ThaiPBS Logo

เด็กหลุดจากระบบการศึกษาเป็นศูนย์ (Zero Dropout)

มีเป้าหมายเพื่อให้จำนวนเด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา ‘เป็นศูนย์’ โดยเฉพาะในการศึกษาภาคบังคับ (ป.1 - ม.3) เพื่อช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เด็กมีโอกาสพัฒนาชีวิต ออกจากความยากจน ประเทศจะได้แรงงานคุณภาพ เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจ และจัดเก็บรายได้มากขึ้น โดยกุญแจสำคัญเพื่อให้ทำนโยบายเป็นจริงได้คือ ‘ระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่น'

อ่านเพิ่มเติม

  • เริ่มนโยบาย
  • วางแผน
  • ดำเนินงาน
  • ตรวจสอบ
  • ประเมินผล

เริ่มนโยบาย

ขั้นตอนเริ่มต้นนโยบาย ประกาศนโยบายต่อสาธารณะ

วางแผน

ขั้นตอนวางแผน เสนอแผนงานต่างๆ

ดำเนินงาน

มติ ครม. ประกาศให้แต่ละจังหวัดสามารถตั้งทีมตามหาเด็กตกหล่นให้กลับมาเรียน และในเดือน ก.ค. 2567 จะเริ่มปูพรมค้นหาเด็ก นำร่องใน 25 จังหวัดและพื้นที่ กทม.

ตรวจสอบ

ขั้นตอนการตรวจสอบการทำงาน

ประเมินผล

ขั้นตอนการประเมินผลการดำเนินการตามนโยบาย

อ่านเพิ่มเติม

ความคืบหน้า

  • วันที่ 28 มิถุนายน 2567 กระทรวงศึกษาธิการได้ลงนามข้อตกลงกับ 11 หน่วยงานภายใต้โครงการ ‘Thailand Zero Dropout’ เพื่อแก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา โดยใช้เทคโนโลยีข้อมูลตามหาเด็กที่อยู่นอกระบบการศึกษาและพากลับเข้าสู่ระบบ ซึ่งเป็นผลจากการมอบนโยบายของนายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2566

จากการเชื่อมฐานข้อมูลของกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงมหาดไทย ทำให้รู้ว่าปัจจุบันมีเด็กอยู่นอกระบบการศึกษาทั้งสิ้น 1.02 ล้านคน โดยปัจจัยสำคัญที่ทำให้เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษา ได้แก่ ความยากจน ปัญหาครอบครัว การต้องทำงานช่วยเหลือครอบครัว และการขาดโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา

การศึกษาเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและพัฒนาอนาคตของประเทศ การที่เด็กหลุดออกจากระบบการศึกษาไม่เพียงแต่ทำให้พวกเขาขาดโอกาสในการพัฒนาตนเอง แต่ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมอีกด้วย ด้วยเหตุนี้ นโยบาย Zero Dropout จึงถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้และส่งเสริมการศึกษาให้แก่เด็กทุกคน โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้

1. การค้นหาและติดตามเด็กนอกระบบการศึกษา:

  • • ใช้ข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย และอื่น ๆ  เพื่อค้นหาและติดตามเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา
  • • จัดทำฐานข้อมูลที่เป็นระบบและเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงาน เพื่อให้สามารถติดตามเด็กที่อยู่ในความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ และอัปเดตทุก ๆ ภาคเรียน
  • • ประกาศมติคณะรัฐมนตรีเพื่อกระจายอำนาจให้แต่ละจังหวัดสามารถจัดตั้งทีมติดตามเด็กกลับมาเรียน เพื่อให้แก้ไขปัญหาได้อย่างคล่องตัว

2. การสร้างการศึกษาที่ยืดหยุ่น หนุนให้เด็กเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา มีวุฒิฯ รองรับ:

  • • จัดทำโครงการทุนการศึกษาและความช่วยเหลือทางการเงินสำหรับเด็กที่ขาดแคลน โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทและพื้นที่ที่มีความยากจน
  • • จัดหาอุปกรณ์การศึกษา ชุดนักเรียน และอาหารกลางวันฟรีสำหรับเด็กที่มีความจำเป็น
  • • พัฒนาหลักสูตรที่ยืดหยุ่นและสอดคล้องกับความต้องการของเด็กในแต่ละพื้นที่ เพื่อให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตามความสามารถและความสนใจของตนเอง
  • • ส่งเสริมการเรียนรู้แบบออนไลน์ และการเรียนรู้ได้ทุกที่ ทุกเวลา เน้นให้ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดรูปแบบการเรียนรู้เอง
  • • ให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางด้านจิตวิทยาสำหรับเด็กที่มีปัญหาทางครอบครัวหรือปัญหาทางอารมณ์
  • • เชื่อมต่อสถานศึกษากับสถานประกอบการเพื่อประกันการได้มีงานทำ สร้างรายได้ขณะเรียนรู้ ตอบโจทย์หลายครอบครัวยากจน

