเข้ามา
อย่างไรก็ตามในการประชุมครั้งนี้ มีคณะกรรมการฯ 1 ราย เห็นว่าควรลดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ต่อปี เพราะศักยภาพทางเศรษฐกิจขยายตัวต่ำลงจากปัจจัยเชิงโครงสร้างที่ชัดเจนมากขึ้น และจะบรรเทาภาระของลูกหนี้ได้บ้าง ส่วนคณะกรรมการอีก 1 ราย ที่ครั้งก่อนลงมติให้ลดดอกเบี้ย และครั้งนี้ลงมติว่าควรคงดอกเบี้ยนั้น เป็นเพราะเศรษฐกิจในช่วงนั้นมีความไม่แน่นอนสูง แต่ตอนนี้มีสัญญาณในทิศทางที่บวกมากขึ้นกว่าครั้งก่อน จากตัวเลขเศรษฐกิจที่ดีขึ้น และความเสี่ยงก็มีน้อยลง อีกทั้งคณะกรรมการฯส่วนใหญ่ก็ให้ความสำคัญความเสถียรภาพในภาพรวมมากขึ้น
ด้านอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) มีแนวโน้มใกล้เคียงเดิมที่ร้อยละ 0.6 ในปี 2567 และร้อยละ 1.3 ในปี 2568 ส่วน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ไม่รวมอาหารสดและพลังงาน (Core CPI) คาดว่าอยู่ที่ร้อยละ 0.5 ในปี 2567 และร้อยละ 0.9 ในปี 2568 โดยอัตราเงินเฟ้อทั่วไปล่าสุดกลับมาเป็นบวก มาจากการลดมาตราการอุดหนุนราคาน้ำมันของภาครัฐ แต่ตามคาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะทยอยกลับเข้าสู่เป้าหมายตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 67 และในระยะปานกลางจะอยู่ในระดับสอดคล้องกับเป้าหมาย 1-3% ในภาพใหญ่เงินเฟ้อไม่ได้เป็นประเด็นที่ กนง.กังวลมาก
“ปัจจัยพลังงานจากต่างประเทศ หรือว่า ดินฟ้าอากาศทำให้ราคาอาหารสดปรับขึ้นปรับลง ก็ทำให้มีความผันผวนในระยะสั้น ตัวนี้เป็นอะไรที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของนโยบายการเงิน เราต้องดูแนวโน้มของเงินเฟ้อที่ขจัดปัญหาพวกนี้ไป เมื่อมันคลี่คลายไป ถึงแม้เงินเฟ้อในระยะสั้นจะอยู่นอกเป้าด้านบนหรือด้านล่างบ้าง ก็ถือเป็นเรื่องที่เกิดจากการช็อกเป็นเรื่องปกติ สิ่งที่สำคัญกว่าคือว่าเกิดช็อกขึ้นมาแล้ว ทางประชาชน ทางผู้ประกอบการ มองแนวโน้มในอนาคตยังไง ถ้ามองว่าแนวโน้มเข้าสู่กรอบ เข้าสู่จุดที่ยึดเหนี่ยวในระยะปานกลาง ก็ถือเป็นสิ่งที่ดี ทางธนาคารกลางไม่ต้องมาต่อสู้เงินเฟ้อแบบที่เห็นในต่างประเทศ ความจำเป็นที่จะต้องใช้ยาแรงเพื่อตอบสนองต่อเงินเฟ้อมันขึ้นกับว่าเงินเฟ้อคาดการณ์มันเป็นยังไง กรอบเป้าหมายยึดเหนี่ยวเงินเฟ้อคาดการณ์ได้ดีน้อยขนาดไหน”
ส่วนการกรณีที่กระทรวงการคลังจะเข้ามาหารือเพื่อปรับเปลี่ยนเป้าหมายกรอบเงินเฟ้อใหม่ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ยินดี เพราะถือเป็นการดำเนินงานกำหนดเป้าหมายร่วมกันเป็นปกติอยู่แล้ว ซึ่งต้องรอดูในรายละเอียดอีกครั้ง
คาดกนง.ตรึงดอกเบี้ย 2.50% ถึงสิ้นปี 67
ธปท.มองเศรษฐกิจไทยฟื้นไม่ทั่ว กระจุกตัวแค่เมืองท่องเที่ยว
คาดกนง.ลดดอกเบี้ยในไตรมาส 4
SCB EIC คาด กนง. จะเริ่มลดดอกเบี้ยในไตรมาส 4 ซึ่งเป็นจังหวะเวลาที่ภาวะการเงินตึงตัวจะเริ่มส่งผลกดดันเศรษฐกิจมากขึ้น ขณะที่ภาคครัวเรือนและภาคธุรกิจส่วนใหญ่ยังคงเปราะบาง ประกอบกับความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทยในระยะข้างหน้าจะเริ่มปรับสูงขึ้น สำหรับในระยะสั้น SCB EIC มองว่าพัฒนาการเศรษฐกิจไทยตั้งแต่ช่วงต้นปียังเป็นไปตามที่กนง. ประเมินไว้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปกลับมาสูงกว่ากรอบล่างของเป้าหมายในเดือนพฤษภาคมชั่วคราวโดยส่วนหนึ่งเป็นผลของฐานราคาพลังงานที่รัฐอุดหนุนไว้ในปีก่อน
อีกทั้ง ธนาคารพาณิชย์หลายแห่งได้ประกาศลดอัตราดอกเบี้ย MRR เป็นพิเศษเป็นเวลา 6 เดือนสำหรับลูกค้ากลุ่มเปราะบำง ซึ่งมีส่วนช่วยบรรเทาภาระหนี้ของกลุ่มครัวเรือนและธุรกิจเปราะบางได้บางส่วนแล้วกนง. จึงจะยังคงอัตราดอกเบี้ยนโยบำยไปอีกระยะหนึ่ง
อย่ำงไรก็ดี อัตรำเงินเฟ้อทั่วไปที่กลับมำปรับเพิ่มขึ้นในเดือนพฤษภำคมไม่ได้สะท้อนว่าเศรษฐกิจกำลังเติบโตดี เนื่องจากเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของราคาหมวดพลังงานและอาหารเป็นสำคัญ หลังรัฐบำลทยอยลดการอุดหนุนราคาขายปลีกน้ำมัน แต่หากพิจารณาอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ซึ่งไม่รวมราคาพลังงานและอาหารสด ยังทรงตัวตต่ำที่ 0.39%