ThaiPBS Logo

การศึกษา การศึกษา

อ่านเพิ่มเติม

‘เรียนดี มีความสุข’ ยกระดับคุณภาพการศึกษา

‘เรียนดี มีความสุข’ นโยบายการศึกษา โดย พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จากพรรคภูมิใจไทย ที่ต้องการลดภาระครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา

โดยมีแนวคิดในการจัดการศึกษา 2 ข้อหลักๆ คือ 1.การศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และ 2. การศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต แบ่งออกเป็น 2 เรื่องหลัก คือ 1.นโยบายที่เน้นหนักในการทำงาน และ 2. นโยบายที่ต้องเร่งดำเนินการโดยด่วน

4 ด้าน นโยบายการทำงาน : ลดภาระครู-บุคลากรทางการศึกษา

  1. ปรับวิธีการประเมินวิทยฐานะครูและบุคลากรทางการศึกษา ลดขั้นตอนมุ่งผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน ปรับระบบการประเมินวิทยฐานะที่เน้นตามสภาพจริง ลดการทำเอกสาร-ขั้นตอนการประเมิน ไม่ซับซ้อนและเป็นธรรม
  2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาคืนถิ่น สามารถโยกย้ายกลับภูมิลำเนาด้วยความโปร่งใส ไม่มีการซื้อขายตำแหน่ง พร้อมสำรวจสถานการณ์ครูขาดแคลนในแต่ละพื้นที่ตามภูมิลำเนาเดิม
  3. แก้ไขปัญหาหนี้สินครูและบุคลากรทางการศึกษา ด้วยการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องในการวางแผนการใช้เงินและการเก็บออมเงิน น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำรงชีพ รวมทั้งเร่งช่วยเหลือกลุ่มลูกหนี้ NPL โดยเร่งด่วน
  4. จัดหาอุปกรณ์การสอนและสวัสดิการ 1 ครู 1 Tablet สนับสนุนจัดหาอุปกรณ์ช่วยจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ สามารถเชื่อมโยงระบบออนไลน์รองรับการใช้งานให้เพียงพอกับจำนวนครูผู้สอน

6 เรื่องเร่งด่วน: ลดภาระนักเรียน – ผู้ปกครอง

  1. Anywhere Anytime เรียนทุกที่ ทุกเวลา เรียนฟรี มีงานทำ
    ยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง มีระบบหรือแพลตฟอร์มการเรียนรู้ โดยผู้เรียนไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา (1 นักเรียน 1 Tablet) ด้วยการส่งเสริมบทบาทภาคเอกชน (สถานประกอบการ) ให้มีส่วนร่วมในการสนับสนุนและจัดการศึกษา โดยให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสมในระหว่างการเรียนหรือฝึกอาชีพ นำแพลตฟอร์มการเรียนรู้แห่งชาติมาผสมผสานการเรียนการสอนแบบเดิมในห้องเรียนกับการเรียนการสอนออนไลน์ (Hybrid Education) ผู้เรียนจะมีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งในห้องเรียนและนอกห้องเรียน และขยายการเรียนรู้ไปถึงประชาชนทุกช่วงวัยทั่วประเทศให้มีโอกาสทางการศึกษา เข้าถึงเนื้อหาสาระที่มีคุณภาพ ตลอดจนพัฒนาการศึกษาผ่านระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้ (Credit Bank System) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนและประชาชนได้เรียนและทำงานไปในเวลาเดียวกัน
  2. จัดให้มี 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ ด้วยการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพต้นแบบอย่างน้อย 1 โรงเรียนในแต่ละอำเภอหรือเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อนำร่องการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพ สนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน สื่อ อุปกรณ์ และงบประมาณในการปรับปรุงสภาพแวดล้อม และจัดสรรงบประมาณอย่างต่อเนื่องทุกปีงบประมาณ
  3. ระบบแนะแนวการเรียน (Coaching) และเป้าหมายชีวิต ด้วยการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร กระบวนการเรียนรู้ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงโลก มุ่งพัฒนาผู้เรียนทุกระดับการศึกษาให้มีทักษะที่เหมาะสมและจำเป็นต่อการดำรงชีวิตและมีหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความสนใจและความต้องการของผู้เรียน เพื่อให้มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน โดยจัดให้มีระบบแนะแนวตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับมัธยมศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นพบแนวทางการเรียน และเป้าหมายชีวิตที่ตนเองชอบสามารถปรับเปลี่ยนได้ตลอดระยะเวลาการเรียน
  4. การจัดทำระบบวัดผลรับรองมาตรฐานวิชาชีพ (Skill Certificate) โดยผู้เรียนสามารถเรียนเพิ่ม เพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ ด้วยการนำหน่วยกิตที่สะสมมาใช้เทียบคุณวุฒิ รับรองมาตรฐานวิชาชีพเพื่อรับประกาศนียบัตรในการประกอบอาชีพ ตลอดจนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสายอาชีวศึกษา สามารถขอการรับรองมาตรฐานวิชาชีพได้ในระหว่างที่กำลังศึกษาอยู่ในระบบ เพื่อให้ผู้เรียนมีทางเลือกที่จะมีรายได้ระหว่างเรียนควบคู่กับการทำงานไปพร้อมกัน
  5. จัดทำระบบวัดผลเทียบระดับการศึกษา และประเมินผลการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความสามารถเป็นเลิศ ไม่ต้องเสียเวลาเรียนในระบบ ด้วยการจัดทำระบบการเทียบเคียงหรือเทียบโอนผลการเรียน ทักษะ ความรู้ ประสบการณ์หรือสมรรถนะจากระบบเดียวกัน แต่ต่างสถานศึกษา หรือจากระบบหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่งหรือจากต่างประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเข้าศึกษาหรือการรับรองระดับการศึกษาต่างสถานศึกษาหรือต่างระบบได้
  6. มีรายได้ระหว่างเรียน จบแล้วมีงานทำ (Learn to Earn) ด้วยการจัดการอาชีวศึกษาระดับวิชาชีพอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาสมรรถนะกำลังคนระดับเทคนิค โดยมุ่งเน้นการผลิตและพัฒนากำลังคนในสาขาที่มีความจำเป็นเร่งด่วนที่ตรงความต้องการของตลาดแรงงาน สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนการศึกษาแห่งชาติ โดยเน้นรูปแบบการเรียนรู้สู่การปฏิบัติ เพื่อสร้างทักษะอาชีพและทักษะชีวิต ให้ผู้สำเร็จการศึกษาอาชีวศึกษามีความพร้อมในการเข้าสู่อาชีพได้ทันต่อความต้องการกำลังคนของประเทศ และอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