3. การประสานงานระหว่างหน่วยงานและองค์กรต่างๆ:

  • • จัดตั้งคณะกรรมการระดับชาติเพื่อกำกับดูแลและประสานงานการดำเนินนโยบาย Zero Dropout
  • • ทำงานร่วมกับองค์กรพัฒนาเอกชน ภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มทรัพยากรในการดำเนินนโยบาย และให้สังคมเห็นเป้าหมายร่วมกัน

 

เป้าหมายความสำเร็จ

1. ลดจำนวนเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา:

  • • ปีงบประมาณ 2567 เริ่มนำร่องปูพรมค้นหาเด็กในพื้นที่ 25 จังหวัด และพาเด็กกลับเข้าสู่ระบบได้ 20,000 คน
  • • ปีงบประมาณ 2568 ขยายมาตรการให้คลอบคลุมพื้นที่ 77 จังหวัด พาเด็กกลับเข้าสู่ระบบได้ 100,000 คน
  • • ปีงบประมาณ 2569 พาเด็กกลับเข้าสู่ระบบได้ 500,000 คน
  • • ปีงบประมาณ 2570 พาเด็กกลับเข้าสู่ระบบได้ 1,000,000 คน ซึ่งจะทำให้บรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

2. พัฒนาคุณภาพการศึกษาและความสามารถของเด็ก:

  • • เพิ่มอัตราการจบการศึกษาขั้นพื้นฐานและลดอัตราการเลื่อนชั้นที่ล่าช้า
  • • ส่งเสริมการพัฒนาทักษะอาชีพและทักษะชีวิตของเด็ก เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินชีวิตในอนาคต

3. สร้างเครือข่ายการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมของชุมชน:

  • • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน โรงเรียน และครอบครัวในการสนับสนุนการศึกษา
  • • สร้างความตระหนักรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญของการศึกษา นำไปสู่การออกแบบระบบการศึกษาที่ยืดหยุ่นมากขึ้น

ภาพรวม

ลำดับเหตุการณ์

  • ศึกษาธิการ 25 จังหวัดประชุมแผน Zero Dropout ตั้งเป้าเด็กนอกระบบการศึกษาเป็นศูนย์ในปี 2570  ดูเพิ่มเติม ›

    17 ก.ค. 2567

  • ศธ. ลงนามข้อตกลงกับ 11 หน่วยงานภายใต้โครงการ Thailand Zero Dropout เพื่อเริ่มค้นหาและนำเด็กกลับเข้าสู่ระบบ  ดูเพิ่มเติม ›

    28 มิ.ย. 2567

  • ครม. รับทราบมาตรการแก้ปัญหาเด็กนอกระบบการศึกษา และให้แต่ละจังหวัดเริ่มตั้งทีมค้นหาเด็ก  ดูเพิ่มเติม ›

    28 พ.ค. 2567

  • กสศ. ประกาศเป้าหมาย Thailand Zero Dropout และพบข้อมูลเด็กนอกระบบการศึกษาจำนวน 1.02 ล้านคน  ดูเพิ่มเติม ›

    20 พ.ค. 2567

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ แถลงในวันเด็กแห่งชาติว่ารัฐบาลตั้งเป้าหมาย Zero Dropout ให้เด็กทุกคนเข้าถึงการศึกษา  ดูเพิ่มเติม ›

    13 ม.ค. 2567

  • กสศ. เปิดตัวโครงการ Zero Dropout จ. ราชบุรี โดยร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อเป็นโมเดลนำร่อง  ดูเพิ่มเติม ›

    15 ก.ย. 2566

  • เศรษฐา ทวีสิน นายกฯ มอบนโยบายให้ กสศ. ทำงานร่วมกับกระทรวงต่าง ๆ เพื่อแก้ปัญหาเด็กหลุดจากระบบการศึกษา  ดูเพิ่มเติม ›

    6 ก.ย. 2566

รายละเอียด

ความสำเร็จของนโยบาย

เชิงโครงการ

ลดจำนวนเด็กที่หลุดออกจากระบบการศึกษา

เชิงกระบวนการ

พัฒนาคุณภาพการศึกษาและความสามารถของเด็ก

เชิงการเมือง

สร้างเครือข่ายการสนับสนุนและการมีส่วนร่วมของชุมชน

บทความ