6 เรื่องสั่งการ ทำทันที

  1. ผู้บริหารทุกภาคส่วนในสังกัด นํานโยบายด้านการศึกษาของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา และนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ สู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม (Action Plan)
  2. ดําเนินการป้องกันและปราบปรามการทุจริต เช่น การบรรจุ แต่งตั้ง โยกย้าย โดยเน้นย้ำห้ามซื้อ-ขายตําแหน่ง ห้ามทุจริตการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุ ครุภัณฑ์ ชุดนักเรียน อาหารกลางวัน ฯลฯ และต้องจัดซื้อจัดจ้างวัสดุ ครุภัณฑ์ที่มีคุณภาพ
  3. น้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติ
  4. ให้ร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม และมุ่งสู่การใช้พลังงานสะอาด
  5. ส่งเสริมการอ่านอย่างเป็นกระบวนการ โดยครูต้องเป็นต้นแบบ ในการรักการอ่าน
  6. การลงพื้นที่ตรวจราชการหรือตรวจเยี่ยม ให้เฉพาะผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องมาร่วมรับการตรวจราชการหรือตรวจเยี่ยม โดยให้ดำเนินการอย่างเรียบง่ายและประหยัด เช่น ไม่ต้องติดป้ายต้อนรับ ไม่มีของที่ระลึกหรือของฝาก

นโยบายหาเสียง ‘ก่อนเลือกตั้ง’ เพื่อไทย-ภูมิใจไทย

ช่วงก่อนหาเสียงเลือกตั้ง ทั้ง 2 พรรคการเมืองได้ให้นโยบายเกี่ยวกับการศึกษาได้ โดยพรรคภูมิใจไทยซึ่งเป็นพรรคต้อนสังกัดของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยนายกมล รอดคล้าย คณะทำงานยุทธศาสตร์ด้านการศึกษา ระบุว่า

ขณะที่พรรคเพื่อไทย มีนโยบายด้านการศึกษาดังนี้

จำนวนบุคคลากร-ครู-นักเรียน ในระบบการศึกษา (ข้อมูลปัจจุบัน ก.ย. 2566)

กฎหมาย แผนยุทธศาสตร์ ที่เกี่ยวข้อง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://moe360.blog/2023/09/14/minister-ed-statement-ed-policy/

https://www.eef.or.th/article-debate-180423/

https://www.thaipbs.or.th/program/TobJote/episodes/94015

นโยบายภาคการเมือง

เด็กหลุดจากระบบการศึกษาเป็นศูนย์ (Zero Dropout)

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

ลดจำนวนเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา
พัฒนาคุณภาพการศึกษาและความสามารถของเด็ก
สร้างเครือข่ายการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมของชุมชน

ส่งเสริมการเรียนรู้ขั้นพื้นฐานทุกที่ทุกเวลา

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

การเรียนรู้ตลอดชีวิต

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

แก้หนี้ครู

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

แก้ปัญหาหนี้ครูและบุคลากรการศึกษา
เป้าหมายครูทั่วประเทศ 9 แสนคน ในจำนวนนี้มีครูเป็นหนี้กว่า 7.2 แสนคน คิดเป็น 80% ของครูทั้งหมด) มีภาระหนี้ 1.4 ล้านล้านบาท
ผ่านคณะกรรมการแก้ปัญหาและสถาบันการเงินรัฐ
คกก.ขับเคลื่อนนโยบายการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูฯ ประสานสถาบันการเงินรัฐเพื่อปรับโครงสร้างหนี้และสภาพคล่อง
นโยบายที่ผลักดันโดยรมว.ศึกษา
พรรคการเมืองมักจะประกาศนโยบายแก้ปัญหานี้ครูในช่วงเริ่มเข้าบริหารประเทศ

สร้างจิตสำนึกความเป็นไทย

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

นักเรียนศึกษาวิชาประวัติศาสตร์
นักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 1 - มัธยมศึกษาปีที่ 6

พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

เรียนดีมีความสุข (ลดภาระครู-นร.)

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ตัดสินใจ
  • ดำเนินงาน
  • ประเมินผล

ความสำเร็จของนโยบาย

สัดส่วนครูที่ทำงานหนักเกินจำนวน 8 ชั่วโมงต่อวัน (เพิ่ม/ลดลง เทียบกับตัวเลข ร้อยละ 94.6 จากการสำรวจในปี 2562)
สัดส่วนครูที่ใช้เวลาทำงานที่ไม่ใช่การสอนมากกว่า 6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เพิ่ม/ลดลง เทียบกับตัวเลข ร้อยละ 58 จากการสำรวจในปี 2562)

บทความ

ดูทั้งหมด
คนหนีหลักสูตรการศึกษาไทย แห่ส่งลูกเรียนอินเตอร์

คนหนีหลักสูตรการศึกษาไทย แห่ส่งลูกเรียนอินเตอร์

นักเรียนไทยมีแนวโน้มลดลงตามจำนวนเด็กที่เกิดใหม่ลดลง ส่งผลโรงเรียนทยอยปิดตัว แต่ไม่ใช่กับโรงเรียนนานาชาติที่ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องทุกปี เพราะหลักสูตรการศึกษาต่างประเทศมีความทันสมัย แตกต่างจากหลักสูตรไทย ผู้ปกครองที่มีทุนทรัพย์จึงนิยมส่งลูกไปโรงเรียนนานาชาติกันมากขึ้น

ความยากจนเกษตรกรไทย ฉุดคุณภาพชีวิตเด็ก

ความยากจนเกษตรกรไทย ฉุดคุณภาพชีวิตเด็ก

ครอบครัวเกษตรกรไทยที่มีเด็กและเยาวชน มีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนมากถึง 19.6% อีกทั้งโรงเรียนพื้นที่ชนบทห่างไกลและเข้าถึงยาก ทำให้เด็กไม่ได้รับการศึกษาเท่าที่ควร และเลือกศึกษาในระดับไม่สูงมาก

ผลวิจัยชี้ “พ่อมีเมียน้อย-ตีบุตร” กระทบทุนมนุษย์เด็ก

ผลวิจัยชี้ “พ่อมีเมียน้อย-ตีบุตร” กระทบทุนมนุษย์เด็ก

ปัจจุบัน "ครอบครัว" มีความหลากหลาย ในแต่ละแบบจะส่งผลกระทบต่อการพัฒนาของลูกแตกต่างกัน ผลการวิจัยเผยในครอบครัวที่มีเมียน้อยจะกระทบต่อการพัฒนาทุนมนุษย์ของเด็ก เช่นเดียวกับครอบครัวที่มีการตีลูก นักเศรฐศาสตร์ประเมินกระทบจีดีพีกว่า 2% คิดเป็นต้นทุนคนละกว่า 7 แสนบาท

แบบสอบถามความพึงพอใจของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการให้บริการเงินทุน หมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู

แบบสอบถามความพึงพอใจของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการให้บริการเงินทุน หมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู

เงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครู เป็นเงินทุนหมุนเวียนในกำกับดูแลของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการภายใต้ข้อบังคับคณะกรรมการบริหารเงินทุนหมุนเวียนเพื่อ แก้ไข ปัญหาหนี้สินข้าราชการครู ว่าด้วยการบริหารเงินทุนหมุนเวียน เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูพ.ศ.2561 และนับตั้งแต่ปีบัญชี2548 เป็นต้นมา กรมบัญชีกลางกำหนดให้มีการประเมินผลการดำเนินงาน เงินทุนหมุนเวียน เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินข้าราชการครูเป็นประจำทุกปี จึงได้จัดทำแบบสอบถามความพึงพอใจของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการให้บริการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไข ปัญหาหนี้สินข้าราชการครูขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจ ความพึงพอใจของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการให้บริการเงินทุนหมุนเวียนเพื่อแก้ไขปัญหา หนี้สินข้าราชการครูและนำผล มาปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล มากยิ่งขึ้น